หลังจากที่ออกตัว Zotero 3.0 Beta 1 มาให้เหล่าสาวกได้เชิดชูบูชาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011 (ตามด้วย beta อีก 5 ตัว และ RC อีก 2 ตัว ซึ่งถือว่าเร็วมากหากเทียบตามมาตรฐานประวัติศาสตร์ของ Zotero) ในที่สุดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2012 Zotero หนึ่งในโปรแกรมโอเพนซอร์สประเภท bibliography software ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็ออกเวอร์ชัน 3.0 ตัวเต็มแล้ว
Zotero 3.0 มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาจากเวอร์ชันเดิม (Zotero 2.1) เยอะพอสมควร เช่น
* ฟีเจอร์ค้นหารายการ reference ที่ซ้ำซ้อนกัน และมีตัวเลือกให้รวม (merge) รายการที่ซ้ำได้ (ฟีเจอร์นี้คู่แข่ง เช่น EndNote ทำได้มาตั้งนานแล้ว และสาวก Zotero ก็เรียกร้องมาตั้งนานแล้วเช่นกัน)
* Quick Search bar มีโหมดให้เลือกได้ว่าจะค้นหา "เฉพาะชื่อหัวข้อ, ชื่อผู้แต่ง, ปี" หรือ "ทุกช่องและแท็ก" หรือ "ทุกอย่าง"
* สามารถลาก collection ไปวางใส่ใน Group Library ได้เลย
* เพิ่มโฟลเดอร์ Trash ใน Group Library
* แชร์เอกสาร Word ที่ทำด้วย Zotero กับคนอื่นได้โดยไม่ต้องพึ่ง Zotero groups
* Word processor integration ตัวใหม่ หน้าต่าง dialog น่าใช้กว่าเดิมมาก (ดูรูปได้จาก Zotero blog)
นอกนั้นก็เป็นพวกการแก้ไขบั๊กและเก็บตกรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ (ผมรู้สึกว่า Zotero จะเร็วขึ้นกว่าเวอร์ชัน 2.1 ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ตัว Zotero เองหรือ Firefox 10 เพราะผมดันอัพเกรดสองตัวนี้พร้อมกันพอดี)
ในโอกาสเดียวกันนี้ Zotero ยังได้เปิดตัว Zotero Standalone 3.0 ตัวเต็มอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็น Zotero แบบที่เป็นโปรแกรมแยกต่างหาก ไม่ใช่ add-on ของ Firefox และตัว Zotero Standalone นี้ก็ไม่ได้มาแค่คนเดียว แต่หนีบเอาคู่หู Zotero Connectors มาด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น plugin สำหรับ Google Chrome และ Safari ไว้ใช้ดึงรายการ reference item จากบราวเซอร์เข้าฐานข้อมูลของ Zotero ได้โดยตรง (ความสามารถนี้เป็นจุดเด่นของ Zotero มาตั้งแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว)
ดาวน์โหลด Zotero 3.0 ได้จาก Zotero.org
ที่มา - Zotero blog
Comments
อ่านบรรทัดแรกรู้เลยว่าใครเขียน 555
+1 เหมือนเป็น Signature ไปแล้วล่ะครับ
ในที่สุดก็มี find duplicates แล้ว T-T
พอดีไม่เคยใช้ ............. มันคือ plugin ที่เอาไว้ bookmark อะไรทำนองนี้หรือเปล่าครับ ??
มันเอาไว้เก็บ Citation งานวิจัยครับ จริง ๆ ความสามารถมันเยอะมาก ๆ แต่โดยหลัก ๆ คือเอาไว้เก็บข้อมูล paper อ่ะครับ ช่วยได้เยอะมาก ไม่ต้องมานั่งสะกดชื่อเอง (ถ้าผิดนิดนึงนี่เรื่องใหญ่มาก) ไม่ต้องมาพะวงกับฟอร์แม็ตของแต่ละที่ (ลำดับก่อนหลังของชื่อเปเปอร์ ชื่ิอนักวิจัย ปี ฯลฯ)แล้วเราก้สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ของเราเอง สะดวกมาก ๆ ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
standalone นี่ที่แท้ก็ XUL app นี่เอง
เคยใช้แล้วงงกับมันมากๆ สงสัยงานเราจะยังไม่ถึงขั้นต้องใช้มัน
ใช้ง่ายดีนะครับ
ปกติผมใช้ฟังก์ชั่น citation ของ word ก็ง่ายดี แต่ต้องป้อนข้อมูลใส่เอง เพื่อนเคยแนะนำ endnote อยู่บ้าง แต่ใช้ไปใช้มาแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่
มาเจอตัวนี้ แหล่มเลยครับ บางทีไม่ได้ลงปลั๊กอินไว้ ลากวางๆ เลย ง่ายดี
ถ้าไม่มีมันผมก็คงเรียนไม่จบนะเนี่ย