ปัจจุบันเรายังอยู่ในยุค Sandy Bridge ที่ใช้กระบวนการผลิตขนาด 32 นาโนเมตร ส่วนปีหน้าจะเข้าสู่ยุคของ Ivy Bridge ซึ่งเปลี่ยนมาเป็น 22 นาโนเมตร (ถ้าอินเทลยังยึดยุทธศาสตร์ Tick Tock ต่อไป ก็จะใช้ 22 นาโนเมตรไปอีกสองปี)
แต่ตอนนี้อินเทลเริ่มมองไปถึง 14 นาโนเมตรแล้ว
Pat Bliemer กรรมการผู้จัดการของอินเทลภูมิภาคยุโรปเหนือ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ NordicHardware ว่าแผนการผลิตของอินเทลเดินหน้าไปตามกำหนด และบริษัทก็พร้อมแล้วสำหรับกระบวนการผลิต 22 นาโนเมตรในปีหน้า ซึ่งจะทำให้อินเทลล้ำหน้าคู่แข่งไป 1.5 ก้าว
Pat Bliemer ยังบอกว่าอินเทลมีเทคโนโลยีการผลิตที่ 14 นาโนเมตรอยู่ในห้องทดลองเรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดยเทคโนโลยี Tri-Gate Transistor ที่จะเริ่มใช้ใน Ivy Bridge จะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการผลิตที่ 14 นาโนเมตร
ที่มา - NordicHardware via SlashGear
Comments
คุณพระ!! 14 นาโนเมตร
แทบจะรอให้วันนั้นมาถึงไม่ไหว เราคงได้เห็นอุปกรณ์อะไรใหม่ๆ อีกเยอะเป็นแน่แท้
^^
..: เรื่อยไป
ถ้า intel ผลิต ARM ได้เก่งๆ นะ เทคโนโลยีการผลิตแบบนี้จะทำให้ SoC กินไฟน้อยลงเยอะเลยอ่ะเปล่าเนี้ย
Intel ผลิต ARM? ฟังดูแปลกๆ ดีครับ ฟังแล้วเหมือน "ถ้า Toyota ผลิตเครื่องยนต์ของ Honda..."
Intel เองก็พัฒนาในส่วนของ X86 ไปครับ ก็ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ตาม Tick - Tock model
คือจะมีช่วงนึงที่พัฒนาเรื่องความเร็ว/ประสิทธิภาพ และอีกช่วงนึงเป็นช่วงที่พัฒนาสถาปัตยกรรม เช่น ลดขนาด ลดการกินไฟ บลาๆ ก็ว่าไป
แค่จะบอกว่า โรงงาน Intel มันผลิตได้เล็กกว่าชาวบ้านเค้า ถ้าผลิต ARM ด้วยเทคโนโลยีเล็กขนาดนี้ น่าจะยิ่งประหยัดไฟน่ะครับ ไม่ได้คิดอื่นไกลเลย :)
ผมเข้าใจถูกนะครับ
แต่ที่ผมจะบอกก็คือ Intel คงอยากจะพัฒนา X86 ให้กินไฟได้น้อยกว่า หรือพอๆ กับ ARM ครับ ไม่ได้จะให้ตีความเป็นอย่างอื่นจริงๆ นะ
อินเทลเคยผลิต ARM (ผ่าน XScale) ครับ ล่าสุดที่ผมได้ยินมาจากผู้บริหาร เมื่อปี 2009 อินเทลยังมีสิทธิผลิต ARM อยู่ แต่ถือไว้เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรกับใบสิทธิ
lewcpe.com, @wasonliw
แต่ถ้า apple จะ จ้าง intel ผลิต ชิป ตัวต่อไป เชื่อว่าอย่าไง intel ก็ยอมครับ
เมื่อก่อนเคยมีข่าวว่าไม่สามารถผลิตได้เล็กขนาดนี้ แต่เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไปเร็วมาก ถ้ามันเล็กลงเรื่อยๆต่อไปอย่างนี้แสดงว่ามันต้องถึงจุดที่เล็กอีกไม่ได้แล้ว แล้วเขาจะทำยังไงกัน หรือมันสามารถเล็กได้ไม่มีที่สิ้นสุด
ทุกวันนี้แทบจะถึงขีดจำกัดกันหมดแล้วครับ เล็กจนขนาดว่า อะตอมมันกระโดดข้ามกันได้โดยง่าย (รั่ว)ปัญหาเครื่องการพัฒนา clock ให้สูงขึ้นในสภาพการใช้งานจริง harddisk เองอาจไม่สามารถสร้างให้จุได้มากกว่านี้ได้อีกแล้ว สังเกตุดูว่า harddisk ความจุ 2TB แล้วก็ค้างอยู่ตรงนี้นานมากไม่มีความจุใหญ่กว่านี้อีกเลย เคยอ่านบทความถึงทางรอดมี ทั้งการพัฒนาชิพให้เป็นงานเฉพาะด้านมากขึ้น SoC ก็อาจเป็นทางออกหนึ่งของงานเฉพาะด้าน ไปจนกระทั่งการทดลองหาวัสดุใหม่ที่มาแทนซิลิกอนได้ 100 % ครับ
Multi processor ละมั้งครับ
สมมติว่าโปรเซสเสอร์สุดที่ 1 นาโนเมตร ก็อาจจะเอาโปรเซสเซอร์ 1 นาโนเมตรมาใส่รวมไว้ที่เดียวกันหลายๆตัวเพื่อช่วยกันทำงาน เปลี่ยนจาก Dual Core,Quad Core เป็น Dual Processor, Quad Processor แล้วใน Processor ก็ยังมี Core ของแต่ละตัวช่วยกันอีก
ผมมั่วครับ
Technology is so fast!
เปลี่ยนเทคโนโลยีครับ ที่ดูจะเป็นไปได้อาจจะเป็นเทคโนโนโลยีแสง
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าเพิ่ม FPGA ขึ้นมาก็ช่วยได้ในเรื่องความเร็วการประมวลผล
น่าจะเปลี่ยนสารกึ่งตัวนำครับ ไปเป็นพวก Graphene ที่กำลังมีการศึกษากันอยู่
หรือถึงวันนั้นอาจจะประสบความสำเร็จในการสร้าง Quantum computer ออกมาไช้งานได้ก็เป็นได้ครับ อิอิ