รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ออกคำสั่งห้ามไม่ให้มีการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จำนวนหลายรายการภายในประเทศซึ่งรวมถึง iPhone และ BlackBerry ด้วย โดยอ้างเหตุผลเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในประเทศเพื่อไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงไปกว่านี้ ทั้งช่วยรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศและเสถียรภาพของค่าเงินเปโซ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลอาร์เจนตินาได้เสนอเงื่อนไขสำหรับแอปเปิลและ RIM เพื่อให้สามารถกลับมาจำหน่ายสินค้าของตนได้ โดยทั้งสองบริษัทต้องจัดตั้งโรงงานผลิตสินค้าภายในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตรายอื่นอย่าง Nokia, Samsung และ LG ทำอยู่แล้ว จึงสามารถจำหน่ายสินค้าของตนในประเทศได้
ล่าสุดนั้น RIM เองสนใจที่จะขยายโรงงานไปในอาร์เจนตินาเพื่อขยายฐานไปยังกลุ่มตลาดใหม่ในทวีปอเมริกาใต้ตามยุทธศาสตร์ปัจจุบัน ส่วนแอปเปิลนั้นคงไม่ได้สนใจตลาดเฉพาะเจาะจงเป็นประเทศอย่างอาร์เจนตินาแบบนี้นัก
ที่มา: Manuals.ws
อัพเดท: The Next Web รายงานว่าข่าวนี้เป็นเรื่องโกหกที่เล่นตามเทศกาลครับ
Comments
ต้องอาศัยเครื่องหิ้วสินะ
ที่ไม่ห้าม android??
หรือเพราะว่าเตรียมตัวจะมีแบรนด์ของตัวเองแบบญี่ปุ่น (ก็เข้าท่าดีนะ)
เดาว่าเขาห้ามรายผู้ผลิต HW มากกว่า
อย่าง Samsung, LG ขายได้ เพราะมีโรงงานในประเทศ
เจ๋งมาก !!
น่าสนๆ
เคยอ่านบทความของคุณนิติภูมิ คนอาร์เจนตินา น่าสงสารมากครับ งานหายาก ที่มีก็รายได้แทบไม่พอกับรายจ่าย เพราะอัตราเงินเฟ้อสูงจนเงินไม่มีค่า ปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งคือเรื่องของสาธารณูปโภคทั้งหมดถูกกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้าไปถือครองจนหมด ทำให้ค่าครองชีพยิ่งสูงทวีคูณ
เคยลองคิดกันหรือเปล่าว่าถ้าวันนี้น้ำประปาในบ้านเราถูกแปรรูปไปเป็นบริษัทเอกชนเราจะต้องจ่ายค่าน้ำกันเดือนละเท่าไร?
ถ้ารัฐถือหุ้นเกิน 50% แล้วบริหารเอง
เอาค่าน้ำเท่าปัจจุบันก็ได้
ต้องดูว่าถ้าเพิ่มทุนแล้วเอาไปทำอะไร
เอาน้ำประปาไปขายต่างประเทศ?
ผมเดาว่าอาจะขายไม่ได้นะ
ถ้าทำรายได้ไม่ได้ แล้วจะแปรรูปทำไม -. -
จบ
ดูอย่าง ปตท. สิ... รัฐถือหุ้นเกิน 50 % แล้ว รัฐคุมราคาน้ำมัน+แก๊สได้มั้ย...
ดีที่การไฟฟ้าไม่ได้โดนแปรรูปไปด้วย
เพราะนักการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านถือหุ้นพลังงานอยู่จึงไม่มีทางที่จะคุมได้ และไม่มีทางจะมีนโยบายที่ไปขัดขวางการแสวงหาประโยชน์จากรายได้พลังงานเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด มีแค่ประเดี๋ยวตามกระแสแล้วก็เลือนหายไป
ขนาดถือเต็มรัฐยังคุมเกือบไม่ได้เลย ขสมก การไฟฟ้า การรถไฟ
ไอ้ที่ว่ามาน่ะ ตัวขาดทุนทั้งนั้นเลยนะ (ยกเว้นการไฟฟ้ามั้ง) อย่างการรถไฟนี่ยังไม่เคยมีกำไรเลยตั้งแต่ตั้งมานะ = =
หึหึ
100 % โดยรัฐ ... ถึงค่าใช้จ่ายจะถูก แต่เราก็โดนเอาภาษีโดยอ้อม ไปจ่ายให้ ธุรกิจที่เหลือไหลไม่หยุด
ทุกวันนี้เหมือนกบโดนต้ม...
เหตุผลการแปรรูปอาจจะไม่ใช่การเพิ่มทุนก็ได้ครับ ส่วนใหญ่จะอ้างเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพ
เพิ่มได้จริงหรือไม่ไม่รู้
ส่วนเรื่องราคา ถ้าแปรรูปแล้วมีการแข่งขัน ราคาไม่เพิ่มหรอกครับ ประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจจะดีขึ้นด้วย
แข่งกับใคร ???
อันนี้ไม่รู้จริงๆนะ
กิจการพื้นฐานบางอย่าง โดยธรรมชาติมันเป็น Monopoly มาแข่งก็ยาก อย่าง รถไฟ คุณจะมีรางหลายชุดหรือ? ยกเว้นการรถไฟควบคุมแต่ราง ให้คนอื่นเดินรถแข่งกัน การประปาคุณจะให้คนเลือกท่อน้ำเข้าบ้านได้หรือครับ
ผมเข้าใจว่าถ้าแปรรูปจะมีการเปิดเสรีในการทำธุรกิจนะครับ เช่นว่าถ้ามันแพงเกินไปจริง ๆ บริษัทอื่นจะเข้ามาเปิดโรงงานแย่งกำไรในตลาดด้วยก็ดี เพราะมันคุ้ม ทีนี้พอเปิดไปหลาย ๆ บริษัท การแข่งขันดุเดือด ราคาก็คงเหมือนเน็ตบรอดแบนด์เคเบิ้ลตอนนี้แหละครับ
ที่มาเลฯโทรศัพท์มัน monopoly มีแต่บริษัท TM ความเร็ว 1 Mbps ก็เดือนละ 100 ริงกิต (ประมาณ 1,000) บาทแล้วครับ (ใช้ sim เน็ตแทน T-T)
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
เปิดเสรีได้แค่บางอย่างครับ คือคุณจะให้มีบริษัทประปา วางท่อทั่วเมือง หรือไฟฟ้า เดินสายไปทั่วได้กี่เจ้ากันครับ?
ผมเคยใช้เน็ตของ TRUE แล้วผมก็เปลี่ยนไปใช้ TOT แล้วก็เปลี่ยนมาใช้ TRUE อีก ไม่เคยต้องเปลี่ยนสายโทรศัพท์ครับ สายโทรศัพท์มันก็สายทองแดงนี่แหละครับ
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
อืม แค่จะบอกมาบอกว่าภาพที่คุณมองๆกันว่าอาร์เจนติน่าย่ำแย่เนี่ยมันเมื่อสมัยนานมาแล้วนะครับ ถ้าคุณดูการเจริญเติบโตเศรษฐ์กิจของอาร์เจนติน่าตอนนี้คุณจะพบว่าโตมากกว่ากลุ่มประเทศในยูโรโซนที่กำลังถดถอยด้วยซ้ำ ถ้ามองแค่ในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ด้วยกัน ก็ยังสามารถแซงทั้งเม็กซิโก ชิลี และบราซิล
และภาพที่คุณนิติภูมิให้ไว้มันก็ไม่ได้ให้ไว้อย่างครบถ้วนทุกมุมมองและไม่ได้ถูกไปทั้งหมดครับ
บลาซิลนี่ สงสัยจะไม่ใช่แล้วล่ะครับ :')
http://www.guardian.co.uk/business/2011/dec/26/brazil-overtakes-uk-economy
ผมบอกว่า "การเติบโตของเศรษฐกิจ" ครับ ไม่ใช่ "ขนาดของเศรษฐกิจ"
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Latin_America_GDP_per_capita_1991-2011.png
เคยลองคิดกันดูรึเปล่า ว่าวันนี้เราจ่ายให้การรถไฟเพื่อให้มันเป็นรัฐวิสาหกิจไปเท่าใหร่????
lewcpe.com, @wasonliw
มีทั้งดีและไม่ดีครับ ที่ออกมาดีเช่นโทรศัพท์ ก็มี
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมเห็นด้วยเลยครับ ผมเคยพูดหลายครั้งแล้วกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างการถือหุ้นของกลุ่มเอกชนกับการบริหารงานของรัฐ ผมดีใจที่มีคนเห็นแบบเดียวกับผม
บางงานไม่จำเป็นหรอกครับว่าผลประกอบการต้องกำไรมาก ตัวอย่างเช่นบริษัทเชื้อเพลิงแห่งหนึ่ง แปลงเป็นหุ้น บริหารงานจนกำไร เติบโต แต่ประชาชนเดือดร้อน ผลิตเอง แต่ส่งออกขาย แล้วก็สั่งซื้อนำเข้าอีกที แล้วบอกว่าซื้อมาแพงตามราคาตลาด อย่างที่บอกครับ บางงานไม่จำเป็นต้องกำไรมากหรอกครับ ประชาชนไม่เดือดร้อนก็พอ
แต่เดี๋ยวนี้คุณนิติภูมิไม่เหมือนเดิมแล้วนะครับ เขาเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ไม่รู้ด้วยสาเหตุอะไร
หมายถึงปตท.ใช่ไหมครับ สงสัยต้องขอให้เทียบกับการรถไฟ ไม่ต้องบริหารอะไร
ผมทำงานเกี่ยวข้องกับปตท.ค่อนข้างมาก ก็คิดว่าปตท.ค่อนข้างโปร่งใสกว่ารัฐวิสาหกิจต่างๆมากมาย รวมทั้งวิสัยทัศน์ของปตท.ก็ไปในทางที่ดี อาจจะเรื่องผลประโยนช์ของนักการเมืองมาเอี่ยวบ้าง แต่โดยรวมผมว่ามาถูกทางแล้ว
น้ำมันในเมืองไทยตอนนี้ ราคาไม่ได้แพงกว่าเมืองนอกเลย ยิ่งดีเซลแล้วยิ่งเหมือนกักราคาไว้เลย แอลพีจีที่บอกว่าส่งนอก ไม่รู้ทราบข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ผมเคยถามปตท.เค้าอ้างว่าพม่าฝากซื้อด้วย
ผมไม่ค่อยแน่ใจกับการใช้ ค่าครองชีพเพียงอย่างเดียวมาเป็นดัชนีสักเท่าไร
ถ้าสังเกตจากประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ที่มีค่าครองชีพสูง รายได้และค่าแรงก็จะเพิ่มขึ้นเพื่อปรับสมดุลกันอยู่ดี
ทั้งที่ค่าครองชีพสูงมาก แต่ก็ยังเห็นคนไทยนิยมหาหนทางไปทำงานที่ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป เป็นจำนวนไม่น้อย
สรุปแล้วค่าครองชีพสูงมันดี หรือ ไม่ดี?
โดยเฉพาะเรื่องญี่ปุ่นนี่ก็ดูง่ายๆว่า โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาของเทปโก ก็ไม่ใช่ของรัฐเช่นกัน
มีหลายปัจจัยครับ เช่นเรื่องการก้าวหน้า ข้าราชการบ้านเรา ไม่มีเส้น ไม่จ่ายค่าน้ำชา ไม่มีโต
อีกอย่าง เงินเหลือเก็บจากที่โน้น นิดเดียว ก็มาเยอะที่นี้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เหตุผลนี้รวมกับเรื่องโทรศัพท์ที่พูดข้างบนได้อย่างดีเลยครับ
นึกถึงสมัยพ่อผมเปิดร้านเลย จะขอเบอร์โทรศัพท์บ้าน หนึ่งเบอร์ต้องจ่ายสามหมื่น(ใต้โต๊ะ) แล้วรออย่างน้อยครึ่งปี
ส่วนอาจารย์ผมเล่าให้ฟังว่า แต่งงานปุ๊บก็ขอเบอร์โทรศัพท์บ้าน (สงสัยจะไม่ได้จ่าย) จนภรรยาเจ็บท้องจะคลอดลูก ก็ยังไม่มีโทรศัพท์ใช้โทรไปโรงพยาบาล
ผมว่าเพราะตู้ชุมสายมันเต็มหรือเปล่า ตอนรอให้ครบจำนวนคน เดียวเขามาวางตู้ชุมสายให้
ก็เพราะการทำงานแบบนั้นล่ะครับมันถึงไม่เจริญ - -"
ผมสนับนสนุนการแปรรูปเต็มที่ เพราะทุกวันนี้ที่คุณบอกบริการโน้นนี้เป็นของรัฐแล้วราคาถูก หารู้ไม่คุณก็จ่ายเงินอยู่ดี เพราะสิ่งที่ถูก ๆ ทั้งหลายเนี่ย ถูกจ่ายโดนเอาภาษีประชาชนมาจ่ายแทนแล้วต่างหาก ที่สำคัญเมื่อมันถูกจ่ายในรูปแบบภาษีแล้วมันกลับตรวจสอบยากกว่าบริษัทมหาชนกว่ามากซะงั้น
อยากให้เอาการแปรรูปแล้วดีขึ้นให้เห็นบ้าง เช่น ไปรษณีย์ไทย
พยายามมองหลาย ๆ มุมครับ
@TonsTweetings
ผมไม่คิดแบบนั้นสิครับ ไปรษณีย์ไทย คือเค้ายังมีคู่แข่งอยู่ครับคิดง่ายถ้าเค้าคิดแพงเราก็ไปใช้เจ้าอื่น แล้วอีกอย่าง ไปรษณีย์ไทย หรือการส่ง ของเนี้ย ขาดไปก็ไม่ตายครับ แต่ลองดู ปตท ขาดไปนี้ตายเลยนะครับ แล้วลองคิดเล่น ว่าถ้สแปรรูป การไฟฟ้าแล้วจะเป็นยังไง แค่นี้คนก็บ่นกันจะตายอยู่แล้วเรื่องค่าไฟ รองแปรรูปดูสิครับ ตายเกลื่อนแน่ น้ำกับไฟเนี้ย ไม่มีคู่แข่งด้วย โอ้ว
คู่แข่งไปรษณีย์ไทยนี่มีเจ้าไหนบ้างหรือครับ? แล้ว ปตท.นี่ถ้าขาดไปแล้วตายอย่างไรครับ? พอดีไม่มีความรู้ทั้งเรื่องไปรษณีย์แล้วก็น้ำมัน
pittaya.com
ผมว่าเค้าคงหมายถึง ตัวเลือกของผู้บริโภคที่มากกว่าหนะครับ ไปรษณีย์ไทย ถ้าตั้งเรทราคาแพงเกินไป ผู้บริโภคสามารถไปใช้บริการอื่นได้เช่น FedEx DHL บลาๆ เหมือนกับอินเทอร์เนท ถ้า True ตั้งราคาไว้แพงเกินไป ผู้บริโภคสามารถมีทางเลือกที่จะไปใช้ 3BB ToT บลาๆ แต่การไฟฟ้า กับ การประปานั้น เป็นสมบัติของชาติครับ เราไม่สามารถที่จะเลือกใช้ไฟฟ้าจาก บริษัทใดๆ ได้ เช่นเดียวกับประปาเช่นกัน เพราะมันมีเจ้าเดียวที่ทำอยู่นั่นเองครับ
ไฟฟ้าผมเห็นว่าคารจะแปรรูปในบางกิจการ เช่น กิจการผลิตไฟฟ้า ให้แต่ละโรงไฟฟ้าแข่งกันผลิต รายไหนผลิตได้ราคาต่ำสุดควรได้ขายเยอะ
ส่วนกิจการส่ง จำหน่ายไฟฟ้าไม่ควรแปรรูป
คู่แข่งไปรษณีย์ไทย ถ้าเอาเฉพาะเรื่องการขนส่งนี่เพียบครับ
อย่างแม่ผมสั่งผ้าจากกรถงเทพฯ มานครสวรรค์ ก็ส่งขนส่งเอกชน ไปรับเอง หรือส่งถึงบ้านก็ได้ เก็บเงินต้นทางก็ได้ ปลายทางก็ได้ รับประกันเหมือนกัน
ขนส่งเอกชนมีเยอะมากครับ แต่ส่วนมากเน้นไปที่ส่งภายในประเทศ แบ่งตามเขตรไป ส่วนส่งต่างประเทศก็มีแค่ Fedex DHL ประมาณนั้นซึ่งราคาแพงกว่าไปรษณี
คู่แข่งไปรษณีย์ไทย ก็มี DHL FedEx mailboxอะไรซักอย่างนี้แหละ รวมไปถึง บริการของรถ บขส ก็ส่งได้ครับ
ส่วน ปตท ขาดไปคงไม่ตายครับผมขอโทษ แค่เราจะใช้น้ำมันแพงมากๆเท่าแพงแบบแพงจริงจังขณะประเทศเพื่อนบ้านเราราคาถูกว่าเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับแต่ก่อนตอน ปตท ยังเป็นของรัฐองกรไม่ขาดทุนครับมีกำไรอยู่แต่ตอนนี้กำไรเป็นแสนๆล้าน คืออะไรที่เกียวกับ สาธารณูปโภค ที่เป็นของรัฐผมว่าไม่สมควรที่จะนำมาแปรรูปครับ
ปัญหาคือไม่มีใครเคยตั้งคำถามว่าทำไมไปรษณีย์ไทยถึงมีคู่แข่ง แต่ทำไม ปตท. ไม่มีคู่แข่ง เพราะอะไร ทำไมประเทศที่เปิดตลาดเสรีอื่น ๆ ถึงไม่มีปัญหานี้
ลองทำการบ้านดูครับ :)
@TonsTweetings
ปัญหาของคนอื่นบทความเดียวกันนี้คือ ไม่ยอมอัปเดทข้อมูล เลยไม่รุ้ว่า ปัจจุบัน มันเปลี่ยนไปไม่ใช่แบบนั้นไปนานแล้ว
และเพราะบทความนี้ มันเลยมีพวกไม่อัปเดทข้อมูล ชอบปล่อยข้อมูลโดยไม่อัปเดท
ฉนั้นผมอยากให้ไปศึกษาก่อน แล้วค่อยพูดครับ เราอยู่ในเว็บลที่ข้อมูลข่าวสารวิ่งมากมายขนาดนี้
ยิ่งน่าจะมีความสามารรถมากพอจะตอบได้ว่าอะไร เป็นอย่างไร
กลับกันผมอยากให้เอาข้อมูลที่คุณศึกษาดีแล้วมาเผยแพร่ดีกว่าออกมาเหน็บแนมแบบนี้ เป็นผู้ชายหน่อยครับ :-b
แบนทันทีฐานใช้คำดูถูกสมาชิกคนอื่นครับ
ผมพบว่าคนที่นำบทความทำนองนี้มาอ้าง มีมาเรื่อยๆครับ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ จนคนที่คอยค้านก็เบื่อกันไปหลายคน
โดยส่วนมากมักจะเอาบทความแบบนี้มาใช้เพราะมีวัตถุประสงค์ในใจครับ
เป็นหนึ่งในบทความที่ทำให้ประเทศสะเทือน (ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่ได้ผล)
ไทยเราก็น่าจะเอาบ้างเนอะ
ออกแนวกีดกันกลัวจะไปมีปัญหาอย่างอื่นแทน ถ้าไม่มีนโยบายตั้งแต่แรกอาจเกิดการฟ้องร้องหรือเกิดสงครามภาษีระหว่างประเทศได้ เพราะอเมริกาเองได้รับผลกระทบด้วย
น่าไปตั้งร้านบนอีเบย์ ขายเฉพาะที่อาเจนติน่าน่าจะดี
เมื่อปีที่แล้วผมไปแลกเปลี่ยนที่อาร์เจนติน่านี่แหละครับ ไอโฟนแพงมากกก เครื่องละ5หมื่นกว่าบาท - -*
A chemical rush''
อาเจน ฯ ขนาดว่ารถวิ่งบนถนนทางหลวงยังต้องเสียค่าผ่านทางเลยครับ หางานยากจริงๆ ทุกอย่างถูกสัมปะทานหมดโดยเอกชนต่างประเทศกินรวบทุกอย่าง ผมเองไม่สนับสนุนให้เมืองไทยปล่อยรัฐวิสาหากิจให้เป็นบริษัทครับ เพราะยิ่งเป็นการเอื้อให้ผู้บริหารออกกฏระเบียบ เบิกจ่ายเงินให้แก่ตัวเอง ง่ายมากขึ้นไปอีก เมืองไทยเราไม่จำเป็นต้องทำอะไรขนาดนั้นเพราะ คนไทยเราไม่เหมาะกับระบบแบบนั้น 100% สิ่งที่เราขาดคือระบบตรวจสอบที่แข็งแกร่งและการลงโทษที่เป็นธรรมมากกว่าครับ
อันนี้ที่ไหนก็มีครับ ไม่ใช่แค่ที่อาร์เจนตินา สิงคโปร์ก็ต้องเสีย ลอนดอนก็ต้องเสีย
แสดงว่าไม่เคยทำงานรัฐวิสาหกิจ
+1 คนไทยเป็นแบบนี้เยอะจริงๆ ไม่ได้รู้จริงเอาแต่คิดไปเอง ผมก็เป็นนะบางที ยังแอบโกรธตัวเองเลย
ยอมรับว่าไม่ได้ทำงาน รัฐวิสาหากิจ ครับแต่ผมมีเพื่อนทำอยู่ ถนนทางหลวงนะครับเช่นว่าท่านจะไปอีสานท่านก็ต้องเสียเงินค่าหลวงครับ ไม่ใช่ทางด่วน / การทางพิเศษ ในประเทศไทยมีทางหลวงที่ไหนต้องจ่ายค่าผ่านทางด้วยเหรอครับ อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆครับ
ยกตัวอย่างได้ไหมครับ ว่าทางหลวงที่ว่านี้เก็บเงินเพราะอะไร เพราะเอกชนเป็นเจ้าของถนนหรือสัมปทาน (เช่นเมืองไทย) หรือเพราะว่าเป็นกฎหมายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ออกมาเก็บ (เช่น congestion tax เหมือนหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก) หรือเป็นเพราะอย่างอื่น?
เพราะสองแบบแรกที่ผมยกตัวอย่างมา ไม่ใช่เกี่ยวกับการแปรรูปแม้แต่น้อย แต่ดันเป็นระบบที่ประเทศเราชอบนักหนา คือสัมปทาน (เก็บเงิน kickback ง่าย)
@TonsTweetings
มอร์เตอร์เวย์ไงล่ะท่าน มีตั้งสองสายแล้วนะ วงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) กับ กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่(ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7)
ถ้าถูกแปรรูปให้อยู่ในสภาพบริษัทจริงๆ ผมว่าการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น+กฎหมายต่อต้านการผูกขาด น่าจะทำให้ธุรกิจในภาคสาธารณูปโภคโตขึ้นไม่ใช่เหรอครับ (ในเมื่อบริษัทเยอะขึ้น ก็น่าจะนำไปสู่การจ้างงานที่มากขึ้น) ส่วนเรื่องการตรวจสอบ ผมว่าพอเป็นบริษัทนี่โดนสอบง่ายกว่าเป็นองค์กรของรัฐนะครับ เพราะทุกอย่างต้องชี้แจงต่อสาธารณชนหมด (เป็นบริษัทใหญ่ขนาดนี้)
อันนี้ Zanon โรงงานเซรามิกส์ในอาร์เจนติน่า คนงานบริหารเองทำงานเอง น่าจะเข้าข่าย employee-owned company
อีกความเห็นครับ จาก อาร์เจนตินา ไม่ได้ล่มสลายเพราะ “ประชานิยม” ข้อโต้แย้งที่สื่อไทยควรรับฟัง
ส่วนความเห็นของผม กิจการที่ไม่ต้องดิ้นรนแข่งขัน หรือมีตัวช่วยหรือผู้มาอุ้ม จะใครเป็นเจ้าของก็ตามแต่ ก็คงไม่ต้องพัฒนาปรับปรุงอะไรและขายของโขกราคาได้
aka ohmohm
เข้ามาดูคนเสยกัน :D แต่เอาซะหน่อย ร่วมเสยด้วยแม้จะรู้ว่าเป็นข่าวหลอกแล้วก็ตาม :)
เรื่องแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน อย่าง น้ำประปา, ไฟฟ้า, ทางด่วน อะไรแนวๆ นี้ ถ้าใช้ข้ออ้างว่าเพื่อให้เกิดการแข่งขัน, ราคาจะได้ถูกลง, เกิดความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ บลาๆๆๆๆ ผมอยากบอกว่ามันใช้ได้กับที่อื่นครับ อย่ามาพูดถึงเรื่องการแข่งขันในประเทศไทย เราไม่ได้มีรถไฟ 10 ราง, เราไม่ได้มีทางด่วน ทางหลวงเยอะถึงขนาดที่จะแบ่งสัมปทานให้ใครได้
ถ้าใช้ข้ออ้างอื่นอย่างเช่น เพื่อให้ตรวจสอบง่าย เพื่อให้การบริหารเป็นอิสระ บลาๆๆๆ ผมว่ามันน่าจะเข้าทีมากกว่าครับ
ถ้าขั้วการเมืองรัฐบาลยังเป็นเพื่อไทยอยู่ ผมเชื่อนะว่าการทุจริตมันจะลดลงไปและน่าเชื่อถือมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด (เขียนว่าทุจริตลดลงนะครับ ไม่ได้เขียนว่าไม่มี เราไม่รู้ว่ามันมีหรือไม่ บางทีมันก็มาในรูปแบบอื่นๆ ที่อาศัยช่องโหว่ของกฏหมายมากกว่า)
ตอนที่พรรคแมลงสาบเป็นรัฐบาล เราเห้นการเตะถ่วง การดึงเกม การ ฯลฯ ที่เห็นได้ชัดๆ ว่ามีการเมืองเข้าไปแทรกแซงอยู่หลายอย่าง ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวคน IT ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องสัมปทานความถี่ ที่ CAT ไล่ฟ้องดะเพื่อขัดขวางการเปิดให้บริการของบริษัทการสื่อสารเจ้าอื่นๆ นั่นแหละครับ
ข่าวอาร์เจนตินาห้ามขาย iPhone กับ Blackberry เป็นแค่โจ๊กตามเทศกาลเท่านั้น
aka ohmohm
ตอนนี้ข่าวแวว ๆ ว่าจะขึ้น NGV ปีหน้า.อีก
จะมีผลกระทบกับคนโดยสารแท๊กซี่เพราะมิเตอร์จะเริ่มที่ประมาณ 50 บาท หรืออาจจะน้อยกว่านี้
คือตอนนี้ปตท. เป็นบริษัทเดียวในประเทศที่มีสถานีก๊าช NVG และด้วยการออกนโยบายให้แท็กซี่และรถบรรทุก
หันมาใช้ NVG เมื่อหลายปีก่อน สรุปว่าปีหน้าค่าแรงคุณเพิ่มเงินกระเป๋าก้อไม่เพิ่ม... เพราะค่าครองชีพก้อเพิ่มเงินเฟ้อก้อตามมา พวกคุณและผมคงต้องอยู่กับระบบทุนนิยม ถ้ามองยอดปิระมิดคนมีเงิน
ก้อมักเป็นคนที่คุมกิจการใหญ่ได้ทั้งหมดหรือพูดง่าย ๆ เมื่อไรไม่มีเมื่อมีการกระจาย...ของรายย่อย
สรุปแล้วไม่อยากให้บ้านเราเหมือนอาเจน....