เว็บประชาไทเสนอข่าวการดำเนินคดีกับนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทในคดีมีข้อความผิดกฏหมายตามมาตรา 14 และ 15 ตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
จุดที่น่าสนใจในคดีนี้คือการเบิกพยาน คือ พล.ต.ท.บุญเลิศ กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กองปราบปรามฯ ได้ขึ้นให้การว่าหลังจากติดต่อกับทางเว็บไซต์ประชาไทก็ได้รับความร่วมมือโดยได้มอบหมายเลขไอพีของผู้โพสข้อความให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับลบข้อความดังกล่าวออกในทันที อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.บุญเลิศ ระบุว่าการที่ข้อความอยู่ในเว็บเป็นเวลา 11 วัน ก็ถือเป็นเจตนาตามพรบ. แล้ว
มาตรา 15 นั้นเป็นการเอาผิดกับผู้สนับสนุนการนำข้อความอันมีความผิดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีข้อความดังนี้ (สำหรับมาตรา 14 ดูได้ในพรบ. ฉบับเต็ม)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรานี้เป็นมาตราที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักนับแต่มีการตรากฏหมายฉบับนี้ออกมา เนื่องจากไม่มีการนิยามชัดเจนว่าการกระทำใดจึงถือว่าเป็นการจงใจสนับสนุนหรือเป็นการให้บริการตามปรกติเช่นกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าการที่ข้อความอยู่บนเว็บเป็นเวลา 11 วันแต่แม้จะลบออกในทันทีหลังได้รับแจ้งก็ถือว่าจงใจหรือยินยอมตามมาตรา 15 นี้
ที่มา - ประชาไท
Comments
น่ากลัวจริงๆ จะพิมอะไรก็ระวังกันหน่อยนะครับ
ต้องยอมรับว่ากฎหมายตัวนี้กำกวมได้ดีมาก
@TonsTweetings
เอาอะไรมาชี้ว่า 11 วัน?
ให้มันอยู่เป็นปี ถ้าไม่เห็นก็คือไม่เห็น พวกเจ้าหน้าที่นี่ปัญญาอ่อนจริงๆ
กฏหมายไม่ระบุไว้ให้ชัดเจน
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน
ควรจะต้องมีการเีขียนในกฏหมายเลยว่ากี่วัน
มันเขียนเป็นอย่างอื่นได้ครับ และต้องดูข้อจำกัดอื่นๆ ด้วย
ผมบอกได้ว่ามันไม่ใช่มิติเรื่องเวลาเพียงอย่างเดียว แค่การคัดกรอง กระบวนการอื่นๆ ก็ต้องมีการระบุให้ชัดกว่านี้
ในความเห็นของผม ตัวกฏหมายเองไม่ควรล็อกตัวเองไว้ในพรบ. เช่นนี้ แต่ควรเปิดให้กฏกระทรวง สามารถสร้าง guideline ให้กับผู้ให้บริการแต่ละประเภทอีกทีว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งมันต่างกันทั้งหมด ตั้งแต่ ISP, ร้านเน็ต, Hosting, Web Master, รวมถึงเจ้าของบล็อกที่สามารถลบความเห็นได้ ฯลฯ ถึงตรงนั้นเราจึงมาถกกันว่าความรับผิดชอบของผู้ให้บริการแต่ละแบบจะต้องเป็นอย่างไรเพื่อให้อินเทอร์เน็ตไม่ใช่พื้นที่ปลอดกฏหมายไปพร้อมๆ กับการไม่ทำให้มันเป็นพื้นที่แห่งความกลัวจนคนกระดิกอะไรก็อาจจะผิดได้
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าเรื่องนี้จะว่าเจ้าหน้าที่ว่าปัญญาอ่อนก็ไม่น่าจะถูกเรื่องนะครับ ถ้ากฎหมายมันไม่ชัดเจนมาตั้งแต่แรกก็คงโทษคนตีความไม่ได้ เพราะไม่ว่าเค้าจะตีความทางไหน ก็มีคนว่าเค้าได้อยู่ดี
ดูเหมือนการบัญญัติกฎหมายจะเป็นปัญหาใหญ่ในวงการกฏหมายบ้านเราจริงๆนั่นแหละครับ
นอกจากความไม่ชัดเจนแล้ว ยังมีเรื่องของภาษาที่พยายามจะใช้ให้เป็นทางการ ภาษาสละสลวย(ยกตัวอย่างง่ายๆก็ชื่อคนแหละครับ เราจึงมักจะมีคำถามว่า "ชื่อคุณหมายความว่าอะไร")
ซึ่งกลับกลายเป็นว่าเลือกใช้ภาษาที่คนไม่คุ้นเคยกัน ทำให้เข้าใจได้ยากมากขึ้นไปอีก
คนทั่วไปอ่านก็เข้าใจได้ยาก การตีความก็ยังหลากหลายได้หลายแบบชวนสับสนไปกว่าเดิม
แบน 1 เดือนให้เวลาคุณไปเรียนรู้ที่จะวิจารณ์อย่างสุภาพนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
คุณหลิวแบนซะบี้หมดแล้วครับ :)
คุณ lew ใจดีนะครับเนี่ย :-)
อย่างนี้แค่ 5นาทีถือว่าจงใจสนับสนุนก็ได้สินะ หึหึ...
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
แล้วใครมันจะได้ไปอ่านทุกความเห็นว๊ะ
อันนี้อาจจะไม่ใช่เหตุผลที่ช่วยได้นะครับ
ผมนึกถึงกรณีที่แฟนบอลตีกัน แล้วลงโทษทีมฟุตบอล
คนก็เยอะ ตรวจก็ยาก แต่ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่คุณได้ profit มา สิ่งที่การกระทำของคุณเอื้อให้เกิดขึ้นมา
คุณจึงต้องดูแล ต้องจ้าง guard ให้เยอะพอ ต้องควบคุมความสงบให้ได้
คงจะไม่ต่างกันมากนัก
ผมขอล้อเลียนหน่อยนะ :P
with great unique-IP comes great responsibility
อันนี้เป็นประเด็นที่ผมชี้ว่าธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตมันไม่ใช่แบบเดียวกับที่คุณเทียบมา
อย่าง Facebook มีแฟนบอล 500 ล้านคนในสนาม หารจำนวนพนักงานได้น้อยกว่า 1:50,000 เราจะปฎิเสธผู้ประกอบการว่างั้นคุณก็ไม่ต้องทำ ถ้าจะทำต้องจ้างคนมาดูให้ได้ 1:1,000 จะได้ดูแลทั่วถึง???
lewcpe.com, @wasonliw
อย่างที่คุณบอก ช่วยประเมินคร่าวๆหน่อยครับว่า กรณี pantip.com ต้องใช้คนดูแลกี่คน ในบอร์ดที่มี คห. วิ่งวันละหลายหมื่น คห.
ผมไม่ได้มองภาพว่าเป็น จำนวนคนดูแลเท่าไรต่อจำนวนคนเท่าไร หรอกครับ
ซึ่งถ้ามองในเรื่องของเม็ดเงิน เรื่องของจำนวนคน มันจะกลายเป็นเรื่องธุรกิจไป
เพียงแต่ผมคิดว่าถ้ามองในแง่กฎหมาย ความสำคัญคือการบังคับ การควบคุม มากกว่า
หากมองกันในแง่ความเป็นไปได้ตามความคุ้มค่าแบบนั้นแล้ว อาจจะไม่ดีนัก
แต่ผมก็เริ่มคล้ายตามคุณ lew และ คุณ platalay แล้วล่ะ ที่ว่าธรรมชาติมันแตกต่างกัน
ตอนนี้ผมรู้สึกว่ามันก้ำกึ่งๆกัน ระหว่าง
เรื่อง แฟนบอลตีกัน-ลงโทษทีมฟุตบอล, นักเรียนตีกัน-ยุบสถาบัน
กับ..... สมมุติว่า มีการขายยาในห้างแล้วจะลงโทษเจ้าของห้าง
มันกลายเป็นว่า แทนที่จะสนใจการลงโทษคนผิด ผมดันไปมองแต่ผลลัพธ์ว่าจะให้ป้องกันเท่านั้นห้ามเกิดเด็ดขาด แล้วดันเห็นด้วยกับการผลักภาระ(ที่ยุ่งยากมาก)ไปยังผู้มีอำนาจควบคุมในส่วนนั้นแทน โดยที่ไม่มีการอลุ้มอล่วย แม้ว่าผู้ดูแลจะยอมลบเนื้อหาดังกล่าวออกไปแล้วก็ตาม << แบบนี้รึเปล่าครับ ที่คุณสองคนพยายามบอกผม เพราะผมไปคิดแต่ประเด็นที่ว่า การดูแลไม่ทั่วถึงกับการจงใจปล่อยให้เกิดมันมันตรวจสอบแบ่งแยกจากกันได้ยาก
ผมว่าผู้ดูแลเขาเห็นที่โพสนะครับแต่ไม่ทำอะไร เพราะหลายโพสแนวนี้มันก็ดังคนเข้าเยอะ แล้วเว็บนี้ก็มีเรื่องแบบนี้เป็นประจำแต่ไม่แก้ไขสักที จนคล้ายเหมือนว่าแอดมินมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ควบคุมการโพสในลักษณะนี้
ส่วนตัวผมคิดว่าแค่คำเบิกความพยานไม่น่าเอามาเป็นประเด็นข่าวเลยนะครับ สร้างความสับสนมึนงงกันเปล่าๆ
ในคดีอาญายิ่งแค่พยานเบิกความหลักลอยไม่มีเหตุผลมากพอมารองรับก็ไม่มีน้ำหนักที่ศาลจะรับฟังแล้ว ยิ่งถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าเค้าเจตนายินยอมหรือสนับสนุนจริงตามที่ไปกล่าวหาก็จบกัน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
พยานคนนี้คือ "เจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินคดี" ทำไมจึงไม่เป็นประเด็นข่าวหรือครับ?
มึนอะไร? งงตรงไหน? วิจารณ์ได้ครับ ไม่มีปัญหา แต่ที่คุณเขียนอ้อมแอ้มแบบนี้มันไม่มีความหมายอะไร
ผมเขียนชัดเจนว่าคดี "อยู่ระหว่างการพิจารณา" ในความคิดของคุณ คดีอาณาที่อยู่ระหว่างพิจารณาเราไม่ควรนำเสนอ????
ในความเห็นของผม การถูกดำเนินคดี เป็นประเด็นพอที่จะนำเสนอข่าวได้เสมอครับ ที่จริงเราควรนำเสนอตั้งแต่ถูกดำเนินคดีเสมอๆ ด้วย เพื่อนำเสนอที่มาที่ไป เพราะทั้งหมดมันคือ "กระบวนการยุติธรรม" การดูแต่ผลการพิจารณาคดีแล้วไม่ใส่ใจกระบวนการ เป็นความเลวร้ายอย่างยิ่ง (ดูคดีเชอรี่แอนเป็นตัวอย่างได้ดี)
เราควรต้องใส่ใจกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด กรณีนี้ผมไม่ได้วิจารณ์ตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงด้วยซ้ำไป แต่กำลังวิจารณ์ตัวกฏหมายซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นว่ามีปัญหา เจ้าหน้าที่กรณีนี้ที่ตีความมา ส่วนตัวผมไม่ได้คิดว่าเขาตีความเกินเลยหรือมีอคติอะไร เขาอาจจะไม่เข้าใจธรรมชาติอินเทอร์เน็ต ทำให้การบังคับใช้มีปัญหา
แต่ความผิดไม่ได้อยู่ที่ตัวเขา (จากมุมมองของผม) ปัญหาอยู่ที่ตัวกฏหมายไม่ควรปล่อยให้พึ่งวิจารณญาณมากเช่นนี้
lewcpe.com, @wasonliw
ก็เพราะว่าเป็นการเน้นมาเฉพาะส่วนที่เป็นคำเบิกความพยานเพียงปากเดียวนี่แหละครับ แถมพยานนี้ก็ยังไม่แน่ว่าศาลจะรับฟังนึเปล่าด้วยซ้ำไป จริงอยู่ที่เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนสำคัญในคดีมีส่วนอย่างมากในการนำคดีขึ้นสู่ศาลแต่ในเมื่อคดีนี้กำลังจะมีการตัดสินพิพากษาออกมาแล้ว ซึ่งบรรทัดฐานที่เจ้าหน้าที่จะใช้หลังจากคดีนี้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำพิพากษาแน่นอนครับ ดังนั้นรอให้คำพิพากษาออกมาเสียก่อนก็ยังไม่สายเพราะมันจะเป็นอะไรที่แน่นอนแล้วครับ
คือถ้าจะนำเสนอกระบวนการยุติธรรมให้ครอบคลุมผมว่าควรจะสรุปมาคร่าวๆทั้งหมดก่อนแล้วอยากเน้นประเด็นอะไรที่น่าสนใจก็ค่อยว่ากันไป อย่างน้อยๆก็แยกเป็นสืบโจทก์ สืบจำเลยก็ว่ากันไปก็ยังดี เพราะผมสังเกตว่าหลายๆคนรับข่าวแล้วกลับไม่ได้มีการมองในภาพรวมอย่างที่คุณ lew ต้องการเสนอครับ จะกลายเป็นว่าบางส่วนจะยึดติดกับประเด็นนี้เลยเป็นหลัก ทั้งๆที่คำพิพากษาออกมาจริงๆประเด็นนี้อาจจะเป็นแค่ปลีกย่อยหรือรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเท่านั้นเอง
แต่ในส่วนนี้ทั้งหมดผมว่าเหตุมาจากที่มาของข่าวมากกว่าที่เขียนเน้นแต่ประเด็นแบบนี้มากกว่า ยังไงก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคุณ lew เองแหละครับผมแค่อยากเสนอความเห็นไว้ให้ได้รับทราบเฉยๆ เพราะทั้งหมดมันก็ยังไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับคำพิพากษา
ส่วนตัวผมเห็นตรงข้ามกับคุณ lew เฉพาะในส่วนที่ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคลที่นำกฏหมายมาใช้ในขั้นต้นมากกว่าครับ เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฏหมายมากเพียงพอมากกว่าเพราะกฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าต้องมีเจตนาพิเศษคือ จงใจหรือยินยอม แต่ประเด็นนี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้พูดถึงด้วยซ้ำกลับว่าเค้าจงใจอย่างไร ยินยอมอย่างไรไปตีความเอาเองว่า 11 วันถือว่ามีเจตนา ต้องถามว่ามีเหตุผลมากกว่านี้มั้ยที่จะบอกว่าเป็นเจตนาจริงๆ
การที่กฏหมายเขียนเป็นข้อกว้างๆไว้จะไปโทษคนร่างทั้งหมดมันก็ไม่ถูกซะทีเดียวเพราะการเขียนกฏหมายให้ครอบคลุมเรื่องที่ยังไม่เกิดมันยากครับ คือถ้าเรียนเขียนกว้างๆไปแล้วพิจารณาเป็นคดีๆไปตามข้อเท็จจริงก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราไปจำกัดมันไว้ในตัวบทหากมีคดีไหนอาศัยช่องว่างไปเราจะไม่สามารถป้องกันได้เลยครับ เพราะการตีความกฏหมายต้องตีความตามเจตนารมณ์เป็นหลักแต่ก็ต้องไม่ขัดกับตัวอักษรในตัวบทด้วย
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ผมตอบเฉพาะเรื่อง "ความจงใจ" ในตัวกฏหมายนะครับ
คำถามของผมคือต้องมีอีกกี่คดี เราจึงจะได้กฏเกณฑ์ที่ชัดเจนให้เจ้าที่ปฎิบัติได้อย่างเป็นระบบ คดีนี้ 11 วัน คดีหน้าอาจจะ 30 วัน ผมเคยรับทราบว่าบางกรณีเจ้าหน้าที่ติดต่อหลังจากเหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้วหลายเดือนเว็บมาสเตอร์ไม่มีหมายเลขไอพีให้เจ้าหน้าที่ด้วยซ้ำเพราะเกินกำหนดการเก็บ log (แต่ยังไม่ได้ยินว่ามีการดำเนินคดี)
หลักการคิดของคุณคือกฏหมายควรเขียนให้คลุมๆ ไปก่อนค่อยเอาคนขึ้นศาลไปทีละกรณีอย่างนั้นหรือครับ ถ้าอย่างนั้นเราคงเห็นไม่ตรงกันตั้งแต่ปรัชญาพื้นฐานของกฏหมาย ตัวผมเองเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมควรรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนให้น้อยที่สุด การดำเนินคดีควรเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความผิดชัดเจน
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องกฏเกณท์ถ้าจะมองเฉพาะจำนวนวันอย่างเดียวทำอย่างไรก็ไม่มีทางที่มันจะแน่นอนได้หรอกครับ ส่วนตัวผมมองว่าจำนวนวันไม่ควรจะเอามาคิดเป็นเครื่องพิสูจน์เจตนาด้วยซ้ำไปถ้าหากยังไม่มีการดำเนินการติดต่อให้ลบจากเจ้าหน้าที่หรือคนที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีการติดต่อหรือแจ้งเหตุแล้วค่อยนับวันผมว่ายังพอที่จะวัดเจตนาได้ครับ
มันไม่ใช่หลักการคิดครับ แต่มันคือความเป็นจริง มนอุดมคตินักกฏหมายทุกคนอยากที่จะเขียนกฏหมายให้ได้อย่างที่คุณ lew ว่าไว้แหละครับแต่มันติดตรงที่ว่าจะเขียนอย่างไรให้มันครอบคลุมได้โดยที่ไม่ต้องตีความเลยซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเขียนให้มันแข็งเกินจะกลายเป็นไม่มีที่ให้บังคับใช้กฏหมายซะอีก
อีกอย่างก็คืออย่างที่เห็นว่ากฏหมายอันนี้ถ้ามองในมุมมองในชั้นศาลผมถือว่ามันค่อนข้างชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วคือต้องพิสูจน์เจตนาได้แน่นอนจึงจะเป้นความผิดสำเร็จ ผมแน่ใจว่าผู้พิพากษาทุกท่านเข้าใจและคำนึงถึงจุดนี้อย่างแน่นอนครับ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือก่อนจะถึงชั้นศาลนั้นพนักงานสอบสวนไปตีความเอาเองว่าอะไรคือเจตนา ซึ่งเหตุก็เพราะไม่มีฏีกาในข้อเท็จจริงลักษณะนี้มาก่อน ดังนั้นหากคดีนี้ถึงที่สุดก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคตได้แน่นอนครับ
จริงๆในขั้นตอนก่อนการฟ้องนอกจากพนักงานสอบสวนก็มีพนักงานอัยการคอยกลั่นกรองอยู่แล้วครับว่าคดีไหนมีมูล ไม่มีมูล ถ้าหากไม่สุ่มเสี่ยงขนาดที่ว่ามันอาจจะผิดจริงไม่ไปถึงชั้นศาลอยู่แล้ว และหากปล่อยไปถึงชั้นศาลได้ศาลเองก็ยังมีดุลยพินิจว่าจะรับหรือไม่รับได้อีกชั้นหนึ่งดังนั้นการที่กระทำไม่เป็นความไม่ผิดอย่างชัดเจนแล้วจะไปถึงชั้นคดีความในศาลมันเกิดน้อยมากๆครับ และศาลนี่เองที่เป็นผู้ตัดสินว่าใครผิด หรือไม่ผิด หากคนธรรมดาทั่วไปสามารถตัดสินได้ทุกกรณีว่าความผิดไหนผิดชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็คงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีระบบตุลาการแล้ว เพราะทุกคนตัดสินได้เองกันหมด ซึ่งวันนั้นอาจจะมีจริงก็ได้แต่ผมมองว่ามันเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันหรืออนาคตอันใกล้นี้ครับ
แล้วก็ต้องอย่าลืมมองในประเด็นภาพรวมว่าการถูกฟ้องในคดีเช่นนี้ไม่ได้มีเหตุผลเพียงแค่ 11 วันเท่านั้น มันยังมีเหตุผลประกอบอีกมากมายที่รวมกันจนทำให้การกระทำมีมูลมากพอที่จะส่งฟ้อง และนี่แหละครับคือสิ่งที่ผมกังวลจนอยากจะแสดงความเห็นให้ได้รับทราบไว้ เพราะพอเรามองประเด็นปลีกย่อยเพียงประเด็นเดียวเราก็จะลืมมองภาพรวมไป
ต้องเข้าใจว่ากฏหมายลักษณะนี้ไม่เหมือนประมวลแพ่งที่พัฒนากันมาสองพันกว่าๆปีแล้ว ผ่านการลองผิดลองถูกมาเยอะมากๆครับไม่มีกฏหมายใดๆที่ร่างมาแล้วมันจะสมบูรณ์แบบในตัวหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็นการร่างกฏหมายที่ครอบคลุมโดยไม่ต้องตีความก็ดี หรือการส่งฟ้องเฉพาะความผิดที่มันแน่นอนชัดเจนก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติของนักกฏหมายดีๆทุกคนแหละครับ แต่มันก็ต้องยอมรับว่ามันมีหลายๆสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ในขณะนี้และเราก็เท่าเท่าที่ทำได้แล้ว ตราบเท่าที่แนวทางที่ดีกว่านี้และทำได้อย่างเป็นรูปธรรมเราก็ต้องยอมรับในขีดจำกัดของมนุษย์เราครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ถ้าไปตั้ง server อยู่บน cloud ต่างประเทศ โยน data ย้ายที่ไปโน่นไปนี่จะรอดไหมครับ
ถ้าขึ้นว่าคุณเป็นเจ้าของเวบ ให้ server อยู่ดาวอังคารก็คงไม่รอดครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ต้องจดทะเบียนแบบหาต้นตอไม่เจอครับ คือ ไปจดทะเบียนที่ต่างประเทศเลย แนะนำว่าให้เลือกประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญากับไทยอย่างที่อดีตนายกไปอยู่
สงสัยเวปดราม่า จะมีความผิดครบทุกกระทง ^_^
ถ้ามีคนแจ้งก็จบล่ะครับ
ความเห็นแต่ละอันนี่ สุ่มเสี่ยงมากจริงๆ
Google คงไม่ตั้ง Cache ในไทยสินะ!
เค้าตั้ง cache farm ของ youtube ไว้ในไทยส่วนหนึ่งนะ
pittaya.com
พรบ ชุดนี้มีปัญหาเยอะมากถ้าใครได้เคยอ่านมาบ้างก็พอจะทราบว่ามันเป็นกฎหมายจับแพะ + คลุมเครือ ส่วนมากต้องใช้ดุลพินิจ(?) เอาเองทั้งนั้นและที่ปวดตับที่สุดคือใช้คำว่า "น่าจะ" เนี่ยหละครับ ใช้ความรู้สึกส่วนตัวกันล้วนๆ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
แนะนำให้ webmaster ทุกท่านไปเรียนโหราศาสตร์ครับ จะได้ทำนายล่วงหน้าได้ว่าจะมีข้อความหมิ่นโผล่มาตอนไหน ไม่งั้นคงไม่รอด
คุณ lew สนใจมั้ย?
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
แนะนำหมอลักษณ์ ตอนนี้ฟันธงออกมาแล้ว ห้ามแข้งไทยใส่'สีเหลือง'ถาวร เป็นกาลกิณีแพ้ตลอด
น่าประหลาดใจมั้ยว่า รัฐบาลชุดนี้จัดหนักกับเรื่องหมิ่นทั้งหลายมากกว่ารัฐบาลที่แล้วอีก
และผมจะบอกให้ว่านี่แค่เริมต้นแค่นั้นเอง
เรื่องรัฐบาล "จัดหนัก" ผมไม่ทราบนะครับ
แต่ถ้าเรื่องคดี การดำเนินคดีของคดีนี้ กว่าจะมาถึงกระบวนการนี้ได้ผ่านการดำเนินคดีมานานหลายเดือนแล้วครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ครับ แต่อ่านแล้วนึกขึ้นได้พอดี
ผมหมายถึง 2คดีที่พึ่งออกหมายจับสดๆในรัฐบาลนี้ครับ
คดีแรกไม่อนุญาติให้เข้าประเทศแบบแกมบังคับ (เพราะเวลานี้เจ้าตัวอยู่นอกประเทศ)
คดีที่สองติดคุกไปแล้ว และไม่ให้ประกันตัว
แล้วมันมีรอในกระบวนการอีกหลายเลยครับ ถึงบอกว่าจัดหนักจนน่าแปลกใจ
อย่าไปฟังพันธมิตรให้มากแล้วคุณจะเห็นความจริงครับ
ps0. รวมถึงแกนนำเสื้อแดง
เอาเป็นว่าชุดนี้ผมสามารถดู Sopcast ได้โดยที่ไม่ต้องใช้ Proxy ก็น่าพอใจแล้วครับ -..-
ทันเปิดฤดูกาลพอดี
ข้อดีของ พรบ นี้คือคนทำ syslog รวยครับต้องทำโน่นนี่เยอะมาก ค่าอินเตอร์เน็ตเดือนละ 590 ค่า syslog เกือบล้านใครไม่อยากเสี่ยงก็จ่ายไป ผมก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเจ้าไหนที่ที่ถูกต้องตาม พรบ มีแต่บอกว่าถูกปรับเดี๋ยวจ่ายให้ ยังกะขายประกัน
ตรงที่มีแสง
อยากให้คนที่ไม่เคยอ่านได้อ่านครับ
พระบรมราโชวา
“...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”
)
พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ออกมาในช่วงหลังรัฐประหารน่ะครับ ดูยังไงก็กฏหมายรับใช้เผด็จการ
pittaya.com
รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ด้วยไหม ?
ถ้าจะให้ย้อนกันจริงๆ รัฐธรรมปี 40 ก็หลังปฏิวัติครับ ประเทศไทยปฏิวัติโดยทหารไม่รู้กี่ครั้ง รัฐธรรมนูญเกิดหลังจากนั้นก็หลายมาตรา
รัฐบาลสมัยนั้นมาจากการเลือกตั้งครับ กระบวนการได้มานั้นมีจุดเริ่มจากระบอบประชาธิปไตย
ทุกประเทศในโลกปัจจุบันมีอดีตมาจากระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งสิ้น มันก็ต้องมีจุดเปลี่ยนครับ กระบวนการเปลี่ยนเองมันก็ต้องแก้ไขสิ่งที่เป็นมาในอดีต หากเราบอกว่าประเทศเราจะเป็นประชาธิปไตย มันก็ต้องแก้ไขให้กระบวนการมันเป็นประชาธิปไตย
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเว็บนั้น Google Cached Pages เอาไว้ กฏหมายจะตีความว่าอย่างไรครับ ?
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
น่าเห็นใจ webmaster นะครับ
ทาง ผู้ดูแล web เอง อาจเผลอ ก็ได้
จริงๆ ทำ web ทางการเมือง ต้องมี link ด่วน สายตรงให้สมาชิคได้กดแจ้งไปยังผู้ดูแล เหมือนทาง pantip.com ทำ
ทีมงานจะได้เห็นทันท่วงที
หัวก้าวหน้าไม่ผิดครับ ตราบใดที่(ข้อความ)ไม่ละเมิดความรู้สึกคนอื่นๆ
น่ารักดีครับบ้านเมืองนี้
Standard Web Programmer.
ผมลองไปติดตามข่าวดู พอจับใจความได้ว่าทางเว็บได้ละเลยการตรวจสอบข้อความที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน ซึ่งปกติเรื่องนี้ทุกเว็บไซต์ต้องทราบดีอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ท่านตำรวจพิจารณาและดำเนินการอย่างนั้นก็ถือว่าสมเหตุสมผลอยู่นะครับ
แต่สุดท้ายอย่าลืมว่า ปกติแล้วตัวเล็กๆ จะได้รับโทษไป
Web ประชาไท เป็นของเขาอย่างนั้นมานานแล้วครับ ใครอยากโพสหมิ่นฯ ยังไงก็ได้ เจอประจำ ที่จริงเว็บนี้ควรถูกจัดหนักนานแล้ว
อะไรที่ใช้คำว่า "ดุลยพินิจ" ล้วนแล้วไม่น่าเชื่อถือเพราะแปลว่าัมันเลื่อนลอยจนไร้หลักการที่จะอ้่างอิงก็ว่าได้ ยิ่งการอนุโลมใชัดุึลยพินิจแต่ละครั้งตัดสินออกมาไม่เท่ากัน ก็ยิ่งทำให้การเลือกปฎิบัติเกิดขึ้นง่ายมาก
ตัวเลข 11 วันจะว่ามากก็มากถ้าจำนวนกระทู้น้อยและเจ้าของตรวจทุกวัน จะว่าน้อยก็น้อยถ้าจำนวนกระทู้มากและเจ้าของไม่มีเวลาตรวจสอบนัก(ผมว่า web แลกเปลี่ยนข่าวสารส่วนใหญ่ไม่ใช่งานหลักของ WMยกเว้นเวบเพื่อการค้าโดยตรง)ตรงนี้แหละที่เป็นช่้องว่าง ว่าการระบุตัวเลขหรือระยะเวลาใดๆ ต้องมีเหตุปัจจัยที่ครบถ้วนและสามารถอ้างอิงใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไปได้เสมอ มันถึงจะโปร่งใสและไร้ข้อกังขาตามหลักนิติธรรมพื้นฐาน
กฏหมายนั้นตึงไปก็แย่ ... หย่อนไปก็แย่ครับ ความพอดีนั้นก็ยากเนื่องจากคนแต่ละคนอาศัยอยู่บนมาตรฐานทางความคิด ความตรึกตรองต่างกัน ดังนั้นมันจึงออกจะเป็นเรื่องยากในการร่างกฏหมายนี้นะครับ
ปล.ส่วนตัวแล้วผมเชื่อในการไม่มีกฏหมาย พรบ.คอม นะครับอ่านดูยังไงแล้วรู้สึกว่าประเด็นอยู่ที่ส่วนอื่นมากกว่า เช่นใช้กฏหมายหมิ่น (ทั้งหมิ่นประมาทและ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, พรบ.สื่อลามก, กฏหมายแพ่งและอาญาอื่นๆ) แค่กฏหมายเหล่านั้นควรจะประยุกต์เนื้อกฏหมาย (กฏกระทรวง กฏหลัก Guideline กระบวนการ ฯลฯ) ให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่มากขึ้นครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ใครทำธุรกิจ hosting เพื่อความปลอดภัยที่ดีที่สุดควร เอาไว้ต่างประเทศให้หมด จะมีข้อกฏหมายอะไรฟ้องได้ น้อยลง
ถ้าเขียนประกาศไว้ว่า ห้ามโพสข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือข้อความหมิ่นประมาท
แบบนี้ก็แสดงให้เห็นได้ว่าเราไม่สนับสนุน แล้วเราจะรอดใหมครับ
ต้องดูการกระทำประกอบครับ
ถ้าคุณเขียนทิ้งไว้เฉยๆก็ไม่มีประโยชน์ครับ
แต่กลับกันถ้าคุณเขียนไว้ แล้วมีช่องทางแจ้งเรื่องให้ชัดเจน มีมาตราการที่แน่นอนในการจัดการ และทำได้ในเวลาที่ไม่เกินกว่าปกติจะทำได้ อันนี้จึงจะเป็นเรื่องที่แสดงเจตนาคุณได้ว่าไม่ต้องการสนับสนุน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)