ผมคิดว่าคนอ่าน Blognone น่าจะได้ยินตำนานของบังกะลอร์ เมืองแห่งการ outsource งานไอทีจากสหรัฐ จนกลายเป็นรายได้มหาศาลให้กับอินเดียเป็นอย่างดี (และน่าจะเคยได้ยินนโยบายการเป็นบังกะลอร์ 2 ของรัฐบาลไทยด้วย)
ตอนนี้บรรดาบริษัทรับงาน outsource เริ่มมองหาสถานที่ใหม่ๆ แทนบังกะลอร์ ด้วยสาเหตุทั้งด้านเงิน จำนวนแรงงาน และความแออัดของบังกะลอร์เองแล้ว
สถานที่ซึ่งเอ่ยถึงในบทความได้แก่รัสเซีย, โรมาเนีย, บราซิล, ฟิลิปปินส์, เมืองต้าเหลียงในประเทศจีน (ติดกับเกาหลี รับงานจากเกาหลีญี่ปุ่น) และโฮจิมินห์ซิตี้ในเวียดนาม ซึ่งแต่ละที่ก็มีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกันไป อย่างบราซิลจะได้เปรียบประเทศอื่นเรื่องเวลาที่ตรงกับในสหรัฐ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามบังกะลอร์ยังไม่หายไปง่ายๆ มูลค่าการส่งออกบริการด้านซอฟต์แวร์ของอินเดียในปี 2005 อยู่ที่ 17.7 พันล้านเหรียญ เทียบกับ 3.6 พันล้านเหรียญของจีน และ 1 พันล้านเหรียญของรัสเซีย
ในข่าวไม่เอ่ยถึงประเทศไทย ใครทำงานอยู่บริษัทด้าน outsource ลองมาแชร์ประสบการณ์กันหน่อยครับ
ที่มา - BusinessWeek
Comments
โดยส่วนตัวมองว่าเมืองไทยขาดศักยภาพอย่างรุนแรง แค่ทุกวันนี้โปรแกรมเมอร์ก็ค่อนข้างอยู่ในระดับขาดแคลนกันพอควรอยู่แล้ว การจะหวังให้มีการมาลง outsource บ้านเราอีกเยอะๆ คงต้องตอบโจทย์ต่างประเทศได้ว่าเรามีแรงงานให้เขาเท่าใหร่ โดยเฉพาะแรงงานในระดับที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
สงสัยนิดหน่อย จำเป็นที่ programmer ทั้งหมดในทีมสื่อสารภาอังกฤษดีหรือเปล่าคะ จริงๆถ้ามีคนติดต่อ เช่น project co ซักคนแล้ว มันพอหรือเปล่า?
ไม่เคยทำ outsource อะค่ะ อยากรู้
smilelovehappiness ผมคิดว่า มันคงจะเป็นข้อดีอย่างมากถ้าคนในทีม 'ทั้งหมด' สื่อสารได้ อย่างน้อยก็อ่านออก เขียนได้ เพราะอย่างน้อย ถ้ารับงานมา req & doc ก็น่าจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ถ้าลำพังจะให้ project co มาอธิบายให้ทั้งหมดก็คงลำบากน่าดู
ตอนที่ทำงาน TTET (รับงานมาจากศูนย์โตโยต้า) มี spec เป็นภาษาญี่ปุ่น (แน่นอน ผมอ่านไม่ออก) ดีหน่อยก็ภาษาอังกฤษที่แปลมาจากญี่ปุ่น
---------- iPAtS
iPAtS
เรื่องภาษาสำคัญครับ มันทำให้คนไทยโลกแคบหรือโลกกว้างได้เลย ส่งผลกระทบต่อหลายเรื่องมากๆ เรื่องนี้มีผลทำให้ศักยภาพนักพัฒนาคนไทยต่ำกว่ามาตรฐานไปด้วย
โครงการบังกะลอร์ 2 ผมว่าไทยยังไม่พร้อม ถ้าทำออกมาคงไม่ยั่งยืน
smilelovehappiness - ผมเห็นด้วยกับต่ายนะ คือจะพูดไม่ชัด ฟังไม่ทันยังไง ถ้าอ่านออก "คล่องๆ" หน่อยก็ยังพอทำงานด้วยได้ ให้ดีก็เขียนได้อย่างน้อยก็โต้ตอบผ่านเมลได้
แต่ต้องยอมรับว่่าโปรแกรมเมอร์ "ส่วนใหญ่" ในบ้านเรายังขาดตรงนั้นอีกเยอะ ลำพังมหาวิทยาลัยปิดของรัฐผลิตออกมาได้ถึงปีีละ 5000 คนรึเปล่านี่่ยังน่าสงสัย นี่แค่วัดด้วย "ปริมาณ" ก็ไม่ต้องพูดกันแล้ว
ถ้าจะทำตัวเป็น Hub ในภูมิภาคจริงๆ คงต้องมามองภาคการศึกษาบ้านเราว่าพร้อมกันแค่ไหน ต้องปรับตรงไหนกันบ้าง ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
lewCPE - เห็นด้วยครับ ^o^
อ่านเรื่องนี้ทำให้มีเรื่องเขียนเลย เดี๋ยวคืนนี้ไปเขียนเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของอารยธรรมไทยดีกว่า
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.
อ่อ......
ผมเปิด English for Geeks อีกเว็บดีกว่าแฮะ
ก่อนหน้านี้ผมทำงานอยู่บริษัท outsource งานส่วนใหญ่มาจาก Videndi และ Ubisoft ครับ
สำหรับความเห็น ผมคิดว่าตอนนี้ไทยเองยังไม่พร้อมที่จะเป็นบังกะลอร์ 2 หรอกครับ เพราะโปรแกรมเมอร์เก่งๆ ในไทยนั้นหายากมากๆ และที่หายากกว่านั้นคือโปรแกรมเมอร์ที่เก่งและทำงานเป็น
โปรแกรมเมอร์เก่งๆ หลายๆ คนที่เคยเจอมักจะ เก่งกับการทำงานคนเดียว พอมาทำงานเป็นทีมก็มีปัญหาหลายๆ อย่าง ผมเรียกคนพวกนี้ว่า ทำงานไม่เป็น
ส่วนเรื่องประเด็นภาษาอังกฤษนั้น ผมคิดว่ามันจำเป็นมากๆ เลยครับ มี Project co แค่นั้นไม่เพียงพอหรอก อย่างกรณีของผม มักจะเจอลูกค้าส่งเมล์มา ขอนู่น แก้นี่ อยู่ตลอดเวลา บางที Project co เค้าก็ไม่เข้าใจว่าอะไร เราก็ต้องไปอ่านเมล์เอง หรือไม่งั้นเวลาจะตอบเมล์เค้าก็ต้องเขียนเอง (ถ้าเขียนเองไม่ได้ก็ต้องเขียนเป็นภาษาไทยไปให้ project co หรือใครก็ได้ที่สามารถแปลได้ถูกต้อง และเข้าใจคอมพิวเตอร์ แปลให้ ซึ่งยังไงมันก็ไม่ดีเท่าเราเขียนเองเป็นภาษาอังกฤษ)
ดังนั้นในบริษัทเลยพยายามจะรับคนที่ 1. เขียนโปรแกรมได้ดีมาก 2. อ่านเขียนพูดภาษาอังกฤษได้ดี (พูดด้วย ไว้คุยกับเจ้านายบางกรณี) 3. ทำงานเป็นทีมได้
แต่พอเวลาผ่านไปก็เริ่มจะลดลงมาเป็น 1. เขียนโปรแกรมได้บ้าง 2. ภาษาอังกฤษได้บ้างก็ดี ไ่ม่ได้ถ้าข้อ 1 ทำได้ดีก็คุยกันได้
เลยรู้สึกว่ายังห่างไกลครับ
-------------------------------------------------------- เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก www.mooling.com
Outsource คืออะไร ทำไมต้องไปอยู่ในบังกะโล ?
ได้ข่าวว่าบังกะลอร์เปลี่ยนชื่อแล้ว
รึเปล่้า?
แม้ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะผลิดโปรแกรมเมอร์ออกมาได้จำนวนมาก แต่โปรแกรมเมอร์ที่ใช้งานได้มีจำนวนน้อย (ปริมาณแปรผกผันกับคุณภาพ) อาจเป็นเพราะว่าระบบการศึกษาของหลายที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ไม่มีการทำแลบหรืออาจารย์สอนไม่มีคุณภาพ(บางแห่งรับอาจารย์ที่ตก Data Structure มาสอน) เป็นต้น อีกอย่างที่สำคัญคือ นักศึกษาหลายคนในปัจจุบันมีความใฝ่รู้ต่ำมาก ไม่คิดจะหาความรู้เอง รออาจารย์มาสอนอย่างเดียว
หากไทยคิดจะเป็นบังกะลอร์2 คงต้องร้องเพลง "รอ" กันต่อไปครับ
เมืองไทยนอกจากเรื่องคนแล้ว ก็น่าจะหา พื้นที่อื่น นอกจากกรุงเทพฯ บ้าง เป็นไปได้หรือว่า
ถ้ามีปัจจัยอื่นๆที่ดีก็อาจจะนำเข้าแรงงานด้วยก็ได้ บางคนอาจจะคิดว่าแล้ว คนไทยก็ไม่ได้งานดิ แต่ผมคิดว่าก็ยังดีกว่าปล่อยให้งานหลุดไปที่อื่นหมด อย่างน้อยเราก็ได้อะไรทางอ้อมได้ มั้ง แล้วก็เป็นไปได้ว่าอุตสาหกรรมก็อาจจะช่วยขับเคลื่อนการศึกษาและสังคมไปด้วย