บริษัท Appro ได้เปิดตัวซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ลินุกซ์ตัวแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ตัว ที่จะทำให้กับ ศูนย์วิจัยแห่งชาติ Lawrence Livermore (LLNL) โดยได้ตั้งชื่อว่า Rhea (อีกสามตัวชื่อ Zeus, Atlas และ Minos) ระบบที่ว่านี้ ใช้โพรเซสเซอร์ของเอเอ็มดี รุ่น Opteron 8000 Series (ุสนับสนุน 64 บิตด้วย) จำนวน 576 ตัว มีความสามารถในการประมวลผลถึง 22 TeraFLOPS ต่อวินาที หรือประมาณ 22 ล้านล้าน ชุดคำสั่งต่อวินาที ซึ่งจำเป็นต่องานวิจัยของ LLNL เช่น การจำลองสภาพอากาศ, การจำลองวัสดุ, การจำลองเหตุการณ์แผ่นดินไหว, การจำลองการเคลื่อนไหวแบบไม่แน่นอน (Dislocation Dynamics) เป็นต้น
นี่ก็เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งที่ว่าระบบเล็กๆช่วยกันประมวลผล (เหมือน Google) ดีกว่าระบบใหญ่ๆตัวเดียว
ที่มา - Appro, LinuxInsider
Comments
ผมอยู่นอกวงการ high performance computing เลยสงสัยว่า ข่าวนี้เป็นข้อพิสูจน์ตรงไหนครับ?
เวลาเขียนโปรแกรมบนพวกนี้ใช้ MPI หรือ OpenMP (ไม่เคยเขียนเลยอะนะ)
chris: งงเหมือนกัน
มันไม่เกี่ยวกับข้อพิสูจน์อะไรนะครับ ระบบแบบคลัสเตอร์เค้าก็ใช้แทน supercomputer แบบเดิมมานานอยู่แล้ว ถ้าจะนับเรื่องประสิทธิภาพตอนนี้ Blugene ซึ่งเป็นเครื่องที่ออกแบบมาเป็นพิเศษก็ยังติดอันดับหนึ่งอยู่นะครับ มันเทียบได้เรื่อง Price/Performance เฉยๆ
ผมว่า LLNL เค้าคงจับมาชนกับ TSUBAME ของญี่ปุ่นครับ TSUBAME ล่าสุดนี่ติดอันดับ 9 11088 CPUs เป็น Opteron เหมือนกันเลย สองประเทศนี้เค้าแข่งกันเรื่อง HPC กันอยู่เรื่อยๆครับ แต่ Rpeak ยังต่างกันหลายขุมแฮะ 22 กับ 47Tflops แน่ะ
ปล. Tsubame เป็นเครื่องที่ใช้ CPU แบบทั่วๆไปอันดับสองครับ อันดับแรกคือ Tera-10 ที่ใช้ Itanium2 ของฝรั่งเศษ (แต่ itanium2 น่าจะจัดว่าเป็น CPU ไม่ค่อยทั่วไปแล้วอ่ะนะ)
ผมสงสัยมานานแล้วว่า ถ้าเขียนโปรแกรมทั่วไปแบบไม่ใช้ MPI แล้วเอาไปรันบนคลัสเตอร์แล้วมันจะไวขึ้นรึเปล่าครับ
แอบดีใจ ที่ Cluster ใช้ Opteron กันเยอะ
แต่ไหงที่ 1 เป็น Itanium อ่ะ -_-!
veer : มี pvm อีกตัวครับ ใช้ได้คล้าย ๆ กันแล้วแต่จะเลือก
ABZee : โดยปกติแล้วไม่ครับ ยกเว้นว่าจะใช้ OpenMosix มันจะจ่ายงานให้เครื่องลูกโดยอัตโนมัติ แต่ OpenMosix ต้องคอมไพล์เคอร์เนลใหม่ เอกสารก็ไม่ค่อยมี ส่วนมากเขาเลยใช้ pvm หรือ mpi กัน เพราะงานเหล่านี้มักเป็นงานเฉพาะที่ต้องเขียนโปรแกรมเองอยู่แล้วครับ
ที่คณะผมก็มี cluster อยู่ตัวนึงครับ 32xOpteron ไม่ค่อยมีใครใช้เพราะเกลียด FORTRAN กัน ผมว่าจะไปขอเปลี่ยนมาใช้ Python+Pyrex อยู่ครับ ความเร็วไม่ต่างกันมาก (ประมาณ 2-5 เท่า) แต่ระยะเวลาเขียนโปรแกรมต่างกันเยอะสุด ๆ (เกินร้อยเท่า)
ABZee - MPI หรือ PVM นั่นเอาไว้สำหรับเขียนโปรแกรมที่ทำงานแบบขนานจริงๆ แต่อยากใช้คลัสเตอร์ไม่ต้องทำงานขนานก็ได้ โปรแกรมทั่วไปก็รันได้ ถ้าไม่ใช้ Mosix ก็มาลองใช้ตระกูล batch scheduler แทน อาจยุ่งยากในทางปฏิบัติในระยะแรก แต่สบายในระยะยาวแน่นอน ข้อแม้เดียวก็คือต้องมีงานมากกว่าหรือเท่ากับจำนวนซีพียูนะ ไม่งั้นไม่คุ้ม
chris,veer - เอาเข้าจริงเราก็ต้องเอาปลาพันธุ์เล็กขนาดใหญ่ที่สุดหลายๆ ตัวมาสู้กับปลาพันธุ์ใหญ่ที่เล็กที่สุด อย่าง Tsubame ก็ไม่ใช่เครื่องเบาๆ มันก็ถือว่าเป็หนึ่งในซีพียูที่ดีที่สุดในบรรดาซีพียูระดับเดียวกัน
teedech - ผมว่า Google ไม่ได้ใช้ระบบเล็กๆ มั๊งครับ เท่าที่เคยอ่านเค้าใช้ของคุณภาพปานกลางแทนที่จะใช้ของดีราคาแพง เสียจะได้ทิ้งไปเลย เรื่องประกันไม่สน เหมือนเดินไปซื้อเครื่องตามท้องตลาดมาใช้ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
bow_der_kleine - เค้าบังคับใช้ Fortran เหรอครับ
ผมว่ามันไม่เห็นจะเป็นเหตุผลให้มาสรุปอย่างที่ว่าได้สักหน่อยเลยนะ อ่านแล้วงง ไงดีอ่ะ สรุปแบบ absolute แบบนี้โอกาสเป็นจริงมีน้อยมาก ดูเหมือนเหตุผลและตัวอย่างจะ weak ไปหน่อยสำหรับผู้อ่านทั่วๆไปอ่ะนะ
คือต้องบอกก่อนว่าผมเองก็ไม่ได้เก่งด้านคอมพิวเตอร์มากมายหรอกนะ แต่อ่านจากลักษณะภาษา เหตุผล ตัวอย่าง และการสรุปเอาน่ะ
sugree - คุณพูดถูกแล้วเกี่ยวกับ google
That is the way things are.
ผมเขียนไว้ว่า "นี่ก็เป็นข้อพิสูจน์หนึ่ง..." ไม่ได้บอกว่า "เป็นบทสรุป..." เป็นข้อพิสูจน์อีกอันหนึ่งที่ว่า ระบบลีนุกส์คลัสเตอร์ก็มีการใช้งานในงานใหญ่ๆ ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่อง cost/efficiency จนหน่วยงานหลายๆที่พิจารณา จัดซื้อมาใช้งาน
ส่วนคำว่าเล็กๆ มันก็ตีความในมุมแต่ละคนนะครับ มันอาจจะหมายถึง micro หรือ mini computer หรือคิดมากไปถึงอุปกรณ์แบบ mobile เลย ใจความคือ การคลัสเตอร์ครับ การที่ยก google มาเป็นตัวอย่าง เพราะมีการใช้ระบบคลัสเตอร์เหมือนที่ LLNL ครับ
การที่ Lew มาเขียนแบบนี้ แสดงว่าผมขาดความน่าเชื่อถืออย่างแรง โดยทั่วไปย่อหน้าสุดท้ายของข่าวมักมีความเห็นส่วนตัวไว้อยู่แล้ว ผู้อ่านที่สนใจข่าวใดข่าวหนึ่งมากๆ เค้าจะเข้าไปอ่าน ที่มา อยู่แล้ว ผมว่ามันดีกว่า บางประโยคที่ไม่ค่อยสุภาพนะครับ เช่น "แต่ขออย่าให้มีเทคโนโลยีกันก๊อปปี้บ้าๆ บอๆ ใส่มาก็พอแล้ว" อยู่ในข่าว http://www.blognone.com/node/3343
ผมได้ประโยชน์และร่วมกิจกรรมกับชุมชนนี้มา เห็นว่าที่นี่เป็นชุมชนที่ดี ผมอยากให้ที่นี่มีพัฒนาการ, มาตรฐานที่ชัดเจน และเปิดรับการมีส่วนร่วมจากภายนอกมากขึ้น ผมจะเอาใจช่วยอยู่ห่างๆแล้วกันครับ
teedech - ผมขอโทษ... แค่เห็นเรื่องมันเกี่ยวกับงานประจำ ผมเลยอยากมีส่วนร่วมเฉยๆ เดี๋ยวจะมีใครหาว่าไม่เอาใจใส่
teedech - ถ้าการเขียนเน้นของผมทำให้คุณไม่พอใจผมก็เสียใจนะครับ แต่ในกรณีนี้ผมมองว่าผมเองมีความจำเป็นในระดับหนึ่งที่ต้องขอระบุเอาไว้เพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่าน เนื่องจากกลุ่มผู้อ่านในเว็บนี้เองเป็นกลุ่มนักศึกษาในสาย Computer Science/Engineering กันเยอะพอสมควร ด้วยความที่ตัวข้อความเองไม่แน่ชัดว่าเป็นความเห็น หรือข้อเท็จจริงจากตัวข่าว ผมจึงต้องระบุเอาไว้
ส่วนเรื่องความเห็นในข่าวของผมเองนั้น ปรกติก็มีคนอ่านแจ้งถึงเรื่องราวเหมาะสมและไม่เหมาะสมเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ตรงนั้นเองผมก็รับฟังและแก้ไขอยู่เป็นระยะ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
"Lew: บทสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ขาดข้อสนับสนุนทางวิชาการควรพิจารณาครับ"
ไม่อยากบอกเลยว่า คนเขียนเขาเคยเป้งอาจารย์เรานะ เพราะคิดว่าถ้าจะเป้งอาจารย์ได้ ต้องเก่งจิงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเป้งอาจารย์ได้น่ะ + ประสบการณ์ด้วย ...."ขาดข้อสนับสนุนทางวิชาการควรพิจารณาด้วยครับ "
อืมมมมมมมมมม...... . .. ... ....
เคยสังเกตไหมว่า เบอร์เสื้อนั่งเตะดังๆอย่าง แบคแฮม(7) , คาลอส(5) เป็นต้น เป้งจำนวนเฉพาะ ขำๆๆ
airautumm - เจอร์ราด เบอร์ ๘ เน้อ :-P
ก็... บอกแล้ว ขำๆๆ " โปรดใช้วิจารณาญในการอ่าน ด้วยงับ " เป้งความเห็นส่วนตัว
ปล. พอดีหนูไม่ได้ชอบ เจอร์ราด คะ แต่ เล่นเก่งโคตร :D
อือม ผมหาไม่เจอแฮะว่าคุณ lewCPE ดิสเครดิตคุณ teedech ตรงไหน เข้าใจว่าคุณ lewCPE ลบความเห็นของตัวเองออกไปแล้ว แต่ยังไงผมก็ยังอยากให้คุณ teedech เข้ามาให้ความรู้อยู่นะครับ อย่าโกรธคุณ lewCPE เลย
สำหรับเรื่องการทำ clustering ฟาร์มคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่ทัดเทียมกับ supercomputer นั้น ผมเองก็ติดตามอยู่ แล้วก็รู้สึกว่าจะเป็นการดีมากเลยนะ ถ้าท่านอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะบรรจุเรื่องนี้เข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กคอมพิวเตอร์ด้วย
เพราะดูแล้ว จุดสำคัญในการทำคลัสเตอริ่งแบบนี้ มันอยู่ที่ระบบปฏิบัติการ ไม่ได้อยู่ที่ตัวฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ลดต้นทุนดีนะผมว่า
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.
teedech - ก่อนที่เรื่องจะบานปลายไปมากกว่านี้ ผมขอเคลียร์ตรงนี้ก่อนที่บทความนี้จะหลุดหน้าแรกแล้วกัน
เรื่องแรกเลย ข้อความ "บทสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ขาดข้อสนับสนุนทางวิชาการควรพิจารณาครับ" ถือเป็น __ความผิด__ ของตัวผมเอง ที่ไปล่วงเกินคุณ teedech เกินกว่าเหตุ ในเรื่องนี้ผมต้องขออภัยไว้ที่นี้
ตัวผมเองไม่ใช่คนในวงการ HPC แต่อย่างใด ผมข้อความสรุปของคุณ teedech แม้จะสร้างความงุนงงให้กับกับผมไม่ต่างจากคนที่คอมเมนต์ด้านบนๆ แต่ก็ไม่ได้ติดใจอะไรมาก จนกระทั่งคำถามต่อข้อสรุปเริ่มมากเข้า ผมเริ่มต้องสนใจข้อความดังกล่าว
ในฐานะผู้ดูแล Blognone ผมมีพันธะกับผู้อ่านถึงความแม่นยำของข้อมูลที่ผ่านทาง Blognone ไปในระดับหนึ่ง ตรงนี้ทำให้ผมต้องตั้งคำถามว่าข้อสรุปนั้นถูกต้องแค่ไหน สุดท้ายเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้ ผมจึงเลือกที่จะ note ไว้หลังข้อความดังกล่่าว (ซึ่งผมขอยอมรับว่าเป็นการ take action ที่ผิด)
เรื่องของมาตรฐาน ตรงนี้ผมกับ mk กำลังหาทางออกกันอยู่ว่าเราจะมีมาตรฐานในเรื่องของคอมเมนต์และเนื้อหากันอย่างไร เนื่องจากสังคมในเว็บนี้เติบโตด้วยความเร็วที่สูงมาก มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาหลายครั้งในหลายเดือนที่ผ่านมา ตรงนี้ถ้ามีแนวทางเสนอสามารถแจ้งไว้ในเว็บบอร์ดได้ตามปรกติครับ
airautum - ผมไม่ทราบครับว่าใครเป็นใคร ผู้อ่านและผู้เขียน ที่เข้ามามีช่วงกว้างมากตั้งแต่เด็กมัธยมไปจนผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆ ท่าน ด้วยความที่นี่คือเว็บที่เปิดเสรี ผมจึงไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นใครกันบ้าง ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
22 Tflops = 22,000 Gflops = 22,000,000 Mflops = 22,000,000,000 Kflops = 22,000,000,000,000 flops 22 Tflops แปลว่าสามารถประมวลผลเลขทศนิยมได้ 22 ล้านล้านชุดคำสั่งในเวลาหนึ่งวินาที
ผมตอบแยกประเด็นละกันนะ
- ก่อนอื่นในฐานะที่ผมเป็นคน approve ข่าวนี้เองกะมือ ก็ขอโทษที่ไม่ได้ตรวจดูเนื้อหาให้ละเอียด (คืออ่านผ่านๆ แล้วมันไม่ขัดก็โอเค) เนื่องจากไปใส่ใจเรื่องการสะกดคำซะเยอะ (ที่คุณ teedech เขียนมาตอนแรกมีจุดต้องแก้หลายจุด ถ้าใครเคยส่งข่าวมาจะรู้ว่าผม strict เรื่องนี้มากๆ)
- เรื่องเนื้อหาข่าว ถ้ามองในส่วนที่เป็น fact ก็ไม่มีอะไรค้านครับ แต่ถ้ามองในแง่การเขียน ถ้าเราจำลองตัวเองเป็นสื่อหรือ copywriter มันยังไม่ดีพอในเรื่องการเชื่อมโยงของความคิดครับ คือ Lawrence Livermore สร้างคอมพิวเตอร์แล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับระบบเล็กระบบใหญ่ ผมคิดว่าจุดนี้คุณ teedech ก็ควรจะนำไปใช้ปรับปรุงกับข่าวต่อๆ ไป
- ส่วนเรื่องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเนื้อหา ตรงนี้ผมเองก็ไม่มีความเห็น โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้คาดหวังว่าข่าวจะต้อง perfect ถูกเป๊ะๆ ไปซะหมด เพียงแต่หวังว่าถ้าข่าวมีข้อโต้แย้งหรือคำถามเกิดขึ้น (แบบข่าวนี้) ก็อยากให้มี feedback กลับมา (ซึ่งก็เกิดในข่าวนี้) ผมค่อนข้างดีใจที่มีคนในวงการ HPC หลายคน (เผอิญว่ารู้ว่าใครเป็นใคร) เข้ามาช่วยแก้ไขแนะนำให้ ซึ่งมันดีกว่าข่าวผิดไปแล้วทุกคนเงียบมากๆ
- ขอตอบความเห็นของคุณ airautumm ปิดท้าย
Blognone ไม่สนใจ (และคงจะไม่สนใจในอนาคต) ว่าคนเขียนข่าวเป็นใคร คนอ่าน Blognone หลากหลายมากตั้งกะเด็กมัธยม ไปจนถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการไอทีหลายท่าน (มีจริงๆ นะเพียงแต่ผมรู้คนเดียวเพราะแอบดูอีเมลเอา) เพียงแต่เราทุกคนอยู่ภายใต้ screenname กันหมด ดังนั้นการที่ใครจะมีเสียงดังกว่าใคร ก็ให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์เพียงอย่างเดียวดีกว่าครับ