โครงการแท็บเล็ตของอินเดียนับเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกจับตามองไปทั่วโลก โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1 ล้านเครื่อง แต่ตอนนี้ก็ต้องเจอปัญหาหลายอย่างจนอาจจะต้องเปลี่ยนผู้ผลิต และกำหนดมาตรฐานเครื่องเสียใหม่
แท็บเล็ตราคา 35 ดอลลาร์ที่อินเดียใช้งานนั้นผลิตโดยบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ชื่อว่า DataWind โดยตอนนี้ได้ส่งมอบไปแล้ว 10,000 เครื่อง แต่กลุ่มผู้ใช้ก็บ่นว่าเครื่องที่ได้รับมานั้นทำงานช้าเกินไป, แบตเตอรี่มีอายุสั้น, และจอแบบ resistive นั้นทำให้ทำงานลำบาก โดยสัญญาชุดแรกของ DataWind นั้นต้องส่งมอบเครื่องจำนวน 100,000 เครื่อง
โครงการในช่วงต่อไปจะเป็นการใช้งานในวงกว้างถึงหนึ่งล้านเครื่อง เจ้าหน้าที่รัฐระบุว่าทาง DataWind อาจจะต้องเข้าประมูลโครงการที่สองใหม่ โดยรัฐบาลอาจจะเปิดให้ผู้ผลิตรายอื่นเข้าแข่งขัน และจะกำหนดให้สเปคเครื่องรุ่นต่อไปดีขึ้นโดยที่ราคาเท่าเดิมหรือต่ำกว่าเดิม
ที่มา - Reg Hardware, Reuters
Comments
เยี่ยมเลย ไทยน่าเอาเป็นตัวอย่าง บริษัทไหนไม่ทำตามสัญญา เปิดประมูลใหม่
ไม่ได้เปิดประมูลใหม่ครับ โครงการเดิมยังอยู่ แค่ phase สองอาจจะไม่ได้
lewcpe.com, @wasonliw
ของราคาถูก จะเอาให้ดีแค่ไหนกันเชียว
ตามสเป็คก่อนประมูลไงครับ ถ้าตามสเป็คแล้วยังห่วย อันนี้คนเขียนสเป็คคงรับไปเต็ม ๆ (อาจเขียนไม่ครอบคลุม หรือเขียนไว้ห่วยจริง) แต่ถ้ามันห่วยเพราะผลิตมาไม่ตรงสเป็ก อันนี้ผู้ผลิตรับเต็ม ๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอย่างไหน แต่กรณีหลังนี่ทำให้นึกถึง Thumb drive ในตำนาน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ต้องดูตอนระบุ spec ไว้ก่อนประมูล ว่ากำหนดไว้แค่ไหนกันหว่า
ผลิตจำนวนมาก กดราคาได้อีกครับ
หวังว่าของเด็ก ป.1 คงไม่มีเรื่องแบบนี้...
ไปเจอปัญหาเรื่องลงเกมส์ได้น้อยแทน ผ่าง
ถ้าต้องการไม่ให้มีสิ่งผิดพลาด คือต้องไม่ทำอะไรเลย
ทำดีไม่ได้ ก็อย่าทำเสียดีกว่า หลบทางให้คนที่ทำได้ขึ้นมา
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าคนอื่นจะทำดีกว่านี้? ถ้าหลีกทางให้แล้วมาทำแย่กว่า ใครจะเป็นคนต้องรับผิดชอบ? แล้วจะรับผิดชอบด้วยวิธีแบบไหน?
ไอ้เรื่องรู้ไม่รู้นี่ต้องพิจารณาตัวเองล่ะครับ
อีกอย่าง ผมไม่ได้พูดถึงว่าคนอื่นทำได้ดีกว่านะ ? แค่ไม่มั่นใจว่าตัวเองทำได้ไม่ดีก็ไม่ควรทำแล้วครับ
ผมบอกตอนไหนล่ะว่าใครคนไหนที่ไม่มั่นใจ
แต่ไม่ว่าจะมั่นใจแค่ไหน ถ้าไม่รู้จักเผื่อความผิดพลาด คิดเผื่อว่าทำแล้วอาจจะมีปัญหาบ้าง คิดแต่ว่าฉันทำแล้วไม่มีทางพลาด แบบนั้นผมเรียกหลงตัวเอง
ทีมหนึ่งในอดีตไม่เคยทำผลงานเลย (กลับไปก็ไม่น่าจะทำงานเช่นเดิม) แถมยังเข้ามาแบบโกงๆ
กับอีกทีมที่พยายามทำและผลงานที่ดีก็มี (เช่นจับยาเสพติด) แต่โดนทีมที่แล้วโม้ว่าทำใด้ดีกว่า !!!
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ตรรกะสำหรับเด็กฝึกงานครับ มาใช้กับงานระดับประเทศผิดกาละเทศะ
ทำอะไรบ้างครับที่ไม่มีปัญหาและอุปสรรค ?
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ไม่ได้บอกว่ามีไม่ได้นี่ครับ ปัญหามันน่าจะอยู่ที่ต้นทางกับกลางทางเท่านั้นไม่น่าอยู่ปลายทาง ยิ่งงานระดับประเทศแล้วความเสี่ยงสูงถ้าผิดพลาด
ความเสี่ยงต่ำไม่ได้แปลว่าไม่ผิดพลาดครับ
อย่างที่บอกนั่นแหละครับ ปัญหาน่าจะอยู่ที่ต้นทางกับกลางทางไม่น่ามาอยู่ปลายทาง ธุรกิจใหญ่ขนาดนี้พลาดไม่ได้ครับ
การพยายาม Assume ว่า จุดนี้พลาดไม่ได้ จุดนั้นต้องไม่พลาด เป็นความคิดแบบเด็กฝึกงานมากกว่าผมว่า
ไม่ว่าจะต้นกลางปลาย สุดท้ายความเสี่ยงก็ยังมีอยู่เสมอ คิดแต่ว่าต้องไม่มีคำว่าพลาด นั่นคือประมาทแล้ว
ขอโทษครับเคยฝึกงานที่ไหนมาบ้างแล้วครับ ถ้าไม่เคยบริหารงานมาอย่าอวดรู้ครับ
คนทำธุรกิจรู้ครับว่าตรงไหนควรเสื่ยง ไม่ควรเสี่ยง ปัญหาเริ่มต้นมันคืออะไร ปัญหากลางทางคืออะไร ปลายทางคือส่งงานลูกค้า 100% งานโปรเจคใหญ่ๆ ถ้าปลายทางพลาดโอกาสกลับมาทำใหม่ไม่มีหรอกครับ เจ๊งอย่างเดียว
ถ้าแค่พลาดปลายทางแล้วต้องรอเจ๊งอย่างเดียวนั่นคือวิธีบริหารของคุณก็เชิญตามสบายละกันครับ
คงไม่เคยเห็นสัญญาส่งงานล่าช้าปรับวันละหมื่น ไม่ยอมเซ็นรับงาน ฯลฯ นอกจากขาดทุนแล้วยังเสียโอกาสทางธุรกิจด้วย เท่ากับว่างานต่อไปคุณไม่ได้แล้ว ไม่เจ๊งแล้วเรียกว่าอะไรละครับ ถ้าคิดว่ารู้แล้วอธิบายด้วย
จริง ๆ แล้วก่อนจะทำอะไรควรจะมีการทำ pilot study ก่อน แม้ว่าการผลิตอุปกรณ์เพื่อการทำ pilot อาจจะแพงกว่าการผลิตในการสั่งซื้อจริงในจำนวนมากก็ตาม แต่อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่ามัน work หรือไม่ ... ลองทำซักปีสองปีก็ได้ รัฐบาลไม่ควรจะรีบร้อนขนาดนี้เหมือนกัน
@TonsTweetings