จากข่าวลือเรื่องที่ว่าอเมซอนกำลังวางแผนซื้อตัวนักเขียนเมื่อสามเดือนก่อน มาบัดนี้ข่าวเป็นจริงแล้วครับ
อเมซอนเปิดตัวแคมเปญที่ชื่อว่า "KDP Select" โดยที่ผู้เขียนที่ร่วมโครงการนี้ต้องขายอีบุ๊คเล่มนั้นกับอเมซอนเท่านั้น สิ่งที่นักเขียนจะได้รับพิเศษนอกเหนือจากส่วนแบ่งรายได้ซึ่งสูงสุดถึง 70% (นับว่าสูงสุดในบรรดาสำนักพิมพ์ทั้งหลาย) นั้นก็คือส่วนแบ่งในเงินกองกลาง 500,000 เหรียญต่อเดือนทุกๆเดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ไปถึงสิ้นปีหน้า ถ้าอีบุ๊คของนักเขียนถูกยืมมากครั้งก็จะได้ส่วนแบ่งจากเงินก้อนนี้มากขึ้นโดยตามสัดส่วนไป ส่วนสิทธิ์ในการตีพิมพ์เป็นเล่มนั้นตัวนักเขียนจะเลือกพิมพ์กับสำนักพิมพ์ไหนก็ได้
จริงๆ สำหรับอเมซอนก็แค่จ่ายเงินก้อนหนึ่งสำหรับดึงหนังสือให้ขายเฉพาะกับอเมซอนจำนวน 6.5 ล้านเหรียญตลอดทั้งปี ซึ่งจำนวนนี้นับว่าไม่มากนัก คิดเสียว่าเป็นการทดสอบวิธีการสร้างชื่อเสียงให้แก่นักเขียนหน้าใหม่ๆ แต่ถ้าสามารถดึงหนังสือจากนักเขียนมาขายเฉพาะอเมซอนได้และเกิดเล่มนั้นมันดังเปรี๊ยงปร้างก็คิดว่าน่าจะคุ้ม และยังเป็นการเริ่มเข้าไปขอส่วนแบ่งในบริการยืมอีบุ๊คในห้องสมุดที่อเมริกาเพื่อที่จะได้ลดการพึ่งพึงสำนักพิมพ์ในห้องสมุดมากขึ้น
เพิ่มเติม: หนังสือที่เข้าร่วมในโครงการ "KDP Select" นั้น ทางผู้เขียนอนุญาตให้ทางอเมซอนสามารถแจกฟรีได้สูงสุด 5 วันในรอบสามเดือน เพื่อเป็นการทำโปรโมชัน
ที่มา: Amazon.com via
BlogKindle.com
เกร็ด: ในปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อเมซอนก็มีปัญหากับสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ สำนักพิมพ์ฯถอดหนังสือตัวเองทั้งหมดจากบริการให้ยืมอีบุ๊คในห้องสมุดที่อเมริกาโดยที่บรรดาห้องสมุดไม่รู้ตัวล่วงหน้า มีผลทำให้ผู้ใช้งานเครื่องอเมซอนทั้งหมดไม่สามารถยืมหนังสือของสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ได้ ทำให้ห้องสมุดต่างๆโวยวายอย่างมาก (เพราะในอเมริกา การที่ห้องสมุดจะให้ยืมอีบุ๊คได้จะต้องซื้อสิทธิ์การยืมหนังสือจากสำนักพิมพ์ แต่แล้วถึงเวลากลับให้บริการไม่ได้ เพราะสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ถือลิขสิทธิ์จำนวนไม่น้อย) แม้ต่อมาห้องสมุดต่างๆ สามารถให้บริการหนังสือจากสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ได้ แต่กับเครื่องคินเดิลจะไม่สามารถยืมหนังสือเล่มใหม่ๆจากสำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คส์ได้อีกเลยจวบจนปัจจุบัน
Comments
นักเขียนได้ส่วนแบ่งมากขึ้น ผมว่าน่าจะวินๆ สำหรับ Amazon กับนักเขียนทั่วไป
แต่ร้านหนังสือเจ้าอื่น ตายแน่
Technology is so fast!
หนังสือที่เป็นเล่มตายแน่นอน เหมือนกล้องที่เป็นฟิล์ม
ในที่สุดก็คงจะใช่ แต่อาจจะเป็นห้าสิบปีหรือร้อยปีจากนี้ก็เป็นไป
เพราะเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มันแทนที่กันได้เลย แต่นี่มันงานวรรณกรม มีประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งมีอายุยาวมาก
สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะซื้อสิทธิ์ขาดจากผู้เขียนแถมสัญญาจะครอบคลุมเรื่องไปทำซ้ำจนหมดสิ้นอาจจะรวมทั้งหนังสือเสียงและอีบุ๊คด้วย ต่อยอดขายหนังสือเล่มๆลดลง สิทธิ์ในการแปรรูปงานเขียนก็ยังไม่หมดลงพร้อมการตีพิมพ์ อาจจะเจอรายการหนังสืออีบุ๊คขายแพงกว่าหนังสือปกแข็ง ก็ปัจจุบันนี้บางสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ก็ทำกันอยู่บ่อยไป
ปัญหาคือหนังสือใหม่ๆ จะรับวัฒนธรรม ebook ทั้งหมด ถึงจุดหนึ่งหนังสือที่ค่ายหนังสือเหล่านี้เคยได้รับสิทธิ exclusive จะน้อยลงเรื่อยๆ จนรู้ตัว และต้องย้อนกลับมาเจรจา
ผมเองไม่เชื่อว่า จะเกิน 5 ปีครับ สมัย Encarta กับ Britanica ก็สั้นกว่านั้นมาก
lewcpe.com, @wasonliw
หนังสือเป็นเล่ม ไม่มีไฟฟ้าก็อ่านได้ หนังสืออีบุ๊คไม่มีไฟฟ้า ดับอนาถ
ปล ผมยังชอบอ่านนวนิยายเป็นเล่มมากกว่าอ่านอีบุ๊คนะ
ผมก็ชอบเป็นเล่มมากกว่าครับ แต่คิดหลาย ๆ ด้านแล้ว เป็นอีบุ๊คน่าจะคุ้มกว่า
+1
แต่นิยาย Eng แบบพอกเก็ตบุคเล่มหนามาก พกแบบ E-Book จึงสะดวกกว่า
ถ้าสะสม ผมก็ชื้อแบบเป็นเล่มครับ ดูเพลินๆ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ถ้าเทียบราคาอีบุ๊คก็คุ้มกว่าจริงๆแหละครับ
แต่ถ้าเป็นความสุขใจ/ความพอใจที่ได้อ่าน สำหรับผมแบบดั้งเดิมกินขาด :D
ไม่ต้องเถียงกัน ซื้อมันทั้งคู่ครับ
(เศร้าใจหลาย เสียตังสองครั้ง)
ถ้าอยู่บ้านก็เปิดจากเล่ม(สะสม สะดวก รวดเร็ว) ถ้าออกนอกบ้านก็เปิดจากเครื่องอ่านอีบุ๊คสินะ XD
ปล. ผมกำลังพูดถึงหนังสือการ์ตูนอยู่น่ะ อิ_อิ
ชอบเป็นเล่มเหมือนกันครับ
ถ้างบประมาณพอจะซื้อสองเล่ม เล่มปกแข็ง(ถ้ามี) 1 เล่ม E-Book 1 เล่ม สำหรับหนังสือที่คิดว่าควรค่าต่อการเก็บไว้
ถ้าอ่านแล้วไม่ประทับใจก็เอาเฉพาะ E-Book พอ
E-Book เอาไว้อ่านเป็นปกติผ่าน e-reader
ปกหนาเอาไว้ใส่ตู้หนังสือแต่งบ้าน, เก็บไว้เป็น reference ในอนาคตให้ลูกให้หลานได้อ่าน, หรืออาจจะต้องเอามาเผาเพื่อหาความอบอุ่นในช่วงวันสิ้นโลกก็น่าจะดีครับ
Technology is so fast!
ไม่แปลกครับที่จะชอบอ่านหนังสือเล่มมากว่า เพราะถึงตอนนี้อาจจะยังมีคนชอบถ่ายรูปฟิล์ม มากกว่า แต่เรื่องจริงที่เกิดคือ ไม่มีใครทำฟิล์ม ออกมาขายแล้ว (ในทำนองเดียวกัน มันก็จะไม่มีใครพิมพ์หนังสือเป็นเล่มออกมาขาย) ถามว่าเร็วไหม (ตอนเกิดกับกล้องถ่ายรูปมันเร็วหรือเปล่า หนังสือก็จะพอพอกัน ความเห็นส่วนตัว มันจะเร็วจนช๊อกโลกเลยทีเดียว ประเมิณจากราคาแท็บเล็ต ที่มีแนวโน้มลดลงรุนแรงในปีหน้า) รู้แบบนี้ ใครทำธุรกิจโรงพิมพ์ กับร้านหนังสือ เตรียมตัวนะครับ (ในเมืองไทย ผมว่าจะยิ่งเร็วขึ้นไปอีก ด้วย 2 เหตุผล 1. คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ 2. โครงการแจกแท็ปเล็ตนักเรียนจะเป็นตัวเร่งอย่างดี)
ตตะมีโครงการสามตามมา แจกแว่นตาให้เด็กเนื่องจากตาล้าจากการใช้แท็บเล็ต
ขอประเมิณเรื่องเวลาครับ เห็นด้วยกับคุณ lew ว่ามันจะประมาณ 5 ปีเท่านั้นในไทย ถ้าโครงการแจกแท็บเล็ตประสบความสำเร็จ ในอีก 4 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่า นโยบายหาเสียงคือ แจกแท็บเล็ตให้นักเรียนทุกคน (ถ้านักเรียนทุกคนมีแท็บเล็ต มหาวิทยาลัยคงใช้ แท็บเล็ตกันหมดแล้ว ตอนนี้เห็นมหาลัยเอกชนหลายแห่งแจกกันแล้ว) หมายความว่า อีก 5 ปีข้างหน้า คนอายุน้อยกว่า 22ปี จะใช้แท็บเล็ตกันทุกคน !! ยังไม่นับคนวัยทำงาน ที่พร้อมจะซื้อแท็บเล็ตเป็นของตัวเอง (เมื่อเครื่องอ่านพร้อม แล้วยังมีอะไรที่ไม่พร้อมครับ)
อ่านดูเหมือนเปิดศึกกับแค่ร้านที่ขายอิบุ๊คด้วยกันนี่ครับ สิทธิ์ในการขายเป็นเล่มก็ยังอยู่กับนักเขียน
เพราะงั้นไม่ต้องกังวลหรอกว่า ถ้าแฮรี่พ็อตเตอร์เล่มแปดลงแต่อีบุ๊คอย่างเดียว แล้วจะทำให้หนังสือเป็นเล่มตาย ยังไม่เกิดแน่ๆครับ
Amazon จะโดนข้อหา ผูกขาด E-Book ไหมเนี่ย
ผูกขาดผมว่าไม่น่าโดนเพราะ Amazon ไม่ได้ตัดช่องทางการขายหรือฮุบกิจการการขายหนังสือทั้งหมดไว้แต่คนเดียว
Amazon แค่ให้ส่วนแบ่งเพิ่มให้กับนักเขียนเท่านั้นด้วยกติกาที่ทั้งสองฝ่ายน่าจะวินๆกันทั้งคู่ จะบอกว่า Evil มั้ย ผมว่าไม่ ออกจะวินๆด้วยซ้ำสำหรับนักเขียนกับผู้ขายเพราะได้ค่าหนังสือมากขึ้น
Technology is so fast!