เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ผ่านมา บริษัท Novell ได้ออก Moonlight 2 พร้อมข้อตกลงใหม่ที่อนุญาตให้รันบน Linux ได้ทุกรุ่น (รวมทั้ง OS ตระกูล BSD ด้วย) จากเมื่อก่อนรันได้แค่บนผลิตภัณฑ์ของ Novell (เช่น NetWare, SuSE Linux เป็นต้น)
โดย Moonlight ในเวอร์ชั่นใหม่นี้ พัฒนาบน Mono 2.6, Cairo และ GTK+ ประกอบด้วยซอร์สโค้ดภาษา C/C++ 142,000 บรรทัด และซอร์สโค้ดภาษา C# อีก 320,000 บรรทัด (เป็นซอร์สโค้ดจากโครงการโอเพ่นซอร์ส Silverlight ของไมโครซอฟท์ 125,000 บรรทัด)
ScottGu ได้เผยความสามารถใหม่ของ Visual Studio 2010 ด้านการสนับสนุน Multi-Monitor ซึ่งปกติแล้วใน Visual Studio รุ่นก่อนหน้านี้ จะมีการจัดวางหน้าต่างย่อย เช่น editor, designer, properties ฯลฯ ไว้ในหน้าต่างหลักอันเดียว (single top-level window) ซึ่งนักพัฒนาไม่สามารถดึงหน้าต่างย่อยออกมาข้างนอกได้
ข่าวนี้ทางกูเกิลเองก็ไม่ได้แจ้งแก่ผู้ใช้งานล่วงหน้าหรือเป็นแผนการณ์มาก่อน แหล่งข่าวคาดว่ากูเกิลพยายามที่จะผลักดัน Google Docs, Spreadsheets และ Presentation แบบออนไลน์ของตัวเองแทน ซึ่งอาจจะเป็นการโต้ตอบคำพูดของ Steve Ballmer ที่กล่าวถึงผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ว่าดีกว่าทั้งของกูเกิลและซัน
ผมเห็นบางคนเสนอให้กูเกิลทำ plugin แก่ OpenOffice.org เพื่อเป็น client สำหรับ Google Docs ไปเลย ผมชอบไอเดียที่ว่านี้นะ
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางไมโครซอฟท์ได้เปิดให้ดาวน์โหลด Microsoft Sync Framework Services 1.0 alpha แล้ว หลังจากที่มีการซุ่มทำ Microsoft Synchronization Services for ADO.Net และ Microsoft P2P mesh service for synchronization ในชื่อโค้ดเนมว่า Harmonica (ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Ibiza) มาซักพัก ขนาดไฟล์ก็เล็กๆ ประมาณ 2 - 3 MB (
เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา บริษัทซันได้เซ็นสัญญาขายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อม Windows Server แบบ OEM กับทางบริษัทไมโครซอฟท์ ทำให้ต่อไปเมื่อเราซื้อเซิร์ฟเวอร์ตระกูล 64 บิต (Sun Fire x64 Servers) ของซันก็จะสามารถเลือก OS ที่ลงมากับเครื่องได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Solaris, Linux และ Windows (คาดว่าจะออกจำหน่ายจริงในอีกประมาณ 90 วัน) ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในความร่วมมือหลายๆ ด้านของทั้งสองบริษัทตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ที่เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสเริ่มได้รับความนิยม
บริษัท Appro ได้เปิดตัวซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ลินุกซ์ตัวแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ตัว ที่จะทำให้กับ ศูนย์วิจัยแห่งชาติ Lawrence Livermore (LLNL) โดยได้ตั้งชื่อว่า Rhea (อีกสามตัวชื่อ Zeus, Atlas และ Minos) ระบบที่ว่านี้ ใช้โพรเซสเซอร์ของเอเอ็มดี รุ่น Opteron 8000 Series (ุสนับสนุน 64 บิตด้วย) จำนวน 576 ตัว มีความสามารถในการประมวลผลถึง 22 TeraFLOPS ต่อวินาที หรือประมาณ 22 ล้านล้าน ชุดคำสั่งต่อวินาที ซึ่งจำเป็นต่องานวิจัยของ LLNL เช่น การจำลองสภาพอากาศ, การจำลองวัสดุ, การจำลองเหตุการณ์แผ่นดินไหว, การจำลองการเคลื่อนไหวแบบไม่แน่นอน (Dislocation Dynamics) เป็นต้น
การเลือกสัญญาอนุญาต (license) ของซันครั้งนี้ จะเลือกใช้ GPL กับรุ่นไมโคร (J2ME) และรุ่นมาตรฐาน (J2SE) แต่ยังคงใช้ CDDL กับรุ่นองค์กร (J2EE) ซึ่งเป็นแบบเดียวกันที่ใช้กับ OpenSolaris
เหตุผลส่วนนึงมาจาก poll ที่ทำขึ้น ซึ่งเลือก GPL+LGPL ถึง 37% รองลงมาคือ Apache 31% แต่แปลกใจตรงที่มีผู้โหวตที่ ไม่ต้องการให้โอเพนซอร์ส สูงถึง 21%