กฎของ Moore กล่าวว่า ประสิทธิภาพของวงจรรวม (IC - Integrated Circuit) จะพัฒนาขึ้นจากการเพิ่มทรานซิสเตอร์ขึ้นเท่าตัวในทุกๆ 18 เดือน หากว่ากฎของ Moore นั้นจะถึงจุดสิ้นสุดเมื่อขนาดของทรานซิสเตอร์เล็กจนเหลือเพียง 1 อะตอม (คือไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้) ซึ่งถ้าตามกฎของ Moore แล้วเวลานั้นควรจะมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
เมื่อวานนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ New South Wales ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์จากอะตอมเดียวลงในวารสาร Nature Nanotechnology โดยวงจรรวมนี้สร้างจากการนำอะตอมของฟอสฟอรัสวางลงไปในจุดศูนย์กลางของผลึกซิลิคอนร่วมกับวงจรประตูสัญญาน (gate) ประกอบกันเป็นทรานซิสเตอร์ที่เล็กที่สุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในโครงการนี้เชื่อว่านี่จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการเข้าไปสู่ยุคของ Quantum Computing ซึ่งเป็นเครื่องประมวลผลที่มีสถานะของสัญญานแบบทวีคูณ (quantum bit หรือ qubit มีสถานะสัญญาน 0, 1 และสถานะระหว่าง 0 กับ 1 ต่างกับ binary bit ที่มีเพียง 0 กับ 1) และมีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างเทียบกันไม่ได้
ศาสตราจารย์ Michelle Simmons ผู้นำกลุ่มนักพัฒนา ให้สัมภาษณ์ว่าโครงการทดลองนี้เริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างนวัตกรรมที่หลุดพ้นออกจากกฎของ Moore ให้ได้ ซึ่งเธอก็ได้ระบุว่าความสำเร็จในครั้งนี้นำหน้าเทคโนโลยีปัจจุบันไป 8-10 ปี
ถึงแม้ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการสร้างทรานซิสเตอร์จากอะตอมเพียงอะตอมเดียว หากว่านี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสร้างด้วยความแม่นยำอย่างสูงสุด (วางอะตอมไว้ตรงไหนก็ได้) และเป็นระบบที่สามารถทำซ้ำและพัฒนาไปเป็นระบบผลิตในโรงงานอุสาหกรรมได้
ยังไงก็ตาม เราคงยังไม่ได้เห็นตัวประมวลผลกลางที่สร้างจากอะตอมเดียวนี้ในตลาดในเร็ววันนี้ เนื่องจากผลจากการพัฒนาครั้งนี้ยังมีจุดบกพร่องคือ อะตอมจะต้องถูกเก็บอยู่ในอุณหภูมิ -235 องศา แต่ถึงกระนั้นนี่ก็ถือเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญที่จะเป็นรากฐานของเทคโนโลยีที่เราจะใช้ไปในอีกนับ 10 ปีข้างหน้าได้
ที่มา - Physorg (พร้อมวิดิโอ), Bloomberg Businessweek, ZDNet Australia
เพิ่มเติม - รายงานการค้นพบเทคนิกในการสร้างทรานซิสเตอร์นี้เมื่อ 3 ปีที่แล้วจากกลุ่มนักวิจัยเดียวกัน
Comments
อุณหภมู --> อุณหภูมิ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
องศา ต้องระบุด้วยครับว่าองศาอะไร
(เพิ่มเติมนะครับ)
ผมว่าอีกหน่อย Brute Force จะเป็นอัลกอริธึมที่น่ากลัวที่สุดนะ
ถ้ามันถอดได้เร็ว เราก็อัดอัลกอขั้นตอนเข้ารหัสให้มากกว่านี้ก็พอจะช่วยให้จำนวน brute force ต่อวินาทีร่วงลงได้บ้างล่ะครับ ดีไม่ดีใช้เวลาเท่าปัจจุบัน
มันไม่น่าจะเกี่ยวกันนะครับ เพราะเค้ามักจะ brute force ในส่วนที่คนต้องกรอก
ซึ่ง คนก็จำรหัสซับซ้อนมากยาวมากไม่ค่อยได้ซะด้วย...
ผมคิดว่ามันน่าจะเกี่ยวเพราะว่าเรา brute force ในส่วนที่คนต้องกรอกนี่แหละครับ เพราะเราจะรู้ว่ารหัสนั้นใช่หรือเปล่าก็ต้องเอาไปผ่าน algorithm ก่อน ถ้าอัลกอนั้นมันยาก ต้องใช้พลังประมวลผลสูง ก็ต้องใช้เวลามากหน่อยในการดูว่าคำตอบนั้น ๆ ใช่หรือไม่ ถ้าเราแค่สุ่มหรือรันรหัสออกมาเรื่อย ๆ แค่ CPU ปัจจุบันก็เร็วพอแหละครับ
เพราะฉะนั้นวิธี brute force จะใช้ได้ผลดีต่อเมื่อเครื่องที่ทำมีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องทั่วไปที่แพร่หลายอยู่มาก ๆ เท่านั้นเอง
ถ้าผม หน่วงเวลา ห้ามป้อน login ซ้ำในกรณีที่กรอก password ผิดไปแล้วสำหรับ user นั้นๆ หรือจาก ip เดียวกัน เป็นเวลา 1 วินาทีล่ะ?
ถ้าคนปกติ ใช้เวลามากกว่า 1 วินาทีในการกรอกข้อมูลอยู่แล้ว
เพิ่งรู้ว่า brute force เราเรียกว่าเป็นอัลกอริธึมครับ
อัลกอริทึมแปลว่ากระบวนการแก้ปัญหาครับ
อะไรก็ตามที่กระทำแล้วแก้ปัญหาได้ ก็เรียกว่าอัลกอริทึมครับ
อืมนะ ... ผมก็เข้าใจนะครับ แต่ว่ามัน brute force อ่ะ ... ไม่อยากเรียกมันว่าอัลกอริธึมจริงๆ เลยพับผ่า
เหมือนกับว่ามีเงินในโหล ใครหาวิธีอันแยบยลเอาเงินออกมาได้โดยห้ามเคลื่อนย้ายก็เอาเงินไปเลย
ถ้าจู่ๆ ตาเสกมาเอาไม้ฟาดโหลแตกแล้วเอาเงินไป เราจะเรียกวิธีของตาเสกว่าแยบยลได้มั้ย ...
=_=" หงุดหงิด ไม่อยากให้มันเป็นอัลกอริธึม ทั้งๆ ที่มันเป็น ... อ๊ากกกกก
กรอกรหัสผิด 3 ครั้ง แล้ว disable ฯลฯ น่าจะช่วยได้นะ ไม่น่ากังวลเท่าไหร่
แบบนี้สร้างได้ก็เหมือนสร้างไม่ได้เลย อารมณ์ประมาณว่าจะทำ Superconductor ที่อุณหภูมิห้องยังไงยังงั้น หรือไม่แน่ต่อไปอาจจะใช้ Quantum Computer พร้อมระบบหล่อเย็นด้วย Nitrogen เหลวก็เป็นไปได้
เค้าพูดถึงความเล็กระดับอะตอม(nano) ไม่ใช่พูดถึงอิเล็กตรอนคับ .. ดังนั้นเค้าถึงพูดว่ามันจะทำงานคู่ขนานได้คับ
สรุปก็เหลวเหมือนเดิมใช่มั้ย เพราะไม่มีทางที่คอมทุกบ้านจะเปนช่องแช่แข็งถึง -235 ได้
หรือว่าต้องรอให้เนตไวกว่านี้ แล้วใช้เทคโนโลยี cloud computer ที่มีคอมแม่เปน server ตัวเดียว(หรือหลายตัว)
แล้วคอมทั่วโลกประมวณผลจากคอมตัวนี้ที่อยู่ในช่องแช่แข็ง ยิงตรงผ่านเนตสู้บ้านขึ้นจอเลย
มีความเป็นไปได้สูงมากครับ ผมว่าซื้อเซอวิสแบบนี้ จะทำให้ประหยัดทั้ง พลังงานและทรัพยากรไปอีกเยอะเลย
ผมจะจำคำคุณ gosol ไว้
น้องไทยน่าจะรอไปก่อน ฮิฮิ
เป็นวิธีที่น่าสนใจนะครับ ทุกวันนี้ก็แชร์ข้อมูลกันอยู่แล้ว ถ้ามีหน่วยประมวลผลกลางด้วยก็น่าจะดีครับ (หรือว่าตอนนี้มีอยู่แล้วแต่เราไม่รู้ ?)
ปัญหาคือถ้าโดน Hack server แม่ได้ คอมเดี้ยงกันกระจายเลย :P
Skynet :P
Technology is so fast!
กดไลค์ให้ความเห็นนี้
“ชีวิตไม่ใช่การค้นหาตัวเอง แต่ชีวิตคือการสร้างตัวเองขึ้นมา” ~ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
เคยอ่านประวัติบิลเกต เล่าว่าสมัยเด็กต้องเช่าเวลาในการประมวลผล แล้วก็ใช้คอมได้จาก dumb terminal ที่ต่อเข้ากับเมนเฟรมของมหาวิทยาลัยอะไรประมาณนั้น... คือคอมที่ใช้อยู่เป็นเพียงแค่ terminal ตัวประมวลผลจริงอยู่ที่อื่น
เรากำลังวิ่งย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นกันครับ
The Cake is a Lie
จุดก้าวข้ามข้อจำกัดนี่ล่ะเนอะ ที่มันใช้เวลานานมากๆ
..: เรื่อยไป
อีกหน่อย Watson จะถูกล้ม ด้วย เวด้า อิอิ เกี่ยวกันม่ะ
สวดยวดดด โลกแห่งอนาคตเหมือนในนิยาย SI-FI ใกล้เข้ามาอีกก้าวแล้วสินะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.