Tags:
Node Thumbnail

โครงการแท็บเล็ตราคาถูกของอินเดียนั้นผลิตโดยเอกชนและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเต็มที่ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่แน่ชัดว่ารัฐบาลจะนำแท็บเล็ตไปใช้อย่างไรบ้างแม้ตัวรัฐมนตรีจะเป็นคนให้ข่าวเวลามีความคืบหน้าในการผลิตอยู่เรื่อยๆ

แต่วันนี้ความชัดเจนก็เพิ่มมากขึ้นเมื่อนาย Kapil Sibal รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ออกมาให้ข่าวว่าแผนการของรัฐบาลคือการแจกให้กับนักเรียน โดยโรงเรียนที่จะแจกแท็บเล็ตเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลครึ่งหนึ่ง และโรงเรียนเองต้องออกเงินอีกครึ่งหนึ่ง โดยในตอนนี้ที่ตัวแท็บเล็ตเริ่มส่งมอบแล้วแต่ราคาที่นักเรียนต้องจ่ายนั้นขึ้นกับว่าสถานศึกษาจะช่วยออกได้มากน้อยแค่ไหน

นอกจากการกระจายแท็บเล็ตให้มากขึ้นแล้ว ตัวรัฐมนตรีระบุว่ากำลังเจรจากับทางโรงงาน Aakash ให้ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น

ที่มา - India Today

Get latest news from Blognone

Comments

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 9 February 2012 - 03:05 #381787
mr_tawan's picture

ออกมาแข่งกับประเทศไทยเลย ถือเป็นการแข่งขันที่ดีนะผมว่า


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: kiettirak on 9 February 2012 - 03:17 #381788
kiettirak's picture

เพิ่มเงินเดือนครูเข้าท่ากว่ามั้ย

By: massacre
AndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 04:35 #381795 Reply to:381788

เพิ่มเงินเดือนครู รัฐบาลจ่ายเพิ่มทุกเดือน แจกแบบนี้จ่ายครั้งเดียว
ไม่ต้องห่วงว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยหรอก เพราะเป็นเงินของภาษีประชาชน ที่คืนให้ประชาชนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ไม่มีรัฐบาลไหนเก็บเงินภาษีประชาชนไว้นอนกอดเล่น นโยบายอะไรที่เข้าไม่ถึงประชาชนก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลนั้นไม่ใช้เงินจากภาษีประชาชน

By: panitw
Windows Phone
on 9 February 2012 - 05:26 #381797 Reply to:381788
panitw's picture

เพิ่มเงินเดือนครูอย่างเดียวไม่ได้ครับ ต้องมีการวัดผลครูที่ดีด้วย ใครดีใครเจ๋ง ก็เลื่อนขั้น

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 09:53 #381817 Reply to:381797

มันแย่ตรง ตอนนี้วิธีวัดผลครู มันทำให้ครูไม่มีเวลาไปสอนนักเรียน

By: allzero
AndroidWindows
on 9 February 2012 - 13:26 #381905 Reply to:381817
allzero's picture

แล้วงานที่ใช้วัดผล ก็ไปจ้างเขาทำด้วย...

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 9 February 2012 - 05:50 #381799 Reply to:381788
hisoft's picture

เงินเดือนครูเดี๋ยวนี้ก็ไม่น้อยแล้วนะครับ ถ้าจะเพิ่ม เพิ่มสามัญสำนึก ความรู้ความสามารถ และอื่น ๆ ดีกว่า

By: jane
AndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 13:23 #381902 Reply to:381799
jane's picture

น้อยกว่าหมอและนักการเมืองอยู่ดี

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 9 February 2012 - 06:41 #381801 Reply to:381788

อ่านคอมเมนต์ผมหน่อยก็ดี - เดี๋ยวนี้ครูแทบจะเป็นอมนุษย์อยู่ละ

By: toandthen
WriterMEconomics
on 9 February 2012 - 08:40 #381806 Reply to:381788
toandthen's picture

ผมว่าให้เงินเดือนนักเรียนและให้เงินมากน้อยตามผลสอบเข้าท่ากว่า


@TonsTweetings

By: manster
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 9 February 2012 - 09:15 #381809 Reply to:381788
manster's picture

เดี๋ยวนี้ครูหาเงินพิเศษได้เองแล้วครับ Link

ล้อเล่นน่ะครับ

แต่คนที่คิดเอาแต่ขัด มันก็ไม่มีอะไรดีหรอก

By: coolll
Android
on 9 February 2012 - 10:09 #381818 Reply to:381788

ผมว่าน่าจะเพิ่มระบบการสอบคัดเลือกครูให้มันสามารถคัดเลือกครูที่มีคุณภาพเข้าไปสอนในสายวิชานั้นๆ ให้ได้ครูที่ตรงสายและมีความสามารถจริงๆ ด้วยนะครับ

By: juliusds
AndroidUbuntuWindows
on 9 February 2012 - 10:49 #381844 Reply to:381788
juliusds's picture

ในความคิดผมแล้วก็เห็นหลายๆคนเปนแบบนี้ คือ อาชีพครูสมัยนี้คือ คนที่จะมาทำอาชีพนี้ ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นนะ เอาที่ผมเห็นไม่ได้หมายความทั้งหมดนะครับ คือ คนที่ผิดหวังจากที่อื่น คือ เรียนจบที่ กทม หางานทำไม่ได้ จนต้องกลับ ตจว เป็นก็ไปเป็นครู ที่ ตจว นี้แหละอาจารย์สมัยนี้ส่วนใหญ่ที่ผมเห็น

By: nathawat
iPhoneAndroid
on 9 February 2012 - 12:43 #381894 Reply to:381844
nathawat's picture

ผมคนหนึ่งละครับ ที่อยากเป็นครู และก็ไม่ได้ว่าหางานในกรุงเทพไม่ได้นะครับ ผมตั้งในเรียนจนจบเอก แล้วจะไปเป็นอาจารย์ต่างจังหวัดครับ แถวบ้านเกิดตัวเอง เพราะอยากให้บ้านเกิดตัวเองมีชีวิตการศึกษาที่ดีขึ้นครับ

By: jane
AndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 13:23 #381903 Reply to:381788
jane's picture

ทำพร้อมๆ ได้ ทั้งเพิ่มรายได้ครู และ แจกแทบเล็ด

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 09:15 #381808
PaPaSEK's picture

เอาเงินไปให้คนจนดีกว่ามั้ย

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 09:15 #381810 Reply to:381808
PaPaSEK's picture

เสียดายจัง ไม่ทันเม้นบน

By: coolicecc
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 9 February 2012 - 09:33 #381815 Reply to:381808
coolicecc's picture

เอาตังค์ไปให้คน (จนหรือรวย) ก็ไม่ต่างจากการให้ปลาเผาหรอกครับ กินแล้วเดี๋ยวก็หมด แต่ถ้าให้มาเป็นแท็บเลท ก็เปรียบเหมือนให้เบ็ดแหละครับ ใช้ในการหาปลาได้ฉันใด เราก็ใช้แท็บเลทหาความรู้ได้ฉันนั้น

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 9 February 2012 - 10:13 #381820 Reply to:381815

ผมเข้าใจว่าเขาประชดน่ะครับ

เอาเงินไปสร้างกันดั้มดีกว่าไหม

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 10:35 #381832 Reply to:381820
PaPaSEK's picture

ตอนแรกว่าจะเข้ามาดักคอครับ แต่งานเข้าพิมพ์เสร็จแล้วยังไม่ได้กดโพสท์
เลยไม่ได้ดูว่ามีคนฌพสท์ไปแล้ว

เสียใจว่าไม่ทัน ;3;

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 09:14 #382115 Reply to:381832
superballsj2's picture

ถึงคุณจะโพสทัน ผมก็รู้ทันคุณหรอกน่า ว่าโพสประชดล่อเป้าอ่ะ 555

By: jedimj
Windows PhoneWindows
on 9 February 2012 - 10:50 #381846 Reply to:381820
jedimj's picture

+1
อยากให้ไทยมีกันดั้มเป็นของตัวเอง

By: caznova
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 9 February 2012 - 10:58 #381848 Reply to:381820
caznova's picture

กันดั้มมมๆๆๆ

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 9 February 2012 - 23:19 #382009 Reply to:381820
iStyle's picture

OTOG


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: coolicecc
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 9 February 2012 - 09:37 #381814
coolicecc's picture

เค้าจะแจกเด็ก ป.๑ ไหมเนี๊ย ถ้าแจก อยากรู้จังว่า ป.๑ ที่อินเดียจะอ่านหนังสือออกยัง?

คือการแจกแท็บเลทเป็นสิ่งที่ดี แต่ในบ้านเราแจกเด็ก ป.๑ ผมว่าเค้ายังเด็กไป ท่านผู้ใหญ่อาจจะไม่เคยเห็นเด็ก ป.๑ ต่างจังหวัด คงจะเคยเห็นแต่เด็ก ป.๑ ในกรุงเทพ ซึ่งตอนนี้โครงการนำร่องแจก ร.ร. ใหญ่ๆ ดังๆ ก็ได้ผลนะสิครับ แล้วอีกหน่อยขยายไปทั่วประเทศ ปัญหาต่างๆ ตามมาแน่นอน

แต่เอ!! หรือท่านจะรอแจกให้ครบในสมัยหน้านะ อิอิ ล้อเล่นครับ ^^

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 9 February 2012 - 10:16 #381822 Reply to:381814

เด็ก ป1 ในกรุงเทพเขาเก่งกว่า ก็เพราะได้รับโอกาสมากกว่าเด็กต่างจังหวัดครับ
โครงการนี้ก็เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับเด็กต่างจังหวัดไงล่ะครับ

By: EddSuanthai
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 20:12 #381991 Reply to:381814

หลานผมอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่ถึงสามขวบเลยเล่น ipad เป็นแล้ว
อย่าว่าแต่ ป.1 ไม่รู้ก็อย่ามั่วครับ

By: darkfaty
AndroidWindows
on 10 February 2012 - 04:01 #382086 Reply to:381814
darkfaty's picture

ทำไมผมกับมองแทปเล็ตจะต้องมีทั้งภาพและเสียง ไม่ใช่มีแต่ตัวหนังสือล่ะครับ
สื่อการเรียนการสอนก็ไม่ได้มีแต่ตัวหนังสือนี้ครับเวลาสอนเด็กป.1

By: MDDIN
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 10:31 #381829

อย่าไปว่าครูไม่ดีเลยครับ ผมเห็นครูส่วนใหญ่ก็ดีกัน
ครูมีอยู่ 2 ระดับ คือ ผู้สอน กับผู้บริหาร
ซึ่งจากที่รู้มา ครูใหม่ๆ ครูดีๆ มีเยอะ แต่ไม่สามารถทำได้ เต็มที่เพราะฝ่ายบริการต้องการได้ผลงานที่ดี
จะตัดเกรดให้เด็กตกก็ไม่ได้ เพราะเดี๋ยวผลประเมินของโรงเรียนไม่ดี (ทั้งที่เด็กก็เรียนไม่ดีจริงๆ)
ถ้าจะด่าว่าครูจริง ให้ย้อนกลับไปดูว่า ครูผู้สอน กับครูผู้บริหาร รวมถึงสายบริหารต่างๆ ในครูผู้บริหาร (ครูชั้นบน)
ใครกันแน่ที่เป็นคนถ่วงระบบการศึกษา

ปล. การปรับระบบการศึกษา ทำให้ผู้บริหารบางคน ไม่มีตำแหน่งเลยดิ้นรนกันไม่ให้ปรับระบบสักที...

By: zipper
ContributorAndroid
on 9 February 2012 - 10:40 #381836 Reply to:381829

ดูๆ ไปแล้วมันก็เป็นที่ระบบและการประเมินผลที่ใช้มีประเมินผลไม่ถูกจุด

By: plyteam
iPhone
on 9 February 2012 - 11:10 #381855

พอมีข่าวแท็บเล็ทเด็กนี่ทีไรก็เถียงกันแต่เรื่องเดิมๆเด๊ะเลยแฮะ ไม่ว่าจะเป็นข่าวประเทศไหน

น่าจะตั้งกระทู้ไว้ให้เถียงเรื่องแท็บเล็ทโดยเฉพาะเลย จะได้ไม่ต้องเถียงกันในข่าว

By: Thaina
Windows
on 9 February 2012 - 11:14 #381856

อะหือ.........อินเดียมีเด็กกี่คนน่ะ รู้แต่ว่ามากกว่าไทยหลายเท่า

By: NightMare on 9 February 2012 - 11:16 #381860
NightMare's picture

เรื่อง tablet (ของไทย) มันย่อมมีข้อดีและเสีย แต่ผมไปอ่านเจอท่านนึงได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้ อยากรู้ว่าท่านทั้งหลายจะรู้สึกอย่างไร "เด็ก บางคนได้ใช้แทปเลตเรียน เด็กอีกมากไม่มีที่จะเรียน เด็กอีกมากไม่มีหนังสือเรียนจะใช้ เด็กอีกมากไม่มีครู(จริงๆมาสอน)ต้องให้พี่ๆทหารหรือพระมาสอน
เงินอยู่ในมือควรทำอะไรก่อนอะไรหลังคิดเอาละกันครับ"

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 February 2012 - 11:32 #381865 Reply to:381860
lew's picture

คิดครับ คิดว่าถ้าไม่มีเงิน 2400 บาทต่อคน (ตามค่าแท็บเล็ตที่รัฐบาลอ้าง) มันจะแก้ปัญหาที่คุณว่ามาได้จริงไหม? หรือแค่ช่วยบรรเทาได้แค่ไหน

พื้นที่ที่ไม่มีครูมาสอนนั้นเป็นพื้นที่อย่างไร ปัญหาคืออะไร เท่าที่ผมทราบมันไม่ใช่ปัญหางบประมาณอย่างเดียว แต่มันเป็นปัญหาตั้งแต่ความห่างไกล ไปจนถึงความไม่สงบในหลายพื้นที่ ส่วนนั้นมันก็ต้องแก้ไข และผมมองไม่ออกว่าการไม่ใช้แท็บเล็ตเปลี่ยนอะไร

ปล. การอ้างอิงแบบไม่ระบุที่มาเช่นนี้ ผมว่ามันเสียมารยาทต่อตัวผู้พูดนะครับ ถ้าจะอ้างอิงแบบนี้ก็ควรระบุเสียให้เรียบร้อยว่าใครพูดและไปเอามาจากไหน ถ้าเป็นเว็บก็ควรทำลิงก์ให้เรียบร้อยครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: NightMare on 9 February 2012 - 11:51 #381883 Reply to:381865
NightMare's picture

การไม่ใช้แท็บเล็ตไม่ได้เปลี่ยนอะไรนั้นถูกครับ แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า "เงินอยู่ในมือควรทำอะไรก่อนอะไรหลังคิดเอาละกันครับ" ปล.ต้องขอโทษคุณ lew ด้วย เพียงแต่ผมไม่อยากดึงเขาเข้ามาเป็นประเด็นนะครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 February 2012 - 12:45 #381895 Reply to:381883
lew's picture

ตอบเรื่องเงินนะครับ คือถ้าปัญหาตรงนั้นคืองบประมาณ ผมว่าก็ควรหาทางแสดงปัญหาในพื้นที่นั้นออกมาให้มีการจัดสรรงบประมาณลงไปครับ อันนี้เห็นด้วยที่จะมีการลงไปดูแลอย่างยิ่ง

ส่วนเรื่องก่อนหลัง การที่ตรงนั้นต้องการเงินเพิ่ม มันก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องตัดแท็บเล็ตครับ (หรือสุดท้ายอาจจะต้องตัดก็ได้) การบอกว่าอะไรก่อนหลัง อาจจะเป็นการตัดเงินจากส่วนอื่นๆ ตามงบประมาณของ "รัฐบาล" คือถ้าจะโต้แย้งกันว่าเงินไหนสำคัญกว่าก็คงต้องคุยกันในภาพรวมกันไป มันไม่ได้มีเงินอยู่แค่กระทรวงเดียว

ถ้าจะเรียกร้องให้ลดงบประมาณกลาโหม มาพัฒนาคุณภาพชีวิตครูในพื้นที่เหล่านั้นผมก็ไม่มีปัญหาอะไรนะครับ จะสนับสนุนด้วย

เรื่องการอ้างอิง การที่คุณ "ไม่อยากดึง" เขามายุ่ง ก็ไม่ควรไป quote คำพูดของเขามาแต่แรกนะครับ คือจะบอกว่าเป็นความคิดของตัวเองเลย แล้วรับผิดชอบคำพูดตัวเองก็ไม่มีปัญหาอะไร (แต่ต้องเขียนใหม่ด้วยสำนวนตัวเอง) กรณีแบบนี้แม้จะมีเจตนาดีแต่การกระทำนั้นไม่ถูกต้องครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: nathawat
iPhoneAndroid
on 9 February 2012 - 12:49 #381896 Reply to:381883
nathawat's picture

ผมคิดว่า คนร่างนโยบาย เค้าคิดครับ คิดมากคิดน้อยไม่รู้นะคัรบบ แต่ที่แน่ๆ คิดไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

"อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคน ๆ นั้น เพียงแค่ คำตอบ ของเรา
อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคน ๆ นั้น ด้วยกรอบความคิดของเรา"

By: p-joy on 9 February 2012 - 13:41 #381911 Reply to:381883

คิดเปรียบเทียบง่าย ๆ ครับ "เงินอยู่ในมือ ไม่ควรเอาไปสร้างรถไฟฟ้าก่อน แต่ควรเอาไปสร้างโรงเรียนและจ้างครูไปสอนชายแดน"

กรณีคล้าย ๆ แบบนี้มีคนคิดเยอะแล้วครับ ตัวอย่างเช่น การที่มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้ โดยจะนำเงินอุดหนุนส่วนหนึ่ง (ที่เคยมาก) ไปอุดหนุนโรงเรียนที่ยังไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้

ปัญหางูกินหาง(เชิงซ้อน) แบบนี้มันแก้ยากแล้วหาคำตอบที่ถูกยากมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราสร้างครูที่มีความสามารถสอนโดยใช้ Tablet ในวันนี้ ครูเหล่านี้จะไปทำงานที่ไหนถ้าไม่มีโรงเรียนให้สอน และเราจะสร้างรูปแบบการสอนของครูที่ถูกต้องได้อย่างไร ถ้าไม่มีประสบการณ์การสอนจริง เป็นต้น

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 February 2012 - 14:03 #381914 Reply to:381883

เกือบสิบปีที่แล้ว ทักกี้แจก PC ทุกโรงเรียน ก็มีคนบ่นเหมือนคุณล่ะครับ ว่าบางโรงเรียนยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ไม่มีอาหารกลางวันกินเลย ครูก็ยังใช้ไม่เป็น เอาเงินไปแจกอาหารเด็ก สร้างห้องสมุดดีกว่าไหม ฯลฯ

แต่สุดท้าย ทุกโรงเรียนในวันนี้ก็ต้องมี PC เพราะมันคือเทคโนโลยีในการเรียนรู้ที่สำคัญมากๆอย่างหนึ่งเลยทีเดียว ครูที่ใช้ไม่เป็น ก็ต้องไปหัดเรียนรู้กันจนเป็นหมดแล้ว โรงเรียนไหนที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็จัดหางบจนมีไฟฟ้ากันเกือบหมดแล้ว ถ้าเราอ้างว่าเพราะครู(บางคน)ใช้ไม่เป็น เลยห้ามแจกมันตอนนั้นเสียเลย จะเป็นยังไง?

ไม่ได้บอกให้ละทิ้งเด็กที่อยู่ห่างไกล หรือยังขาดแคลน แต่มันคนละเรื่องเดียวกันครับ ลองคิดดูว่าถ้ามีเด็ก 90% พร้อมที่จะได้เข้าถึงเทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ จะต้องล่าช้าหรือยกเลิก เพราะมีเด็กอีก 10% ยังไม่พร้อมกระนั้นหรือ?

ทำไมไม่คิดในมุมกลับว่า โรงเรียนไหนยังไม่พร้อม ยังขาดแคลนอะไรก็ช่วยกันเสนอมา ทำงบอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหาก เพื่อให้พัฒนาไปได้พร้อมๆกัน ไม่ใช่เตะตัดขาไม่ให้คนอื่นที่พร้อมกว่าได้เข้าถึง?

คำว่าเงินอยู่ในมือควรจะทำอะไรดี ก็ต้องถามรบ.ที่ผ่านมาทั้่งหมดครับ ว่าทำไมเขาถึงไม่แก้ไขเรื่องที่ขาดแคลน แล้วทำไมเราถึง"เพิ่ง"จะโวยวาย ตอนที่เขามีโครงการใหม่ๆ?

เรื่องนี้ยังพูดได้อีกหลายแง่มุม เช่นเราให้งบประมาณแก่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปีละหลายหมื่นล้าน แต่เด็กประถมบางแห่งยังไม่มีข้าวกลางวันกิน เด็กมหาัลัยจบมาก็เป็นลูกจ้างเขาแถมไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ ฉะนั้นเราจึงควรตัดงบมหาลัย มาเป็นค่าข้าวเด็กประถมที่้เป็นการศึกษาภาคบังคับแทนหรือไม่?

งบการศึกษาบางอย่าง ยากที่จะมองเห็นผลชี้วัดได้ชัดเจน แต่เราก็จำเป็นต้องสนับสนุนครับ อย่าง tablet วันนี้หลายคนยังมองไม่ออกถึงประโยชน์ แต่โรงเรียนอนุบาล เอกชนนานาชาติ หลายแห่งเขาทดลองใช้กันแล้ว ผมมองว่าอนาคตมันก็จะเป็น tool ตัวนึงที่จำเป็นในการเข้าถึงการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ ไม่ต่างจาก PC เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วที่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่เข้าใจคิดว่ามีไว้แค่เล่นเกมนั่นเอง

/เพิ่มเติม/ เห็นข้างบนพูดถึงมหาลัยออกนอกระบบ ผมเคยเห็นจากร่างฯว่าการที่มหาลัยออกนอกระบบแล้ว รัฐยังจ่ายส่วนงบประมาณให้ไม่น้อยกว่าเดิมนะครับ ไม่ว่าจะจุฬาทีเคยได้ปีละสามพันล้าน หรือมหิดลเคยได้ปีละสี่ถึงห้าพันล้าน ก็จะได้จากรัฐไม่น้อยกว่าเดิม เพียงแต่เปิดโอกาสให้ทางสถาบันเปลี่ยนแปลงระบบบริหาร ที่จะสามารถหาเงินมาเลี้ยงตัวเองได้ง่ายมากขึ้น และรัฐอาจจะพิจารณาไม่เพิ่มงบประมาณให้สักเท่าไร(คือยังพอให้เพิ่มได้แต่ยากขึ้น)

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 14:20 #381917 Reply to:381914

ขอค้านครับ

  • "ครูที่ใช้ไม่เป็น ก็ต้องไปหัดเรียนรู้กันจนเป็นหมดแล้ว" ผมขอยืนยันว่าครูยังใช้เป็นไม่หมด และ "ส่วนใหญ่" ยังใช้ไม่เป็นครับ หรือเป็นก็ยังเป็นในขั้นที่เอาไปสอนเด็กไม่ได้เลย (แค่เปิดเป็น พอจะรู้ว่าไอ้ตัวอีสีฟ้า ๆ มันเอาไว้ท่องเน็ต แต่ก็ยังท่องไม่ค่อยเป็น และพอรู้ว่าตัว W มันเอาไว้พิมพ์งาน แต่ก็พิมพ์ตามแป้นคีย์บอร์ดเฉย ๆ จัดหน้า จัดตัวหนาตัวเอียง แม้แต่เซฟงานยังไม่เป็นเลย)

  • "ลองคิดดูว่าถ้ามีเด็ก 90% พร้อมที่จะได้เข้าถึงเทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ จะต้องล่าช้าหรือยกเลิก เพราะมีเด็กอีก 10% ยังไม่พร้อมกระนั้นหรือ?" ตามข้อแรก มันไม่ใช่ 90-10 แต่มันน่าจะต้ำกว่า 50-50 ด้วยซ้ำ ถ้าเป็น 90-10 ตัวผมไม่มีปัญหาเลยครับ จริง ๆ แค่ 60-40 ผมก็ยินดีมาก ๆ แล้ว แต่ปัจจุบันนี้ (แม้โครงการทักกี้จะผ่านไปนานมากแล้ว) มันยังต่ำกว่า 50-50 สำหรับผม ถือว่าโครงการเขามาเร็วไปเหมือนโครงการแท็บเล็ตตอนนี้ครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 February 2012 - 17:05 #381952 Reply to:381917

ครูใช้เป็น ความหมายของผมคือเพื่อใช้ทำงานครับ ไม่ได้เน้นเพื่อสอนเด็ก เพราะครูสอนคอมพิวเตอร์ เขาก็จัดแยกอัตราไว้อีกหมวดหนึ่งอยู่แล้ว

คุณแม่ผม น้าผม อายุก็50ปลายๆแล้ว เป็นครูอยู่บ้านนอก ใช้PC และ internet ทำงานเป็นครับ ไม่งั้นทำผลงานไม่ได้ ไม่ผ่านการประเมินแน่ๆ แต่ก็ยอมรับว่า มีครูแก่ๆบางท่านที่ยังไม่ยอมเรียนรู้ ต้องไปจ้างเขาทำผลงาน แต่มันก็อีกปัญหานึง

และมันก็จะย้อนกลับมาคำถามแรกว่า ถ้ามีครู(บางส่วน)ที่ไม่ยอมเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เราจึงสมควรตัดงบห้องคอมพิวเตอร์ออกไป? ให้ครูหรือนักเรียนที่อยากจะใช้แสวงหากันเอาเอง?

ส่วนเรื่องสัดส่วน อันนี้ต้องคุยกันว่าพูดถึงสัดส่วนอะไรครับ ถ้าหมายถึงเรื่องระบบพื้นฐาน โรงเรียนระดับประจำอำเภอ 100% มีห้อง PC และเข้าถึง internet ได้หมดแล้ว ยิ่งโรงเรียนระดับจังหวัดมี WIFI กระจายทุกตึกให้ด้วยซ้ำ(น้าผมเป็นครูประถมในโรงเรียนประจำจังหวัดเล็กๆแห่งหนึ่งในภาคกลาง ยืนยันให้) ถ้าโรงเรียนระดับนี้ที่ไหนยังไม่มี คงต้องตั้งกรรมการสอบแล้วล่ะครับ งบมันไปนานแล้วเครือข่าย schoolnet มีหลายปีแล้วครับ

หรือถ้าจะพูดถึงโรงเรียนกลางป่าเขา บนดอย ก็ต้องบอกว่า ถ้าหมู่บ้านเข้าถึง เขาก็มีไฟฟ้าเข้าถึงหมดแล้ว ยกเว้นโรงเรียนตชด.ชายแดน อาจมีหลงเหลือที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงจริงๆ ซึ่งนับยังไงก็ไม่น่าถึง 10%

หรือเรื่องห้องคอมฯ อันนี้จริงอยู่ว่าโรงเรียนระดับตำบล อาจไม่มีครูผู้ดูแลที่สามารถดูแลห้องคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ 100%(แต่เขาก็มี pc ที่ได้รับแจกมาอยู่นะ) แต่ก็ต้องยอมรับว่า โรงเรียนประถมระดับตำบลส่วนใหญ่ มีจำนวนนักเรียนไม่ถึงร้อยคน(ตัวเลขจาก รมต.สธ. คนล่าสุดที่บอกว่ามีโรงเรียนสองหมื่นโรงเรียน ที่เฉลี่ยแล้วมีเด็กต่ำกว่าหนึ่งร้อยคน) ซึ่งเขาก็มีแผนจะยุบรวม โอนย้ายไปรวมกับโรงเรียนระดับอำเภอ หรือโรงเรียนที่มีศักยภาพมากกว่า รวมงบไว้ที่เดียวกัน มันทำอะไรได้เยอะกว่า และการเดินทางสมัยนี้มันสะดวกไม่เหมือนสมัยโบราณอีกแล้วครับ

ส่วนความคุ้มค่าของโครงการ อันนี้ผมไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการของทักกี้ เพราะเรียนก่อนยุคนั้น แต่จะเล่าประสบการ์ณตรงนิด ว่าผมเรียนโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอบ้านนอก ตอนนั้นผ.อ.มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พยายามหางบบริจาคมาสร้างห้องคอมฯเอง(เป็นห้องคอมฯห้องแรกของโรงเรียนระดับอำเภอในจ.เดียวกันเลย) ตอนนั้นมันตื่นตาตื่นใจมากเลยจริงๆครับ ได้ลองจับ 386sx-33 เครื่องละ 5หมื่นบาท ครูทั้งโรงเรียนมีใช้ PC เป็นแค่สองคน(แต่ก็มีแค่ 286) ต้องจัดครูอัตราจ้างพิเศษมาดูแลห้องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งต้องยอมรับว่าโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยุคนั้นมันยากมากๆ เพราะแพง(ทองบาทละสี่พันเอง คอมเครื่องละห้าหมื่น) และจากการที่ได้เข้าถึงเทคโนโลยีไวกว่าคนอื่นในกลุ่มเดียวกัน(หมายถึงอำเภออื่นๆในจ.เดียวกัน) มันก็ทำให้ผมและเพื่อนอีกหลายคนสนใจที่จะเรียนต่อในสาขา ทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มากกว่ากลุ่มอื่น ฉะนั้นผมเลยมองว่าโครงการของทักกี้ที่แจก pc ยุคหลังผม ก็เป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้เด็กคนอื่นๆอีกมากเช่นกัน ผมเลยแปลกใจ ที่เราจะขัดขวาง โดยอ้างว่าเด็กยังไม่พร้อม ครูยังไม่พร้อม ถ้ามัวแต่รอแล้วเมื่อไรเขาจะพร้อม ทั้งๆที่เราสามารถพัฒนาไปพร้อมๆกันได้แท้ๆ

คำว่าพร้อมของผม จึงหมายถึงพร้อมที่จะพัฒนา ไม่ใช่พัฒนาไปแล้วจนพร้อมหมดเลยไม่ต้องทำอะไรครับ เด็กยุคใหม่ จำเป็นต้องเข้าถึงเทคโนโลยีไวมากๆอยู่แล้ว ไม่งั้นอาจจะเสียโอกาสในการเรียนรู้อีกหลายอย่าง เคยบอกไปลูกคนรวยซื้อ ipad ให้ลูกเล่นตั้งแต่อนุบาล เราไม่ห่วง แต่เรามาห่วงลูกคนจนได้ tablet จีนราคาถูกๆกลัวใช้ไม่คุ้ม? ทั้งๆที่มันเป็นโอกาสในการเสริมสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยี และการเรียนรู้ ให้ทัดเทียมกันระหว่างเด็กจน-รวย บ้านนอก-ในเมืองแท้ๆ

อ้อแถมท้าย ปัจจุบัน บ้านนอกสุดกู่ก็ยังมีร้านเนทเกม online นะครับ แถมเด็กเต็มตลอดเวลาด้วย ค่ำคืนส่งท้ายปีเก่ายังมีคนเต็มเลย ใครที่บอกเด็กบ้านนอกยังไม่พร้อมจะเรียนรู้เทคโนโลยี สงสัยไม่เคยอยู่บ้านนอกจริงๆ สิ่งที่เขาขาดก็แค่"โอกาส"เท่านั้นเอง

By: Thaina
Windows
on 9 February 2012 - 19:00 #381975 Reply to:381952

+9999 It's over 9000

By: plyteam
iPhone
on 9 February 2012 - 19:51 #381987 Reply to:381952

อยากกดไลค์ ให้กิฟท์ +1 ทุกอย่างที่มีจริงๆ ปกติยาวขนาดนี้ผมจะ tl,dr นะเนี่ย ไม่มีอะไรที่ผมจะเสริม คห.นี้ได้อีกแล้ว

คราวหลังถ้ามีข่าวเถียงเรื่องนี้ ผมจะลิงค์มาเรปนี้เลย

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 13:40 #382228 Reply to:381987

หวังว่าความเห็นของผมด้านล่างจะไม่ tl,dr นะครับ อยากให้ลองอ่านดูครับ จากประสบการณ์ตรงเกือบล้วน ๆ

แต่ถ้าขี้เกียจอ่านผมก็จะพยายามสรุปให้ฟังครับ

  1. ผมไม่มีปัญหากับแนวคิดของโครงการ ผมชอบด้วยซ้ำไป และเชื่อว่ามันคืออนาคตของการศึกษาแน่ (ผมหมายถึงการใช้สื่อที่ทันสมัย ยิ่งเห็นของแอปเปิ้ลแล้วยิ่งเชื่อสนิทใจเลย)

  2. แต่ผมมองว่ากลุ่มเป้าหมายยังไม่พร้อม และไม่พร้อมเอามาก ๆ ด้วย ตัวอย่างที่คุณ 4 จุดยกมา ลองสังเกตดี ๆ ครับ โรงเรียนประจำจังหวัดและประจำอำเภอ ผมแถมโรงเรียนประจำตำบลให้ด้วยเลยเอ้า มันก็ยังเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทั้งหมดอยู่ดี และจากที่ผมเจอมาไม่น้อย โรงเรียนเหล่านั้นไม่พร้อมเลยทั้งตัวบุคคลากร (หมายถึงทั้งเด็กและครู) และอุปกรณ์

  3. ถ้าทำแล้วมันเป็นอย่างที่ผมว่าจริง ๆ (คือโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม) มันจะกลายเป็นว่าเอางบมาละลายทิ้ง และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-จน จะมากขึ้นอีก (ลูกคนรวยมีแนวโน้มทำโน่นนี่นั่นเป็นอยู่แล้ว เพราะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี คงจะใช้เจ้าสิ่งนี้คุ้ม แต่คนจนกลับตรงกันข้าม ปัญหาต่าง ๆ มากมายจะตามมา สุดท้ายทางโรงเรียนจะเก็บเจ้าสิ่งนี้เข้ากรุ)

ประสบการณ์ผมกับมุมมองของคนในนี้หลายคนอาจต่างกัน ที่ผมแย้งขึ้นมาเพราะผมเห็นมาจริง (และ "อนุมาน" เอาเองว่าทีเหลือที่ผมยังไม่ได้เห็นอีกเยอะแยะก็น่าจะไม่ต่างกันนัก เพราะผมไปมาหลายพื้นที่) แต่ตัวอย่างที่คุณ 4 จุดยกมามันน้อยเกินไป ซึ่งทำให้หลายคนมองภาพประเทศไทยสวยหรูมาก ๆ แน่นอนว่าถ้ามีใครมีประสบการณ์ตรงมีต่างจากผม ผมก็ยินดีจะรับฟังและเปลี่ยนความคิด เพราะผมบอกแล้วว่าผมเองก็ "อนุมาน" ขึ้นมาเอง


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 10 February 2012 - 14:14 #382246 Reply to:382228

คุณว่าตัวอย่างที่คุณเจอไม่น้อย แล้วว่าผมเจอน้อย คุณใช้อะไรเปรียบเ่ทียบ?

จำนวนโรงเรียนที่คุณเจอ? (คุณเคยเรียน ญาติคุณเรียน หรือแค่แวะผ่านไปแจกของ?)

จำนวนนักเรียนที่คุณเจอ?

โรงเรียนประจำจังหวัด หรืออำเภออะไรที่คุณบอกว่าไม่พร้อม นั้นไม่พร้อมอย่างไรช่วยระบุได้ไหมครับ เพราะจากที่ผมคุยกับแม่ผม(ครูมัธยมประจำอำเภอ) ญาติผม(ครูโรงเรียนประถมประจำจังหวัด,ประจำอำเภอ)เท่าที่ทราบก็คือมีงบดูแลจัดการห้องคอมพิวเตอร์ และมีการเข้าถึงinternet ไำด้อยู่แล้วสำหรับโรงเรียนในระดับนั้น โดยเฉพาะโรงเรียนมัธยมมีงบส่วนกลางหลายก้อนเลยทีเดียว

ส่วนโรงเรียนประจำตำบลก็อยู่เยื้องๆกับบ้านผมที่บ้านนอก คุณยายผมก็ไปแจกทุนการศึกษาประจำ อันนี้แหละที่มีปัญหาเรื่องบุคลากรจริงๆ เพราะจำนวนนักเรียนน้อยมากๆ(ไม่ถึงร้อยคน)งบอะไรก็มาไม่ถึงหรอก ซึ่งตรงนี้ผมก็บอกไปแล้วว่าแนวทางการแก้ไข คือการยุบรวม ให้เหลือแต่โรงเรียนระดับศูนย์เขต เช่นรวมหลายๆตำบล หรือโรงเรียนระดับอำเภอให้มีนักเรียนหลักร้อยคนขึ้นไป งบประมาณมันก็จะมาพร้อมบุคลากรเอง กลับกันถ้าเอาเงินไปทุ่มงบให้กับโรงเรียนที่นักเรียนไม่ถึงร้อยคน ผมว่านั่นแหละคือการละลายงบของจริง

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 11 February 2012 - 10:29 #382481 Reply to:382228

ผมว่าความคาดหวังของ รัฐบาลอยู่แค่ 30% ของกลุ่มเป้าหมายครับ ละลายงบไม่กี่พันล้าน กับผลสำเร็จระดับประเทศแค่นี้ ผมว่าคุ้มแล้ว

By: nunt
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 9 February 2012 - 20:35 #381993 Reply to:381952
nunt's picture

ปกติฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายจะคิดว่าถ้ารอให้พร้อมก็ไม่ต้องทำกันพอดี ส่วยฝ่ายปฏิบัติกลับมองว่ายังไม่พร้อมจะเอามาทำไม ต้องใช้เวลาซักพักถึงจะรู้ว่าใครพูดถูก


ตรงที่มีแสง

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 02:44 #382075 Reply to:381952

ครับ ผมคงไม่เคยไปอยู่บ้านนอกจริง ๆ เลยไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เขาไปถึงไหนแล้ว ผมทำค่ายมามาก ส่วนใหญ่ก็ไปตามโรงเรียน ซึ่งผมก้ไม่สามารถจะไปที่ชนบทแบบจริงจังได้ (เพราะรถมันเข้ายาก ปัญหาก็จะตามมามากมาย) ล่าสุดไปแค่จังหวัดสระบุรี อ.แก่งคอย ห่างจากตัวเมืองสระบุรีแค่ไม่ถึงชั่วโมง ที่นี่เต็มไปด้วยโรงงาน ดูเผิน ๆ ไม่มีความคิดในหัวเลยว่า "ชนบท" หรือ "บ้านนอก" แต่พอไปสัมผัสจริง ๆ กลับพบว่า ครูทั้งโรงเรียนมีแค่ 6 คน เปิดสอนตั้งแต่ อนุบาลยันป.6 ผมเข้าไปสัมผัสเด็กทุกวันศุกร์ ครั้งละ 2 ชม. เป็นอย่างต่ำ (ทำกิจกรรมกับเด็ก เฉพาะ ป.1-ป.6) แทบทุกครั้งที่เข้าไป ได้มีโอกาสนั่งคุยกับผ.อ.และคุณครูที่นั่น ทั้งผ.อ. คุณครูเป็นสุดยอดบุคคลสำหรับผม ท่านเป็นห่วงเด็กจากใจจริง และทำทุกอย่างเพื่อเด็กจริง ๆ ที่นั่นมีคอมแค่ 3 เครื่อง มีครูที่ใช้คอมเป็นจริง ๆ แค่คนเดียว นอกนั้นแค่เปิดพิมพ์งานได้ก็เก่งแล้ว

เป้าหมายของผ.อ.มีอย่างเดียว ท่านบอกว่า "เด็กที่จบจากที่นี่ ต้องอ่านออกเขียนได้ทุกคน" ทีแรกผมก็ตกใจ ทำไมฟังดูเป้าหมายมักน้อยจัง ผมจำได้ว่า ป.1-ป.2 ผมก็อ่านออกและเขียนได้แล้ว แต่จากการคุยกันแต่ละครั้ง ทำให้ผมรับรู้ความจริงว่า เด็กที่นี่มีปัญหาเรื่องการอ่านอย่างรุนแรง ผ.อ.เน้นย้ำว่า "โดยเฉพาะเด็กที่ย้ายมาจากกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจว่าทำไมกรุงเทพฯสอนมาแบบนี้" ท่านเล่าไปน้ำตาคลอไป ท่านบอกว่าเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้โตไปจะเป็นอย่างไร? ท่านจึงทำทุกวิถีทาง แม้เบื้องบนแทบจะไม่มีงบประมาณอะไรมาให้เลย ท่านบอกว่าแค่ขอครูเพิ่มยังขอไม่ได้เลย ต้องเจียดเอางบส่วนหนึ่งไปจ้างครูเพิ่มเอง ห้องหับบางห้อง กำแพง ห้องน้ำ เป็นเงินที่ครูโรงเรียนนี้ลงขันกันสร้างเอง!! (ซึ่งครูที่เขาจ้างมาเพิ่มก็ช่วยออกด้วยอย่างเต็มใจ)

จากการทำกิจกรรมกับเด็ก ผมได้ข้อสรุปกับตัวเองชัดเจนว่า แท็บเล็ตไม่เหมาะกับเด็ก ป.1 แน่นอน เพราะเด็ก ป.1 กว่า 80% (ของโรงเรียนนี้) แค่กระดาษแผ่นนึง ยางลบ ดินสอ ยังรักษาไม่ได้เลย และที่สำคัญ เด็กหลายคนยังอ่านหนังสือแทบไม่ออกเลย แถมเด็กวัยนี้กำลังอยู่ในช่วงซุกซน โยนของเล่นเป็นเรื่องปกติ ถ้าแท็บเล็ตไม่ได้มีระบบกันกระแทกเลย ผมว่าเละแน่

ผมเคยถามท่านผ.อ.และคุณครูว่าคิดยังไงกับโครงการแท็บเล็ต ทุกคนถอนหายใจพร้อมกันครับ

ถ้าถามผมว่าคิดยังไงกับโครงการนี้

  1. ผมคิดว่ามันดีครับ ถ้าคิดให้มากกว่านี้ วางแผนให้มากกว่านี้ ไม่ใช่รีบเข็นออกมาแบบนี้ ผมฝันมาตั้งแต่เด็กแล้วว่าอยากทำตำราเรียนให้มันไม่น่าเบื่อ ตอนม.5 ผมเคยคิดด้วยซ้ำว่าโตไปผมจะสอนฟิสิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ เพราะมันเป็นวิชาที่ต้องใช้จินตนาการสูง ถ้ามีภาพเคลื่อนไหวให้เห็นมันจะเข้าใจง่ายกว่ามาก แต่โครงการนี้มันแค่เป็นหนังสือ PDF อยู่เลย (จริงๆ แล้วจะทำทันหรือเปล่ายังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ) ดังนั้นถ้าเด็กอ่านหนังสือยังไม่ออกมันก็ไม่มีประโยชน์ (ถ้าเป็นแอพสอนให้อ่านหนังสือจะดีมากเลยตรงจุดนี้ แต่ปัญหาคือมันยังไม่มี)

  2. ผมคิดว่าอายุเด็กยังไม่เหมาะ เพราะแอพยังไม่พร้อม ระบบป้องกันความเสียหายยังไม่เห็นพูดถึง ระบบป้องกันอันตรายกับตัวเด็กก็ยังไม่เห็นพูดถึง ทั้งเรื่องไฟ เรื่องโจร (เรื่องจี้-ปล้นหลายคนบอกว่าเด็กมีผู้ปกครองมารับ แต่อย่าลืมว่าก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เดินกลับบ้านเอง โดยเฉพาะผู้ปกครองที่หาเช้ากินค่ำ งานยังไม่เลิกมารับไม่ได้ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนที่ผมยกตัวอย่างเป็นแบบนี้)

  3. ผมคิดว่าโรงเรียนยังไม่พร้อม ไม่ว่าจะอินเตอร์เน็ต ปลั๊กที่จะเสียบชาร์จ บุคคลากรเอง และงบประมาณที่ต้องใช้ในระยะยาว - โรงเรียนที่ผมกล่าวถึง ไม่มี WLAN นะครับ ปลั๊กทุกตัวอยู่สูงกว่าที่เด็กจะเอื้อมถึง เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟเล่นและมีน้อยจุดเท่าที่จำเป็น วันสุดท้ายที่ผมไปทำกิจกรรมกับเด็ก ผ.อ.ต้องไปธุระในเมือง เพื่อไปแจ้งทางการไฟฟ้าว่าคิดค่าไฟผิด ทางโรงเรียนไม่มีปัญญาจ่ายค่าไปที่เกินมา (ทางโรงเรียนจดมิเตอร์เอาไว้ด้วย เพราะต้องคำนวณร่ายจ่ายทุกกระเบียดนิ้ว)

  4. ผมคิดว่าแทนที่จะเท่าเทียมกัน มันจะกลายเป็นห่างไกลกันออกไปเรื่อย ๆ เพราะของที่ให้มามันไม่พร้อมที่จะใช้ ผมรู็ครับว่ามีเด็กอายุ 3 ขวบเล่น iPad ได้ ผมรู้ครับว่าโรงเรียนในเมืองเขาพร้อม ผมรู้ครับว่าร้านเน็ตเต็มไปด้วยเด็กเล็ก ๆ มีเยอะแยะ และผมรู้ครับว่าหลักการของโครงการมันเป็นสิ่งที่ดีแน่ ๆ แต่อยากให้คุณลองนึกภาพความแตกต่างระหว่างเด็กสองโรงเรียน โรงเรียนหนึ่งเพียบพร้อมทั้งบุคลากร สถานที่ แต่อีกโรงเรียนหนึ่งเป็นแบบที่ผมเล่าให้ฟัง ได้ของมาไม่รู้จะให้เด็กใช้ยังไง ปลั๊กที่จะเสียบชาร์จก็แทบจะไม่มีงบให้ซื้อเพิ่ม เด็กก็ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออก แต่มีแต่ PDF ให้เด็กอ่าน จะเขียนแอพให้เด็กก็ทำไม่เป็น เน็ตก็ไม่มีหามาใส่ก็ไม่ได้ (จะทำต้องดาวน์โหลดมานั่งใส่ทีละเครื่อง ซึ่งก็คงทำไม่เป็นอีก) พอให้เด็กเอากลับบ้านวันต่อไปลืมเอามาซะงั้น บางคนเอาไปทำหาย บางคนโดนจี้โดนปล้นโดนขโมย สุดท้ายครูเลยให้เก็บไว้โรงเรียนทุกเครื่องก็สั่งการบ้านไม่ได้อีก (ตำราเรียนอยู่ในแท็บเล็ตหมด เพราะเห็นหลายคนบอกเอามาแทนตำราเรียนจะได้ไม่ต้องแบกของหนัก) โรงเรียนเดือดร้อนมาหาที่เก็บให้ปลอดภัยขึ้นเพราะกลัวหาย (เมื่อก่อนคอมถูก ๆ แค่ 3 เครื่อง ไม่น่ากลัวเท่าแท็บเล็ต 20-30 เครื่องที่หยิบง่ายกว่ากันเยอะ) สุดท้ายเก็บเข้ากรุอย่าเอามันมาใช้เลยปัญหาเยอะเกินไป นี่แหละครับความทัดเทียมที่ว่ามันจะไม่เพิ่มขึ้นหรอก แต่มันจะลดลง (ปัญหานี้ก็เป็นเหมือนกันตอนโครงการคอมของทักกี้)

หมายเหตุ: เผื่อจะมีใครบอกว่า ก็เล่นยกตัวอย่างโรงเรียนที่มันห่วยสุด ๆ มาให้ฟังนี่ ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มนิดนึงว่า ท่านผ.อ.บอกว่า ในระแวกนั้นมีโรงเรียนอยู่ 2-3 โรง แทบทุกเทอมจะมีผู้ปกครองพยายามย้ายโรงเรียนมาอยู่โรงเรียนนี้ให้ได้ เพราะโรงเรียนที่เหลือแย่กว่าอีก (ผ.อ.พูดให้ฟังเพราะสงสารเด็กและผู้ปกครอง ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้โรงเรียนก็รับเต็มที่แล้ว)

หมายเหตุ2: และโรงเรียนนี้ไม่ได้แย่โรงเรียนเดียวแน่นอน เพราะถึงแม้ผมจะไม่เคยเข้าไปในถิ่นทุรกันดานจริงๆ แต่กลับกลายเป็นว่า ขนาดอยู่ที่ไม่กันดานเท่าไหร่ผมก็ยังเจอโรงเรียนประมาณนี้อยู่เรื่อย ๆ สาธารณูปโภคอื่น ๆ ไม่ต้องพูดถึง อย่าคิดว่าถนนหนทางเดี๋ยวนี้มันดีแล้ว ไม่ได้มีทุกครัวเรือนที่เขามีรถยนต์นะครับ ส่วนใหญ่มอเตอร์ไซค์ทั้งนั้น จะเข้าโรงพยาบาลทีนึงต้องนั่งรถไฟไปแต่เช้า กลับมามีเที่ยวเดียวพลาดแล้วพลาดเลยก็ยังมีอยู่เยอะนะครับ ถ้าคุณคิดว่าการยุบรวมโรงเรียนมันดีแล้ว ผมขอบอกเลยครับ การยุบโรงเรียนไม่ต่างจากการผลักใสให้เด็กไม่ต้องไปเรียนนั่นแหละ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังยากจนอยู่ครับ พ่อ-แม่เด็กไม่มีปัญญาจ่ายค่าเดินทางให้ลูกไปเรียนมีเยอะแยะไป และคนกลุ่มนี้อยากให้เด็กเรียนน้อยที่สุด เพื่อจะได้ออกมาทำงานหาเงินไวๆ พอเดินทางลำบากขึ้น ข้ออ้างสารพัดของพ่อ-แม่ก็จะตามมา เพื่อให้ลูกไม่ต้องไปเรียน คุณคงไม่รู้ว่ามีไม่น้อยที่ให้ลูกไปเป็นโสเภณี (แถมค่านิยมเด็กเองดันชอบซะงั้น เพราะเป็นแล้วไม่ลำบาก) โรงเรียนที่คุณยกตัวอย่างมามันโรงเรียนประจำจังหวัดกับโรงเรียนประจำอำเภอ มันรวมกันได้กี่โรงครับ? แล้วทั้งประเทศมันมีกี่โรง?

หมายเหตุ3: รู้จักหมู่บ้านคลิตี้มั้ยครับ เคยเป็นข่าวจนได้ชื่อว่า "หมู่บ้านสารตะกั่ว" หมู่บ้านนี้ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และไม่ได้ติดชายแดนครับ ผมไปอยู่มาแล้ว โรงเรียนของหมู่บ้านนี้ไม่เล็กครับ แต่มีปัญหาบุคคลากรเช่นกัน คือไม่มีใครอยากจะมาอยู่ เด็กก็เลยมีปัญหาตาม คือเด็กกำลังจะคุ้นเคยกับครูอยู่แล้ว ครูก็ย้ายออก เปลี่ยนหน้าไปเรื่อย สุดท้ายโรงเรียนนี้ประเมินออกมาได้ต่ำมาก (อันนี้ครูบอกผมเอง)

ผมกับคุณแค่รับข่าวสารมาคนละมุม ผมก็อยากแชร์ฝั่งของผมให้ฟังบ้าง ขอโทษที่ยาวไปมาก ๆ เลย อยากเล่าให้ละเอียดกว่านี้ เพราะเจอเหตุการณ์จริงแล้วอินมาก บ้านเมืองเรามันไม่สวยหรูเหมือนที่หูได้ยินมาครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: darkfaty
AndroidWindows
on 10 February 2012 - 04:21 #382090 Reply to:382075
darkfaty's picture

ผมว่าปัญหาที่ท่านกล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงการกลัวไปก่อนล่วงหน้า ถ้าเราได้เผชิญปัญหาจริงๆเราจะมองหาทางออกได้ชัดเจนกว่าการคาดเดา
เริ่มทำเลยน่าจะดีกว่าการไม่ทำซักที เมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนในพื้นที่ก็จะหาวิธีแก้ไขกันเอง และเมื่อมีการค้นพบวิธีที่ดีที่สุดก็จะเกิดการเลียนแบบ
ทำให้ปัญหามันคลายไปเอง

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 13:22 #382216 Reply to:382090

อย่าผลักภาระให้คนในพื้นที่ไปเสียหมดสิครับ ถ้าคุณลองมาสัมผัสเอง คุณจะรู้ว่าเขาปากกัดตีนถีบกันมากพอแล้ว

ผมขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้รังเกียจแนวคิดของโครงการนี้ แต่ผมไม่เห็นว่าหลายอย่างมันยังไม่พร้อม อยากให้คิดมากกว่านี้ อย่างน้อย ๆ ก็อยากขอให้เริ่มที่จุดที่พร้อมกว่านี้ สำหรับผม ผมเชื่อว่าไม่มีใครมีปัญญาต้านให้โครงการนี้หยุดได้แน่นอน ในเมื่อต้านไม่ได้ผมก็อยากจะให้ชะลอหรือเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อยมันก็ยังเอางบไปทิ้งขว้างน้อยกว่า (ถ้าโรงเรียนเป็นอย่างที่ผมยกตัวอย่าง มันก็ไม่ต่างจากการเอางบมาทิ้งขว้างจริงไหม?) เช่นเปลี่ยนเป็นกลุ่มมัธยมก่อน โรงเรียนก็พร้อมกว่า จำนวนนักเรียนก็น้อยกว่า จำนวนโรงเรียนก็น้อยกว่า ย่อมจะควบคุมกำกับดูแลง่ายกว่า ระหว่างทำกับมัธยมก็ค่อย ๆ ผลิตสื่อที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วเตรียมตัวสำหรับเด็กประถมต่อไป แบบนี้ไม่ดีกว่าหรือครับ?

ปัญหาบางอย่างมันไม่ต้องรอเผชิญมันก็เห็นแล้วนี่ครับ ยกตัวอย่างเรื่องปลั๊ก ผมทราบครับว่ามีเด็กเล็ก ๆ หลายคนที่เสียบปลั๊กเองได้ไม่เป็นอันตราย แต่ก็มีเด็กอีกไม่น้อยที่เสียบไม่เป็น ไม่รู้ว่ามันอันตรายแค่ไหน คุณจะว่าผมตื่นตูมเกินไปก็ได้ ของแค่นี้ก็สอนเด็กเอาสิ แต่คุณลองนึกภาพว่าตัวเองเป็นคุณครูนะครับ เด็ก 30 คนพร้อมที่จะไปแหย่ปลั๊กได้ทุกเมื่อ ถ้าเด็ก 29 คนไม่เคยมีปัญหา แต่เด็กเพียงคนเดียว โดนไฟดูดตาย ทั้งครูทั้งโรงเรียน (และแน่นอนว่าตัวเด็กเองและครอบครัวเด็ก) เดือดร้อนแน่ เป็นคุณจะเสี่ยงจัดปลั๊กไฟไว้ใกล้มือเด็กมั้ยครับ? สุดท้ายคนที่เหนื่อยมันก็คือครูอยู่ดีนะผมว่า


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Thaina
Windows
on 10 February 2012 - 13:38 #382221 Reply to:382216

หลายอย่างไม่พร้อมนี่อะไรไม่พร้อมครับ?

แล้วอะไรที่มันจำเป็นต้องพร้อมก่อนถึงจะทำได้? ทำไมลุยไปเลยไม่ได้ต้องรอให้ไอ้นั่นพร้อมไอ้นี่พร้อม

ตอนซื้อ GT200 นี่มีทหารคนไหนพร้อมใช้ปะ? ปากคุณเนี่ยเคยแอ๊ะออกซักคำมะตอนจัดซื้อ เคยมีปัญญาไปคิดขวางเรื่องอื่นมั่งมะนอกจากเรื่องความเจริญของประเทศ

ผมเอามาจากทวิตเตอร์หรอกนะ เขาพูดกันว่า ไอ้พวกงบกลาโหม งบปิดเว็บ งบบ้าบอทั้งหลายแหล่ในประเทศนี้ พวกคนอย่างคุณเคยไปขวางมั่งมั้ย มาเอาอะไรมากมายกับอีแค่เรื่องแท็บเล็ท และเรื่องของความเจริญก้าวหน้าของประเทศทุกสิ่งอย่าง

สื่อตีข่าวไหนก็เฮโลตามข่าวนั้นจริงๆวะ งบประมาณประเทศทั้งที่จ่ายแล้วและที่เคยจ่ายในรัฐบาลก่อนๆ ทิ้งขว้างลงแม่น้ำยิ่งกว่านี้อีก แค่สื่อไม่เล่นข่าวก็ไม่รู้ไม่สนใจ ชุมชนแพงเพียบน่ะเคยสนมั้ย เคยสนรึเปล่าว่าชาวบ้านไม่พร้อมใช้เครื่องกรองน้ำ

คุณสนับสนุน ด้วยการบอกให้รอไปก่อน ให้ไอ้นั่นพร้อมก่อน ให้ไอ้นี่พร้อมก่อน เนี่ยนะสนับสนุน นี่พูดออกมาจากสมองซีกไหน

ว่าจะไม่พูดแล้วนะเพราะเขาพูดไปหมดแล้ว นี่ยังจะดันทุรังไม่เลิก

สายไฟน่ะมีทุกบ้าน ทุกที่ ไม่ใช่แค่ที่โรงเรียน คุณจะป้องกันยังไงเหรอ? ที่ยกตัวอย่างนี่ใช้สมองก่อนรึเปล่า?

โลกนี้มันไม่มีคำว่าพร้อม มีแต่ว่ามันยังไม่มี กับมันมีแล้วและคุณต้องปรับตัวหามัน

คอมที่คุณได้เล่นทุกวันนี้ ถ้าไม่มีให้คุณใช้ ให้คุณได้เริ่มจับมันแล้วมั่วเอาเลย ชาติไหนคุณจะพร้อมเล่นมันได้ถามจริงๆเหอะ ไปนั่งต้องเรียนคอร์สไหนสอนว่าคีย์บอร์ดหน้าตาแบบนี้ๆ แต่ยังไม่ให้จับของจริงนะยังไม่พร้อม เรียนแบบนี้ถึงจะถูกใจคุณรึไงไม่ทราบ?????

ถ่วงความเจริญจริงๆ

By: nidlittle
iPhoneWindows
on 12 February 2012 - 04:23 #382293 Reply to:382221

ผ่านมา 2วัน คิดว่าเม้นข้างบนน่าจะผ่านตา admin แล้ว

ตกลงว่าใช้ภาษาระดับนี้ไม่โดนแบนใช่มั้ยครับ ผมจะได้จำไว้เป็นบรรทัดฐาน เผื่อวันหลังอยากใช้จะได้กล้าใช้บ้าง

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 February 2012 - 11:12 #382936 Reply to:382293
lew's picture

ผมไม่สามารถอ่านคอมเมนต์ได้ทั้งหมดเป็นความจริงของเว็บนี้ครับ

ถ้าคุณใช้ภาษาระดับเดียวกันคุณจะโดนแบนครับ ชัดเจนไหม


lewcpe.com, @wasonliw

By: nidlittle
iPhoneWindows
on 13 February 2012 - 12:27 #382967 Reply to:382936

โดนกี่อาทิตย์ครับ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 17 February 2012 - 13:19 #384830 Reply to:382967

เห็นร่าวอวตารมาแล้วครับ แสดงว่าไอดีเดิมคงโดนแบนถาวร


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 February 2012 - 03:19 #382448 Reply to:382221
  • อะไรไม่พร้อมหาอ่านเอานะครับ ผมเขียนไว้ตั้งเยอะ = ="

  • ทำไมไม่ลุยไปเลย? ก็ลุยไปเลยมันจะเอาไปทั้งไว้บนหิ้งอย่างที่ยกตัวอย่างไว้ไงครับ อันนี้ก็เขียนไว้แล้ว = ="

  • GT200 ผมไม่รู้ครับตอนเขาจัดซื้อ กลาโหมเขาไม่ได้ส่งหนังสือมาบอกผมที่บ้าน แต่ต่อให้บอกผมก็คงไม่แอ๊ะครับ เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องนี้ แต่พอเขาแฉกัน ผมอ่านหาความรู้จนเข้าใจว่ามันห่วยจริง ผมก็แอ๊ะครับ ถ้าคำพูดของผมมันเป็นการขัดขวางความเจริญของประเทศ งั้นคุณกับผมคงนิยาม "ความเจริญ" คนละแบบแล้วล่ะครับ

  • กะอีแค่เรื่องแท็บเล็ต? สำหรับคุณมันน้อย สำหรับผมและครูบ้านนอกทั้งหลายแหล่ที่ผมรู้จักมันเยอะครับ ผมกับครูไม่ได้เอาไปเทียบกับงบกระทรวงอื่น แต่เทียบมันในกระทรวงเดียวกันนี่แหละ เพราะเงินตกมาถึงเขานิดเดียวเอง แต่งบแท็บเล็ตมันเยอะครับ

  • ใช่ครับ สื่อตีข่าวไหนอยู่ ผมตามไปข่าวนั้นครับ ผมไม่ได้อยู่ในทำเนียบ ในกระทรวงอะไร จะได้ผมไปหาข่าวเบื้องลึกจากไหน? มันไม่ใช่หน้าที่ผมนี่ มันหน้าที่ของสื่อมันก็ถูกแล้วไม่ใช่รึ? แต่ผมตามไปอ่าน วิเคราะห์ ตีความ จากสื่อหลายสื่อตามความสามารถและเวลาที่มี เลือกที่จะเชื่อ-ไม่เชื่อ และเลือกจะแสดงความเห็นเฉพาะข่าวที่ผมคิดว่ารู้มากพอเท่านั้น ในกรณีนี้ผมคิดว่าผมรู้สภาพความเป็นจริงอีกด้านนึง (ที่ผมรู้สึกว่าหลายคนยังมองไม่เห็น) ดีพอ เพราะผมไปลงพื้นที่จริง คลุกคลีจริง ไม่ได้นั่งอยู่หลังคีย์บอร์ด ผมเลยแชร์ให้ฟัง ไม่ใช่ออกความเห็นเหมือนรู้ดีไปหมดทุกเรื่องครับ อ้อ และผมไม่สนว่าเป็นรัฐบาลไหน อันไหนห่วยจริงผมก็ด่าหมด ขัดขวาง แชร์ความคิดเห็น ฯลฯ เท่าที่จะทำได้ จะนิยามผมว่าสลิ่มก็เชิญครับ ผมไม่ได้แคร์ว่าผมเป็นอะไรอยู่ ผมแคร์ว่าผมทำอะไรอยู่

  • ผมไม่ได้หมายความว่าให้ "รอ" ให้มันพร้อมครับ แต่ "ทำ" ให้มันพร้อมก่อน หรือไม่ก็ "เปลี่ยนเป้า" ไปที่มันพร้อมกว่า ผมพูดจากสมองทั้งสองซีกเลยครับ ผมคิดว่าผมมีทั้ง IQ และ EQ ในระดับที่ไม่น่าเกลียดนะ

  • ดันทุรังไม่เลิก? ผมแค่รู้สึกว่า ประเด็นของผมยังไม่มีใครพูดถึงแบบจริงจัง มีน้ำหนัก ผมเลยแชร์ให้ฟัง ก็เท่านั้น ผมเรียกว่าคุยกันด้วยเหตุผล ถ้าคุณจะมองแบบนั้นผมคงช่วยอะไรไม่ได้

  • ใช่ครับ สายไฟน่ะมีทุกบ้าน แต่ตอนออกแบบบ้านเขาคิดถึงเด็กไหม? ผู้ใหญ่ไปซื้อบ้านนี่ครับไม่ใช่เด็ก แล้วบ้านหลังหนึ่งมีผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ผู้ใหญ่ดูแลได้อยู่แล้ว (ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่ก็จะเป็นคนเสียบปลั๊กเอง) แต่โรงเรียนมันตรงกันข้าม เขาออกแบบมาก็รู้อยู่แล้วว่าให้เด็กใช้ และรู้อยู่แล้วว่าเด็กมีเยอะกว่าผู้ใหญ่ มันก็ต้องกันไว้ก่อนจริงไหม? ในไทยพอเจออุทกภัยครั้งใหญ่ เขาก็แห่กันไปปรับเปลี่ยนปลั๊กไฟให้อยู่สูงขึ้น น้ำจะได้ไม่ท่วมปลั๊กไฟช็อตตายกันทั้งบ้าน (หรือจะได้ไม่ต้องตัดไฟก่อนชาวบ้านเขา) กรณีนี้โรงเรียนเขาก็ต้องคิดป้องกันไว้ก่อนเป็นเรื่องธรรมดา หรือคุณจะบอกว่าให้มันช็อตเด็กซักคนตายก่อนสิแล้วค่อยคิด?

  • พร้อมจะเล่น? ลองดูผมยกตัวอย่างดี ๆ ผมเน้นไปที่มันจะไม่ได้เล่นเลยด้วยซ้ำ มันจะหาย มันจะพัง มันจะก่อปัญหาตามมาเยอะแยะจนสุดท้ายก็เก็บขึ้นหิ้งไว้ เสียงบ เสียเวลา เสียอารมณ์เปล่า ๆ

  • ถ่วงความเจริญ? ตรงนี้แหละที่ผมรับไม่ได้ครับ ไม่รู้ว่าคนอื่นคิดยังไง แต่สำหรับผมแล้วหยาบมาก ๆ ครับ รู้สึกเหมือนตอนไปของบไปพัฒนาชุมชนแล้วโดนสถาบันตัวเองตอกกลับว่าไม่ยินยอมให้เอางบไปให้ผมใช้ "เอาหน้า" เลย ผมงงมากว่าผมเอาหน้าให้ตัวเองตรงไหน ทำมาเกือบสิบปีไม่เคยมีชื่อตัวเองโผล่ในเอกสารฉบับไหนซักอัน มีแต่ชื่อสถาบันทั้งบนป้ายผ้าพิธีเปิด-ปิด ทั้งเอกสารโครงการ ทั้งหนังสือราชการต่าง ๆ ทั้งเอกสารให้ความรู้

อย่างน้อยผมก็คิดว่าผมสู้เพื่อคุณครูที่ผมเคารพในความเป็นครูที่แท้จริงของท่าน สู้เพื่อเด็ก ๆ ที่ผมรัก สู้เพื่อคนในชุมชนที่ยังไม่เข้มแข้งพอ รัฐบาลไม่ใยดี และผมก็ไม่ได้ทำแค่บนคีย์บอร์ด แต่ผมลงพื้นที่จริง

ดังนั้นผมจึงขอคุยกับคุณในประเด็นนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้วครับ หลังจากนั้นคุณจะทำอะไรต่อก็เอาเถอะ ผมรู้กิตติศัพท์ของคุณดี ผมก็อยู่ในนี้มานาน ก็คิดอยู่ว่าคงปะทะกันซักวัน แต่ไม่คิดว่าคุณจะเริ่มรุนแรงขนาดนี้ น่าเสียดาย เพราะบ่อยครั้งผมก็คิดว่าคุณมีเหตุผลดี นึกว่าจะได้ถกกันดี ๆ ได้มากกว่านี้ เฮ้อ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 13 February 2012 - 09:23 #382917 Reply to:382221
superballsj2's picture

สักแต่จะค้าน ไม่คิดจะอ่านความเห็นคนอื่นให้ดีก่อนเถียง ไอ้ที่เค้าเขียนมาตั้งเยอะแยะข้างบนน่ะ หัด เปิดหูเปิดตาอ่านก่อนเถียงบ้างก็ได้ เค้าตอบไปเกือบหมดแล้วไอ้คำถามที่คุณเพิ่งถามมาเนี่ย

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 11:07 #382161 Reply to:382075
superballsj2's picture

สำหรับโรงเรียนที่คุณเล่ามา จะแจกไม่แจกโรงเรียนนั้นก็คงไม่พัฒนาเหมือนกัน ถ้างบไปไม่ถึง

แล้วความเจริญก็ยังคงกระจุกตัวอยู่แต่ในเขตที่เจริญแล้ว ต่อไป

ทำไมไม่พัฒนาออกมา รร บ้านนอกแบบนี้บ้าง งบไปกระจุกกับ รร ในเมืองหมด (งบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แทบเล็ตนะ)

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 10 February 2012 - 15:07 #382261 Reply to:382075

อืมผมว่าคุณคาดเดาผมผิดไปเยอะนะครับ เพราะสมัยประถมผมเคยอยู่บ้านนอกทางภาคเหนือ ชนิดว่ามีชาวเขามาเรียนด้วยกันเลย แต่ไม่ถึงกับบ้านนอกสุดกู่ บนเขาขนาดนั้น แค่อ.ผมห่างจากอ.เมือง 80กิโลเมตร และอยู่กลางหุบเขาครับ เมื่อก่อนทางห่วยมาก ไปตัวจ.ทีลุ้นตลอด(ประมาณเขาอากินะในการ์ตูนเลย) เดี๋ยวนี้ดีหน่อยถนนสี่เลนตลอดสายแล้ว คือจะบอกว่าผมอยู่บ้านนอกมาอย่างน้อยสิบกว่าปี ถึงตอนนี้จะทำงานเมืองหลวงก็กลับบ้านประจำปีละสี่ห้าหน ไม่ใช่แค่ไปเที่ยว หรือไปออกค่ายนานๆทีครับ

เรื่องตัวอย่างโรงเรียนที่คุณยกมา เป็นปัญหาที่ผมเคยพูดไปแล้ว รมต. ศธ.(คคห.บนผมเขียนผิด) ก็เห็นปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เพราะงบประมาณ มาตามจำนวนนักเรียน โรงเรียนไหนน้อยกว่าร้อยคน ก็จะได้งบน้อย แม้ว่าจะมีงบประมาณประจำคงที่อีกส่วน แต่เมื่อมองดูแล้วก็จะสิ้นเปลืองถ้าจะต้องทุ่มงบไปขนาดนั้น

เรื่องการเดินทาง สมัยเรียนโรงเรียนประถมประจำอำเภอ เพื่อนผมก็มาเรียนจากตำบลที่จากตัวเมืองไป 20 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางลูกรัง เขาก็ยังมาได้ทุกเช้านะครับ ตจว.เขาก็มีรถสองแถวรับจ้าง คนในหมู่บ้านก็จ่ายเหมา ให้ลูกหลานตัวเองมาเรียนโรงเรียนในตัวเมืองไปกลับเช้าเย็น หรือถ้าอยู่ใกล้มาหน่อย เด็กๆก็ขี่จักรยานหรือเดินมากันเลย(เห็นเดินกันไกลสุดสามกิโลเมตรได้ เด็กประถมนี่แหละ) หรือคุณบอกว่าผู้ปกครองไม่มีรถยนต์ แต่มีมอเตอร์ไซด์ แล้วมอเตอร์ไซด์ขี่มาส่งลูกไม่ได้หรือครับ? แต่โดยรวมแล้วตรงนี้รัฐอาจจะช่วยเหลือด้วยการทำระบบรถโรงเรียนขึ้นมา ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้โดยตรงกว่า การไปสร้างโรงเรียนเล็กๆ กระจายตามตำบล แล้วก็แทบไม่มีนักเรียนมาเรียนครับ งบประมาณที่จ่ายให้โรงเรียนเล็กๆหนึ่งโรง มันแพงกว่าค่าเหมารถรับส่งเยอะเลย

การจะอ้างว่า ถ้าไม่มีโรงเรียนใกล้ๆ ก็จะไม่ส่งไปเรียนโดยอ้างนู่นอ้างนี่ มันขึ้นกับแนวคิดของคนในชุมชนนั้นๆเองมากกว่าครับ

และในอำเภอผมเองก็ยุบโรงเรียนระดับตำบลไปหลายแห่งแล้ว(เมื่อเทียบกับสมัยผมเด็กๆ) ก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาสังคมมากขึ้นเลย กลับกัน เด็กก็ขวนขวายมาเรียนรวมกันในโรงเรียนใหญ่ๆตามเขตที่รวมงบประมาณกันได้มากกว่า โอกาสในการเรียนรู้ก็มากกว่าครับ

เรื่องไฟฟ้าเข้าไม่ถึงอันนี้แปลกใจ ว่าชุมชนนั้นๆมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์อะไรหรือเปล่า? เพราะชาวเขาที่อำเภอผม อยู่ไกลสุดกู่ยังมีไฟฟ้าใช้เลยครับ หมู่บ้านชาวเขาที่ผมว่าระยะทางจากตัวอำเภอ 30กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางด้วยรถ 4x4 สามชั่วโมงนะครับ(ผมเคยขึ้นไป) บางที่ก็ลากสายไฟมา บางที่ก็ใช้ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ผมเลยแปลกใจนิดว่า ถ้ามีชุมชนไหนยังไม่มีไฟฟ้า อาจจะมีปัญหากับรัฐอย่างอื่นมากกว่า เช่นการรุกที่ป่า

1.คำว่าไม่รีบ หมายถึงจะให้รอถึงเมื่อไรครับ? รอ appแพร่หลายก่อนค่อยเริ่มแจก? ทำไมไม่เริ่มมันพร้อมๆกันไปเลยล่ะ?หนังสือ pdf ผมว่ามันก็ดีระดับหนึ่งแล้ว เช่นหนังสือภาพสี text สวยๆเล่มนึงเป็นพันบาทนะครับ หรือต่อให้รัฐพิมพ์แจกต้นทุนเล่มนึงก็หลายร้อยบาทอยู่ดี นี่เป็น file เข้าถึงกันได้ทุกคน ต้นทุนรวมถึงอนาคตแล้วยังไงก็ถูกกว่าเยอะ ส่วนเรื่อง app เห็นว่ามีการจัดซื้อจัดจ้างทำกันอยู่ครับ ในเวบพันทิปก็มีสมาชิกท่านนึงมาเล่า ว่าได้รับการจัดจ้างในโครงการนี้เช่นกัน

2.อายุไม่เหมาะ อันนี้ก็คงต้องบอกว่า เพราะคุณไปเจอกลุ่มเด็กที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี เรื่องพวกนี้มันสอนกันได้ครับ อย่ายึดติดตัวเราเองสมัยเด็กๆที่ไม่เคยแตะมันเลย เด็กถ้ามีโอกาสก็จะเรียนรู้ได้เร็วครับ ส่วนเรื่องโจร อันนี้เห็นว่ายังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะให้ไปที่บ้านเลย หรือว่าต้องฝากไว้ที่โรงเรียนนะครับ

3.Infrastructure ตรงไหนที่ไม่พร้อม ก็ต้องทำเรื่องร้องของบติดตั้งไปครับ เหมือนกับที่ผมเคยยกเรื่อง PC ไม่มีไฟฟ้า ก็ขอเป็นแห่งๆไปสิ ไม่ใช่บอกว่ามีที่นึงไม่พร้อม เลยห้ามที่อื่นมีไปด้วย อีกอย่าง ไม่มีที่ไหนของบ infrastructure ล่วงหน้าได้ง่ายๆหรอกครับ เช่นคุณจะขอ Internet/WIFI คุณก็ต้องบอกว่าขอไปเพื่อ support ห้องคอมพิวเตอร์ มันคงตลกที่จะมีที่ไหนขอ WIFIไว้ล่วงหน้า ไปโดยที่ไม่มี PC เลยสักเครื่อง(แบบโรงเรียนที่คุณยกตัวอย่าง) แต่ถ้ามีแผนจะมีห้องคอมฯ อันนี้ก็ของบพร้อมๆกันได้ครับ ซึ่งอันนี้เห็นว่า โรงเรียนที่จะแจก tablet ก็จะมีงบอีกส่วนติดตั้งระบบพวกนี้ไปพร้อมๆกันด้วย ค่าไฟฟ้าอันนี้พูดยาก เพราะมันได้ตามงบประมาณและจำนวนเด็กในโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ ที่ผมเคยพูดไป ว่าต้องแก้โดยการยุบรวม

4.กลับกัน ถ้าไม่พัฒนาอะไรเลย มันก็จะยิ่งห่างออกไปอยู่แล้ว ถ้าคุณคิดว่า ให้เด็กโรงเรียนที่คุณเจอ เล่นไปวันๆตามประสาก็ดีแล้ว สุดท้ายเด็กเหล่านั้นเอง ที่จะเสียโอกาสในการพัฒนาไปเสียเองนะครับ

ผมยังงงว่าสิ่งที่คุณอยากแก้ไขให้โรงเรียนที่คุณเจอนั้นคืออะไร คุณบ่นเรื่องเด็กขาดแคลน แต่คำถามคือ แล้วมันจะคุ้มค่าอย่างไรถ้าจะต้องทุ่มงบมหาศาลให้โรงเรียนเล็กๆที่มีเด็กไม่กี่คน? ซึ่งผมบอกเลย งบ tablet เครื่องละสองพันสี่ ถ้าเปลี่ยนไปใช้ทำอย่างอื่น มันก็ไม่ได้มีผลช่วยให้โรงเรียนที่คุณพบ นั้นพัฒนาอะไรไปได้มากกว่านี้เลยครับ อย่างมากก็เป็นงบประมาณจัดซื้อของสิ้นเปลืองที่ใช้ได้ไม่นานก็หมดไปเท่านั้นเอง ผมเห็นด้วยนะถ้าคุณจะเสนอวิธีแก้ไขปัญหา หรือเรียกร้องงบสนับสนุนอื่นๆ แต่ก็ไม่เห็นด้วยถ้าจะบอกว่าคัดค้านการใช้งบ tablet เพราะโรงเรียนบางโรงเรียนที่คุณพบเจอนั้นยังขาดแคลนอย่างอื่น ซึ่งมองยังไงมันก็คนละเรื่องเดียวกัน และกลายเป็นว่า คุณไม่อยากให้โรงเรียนที่คุณเจอนั้นได้พัฒนาอะไรมากกว่านี้เสียด้วยซ้ำ?

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 February 2012 - 02:19 #382446 Reply to:382261

ผมขอตอบทั้งความเห็นอันบนและความเห็นนี้พร้อมกันในอันเดียวนะครับ (โควต้ามันน้อย - -")

คห.บน

  • อันนี้คุณเข้าใจผมผิดแล้วล่ะครับ ผมหมายถึงว่าที่คุณยกตัวอย่างมาน่ะมันเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด+ประจำอำเภอ+ประจำตำบล แน่นอนเขาพร้อมอยู่แล้วผมไม่เถียง แต่โรงเรียนทั้งประเทศมันมีเยอะกว่านั้นมาก (ได้ยินว่ามีสามหมื่นหรือเปล่าไม่แน่ใจ?) ซึ่งโรงเรียนที่ผมไปเจอ ๆ มามันเป็นโรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนประจำอะไรทั้งหลายแหล่นั่นแหละครับ ผมถึง "เชื่อว่า" ในส่วนที่ผมเจอมันน่าจะเยอะกว่า

  • ผมทำค่ายไม่ใช่แค่แวะไปแจกของ แต่เน้น "กระตุ้น" ให้เด็กตระหนักถึงอะไรซักอย่างแล้วแต่จุดประสงค์ค่าย เช่นการศึกษา สิ่งแวดล้อม ความกตัญญู ศีลธรรม ฯลฯ ผมทำมาเกือบสิบปีแล้ว ไปมา 60 กว่าโรงเรียนแล้ว เจอเด็กนักเรียนตั้งแต่ ป.1-ม.6 (แล้วแต่ค่าย) มาไม่ต่ำกว่า 3,000 คน (ไม่มีค่ายไหนมีเด็กน้อยกว่า 50 คน) คุยกับครูมาไม่ต่ำกว่า 60 คน (อย่างน้อยโรงเรียนละคน) 60 โรงเรียนที่ว่าก็มีคละเคล้ากันไป ทั้งประจำโน่นนี่นั่น และไม่ประจำโน่นนี่นั่น (หมายถึงเจริญกับไม่เจริญนั่นแหละ) ซึ่งอย่างหลังผมเจอแต่ที่มันไม่พร้อมคล้ายโรงเรียนที่ยกตัวอย่างไป และทุกโรงเรียนที่ผมไป ไม่เคยต่ำกว่า 1 วัน (บางค่ายอยู่กัน 2 สัปดาห์ก็มี) ดังนั้นผมไม่ได้แค่ "ออกไปเที่ยว" หรือ "ออกค่ายนาน ๆ ที" นะครับ

  • ถึงนี่แล้วผมเชื่อว่าเราคงเข้าใจตรงกันแล้วนะครับ เพราะคุณก็บอกเหมือนกันว่าโรงเรียนที่ยายคุณไปแจกทุนก็มีปัญหาบุคคลากรจริง ๆ ถ้าโพสต์ที่ผ่านมาของผมทำให้คุณเข้าใจผิด ผมก็ขอโทษด้วย

คห.ล่าง

  • เรื่องระยะทาง อย่างที่คุณพูดเกือบทุกอย่างเลยครับ คือปัญหามันอยู่ที่แนวคิดคนในชุมชนนี่แหละครับ จริง ๆ จะให้ชัดกว่านั้นน่าจะใช้คำว่า "ค่านิยม" มากกว่า คือที่ผมเจอมาเนี่ย ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่คิดว่าการศึกษามันสำคัญ ขอแค่ให้ลูกรีบเรียน รีบโตพอจะช่วยงานได้ ก็จะรีบเอาออกมาช่วยงาน เขามองนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทุกคนต้องได้เรียนถึง ม.6) เป็นศัตรูเลยด้วยซ้ำ ทีนี้ปัญหามันเลยเกิดขึ้นเมื่อโรงเรียนถูกยุบ ผู้ปกครองพวกนี้จะมีข้ออ้างมากขึ้นและไม่ยอมให้เด็กมาโรงเรียน (แต่ก็มีไม่น้อยที่มีปัญหาจริง ๆ) โอเคครับ เรื่องมอเตอร์ไซค์ผมผิดเอง ปัญหาเป็นแค่ส่วนน้อยมากจริง ๆ (บางคนไกลเป็นสิบโล เขาแว้นมารับ-ส่งลูกทุกวันไม่ไหวจริง ๆ แต่มันก็แค่ส่วนน้อย) อันนี้ต้องขอโทษด้วย ส่วนเรื่องรถรับ-ส่ง ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ดีอย่างนึงครับ อันนี้ผมเห็นด้วย ถ้าเขายุบโรงเรียนแล้วคิดถึงตรงนี้จริงน่ะนะ แต่ที่ผมเจอมามีโรงเรียนนึง น้องที่รู้จักไปช่วยไว้ให้กลับมาเปิดโรงเรียนอีกครั้ง เพราะโรงเรียนนี้ถูกสั่งให้ปิด ผลคือนักเรียนซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดายากจน ต้องเดินไปเรียนที่โรงเรียนต่างหมู่บ้าน ระยะทางหลายกิโล ปัญหาคือขากลับมันมืด ผ่านไปเดือนกว่า ๆ เด็กถูกข่มขืนไปสองคน ทุกคนเสียใจครับ แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะ "งบไม่มี" เขายุบโรงเรียนไปเฉย ๆ แต่โรงเรียนอีกโรงก็ไม่ได้เอาเงินไปจ่ายค่าเดินทางให้เด็กโรงเรียนที่ถูกยุบ และผู้ปกครองเองก็ไม่มีปัญญาจ่ายเช่นกัน แน่นอนว่าเรื่องที่เล่ามาให้ฟังนี้มันแค่โรงเรียนเดียว ทั้งประเทศอาจเป็นแค่ที่เดียวก็ได้ อาจไม่มีน้ำหนักเท่าไหร่ ถือว่าเล่าให้ฟังเฉย ๆ ก็แล้วกันครับ

  • ไม่ได้บอกว่าไม่รีบ และไม่ได้บอกว่าให้รอ แต่ให้พัฒนาให้มันพร้อมกว่านี้ก่อน เรื่องมีคนพัฒนาแอพแล้วอันนี้ผมไม่รู้จริง ๆ ต้องขอโทษด้วย แต่เรื่องเด็กไม่พร้อมนี่เรื่องจริง เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกจะเอา Text ไปทำไมกัน? (ผมถึงบอกว่ารอแอพก่อนได้ไหม? อย่างน้อยมีเสียงอ่านนิทาน มีแอพสอนวิธีการอ่าน ฯลฯ) ผมถึงเสนอว่าเอาไปลงกับมัธยมก่อนดีไหม? อย่างน้อยเด็กพวกนี้อ่านออกแน่ ๆ อยู่แล้ว มันก็ยังมีประโยชน์กว่า ในระหว่างนั้นก็พัฒนาแอพสำหรับเด็กไปพลางไม่ดีกว่าหรือ? (นักเรียนและโรงเรียนมัธยมมีน้อยกว่าประถมเยอะด้วย ค่าส่วนต่างเอาไปพัฒนาแอพและ infrastructure บุคลากร ฯลฯ รอก็ยังได้)

  • อายุไม่เหมาะ อันนี้ผมพูดเรื่องเด็กไม่รักษาของเป็นหลักน่ะนะ เสปกที่ออกมาไม่ได้ระบุเรื่องยางหุ้มอ่ะ ระบุแค่มีประกัน ซึ่งผมไม่คิดว่ามีประกันที่ไหนจะยอมจ่ายให้ถ้าเด็กเอาโยนลงพื้นเอง (ยอมก็เจ๊งแหง ๆ ล่ะ) ไหนจะเรื่องทำหายและโจรอีก ประกันคงไม่รับเคลมมั้ง แล้วใครรับผิดชอบ โรงเรียน? ผู้ปกครอง? เรื่องการเรียนรู้โอเค อาจจะจริงอย่างคุณพูดก็ได้ อันนี้ผมเถียงไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ลองจริงจัง จุดนี้ผมขอโทษครับ แต่ขอแก้ตัวว่าผมไม่ได้เทียบกับตัวเองครับ ผมค่อนข้างจะเรียนรู้เร็วเกี่ยวกับเทคโนโลยีตั้งแต่เด็กแล้ว

  • Infrastructure เออจริงของคุณแฮะ ยังไม่มีของมา แต่จะให้สร้างไว้รอมันคงแปลก ๆ แต่ผมเพิ่งได้ยินว่ามีงบ Infrastructure มาให้ด้วยจากคุณนี่แหละ ผมตกข่าวอีกละ = =" ดังนั้นจุดนี้ผมผิดเต็ม ๆ ขอโทษอีกครั้ง

  • ผมเชื่อว่าปัญหาคุณภาพครูสำคัญเป็นอันดับแรกครับ ไม่ใช่คุณภาพ Infrastructure ในโรงเรียน (ไม่ได้บอกว่าไม่เป็นปัญหานะ แต่ไม่สำคัญที่สุด) ยิ่งครูที่เป็นครูจริง ๆ เดี๋ยวนี้เหลือน้อยเต็มทนอันนี้ต้องรีบแก้อย่างด่วน ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่อง "งบ" นี่แหละครับ ครูดี ๆ เขาอยากทำโน่นทำนี่ให้นักเรียน แต่มันไม่มีงบให้ทำ ต้องตามมีตามเกิด บางทีก็เข้าเนื้อ สุดท้ายครูท้อครับ อยู่เฉย ๆ ดีกว่า สบายกว่า ถ้าคุณจะมองว่ามันคนละเรื่องเดียวกัน มันก็คนละเรื่องเดียวกัน แต่ผมมันก็อดคิดไม่ได้ว่าเอางบคนละสองพันสี่ไปทำโรงเรือน ซื้อจอบเสียม สอนเด็กปลูกพืชผัก ซื้ออุปกรณ์เย็บปักถักร้อย ทำธนาคารขยะ ทำศูนย์การเรียนรู้ได้อีกสารพัดแบบ ซึ่งทำให้ดี ๆ มันยั่งยืนเห็น ๆ (บางอย่างทำเป็นอาชีพได้เลยด้วยซ้ำ) มันก็ไม่เลวนะครับ (ซึ่งแน่นอนว่าจะทำอะไรอย่างที่ยกตัวอย่างมา ครูต้องดีก่อน ถึงจะมีแรงไฟต์เพื่อเด็ก)

ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยดีครับ ผมได้อะไรกลับไปเยอะมาก หวังว่าคุณจะได้อะไรกลับไปบ้างเช่นกัน


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: nidlittle
iPhoneWindows
on 10 February 2012 - 16:35 #382301 Reply to:382075

TL,DR trollface

อะ ล้อเล่น

เยี่ยมมากครับ ผมคิดว่าทุกคนที่ถกเถียงเรื่องนี้ควรจะได้อ่านเม้นนี้ เพื่อจะได้เห็นภาพของโรงเรียนนอกเขตเทศบาลบ้าง

แต่ดูจากคำตอบของคนที่ได้อ่านเม้นนี้แล้วดูจะไปในแนวทางว่า "ok เข้าใจล่ะ มีโรงเรียนที่ไม่พร้อม แต่โรงเรียนที่พร้อมก็มีเยอะ งั้นโครงการควรจะเดินหน้าต่อไป" เราคงได้แต่ยอมรับและปล่อยให้ความต่างมันมากขึ้นเรื่อยๆอย่างนี้ล่ะมังครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 10 February 2012 - 19:35 #382365 Reply to:382301

โรงเรียนที่ไม่พร้อม คือโรงเรียนที่เฉลี่้ยแล้วมีเด็กต่ำกว่าร้อยคนนะครับ บางโรงเรียนมีเด็กยี่สิบสามสิบคนเอง คุณอยากจะให้เขาพร้อมขนาดไหน?

ช่วยเสนอการแก้ไขที่เป็นไปได้จริง กับปัญหานี้ด้วยครับ ผมเสนอแล้วว่า รถรับส่งไปเรียนรวมที่โรงเรียนใหญ่ๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทำโรงเรียนเล็กๆที่เด็กยังไงก็ไม่มากไปกว่านี้ครับ

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 18:33 #381971 Reply to:381917
darkleonic's picture

ก็เลยไปห้ามพวกที่พร้อมสินะครับ


I need healing.

By: p-joy on 9 February 2012 - 23:28 #382010 Reply to:381914

ได้เงินไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ แต่จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเยอะนะครับ แต่มันนอกประเด็น ช่างมันเถอะ

ประเด็นคือ ไม่ใช่ไม่มีคนคิดเรื่องนี้

By: jedimj
Windows PhoneWindows
on 9 February 2012 - 11:36 #381869 Reply to:381860
jedimj's picture

ปัญหานี้เห็นเกิดขึ้นมาหลายสิบปี ปัญหาเดิมๆ
การมีหรือไม่มีแท็บเล็ต คิดว่าไม่น่ามีผลกับเรื่องนี้เท่าไรครับ

By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 11:39 #381873
Be1con's picture

อินเดียตามเมืองไทย!!!


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 9 February 2012 - 19:01 #381977
Sephanov's picture

มันเป็นเครื่องของการปรับตัวครับ คนที่ปรับตัวไม่ได้ก็หายไปเป็นฟอซซิลเหมือนไดโนเสาร์นี่แหล่ะ
ระหว่างหนังสือกับแทปเล็ท อะไรคืออนาคต ต้องใช้เวลาพิสูจน์ครับ

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 11 February 2012 - 10:54 #382487 Reply to:381977

AMAZON ใช้ Kindle พิสูจน์ไปแล้วครับ ตอนนี้บริษัทหนังสือโบราณ พยายามหาวิธีถ่วง Kindle ทั้งที่มัน ติดจรวดไปแล้ว