เช่นเคยครับ วันนี้ไมโครซอฟท์ได้เผยเบื้องหลังของฟีเจอร์ Picture Password สำหรับใช้ในการกำหนดรหัสผ่านของเครื่องให้ Windows 8 ครับ (ผมคิดว่าหลายคนแถวๆ นี้ คงจะได้ลองเล่นกันในตัว Developer Preview แล้วนะ)
ฟีเจอร์นี้ไมโครซอฟท์เผยว่าพัฒนาออกมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาคาราคาซังของหัวหน้าฝ่าย IT หรือผู้ดูแลระบบ ที่เจอปัญหาที่เครื่องลูกข่ายชอบตั้งรหัสผ่านกันแบบง่ายๆ อย่างเช่น 1234, 1111 เป็นต้น ไมโครซอฟท์จึงคิดวิธีที่จะใช้รูปภาพในการปลดล็อกเครื่องขึ้น ดูเผินๆ อาจจะง่ายๆ แค่แตะ ลาก วง แต่จริงๆ แล้วมันมีอะไรที่เยอะกว่านั้นมาก จึงเป็นที่มาของการเผยเบื้องหลังของฟีเจอร์นี้ครับ
จุดสำคัญของฟีเจอร์ Picture Password คือการใช้รูปภาพเป็นหลักประกันในการตั้งค่า ผู้ใช้สามารถเลือกภาพอะไรก็ได้ อย่างเช่นภาพงานวันรับปริญญา ภาพความทรงจำของเพื่อน หรือภาพงานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนๆ เป็นต้น โดยเมื่อเลือกภาพมาแล้ว ผู้ใช้จะต้องกำหนด Gesture Base ให้กับภาพนั้น การตั้งค่าถึงจะสมบูรณ์
ทีนี้หลักการทำงานใหญ่ของมันก็คือ บริเวณที่เราสามารถกำหนดค่าได้เนี่ย จะโดนคลุมด้วยกราฟสองมิติอีก 1 ชั้นครับ และเวลาที่กำหนดค่า Gesture ลงไป มันก็จะคล้ายๆ กับการพล็อตจุดลงไปบนกราฟนั่นแหละครับ หรือก็คือเริ่มลากจาก (X1, Y1) ไปหา (X2, Y2) หรือลากจาก (X1, Y1) ผ่าน (X2, Y2) แล้ววนไปจบที่ (X1, Y1) หรือไม่ก็จิ้มลงไปที่ (X, Y) เป็นต้น
ถ้าในเมื่อใช้เทคนิคการพล็อตจุดลงบนกราฟ ทีนี้มันจะมีปัญหาตรงที่ บางครั้งการใช้ Gesture ในการปลดล็อกเครื่อง จุด (X, Y) ทีได้ มันจะต้องมีค่าคาดเคลื่อนอยู่บ้าง ดังนั้นไมโครซอฟท์จึงใช้เทคนิคในการวางกราฟเพิ่มอีกชั้นบริเวณจุดที่เรากำหนด เพื่อใช้สำหรับการคิดค่าคาดเคลื่อนดังกล่าวเอาไว้ประมาณ 30% (70%~100%) หรือก็คือ เวลาใช้งานจริงๆ เราสามารถพล็อตจุดลงไปให้ใกล้เคียงกับจุดที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกได้ครับ
จริงๆ ฟีเจอร์นี้ไมโครซอฟท์ลงรายละเอียดการพัฒนาไว้เยอะมาก มีเรื่องคณิตศาสตร์ให้เราชวนปวดหัวด้วย ใครที่สนใจก็ไปอ่านกันต่อได้จากที่มาครับ
ที่มา - Building Windows 8
Comments
สุดท้ายในองค์กรก็ใช้ XP :P
ถ้าทำแบบนี้จริง ๆ ไอ้คนที่อยู่ในองค์กรประเภท ต้องเปลี่ยนพาสเวิร์ดทุกเดือนทุกระบบ ทุกระบบมีพาสเวิร์ดเป็นของตัวเองแยกเป็นเอกเทศ ... (อย่างผม) ตายแน่ ๆ 555
Picture Password ส่วนมากจะเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ที่ทัชสกรีนได้ครับแล้วการทำงานก็ง่ายมากๆเลยนะผมว่า ส่วนพาสเวิดแบบเดิมก็ยังมีอยู่เหมือนกันครับผม
เคยทำ support มาก่อน เห็นมาเยอะ ต่อให้ระบบสุดยอดขนาดไหน เจอ user จด pass แปะไว้ที่หน้าจอ ก็ตายหยังเขียด
ภาพของ "จอนนี่ นามสกุลอะไร โมนิกๆนะจำไม่ได้" ลอยเข้ามาให้หัวเลย
จอนนี่ นิมโมนิค ครับ ครีอานู รีฟ เป็นพระเอก โอนถ่ายความรู้สู่ปลาโลมาอ่ะ (เช็คอายุได้เลย 555)
ปริมาณข้อมูลที่โอนถ่ายตอนนั้น เหมือนจะยังใช้หลัก GB อยู่เลยนะครับ แบบว่า เยอะมากแล้ว >_<
my blog
คงนำมาใช้งานองค์กรยาก เพราะส่วนใหญ่จะใช้ User/Pass เป็นแบบ Single sign-on ซึ่งจำเป็นจะต้องรองรับระบบและอุปกรณ์อื่นๆให้ได้เหมือนกัน ไม่ใช่ระบบนี้ใช้อันนี้ อุปกรณ์ตัวนั้นใช้อันนั้น แบบนี้จะยิ่งวุ่นวายกันไปใหญ่
มันคงไม่มีผลกับ คนรู้จักผม และ ลูกค้าผม
บางเครื่องมี post-it แปะไว้บนหน้าจอ
บางเป็นกระดาษอยู่บนโต๊ะ ใต้กระจกโต๊ะ
บางหน่วยงานเล็กหน่อย ทำเป็นกระดาษ A4 แปะไว้บนข้างฝา บอกหมดเครื่องไหน user อะไร pass อะไร
เป็นความพยายามที่ขัดต่อนิสัยของผู้ใช้งานเป็นอย่างยิ่ง แก้ที่นิสัยผู้ใช้งานก่อนจะดีกว่ามั้ง ระบบพวกนี้มันถึงจะเห็นผล
คิดจะไปแก้นิสัยผู้ใช้งานนี่ผิดหลัก interface design สุดๆ เลยครับ (แต่เวลาใช้จริงกลับเป็นเรื่องที่ต้องทำที่สุด)
ควรจะหาวธีตรวจสอบตัวตนผู้ใช้แบบที่ "ไม่ต้องจำ" อะไรเพิ่มดีกว่า จะดูหน้าตาหรือลายนิ้วมือก็ได้
ทฤษฎีกับปฏิบัติก็มันไม่ค่อยตรงกันอยู่แล้วอะนะ
ผมว่า RFID วาง ลุกออกแล้วล็อกเลยก็เข้าท่านะครับ เว้นแต่จะขี้เกียจหยิบออกรอเลิกงานรอบเดียวกัน
ผมลองเเล้วคับ ใช้ได้สามวันก็ลงใหม่ ไม่พ้นเซเว่นเหมือนเดิม