"ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย" อาจเป็นข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวยอดนิยม แต่ล่าสุด Amazon จับสองอย่างนี้มารวมกันให้ข้ออ้างหมดไป เมื่อเพิ่มฟีเจอร์อ่านอีบุ๊ก Kindle ให้กับอุปกรณ์ออกกำลังกายแบรนด์ Peloton ทั้งแบบสายพานและจักรยาน
อุปกรณ์ของ Peloton รองรับการเสพสื่อความบันเทิงแก้เบื่อขณะออกกำลังกายอยู่แล้ว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือแอพ Kindle ในแท็บ Entertainment เมื่อผูกเข้ากับบัญชี Kindle แล้ว ก็อ่านหนังสือเล่มที่อ่านค้างไว้ ตอนกำลังเดินสายพานหรือถีบจักรยานได้เลย สามารถปรับแต่งขนาดฟอนต์ บุ๊กมาร์ค และกระโดดข้ามบทได้ ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนที่เดิมเคยต้องถือเครื่องอ่านอีบุ๊ก Kindle ขณะออกกำลังกายได้ด้วย
แอพ Ookbee ประกาศหยุดให้บริการซื้อขายอีบุ๊กในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยให้ย้ายไปใช้แอพ ปิ่นโต อีบุ๊ก (Pinto) ในเครือเดียวกันแทน
เหตุผลของการปิดบริการ เป็นเพราะตัวบริการ Ookbee (ร้านขายอีบุ๊ก) ถูกย้ายจากบริษัท อุ๊คบี จำกัด ไปอยู่ภายใต้บริษัท สตอรี่ล็อก จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลในเครือเดียวกัน (เจ้าของแพลตฟอร์ม Tunwalai และ Fictionlog) ซึ่งบริษัท สตอรี่ล็อก มีแอพอีบุ๊กอีกตัวคือ Pinto อยู่แล้ว จึงให้ย้ายมาใช้แอพตัวนี้แทน และสามารถโอนย้ายอีบุ๊กเดิมที่ซื้อบน Ookbee ไปใช้กับ Pinto ได้ทั้งหมด
Rakuten Kobo เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ โดยเป็นครั้งแรกที่ Kobo มีรุ่น E-Ink จอสี ได้แก่ Kobo Libra Colour และ Kobo Clara Colour ใช้เทคโนโลยีหน้าจอแสดงผล Kaleido 3 ความละเอียด 300ppi แบบจอขาวดำ และ 150ppi เมื่อใช้งานในโหมดสี
Kobo Libra Colour ราคาขาย 219.99 ดอลลาร์ หน้าจอ 7 นิ้ว รองรับการใช้งานร่วมกับ Kobo Stylus 2 ส่วน Kobo Clara Colour ราคา 149.99 ดอลลาร์ หน้าจอ 6 นิ้ว ทั้งสองรุ่นมีคุณสมบัติกันน้ำ IPX8
นอกจากนี้ Rakuten Kobo ยังออกเครื่องอ่านอีบุ๊กจอขาวดำ Kobo Clara BW หน้าจอ 6 นิ้ว รุ่นอัปเกรดด้วยหน่วยประมวลผลและพื้นที่หน่วยความจำที่มากขึ้น ราคา 129.99 ดอลลาร์ ทั้งหมดสินค้าเริ่มส่งมอบ 30 เมษายน 2024 เป็นต้นไป
Amazon ปรับปรุงเงื่อนไขการเผยแพร่ผลงานหนังสือผ่าน Kindle Direct Publishing (KDP) หลังจากกลุ่มนักเขียนในสหรัฐร้องเรียนว่าคอนเทนต์หนังสือ ที่ใช้ AI สร้างขึ้นมาทั้งหมดมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก จนกระทบกับการค้นหางานเขียนที่คนแต่ง
บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MEB ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ชื่อว่า บริษัท ขริงขริง จำกัด ประกอบธุรกิจพัฒนา Enterprise Software และ/หรือ Digital Content
ในรายงานไม่ได้ระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบริการของบริษัท ขริงขริง อย่างไรก็ตามคุณพันธ์เทพ เหลืองวิริยะ ซีเอฟโอของ MEB ให้ข้อมูลกับทางการเงินการธนาคารว่าจะเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มอีบุ๊ก ที่คล้ายกับ meb หรือ readAwrite แต่เน้นขยายธุรกิจในต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นที่เข้าไปทำตลาด คาดว่าแพลตฟอร์มจะเปิดตัวภายในไตรมาสที่ 4 ปีนี้
MEB มีธุรกิจหลักคือบริการอีบุ๊กผ่าน meb และ readAwrite นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Hytexts ที่ขายอุปกรณ์ E-Reader
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท Hytexts Interactive ซึ่งเป็นบริษัททำระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ในเครือ Meb เปิดตัวห้องสมุดออนไลน์ของกรุงเทพชื่อ BKK X Hibrary ที่คนในเขตกรุงเทพสามารถมายืมหนังสืออีบุ๊กอ่านได้ฟรี
ระบบ Hibrary ของ Hytexts เป็นหนังสืออีบุ๊ก (มีทั้ง PDF หรือ E-PUB) ที่มีระบบจัดการสิทธิ DRM และจำกัดจำนวนเล่มของอีบุ๊กที่ซื้อสิทธิมา ผู้ใช้บริการสามารถ "ยืม" อีบุ๊กได้ตามโควต้าที่หน่วยงานนั้นมี และมีจำกัดเวลายืมเหมือนหนังสือเล่มกระดาษจริงๆ เมื่อครบกำหนดยืมแล้ว อีบุ๊กเล่มนั้นจะกลับมาเข้าโควต้าเพื่อให้คนอื่นมีสิทธิยืมต่อไป
เมื่อหลายปีก่อนเราอาจคุ้นเคยกับประโยคว่า สื่อกระดาษอย่างหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารควรปรับตัวด้วยการขายเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-newspaper หรือ e-magazine แทน แต่วันนี้ประโยคนี้อาจไม่เป็นจริงอีกแล้ว
Amazon ประกาศยุติบริการ Amazon Newsstand ที่ให้สมัครสมาชิกรับ e-newspaper และ e-magazine บนเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle (บริการนี้ยังรวมถึงการสมัครฉบับกระดาษส่งถึงบ้าน โดยจ่ายเงินผ่านระบบของ Amazon ได้ด้วยหากต้องการ)
ในวันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2566) บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำหุ้นบริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรก โดยใช้ตัวย่อในการซื้อขาย MEB หมวดธุรกิจบริการ มีมูลค่าการเสนอขายไอพีโอ 2,151.75 ล้านบาท ที่มูลค่ากิจการ ณ ราคาไอพีโอ 8,550 ล้านบาท โดยหุ้นที่เสนอขายมีทั้งหุ้นเพิ่มทุน และหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
MEB มีธุรกิจหลักคืออีบุ๊ก หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางจำหน่ายหลักผ่านแพลตฟอร์ม meb และ readAwrite นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Hytexts ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Reader โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งคือ กลุ่มเซ็นทรัล รีเทล (CRC)
ประโยชน์หนึ่งของ NFT สำหรับงานสร้างสรรค์ ก็คือครีเอเตอร์หรือผู้สร้างผลงานต้นแบบ สามารถกำหนดรับส่วนแบ่งผลประโยชน์ได้ตลอด หากชิ้นงานนั้นถูกซื้อขายต่อในตลาดมือสอง ประโยชน์นี้เองทำให้ธุรกิจหนึ่งอยากเข้ามาใช้ประโยชน์ของ NFT ด้วยนั่นคือ Textbook หรือตำราเรียน
Andy Bird ซีอีโอของ Pearson บริษัทผู้ผลิตตำราเรียนรายใหญ่ ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg เผยว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้ปรับรูปแบบการขายตำราเรียนมาเน้นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งช่วยลดปัญหาตำราเรียนถูกขายต่อในตลาดมือสองได้บ้าง
จากที่พยายามเจาะตลาดจีนมาสิบปีนิดๆ มาบัดนี้อเมซอนประกาศโยนผ้าขาว ปิดคินเดิลสโตร์ในจีนแล้วครับ
สรุปสั้นๆ ไทม์ไลน์จะเป็นอย่างนี้ครับ
ที่ผ่านมาผู้ใช้ Kindle หากต้องการอ่านอีบุ๊คจากไฟล์ EPUB ซึ่งเป็นไฟล์ฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายในอีบุ๊ค จะต้องใช้โปรแกรมแปลงไฟล์อย่าง Calibre ให้เป็นฟอร์แมต AZW3 ของ Kindle ก่อน แล้วส่งผ่าน Send to Kindle เนื่องจาก Kindle ไม่รองรับ EPUB แต่ล่าสุดแนวทางนี้เปลี่ยนไปแล้ว แม้ไม่ทั้งหมด
โดย Amazon ระบุว่าภายในปี 2022 ผู้ใช้ Kindle สามารถส่งไฟล์ EPUB ผ่าน Send to Kindle เพื่อเปิดอ่านใน Kindle ได้แล้ว อย่างไรก็ตามไฟล์ EPUB นั้นจะถูกแปลงให้เป็นฟอร์แมต AZW3 เช่นกัน
ในประกาศนี้ Amazon ยังบอกว่าไฟล์ฟอร์แมต MOBI ก็เตรียมยุติการสนับสนุนเช่นกัน
Amazon มาแบบเซอร์ไพร์ส ประกาศรองรับไฟล์อีบุ๊กแบบ EPUB บนเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องซื้อจาก Amazon ก็ได้
เดิมที Kindle รองรับไฟล์ .AZW หรือ .MOBI เท่านั้น แม้ว่าไฟล์อีบุ๊กมาตรฐานเป็น EPUB แต่ Amazon ก็ไม่ยอมรองรับสักทีมาเป็นเวลานานมาก
ล่าสุด Amazon ประกาศว่าบริการส่งไฟล์เข้าเครื่องผ่านแอพ Send to Kindle บนมือถือ/คอมพิวเตอร์ จะรองรับไฟล์ EPUB ในช่วงปลายปี 2022 และจะปิดการส่งไฟล์แบบเก่า .AZW และ .MOBI แล้ว แม้ว่าไฟล์เดิมบนเครื่องจะยังใช้งานได้ต่อไปก็ตาม
Amazon ให้เหตุผลว่าไฟล์ .AZW และ .MOBI เป็นไฟล์แบบเก่าที่ไม่รองรับฟีเจอร์ของ Kindle รุ่นใหม่ๆ แล้ว จึงตัดสินใจย้ายมาใช้ EPUB แทน
เกิดดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์นิยายขึ้น เมื่อ กศน.อำเภอ และ กศน.จังหวัด ผู้ดูแลห้องสมุดประชาชนออนไลน์สแกนไฟล์นิยายขึ้นเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ให้อ่านฟรี ระบุเป็นเจตนาดีเพื่อให้ประชาชนได้อ่านหนังสือฟรีในยุคโควิด จนนักเขียนนิยายเตรียมดำเนินการทางกฎหมายข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
ล่าสุด ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ให้สัมภาษณ์ว่าได้สั่งให้ลบไฟล์ดังกล่าวแล้ว ชี้เป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
Pearson สำนักพิมพ์ผู้จัดจำหน่ายตำราเรียน (textbook) รายใหญ่ของโลก เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Pearson+ แอปรวมตำราเรียนแบบดิจิทัล (e-textbook) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาล่าสุดแบบดิจิทัลได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ในราคาแบบเหมาจ่าย
โมเดลราคาของ Pearson+ มีสองแบบคือ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน สามารถเลือกในหนึ่งตำราเรียนดิจิทัล และแบบราคา 14.99 ดอลลาร์ต่อเดือน เข้าถึงได้ทุกตำราดิจิทัลของ Pearson ที่มีมากกว่า 1,500 รายการ
ผู้ใช้งาน Kindle ที่ใช้แพ็กเกจไม่มีโฆษณา ได้ฟีเจอร์ใหม่คือ Display Cover ตั้งรูปปกหนังสือกำลังอ่านอยู่เป็นหน้าจอล็อกสกรีนได้ โดย Amazon ระบุว่า ฟีเจอร์นี้รองรับชื่อหนังสือ นิตยสาร และมังงะในจำนวนมาก Display Cover ใช้งานได้ใน Kindle รุ่นที่ 8 และ 10, Paperwhite รุ่นที่ 7 และ 10, Oasis รุ่นที่ 8 และ 9, Voyage รุ่นที่ 7
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาสำนักงานกฎหมาย Hagens Berman ได้ยื่นฟ้องต่ออเมซอนที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
โดยในคำฟ้องนั้นทางสำนักงานฯ เชื่อว่า อเมซอนละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ลักลอบทำสัญญาลับๆ กับบรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ได้แก่ Penguin Random House, Hachette, HarperCollins, Macmillan, และ Simon & Schuster เพื่อทำให้ราคาอีบุ๊คบนอเมซอนถูกที่สุด เป็นการลดการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลเสียแก่ผู้บริโภค
ในคำฟ้องมีการอ้างถึงแทคติคต่างๆที่อเมซอนทำเพื่อให้มั่นใจว่าราคาอีบุ๊คในร้านค้าตัวเองจะต้องถูกที่สุดอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
Medium ประกาศซื้อกิจการ Glose สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศสโดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีล
Glose เป็นบริการซื้อ ดาวน์โหลด และอ่านหนังสือดิจิทัล รวมทั้งหนังสือเสียง ผ่านแอปหรือบนเว็บในคอมพิวเตอร์ โดยเพิ่มคุณสมบัติด้านโซเชียล ผู้ใช้งานสามารถสร้างชั้นหนังสือ แบ่งปันเนื้อหาน่าสนใจกับผู้ติดตาม หรือสนทนาเพื่อแนะนำหนังสือน่าอ่านได้ บริการล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวคือ Glose Education ที่ออกแบบให้อาจารย์สามารถสั่งงานผ่านแพลตฟอร์ม ให้นักเรียน-นักศึกษาอ่านหนังสือเป็นกลุ่มได้ด้วย
จำนวนผู้ใช้งาน Glose มีมากกว่า 1 ล้านคน และบริการ Glose Education ก็มีมหาวิทยาลัยสมัครใช้งานแล้ว 25 แห่ง มีพาร์ทเนอร์สำนักพิมพ์มากกว่า 20,000 ราย
กูเกิลเปิดตัวหนังสือ Building Secure and Reliable Systems หนังสือเล่มที่สามในชุด Site Reliability Engineering (SRE) โดยพิเศษกว่าเล่มอื่นคือ เล่มนี้ให้อ่านฟรีทั้ง PDF, mobi, และ epub ส่วนเล่มอื่นอ่านบนเว็บได้ฟรีเท่านั้น
คำนำหนังสือระบุว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์การออกแบบระบบที่ขยายตัวได้ (scalable) และเชื่อถือได้ (reliable) โดยที่ยังปลอดภัยเต็มที่ เนื้อหาครอบคลุมกลยุทธ์การออกแบบระบบ, คำแนะนำในการพัฒนา/ทดสอบ/ดีบั๊ก, กลยุทธ์ในการรับมือเหตุต่างๆ, และแนวทางวัฒนธรรมในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกัน
หนังสือหนา 500 หน้า ผมสแกนดูเนื้อหาคร่าวๆ ไม่ได้อิงกับเทคโนโลยีใดเป็นการเฉพาะ แต่เล่าประสบการณ์การรับมือภัยรูปแบต่างๆ
สถาบันอุทยานการเรียนรู้หรือ TK Park เปิดให้อ่านอีบุ๊กฟรี 16,000 เล่มผ่านแอป TK park Online Library ซึ่งมีให้บริการอีบุ๊ก 12,000 เล่มจากสำนักพิมพ์ชั้นนำ หนังสือเสียง 338 เล่ม และคอร์สออนไลน์ 94 เรื่อง
นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชัน Libby, by Overdrive ที่มีอีบุ๊ก 3,200 เล่ม หนังสือเสียง 394 เล่ม และวิดีโอสารคดีภาษาอังกฤษ 298 เรื่องที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรีด้วย
เราเห็นบริษัทไอทีหลายรายออกมาช่วยสนับสนุนผู้คนในช่วง COVID-19 ระบาด เช่น GOG แจกเกมฟรี, Audibles เปิดหนังสือเสียงบางส่วนฟรี
ล่าสุด Scribd แพลตฟอร์มอ่านอีบุ๊ก แมกกาซีน หนังสือเสียง ก็ประกาศเปิดคลังหนังสือทั้งหมดฟรีเป็นเวลา 30 วัน โดยไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตก่อนด้วย
ผู้ที่ต้องการอ่านฟรีต้องเข้าไปกดโค้ดที่ลิงก์ Scribd Read Free โดยมีเงื่อนไขว่าเฉพาะลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยจ่ายเงินให้ Scribd มาก่อนเท่านั้น (ใช้ฟรีได้ถึง 17 เมษายน)
ไมโครซอฟท์ยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า Microsoft Edge เวอร์ชันใช้เอนจิน Chromium จะไม่มีฟีเจอร์การอ่านไฟล์อีบุ๊กฟอร์แมต EPUB ที่เคยมีใน Edge เวอร์ชันปัจจุบัน โดยแนะนำให้ผู้ใช้เลือกติดตั้งแอพอ่าน EPUB จาก Microsoft Store แทน
เอนจิน Chromium เองไม่ได้รองรับการอ่านไฟล์ EPUB อยู่ก่อนแล้ว บวกกับความนิยมในโลกอีบุ๊กที่ไม่ได้มากนัก (อย่างน้อยก็ในสายตาไมโครซอฟท์ เพราะเลิกขายอีบุ๊กบน Microsoft Store ไปแล้ว) ก็ไม่น่าแปลกใจที่ไมโครซอฟท์ตัดสินใจไม่พัฒนาฟีเจอร์อ่าน EPUB ให้กับ Chromium
กระแส Digital Disruption แผ่ขยายไปยังธุรกิจตำราเรียน (textbook) แล้ว ล่าสุด Pearson สำนักพิมพ์ผู้ขายตำราเรียนรายใหญ่ของโลก ประกาศปรับตัวครั้งใหญ่ด้วยแนวทาง digital first พัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้เป็นเวอร์ชันดิจิทัล (e-textbook) ที่อัพเดตเนื้อหาบ่อยๆ และต่อเนื่อง (เบื้องต้นยังมีผลเฉพาะตำราเวอร์ชันที่ขายในสหรัฐอเมริกา)
ส่วนตำราเรียนที่เป็นหนังสือกระดาษแบบเดิม จะลดความถี่ในการปรับปรุงเนื้อหาลง (เดิมปรับปรุงทุก 3 ปี ต่อไปจะนานกว่านั้น) และเปลี่ยนโมเดลจากการขายหนังสือขาด มาเป็นการให้เช่าหนังสือเพียงอย่างเดียว
ปกติแล้ว Pearson มีตำราเรียนวางขายในสหรัฐอเมริกาประมาณ 1,500 เล่ม โดยปี 2019 มีอัพเดตเวอร์ชันใหม่ 500 เล่ม แต่ปีหน้า 2020 จะอัพเดตเพียง 100 เล่มเท่านั้น
Walmart เชนร้านค้าปลีกของอเมริกา และ Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยนำความถนัดของแต่ละบริษัทมาให้บริการลูกค้าแต่ละประเทศ
โดยในฝั่งญี่ปุ่น Rakuten ประกาศเพิ่มบริการจัดส่งสินค้าของชำภายในประเทศชื่อ Rakuten Seiyu Netsuper ซึ่งเป็นความร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต Seiyu ที่ตอนนี้มี Walmart เป็นเจ้าของ คาดเริ่มให้บริการได้ในครึ่งหลังของปี 2018
ส่วนที่อเมริกา Walmart จะนำบริการอีบุ๊ก Kobo ของ Rakuten ที่ตอนนี้มีหนังสือกว่า 6 ล้านหัวเรื่อง ไปให้บริการที่นั่นผ่าน Walmart.com รวมทั้งจำหน่ายบัตรซื้ออีบุ๊ก และเครื่องอ่าน Kobo ในร้าน Walmart ด้วย
ต่อเนื่องจาก iOS 11.3 ที่พบว่ามีการเปลี่ยนชื่อแอพอ่านอีบุ๊กที่อยู่คู่ iOS มานานอย่าง iBooks เป็น Books โดย Mark Gurman แห่ง Bloomberg เผยว่าแอปเปิลเตรียมเปิดตัว Books โฉมใหม่ในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยมีอินเทอร์เฟซที่เรียบง่ายขึ้น และรูปแบบคล้ายกับ App Store แบบใหม่ใน iOS 11
รายงานระบุว่า Books โฉมใหม่นี้จะเพิ่มส่วนใหม่ที่กำลังนิยมในอีบุ๊กอย่างเช่น Reading Now หรือ Audio Books ด้วย
ปัจจุบันส่วนแบ่งอีบุ๊กในอเมริกาเป็นของ Amazon ถึง 83% ขณะที่แอปเปิลเองก็พยายามบุกตลาดนี้มานานแต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก
แพลตฟอร์มเผยแพร่และจำหน่ายอีบุ๊กที่ใหญ่ที่สุดของจีน China Literature เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง โดยคาดระดมทุนเพิ่มได้ราว 1.1 พันล้านดอลลาร์ โดยจะนำเงินทุนไปใช้ซื้อกิจการและขยายธุรกิจดิจิทัลเพิ่มเติม
ปัจจุบัน China Literature มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ Tencent ราว 62% และมีกองทุน VC อื่นๆ ร่วมลงทุนด้วย ซึ่งหากไอพีโอได้ตามเป้าหมาย มูลค่ากิจการจะอยู่ราว 6.4 พันล้านดอลลาร์
ธุรกิจ China Literature เปรียบเทียบได้ว่าคล้ายกับ Kindle Store ของ Amazon โดยมีผลงานเผยแพร่ในแพลตฟอร์มมากกว่า 9.6 ล้านชิ้นแล้ว
ที่มา: Reuters