เครื่องอ่านอีบุ๊กถือเป็นอุปกรณ์อีกประเภทที่ได้รับความนิยมแบบเงียบๆ ในบ้านเรา ถึงแม้จะไม่โด่งดังขนาดแท็บเล็ตพีซี แต่ก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เริ่มซื้อหาเครื่องอ่านอีบุ๊กมาใช้งาน นอกจาก Kindle ที่เป็นอุปกรณ์ยอดนิยมแล้ว ยังมีเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ อีกไม่น้อย เช่น NOOK หรือ Sony Reader
แต่ปัญหาสำคัญของเครื่องอ่านอีบุ๊กเหล่านี้คือการรองรับภาษาไทย ทั้งเรื่องฟอนต์และการตัดคำ ซึ่งตอนนี้ยังเรียกได้ว่าห่างไกลกับ "อ่านไทยได้สมบูรณ์" อยู่มาก
ช่องว่างทางการตลาดตรงนี้จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย และผมได้รับการติดต่อจาก ห้างหุ้นส่วน ฟิวเจอร์ โซลูชั่นส์ ส่งเครื่องอ่านอีบุ๊กจอ E Ink ที่พัฒนาให้รองรับภาษาไทยชื่อ iReed มาให้ลองเล่น เลยเป็นที่มาของรีวิวชิ้นนี้ครับ
หน้าตาของ iReed นั้นใกล้เคียงกับ Kindle มาก (เป็นลูกผสมของ Kindle 2 กับ Kindle 3) สอบถามจากผู้จำหน่าย พบว่าเป็นเครื่อง E Ink ที่จ้างผลิตในจีน แล้วเพิ่มเฟิร์มแวร์ที่รองรับภาษาไทยลงไป
คีย์บอร์ดยังมีเฉพาะภาษาอังกฤษ การใช้งานโดยรวมก็ไม่ต่างอะไรกับ Kindle คือใช้จอยสติ๊กและเมนูเป็นหลัก (จอยสติ๊กจะเป็นแบบ Kindle 2 ไม่ใช่ปุ่มแบบ Kindle 3)
ด้านใต้ของตัวเครื่องเป็นพอร์ตเชื่อมต่อ คือ ช่องเสียบหูฟัง และ Mini USB (ไม่ใช่ Micro USB สมัยนี้อาจจะหาสายยากขึ้นสักหน่อย)
ด้านข้างของตัวเครื่องไม่มีอะไรพิสดาร มีปุ่มเพียงปุ่มเดียวคือปุ่มเปิดเครื่องที่ฝั่งขวาบน
ด้านหลังไม่มีอะไร ยกเว้นลำโพงซ้ายขวา
ลองถือแล้วขนาดเหมาะมือ ไม่ต่างอะไรกับ Kindle หน้าจอก็เป็น E Ink มาตรฐาน
เทียบขนาดกับ Kindle 3 จะเห็นว่า iReed มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย (เล็กน้อยจริงๆ) ความรู้สึกโดยรวมไม่ต่างกัน
เทียบความหนา iReed หนากว่าเล็กน้อย
ลองวางเทียบกัน จะเห็นว่า iReed ยาวกว่านิดเดียว
ลองเทียบกับ Galaxy Tab รุ่น 7 นิ้วดูบ้าง
iReed ใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่บางและเบากว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ
อุปกรณ์ที่มาในกล่อง มีซองหนังมาให้ด้วย โดยรวมใช้งานได้ดี ยกเว้นเรื่องสีขาวน่าจะเปื้อนง่ายถ้าใช้ไปนานๆ
สาย Mini USB to USB พร้อมหัวปลั๊กเสียบ นอกจากนี้ยังมีชุดหูฟังมาตรฐานด้วย (ไม่อยู่ในภาพ)
การใช้งาน iReed ก็คล้ายกับ Kindle คือเป็นระบบเมนู โดยเมนูของ iReed แบ่งเป็นสองหน้า ภาพแรกคือเมนูหน้าแรก
หน้าสอง
การอ่านอีบุ๊กด้วย iReed นั้นตรงไปตรงมาครับ คือเสียบสาย Mini USB เข้ากับพีซี แล้วมันจะทำตัวเป็น mass storage device สามารถลากไฟล์ไปใส่ได้เลย
iReed ยังรองรับการเพิ่มไฟล์ด้วยวิธีนี้วิธีเดียว ไม่มีแนวคิด Online Store แบบของ Kindle หรือ NOOK
หลังจากใส่ไฟล์ลงในเครื่องแล้ว จะเห็นรายการไฟล์พร้อมไอคอนบอกว่าเป็นไฟล์อะไร สังเกตว่าชื่อไฟล์ภาษาไทยแสดงผลได้ดีไม่มีปัญหา
ประเด็นเรื่องภาษาไทยเป็นจุดที่น่าจับตาที่สุดของ iReed ผมเลยทดสอบโดยสร้างไฟล์ภาษาไทยหลายๆ ฟอร์แมต แล้วนำไปเปิดดูใน iReed ว่าผลเป็นอย่างไรบ้าง
เอกสารที่เลือกใช้คือ คำประกาศของนิติราษฏร์ ฉบับ ๒๘ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์) เนื่องจากว่าเอกสารมีความยาวในระดับหนึ่ง มีลักษณะเป็นบทความที่ตัวอักษรติดๆ กัน (และไม่อยากใช้บทความของ Blognone เอง เดี๋ยวจะหาว่าขายของมากเกินไป)
แรกสุดคือแปลงเป็นไฟล์ .doc ผลปรากฏว่าสระบน-ล่างหายไป และตัดคำไม่ได้ (ลองแปลงเป็น .odt พบว่าอ่านไม่ได้เลย)
ถัดมาลองแปลงเป็นไฟล์ .txt ผลคืออ่านได้สวยงาม ตัวอักษรคมชัด แต่ตัดคำไม่ได้ครับ และบรรทัดที่ยาวเกินความกว้างของหน้าจอ จะยาวตกขอบจอไปเลย
แปลงเป็นไฟล์ PDF สามารถอ่านได้สวยงาม แต่ถ้าจะอ่านจริงๆ คงต้องปรับ PDF ให้พอดีกับขนาดหน้าจอ จะได้ไม่ต้องเลื่อนหน้าบ่อยๆ
เซฟแบบ HTML Complete แล้วนำก็อปปี้ไปทั้งโฟลเดอร์ พบว่าแสดงรูปภาพได้ด้วย แต่ก็ตัดคำไม่ได้
ลองไฟล์ชนิดอื่นๆ บ้าง อันนี้เป็น PowerPoint เปิดได้นะครับ แต่มีปัญหาเรื่องสระบน-ล่าง เหมือนกับ .doc
สุดท้ายคือ EPUB ผมลองดาวน์โหลดไฟล์ EPUB ภาษาไทยที่แจกในเว็บ
WeRead มาทดสอบ จะเห็นว่าการฝังฟอนต์ใช้งานได้ แต่ยังตัดคำไม่ได้อยู่ดี
สรุปก็คือ iReed นั้นรองรับฟอนต์ภาษาไทย แต่ยังมีปัญหาเรื่องการตัดคำ และการอ่านไฟล์ของ Microsoft Office ครับ
เท่าที่ลองดูในหน้า Settings พบว่าใช้ฟอนต์ TLWG Typist และมีฟอนต์ Droid Sans ให้เป็นทางเลือก
โดยรวมไม่มีปัญหา ยิ่งถ้าเป็นฟอร์แมตสำหรับเครื่องอ่านอีบุ๊กอยู่แล้ว
ผมลองโหลด EPUB ภาษาอังกฤษจาก Project Gutenberg มาทดสอบ ก็พบว่าอ่านได้ดี สวยงาม
ไฟล์ PDF นั้นอ่านได้อยู่แล้ว แต่ก็มีฟังก์ชัน reflow ช่วยจัดข้อความให้พอดีกับหน้าจอด้วย ลองดูภาพเปรียบเทียบระหว่าง PDF ต้นฉบับ (ซ้าย) และหลังสั่ง reflow แล้ว (ขวา)
แต่บางที reflow ก็ไม่สำเร็จ 100% ดูได้จากเอกสารรายงานของ Distimo สั่งแล้วกราฟหายไปเลย
พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย อันนี้ใช้งานได้ดีเยี่ยม
ปฏิทิน แสดงได้โหมดเดียวดังภาพคือ เรียงเดือนทั้ง 12 เดือนพร้อมกันในหน้าจอเดียว เหมือนกับปฏิทินแขวนฝาผนัง
เบราว์เซอร์ (ทำงานผ่าน Wi-Fi) ลองเปิด Blognone แล้วเละ แต่เปิดเว็บ BBC ปรากฎว่าสวยงามมาก
เกมที่แถมมาด้วยมี 2 เกมคือ Mines กับ Gobang ตามภาพอันนี้คือ Mines เวอร์ชันจอ E Ink
โดยรวม iReed เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กหน้าจอ E Ink แบบที่ไม่ต้องต่อเน็ต (ใช้การลากไฟล์มาใส่แทนการซื้อจาก Online Store แบบ Kindle) ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตามมันยังมีปัญหาเรื่องภาษาไทยอยู่พอสมควร และยังไม่เหมาะกับการซื้อมาอ่านไฟล์ภาษาไทยมากนัก (ผมแจ้งปัญหาเหล่านี้ไปยังผู้ขายแล้ว ต้องรอการแก้ไขผ่านเฟิร์มแวร์ในอนาคตต่อไป)
ถ้าตัดเรื่องภาษาไทยออกไป iReed คงไม่ต่างอะไรกับเครื่องอ่าน E Ink รุ่นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Kindle (เช่น พวก Sony Reader) แต่จุดขายที่มีคงเป็นเรื่องมีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ไม่ต้องหิ้วมาเหมือนเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ถ้าไม่เน้นอ่านภาษาไทย และไม่ชอบระบบปิดของ Kindle ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกอีกตัวที่น่าสนใจครับ
ราคา 6,900 บาทไม่รวมแวท เริ่มขายวันที่ 16 กันยายนนี้ผ่านเว็บไซต์ ebookforyou.biz และเห็นว่าจะมีช่องทางจำหน่ายแบบออฟไลน์อื่นๆ ตามมา
Comments
ผมเห็นใน website ที่ให้มา เขาขายที่ 7500 บาท แถมยังโฆษณาว่า รองรับภาษาไทย "สมบูรณ์แบบ" ด้วยนะครับ
ตัวเลข 6,900 นี่เป็นตัวเลขที่ผู้ขายแจ้งมาทางอีเมลครับ
ส่วนประเด็นเรื่อง "สมบูรณ์แบบ" ก็ขึ้นกับลูกค้าจะเป็นคนตัดสินใจแล้วล่ะครับ ผมก็ทดสอบให้เต็มที่เท่าที่นึกออกแล้ว
ทำ bookmark หรือ annotation ในเอกสารได้หรือไม่?
การที่ฟีเจอร์ภาษาไทย ยังทำได้ไม่สมบูรณ์แบบ ที่เห็นได้ชัดคือการตัดทำภาษาไทย และการแสดงภาษาไทยไม่ครบ 3 ชั้นในหลายกรณี (สระ,วรรรณยุกต์หาย) จะมีการแก้ปัญหา ก่อนจำหน่ายถึงมือผู้ใช้งานหรือไม่ และอย่างไร?
ผมคืนเครื่องไปแล้ว แต่แจ้งให้ผู้ขายเครื่องเข้ามาตอบแล้วนะครับ เอาเท่าที่ตอบได้คือ ทำ bookmark ได้ครับ
ช่าวยตอบให้อีกข้อครับ
เพิ่มฟอนต์เองไม่ได้นะครับ(ดูจากในเว็บในข่าว)
อยากรู้ข้อมูลแบตครับ
ข้อมูลในเว็บขายของนั้น บอกไว้ว่า 1400mA แต่อุปกรณ์แบบนี้น่าจะจิบไฟอยู่แล้วครับ น่าจะอยู่ได้เป็นสัปดาห์ๆต่อหนึ่งการชาร์ตสบายๆ
เห็นราคาแล้วยังแอบให้ Kindle เป็นต่ออยู่ครับ
blog.semicolon.in.th
คินเดิล 3 ไวไฟ สั่งตรงมาที่เมืองไทย รวมภาษีอีกสามสิบเปอร์เซนต์ รวมราคาค่าขนส่ง อยู่ที่ 201 เหรียญ ไม่น่าจะเกินหกพันหนึ่งร้อยบาท
กรรม ไฟล์นี้ ผม ทำไว้เองอ่ะ ครับ หัวขโมย
นึกว่า ลิงค์ตายไปหมดแล้วซะอีก
อยากรู้ว่าตรงที่เขียนว่าหัวขโมยนี่ คืออะไรหรอ สงสัยๆ
ชื่อ (ย่อ) ของนิยาย?
เจอตัวแล้ว!
ตั้งใจจะแค่ทดสอบ รูปแบบ ไฟล์ epub ครับ ว่าแต่ละรุ่น ซัพพอร์ทอะไรบ้าง
แต่อันนี้ ตั้งใจแจก
littleprince
มีการใส่ภาพประกอบ ฝังฟ้อน ตัดคำ ทำภาพปก และสารบัญ
ขาด แต่ จัดย่อหน้าเท่านั้น เพราะใช้แรงงานมาก (แปลงจาก pdf ย่อหน้าเสียหมด)
แอบขำตรงที่มีเมนู Pictures ด้วย
ระดับ 1 จากกี่ระดับครับ :P
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยล่ะครับ
แต่อาจจะต้องกรำกันอีกมากหน่อยถึงจะอยู่ในระดับที่ยอมรับได้สำหรับนักอ่าน ยังไงก็สู้ๆ ครับ :)
ป.ล. ราคายังไม่ค่อยดึงดูดเมื่อเทียบกับ Kindle อย่างความเห็นก่อนหน้า แต่ผมคิดว่าถ้าปรับเรื่องการแสดงผลให้ดีๆ ก็ขายได้นะครับ
ถ้าจะให้ผมเลิกจับ kindle คงต้องให้ภาษาไทยดีกว่านี้ล่ะนะ ตอนนี้ก็อ่านอังกฤษต่อไปก่อนละกัน
รอมันตัดคำได้จะสอยมาอ่าน ebook สักตัว เอ้อ... เครื่องแบบนี้ถ้าเอามาเปิดไฟล์ภาพที่ scan มาเยอะๆ จะ work ไหมครับ (พวกการ์ตูนนั่นล่ะ)
ใครรู้จัก Shogun Total war บ้าง
สมการ LaTeX?
Kindle ยังเป็นที่หนึ่งในใจอยู่ครับ
ของ Kindle 3 นี่อ่านอะไรที่เป็นไทยได้บ้างครับ pdf อย่างเดียวใช่ปะครับ
ขอบคุณครับ
มีฟ้อนไทย มาในตัวแล้วครับ แต่แสดงผลแปลก ๆ หน่อย
ส่วนหนังสือ epub เท่าที่ทดสอบไม่รับการ ฝังฟ้อน แต่ ตัดคำด้วย ได้ครับ
ขอบคุณครับ แล้วมีแววจะดีขึ้นมั้ยครับ
Kindle 3 มีฟอนต์ไทยมาให้ด้วยกันครับ อ่านได้ทั้งบน Web Browser และ MobiPocket, Amazon
ฟอนต์ก็แต่ว่าแสดงไม่ครบทั้ง 4 ชั้น มีปัญหาสระลอย (อันนี้คลาสสิก) แต่ที่ขัดตาหน่อยคือ กับคำที่ใช้ไม้หันอากาศถ้าใช้คู่กับไม้เอก,โท,ตรี,จัตวา ตำแหน่งการแสดงผลจะเพี้ยนๆ เช่นคำว่า 'ชั้น' จะแสดงผลแปลกไป
ขอบคุณครับ แล้วมีแววจะดีขึ้นมั้ยครับ คือหมายถึงว่า เราพอจะมองเห็นว่ามันมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆมั้ยครับ
แล้ว Nook color ละครับ ภาษาไทยมีปัญหามั้ยครับ
ขอบคุณอีกทีครับ ทั้ง 2 ท่าน
เอาภาพมาฝากครับ ผมใช้ calibre ดูดข่าวจากเว็บมาดูใน kindle
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
โอ้ว ชัดดีครับ น่าสนใจมาก
ถ้าขายราคานี้ ผมสั่ง kindle เอาดีกว่าครับ พอกันเลย
แพงง่ะ
ราคา 7000 ผมขอซื้อ Kindle ดีกว่าครับ แพงไปเยอะครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ซ้ำ<ฝาก mod ลบที>
ซ้ำ<ฝาก mod ลบที>
eBook reader กับ Tablet อันไหนเหมาะกับแจกเด็กใช้แทนหนังสือมากกว่ากันครับ
ถ้าจำกัดว่าการเรียนรู้ คือการอ่านหนังสือเท่านั้น eBook Reader ก็เหมาะกว่า
แต่ถ้าการเรียนรู้ หมายถึงรูปแบบการเรียนรู้แบบ multimedia ก็ต้องเลือก Tablet
ขึ้นอยู่ว่าคำว่า "การเรียนรู้สำหรับเด็ก" ของแต่ละคนอยู่ในรูปแบบไหนครับ
ที่ผมใช้ Kindle ก็เพราะมันซื้อหนังสือจาก Amazon ได้ อย่างนี้มีเครื่องแต่ไม่มีหน้าร้านออนไลน์มันก็เลยไม่ครบองค์ประชุม เขาน่าจะคุยกับเจ้าของหนังสือไทยนะ
เท่าที่ทราบเห็นว่าพยามคุยกันอยู่ (แต่คุยอะไรบ้างอันนี้ไม่ทราบ)
ผมว่ามันน่าจะมีปัญหา ตรงสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ ก็กลัวโดนจำหน่ายไปโดยไม่เสียเงินต่อเล่มให้เค้า ไม่งั้นก็กลัวว่าของถึงมือลูกค้าแล้วโดนก็อปปี้กระจาย (เค้าอาจจะบอกว่า ของเดิมที่เป็นเล่มๆ มันถูกเผยแพร่ทางอิเล็กทรอนิกส์ยากไง)
ยากแต่ก็เห็นทำกันเกลื่อน...
บอกตามตรงเรื่องลิขสิทธิ์เข้าทำใจกันตั้งแต่ส่งงานเข้าร้านเพลทแล้ว
จริง ๆ ที่อยากได้คือ แบบนี้ครับ
เอามาขายประเทศที่อ่านหนีงสือเฉลี่ยยังไม่ถึง 1 หน้ากระดาษ แค่นี้ marketing ยังไม่ตอบโจทย์เลย