ฮิตาชิเปิดตัวหน้าจอโทรศัพท์มือถือใหม่ ในรูปแบบหน้าจอ 3 มิติ โดยเป็นจอ IPS ขนาด 4.5 นิ้ว จุดเด่นของหน้าจอตัวใหม่นี้อยู่ที่สามารถรับชมภาพ 3 มิติ ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องสวมแว่น 3 มิติ ซึ่งความสว่าง 400nit ในโหมด 2 มิติ และ 470nit ในโหมด 3 มิติ (ใกล้เคียงกับ iPhone ที่มีความสว่าง 500nit)
จุดขายสำคัญสำหรับจอตัวใหม่นี้คือ ความละเอียดหน้าจอสูงถึง 1280x720 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหน้าจอเก่าที่ผลิตในปีที่แล้วของฮิตาชินั้น
โดยทางฮิตาชิได้พูดถึง การเปลี่ยนจากเทคโนโลยี Glasses-free parallax barrier 3D ทำให้เราสามารถดูทีวี 3 มิติ โดยไม่ต้องสวมแว่นแบบเดิม ไปใช้ lenticular lens ที่เพิ่มคุณภาพแสงที่ออกมาจากหน้าจอสูงขึ้น
ทางบริษัทฮิตาชิกล่าวอีกว่า เทคโนโลยีหน้าจอใหม่นี้จะถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพาจำพวก ทีวี โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นเกมพกพา
ที่มา TechCrunch
Comments
(ขอเรียงไว้ดูเองนะครับ) ^_^
หวังว่าจะได้เห็นบนอุปกรณ์พกพา
ป.ล. จาก "ความสว่างในโหมด 2 มิติ ถึง 400nit และโหมด 3 มิติ สูงถึง 470nit" เป็น "ความสว่าง 400nit ในโหมด 2 มิติ และ 470nit ในโหมด 3 มิติ" น่าจะกระชับกว่า แล้วอย่าลืมเปลี่ยน "1280X720" นะครับ
เสริมครับ:
ผมเปลี่ยนรูปเป็น standard thumbnail ตามหมวดข่าวแทนแล้วนะครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมแก้ไขครับ ^^
เรียบร้อยแล้วครับ ^^
เึพึ่งสังเกต...เรียนอยู่/จบจาก IT ลาดกระบังเหรอครับ
น้องปี 1 ครับพี่เพชร
^^
ดีจัง ดูได้โดยไม่ต้องสวมแว่น
แต่.. ถ้าดูกัน 2-3 คน เครื่องมันจะแยกออกใหมว่าตาใครเป็นตาใคร
แบบนี้เหมือนมันจะดูได้ทีละคนเองดิ
จอนี้ คิดว่าเป้นของมือถือ คงเล่นคนเดียวแล้วถือในระยะที่เหมาะสมถึงเห็นภาพเป็น 3D
เคยอ่านในหนังสือแนวคิดจอ 3D คือจะมี กล้องจับสายตาเรา แล้วจอเองจะปรับมุมองศาตามที่เราอยู่ให้เหมาะสม แล้วแก้ปัญหาหลายคน คือใช้แบบนี้ละครับ มี lens แต่ซอยเพิ่มไปอีก คิดว่าต้องใช้ความละเอียดสูงขึ้นไปอีกด้วย เช่นมี 4 คน ก็ประมาณ คูณ 4 เท่าจากจอ ปกติ ไรแบบนี้ ถึง จะให้แต่ละคนได้รับภาพความละเอียดเท่าเดิม
ตอนแรกก็คงดูได้ทีละคนละครับ เท่าที่ดูวิวัฒนการ(evolution) เช่น Nintendo DS จะเป็น passive การปรับแบบ Manual(ด้วยมือ)จากแถบ slide(เลื่อน) ต่อมาอุปกรณ์หลายอย่างโดยเฉพาะอุปกรณ์พกพา และเริ่มขึ้นมาสู่โทรทัศน์ขนาดใหญ่เป็น active โดยใช้กล้องพัฒนาไปคล้ายๆKINECTเบื้องต้นแยกแยะได้คนเดียวต่อไปก็แยกแยะคนเป็นมิติ2-3แกนได้ ถ้าหากมีเทคนิคการประยุกต์อื่นที่มีประสิทธิภาพ อีกไม่นานถ้าโทรทัศน์แยกการแสดงภาพได้มากก็คงจะเริ่มพัฒนากันอย่างจริงจังเห็นได้ชัดเจน การสลับการแสดงผล(Display)พัฒนาร่วมกัน แล้วพัฒนาไปกับ3D, Stereoscopic, Multi User ตามลำดับ โดยใช้แว่นทั้งแบบ passive และactive(ที่อาศัยการscanร่วมกับแว่นโดยไม่ใช่อุปกรณ์แยกแสดงระหว่างตาตรงจอ) อาจจะช้าสักหน่อยเพราะสิทธิบัตรคงจดกันเยอะแล้วไม่ยอมร่วมใจกันพัฒนาเป็นมาตรฐานร่วม เบื้องต้นคงเป็นหลักการจัดการกล้องในแยกผู้ชม แล้วก็แยกการscan(แสดงผล)แต่ละผู้ชม เช่น Hz สูงๆสัก 600 Hz ก่อน แต่งงๆว่าทำไมถึงมีแต่จอภาพแบบ Plasma ทั้งๆที่เป็น ครน. ของ 24, 25, 30, 50, 60 ภาพต่อวินาทีเพื่อง่ายต่อการจัดการในจอ LCD แล้วค่อยว่ากันต่อเรื่องเงาซ้อนในภาพ ดันมาแยกการแสดงผลให้ไม่ตรงกันไปกันคนละทิศคนละทางแค่การแสดงผลบนระนาบ