Tags:
Node Thumbnail

สำนักข่าว Bloomberg ตามเกาะประเด็นเรื่องซอฟต์แวร์ของ Boeing 737 Max โดยอ้างข้อมูลจากอดีตพนักงาน Boeing ว่าซอฟต์แวร์ของ 737 Max พัฒนาโดยพนักงานเอาต์ซอร์สราคาถูก เนื่องจากปลดพนักงานที่มีประสบการณ์ออก เพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลง

แหล่งข่าวของ Bloomberg คือ Mark Rabin อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Boeing ที่เคยอยู่ในทีมทดสอบ 737 Max และถูกปลดออกในปี 2015 ที่ระบุว่า Boeing จ้างบริษัทอินเดียชื่อ HCL Technologies มาพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ ซึ่ง HCL ก็นำตัวนักศึกษาอินเดียจบใหม่จำนวนหนึ่งมานั่งทำงานในออฟฟิศใกล้ๆ กับสนามบิน Boeing Field ในซีแอทเทิล

Tags:
Node Thumbnail

กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ไม่ต่อสัญญาจ้างบริษัทเอาต์ซอร์สที่ดูแลระบบหนังสือเดินทางให้ และหลังจากไม่ต่อสัญญาบริษัทก็ "นำข้อมูลออกไป" ทั้งหมด ทำให้ทางกระทรวงต่างประเทศไม่มีข้อมูลใช้งาน

ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ต้องใช้ใบเกิดในการออกหนังสือเดินทาง เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

ขณะที่คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลฟิลิปปินส์ (National Privacy Commission - NPC) กำลังเรียกทั้งบริษัทเอาต์ซอร์สและผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคำเพราะกรณีนี้เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก

Tags:
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัทเผยข้อมูลด้านรายได้แบบไตรมาสต่อไตรมาส ผลปรากฏว่า TCS (Tata Consultancy Serices) เติบโตขึ้นเพียง 2% และ Infosys ห่างกันนิดหน่อยคือ 2.7% ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนวิกฤตการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านไอทีของอินเดียได้ดี อย่างไรก็ดี Nomura ได้ทำชาร์ตวิเคราะห์สถานการณ์นี้ไว้ว่า

Tags:
Node Thumbnail

ในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน โดยมากแล้วผู้ผลิตรายใหญ่มักจะใช้วิธีการจ้างผู้ผลิตภายนอกมาช่วย เพื่อให้สามารถผลิตได้จำนวนมากในราคาที่ต่ำกว่า โดยมีตัวเลือกหลักเป็นโรงงานในประเทศจีน และไต้หวัน แม้แต่ HTC ที่ผลิตด้วยโรงงานของตัวเองมาตลอด ก็มีรายงานว่าเริ่มใช้ผู้ผลิตภายนอกมาช่วยบ้างแล้วจาก Wall Street Journal

Tags:
Node Thumbnail

ชื่อบริษัทอาจดูคุ้นๆ แต่เป็นคนละบริษัทกับ Synnex ประเทศไทย (ซึ่งถือเป็นบริษัทร่วมทุนของ Synnex Technology International Corp ของไต้หวัน) นะครับ อันนี้เป็นบริษัทชื่อ Synnex Corporation ของอเมริกาที่อยู่ในเครือเดียวกับ Synnex Technology ของไต้หวันเช่นกัน (รายละเอียดเผื่อคนสนใจ)

สำหรับข่าวนี้คือ Synnex Corporation ของอเมริกา ประกาศเข้าซื้อธุรกิจ "รับเอาต์ซอร์สด้านการบริการลูกค้า" (customer care services business - CRM BPO) จากยักษ์สีฟ้า IBM ด้วยมูลค่า 505 ล้านดอลลาร์ เพื่อมาเสริมทัพในส่วนของ BPO ของตัวเอง

Tags:
Node Thumbnail

บริษัท Verizon Enterprise Solution (บริษัทไอทีในเครือ Verizon) อนุญาตให้พนักงานบางส่วนทำงานที่บ้านได้ แต่ต้อง VPN แบบ two-factor authentication ที่ใช้ตัวสร้างรหัสผ่านชั่วคราวเสมอ ปรากฎว่าแม้จะป้องกันขนาดนี้แล้วก็ยังพบว่ามีการล็อกอินเข้ามาจากประเทศจีน แถมล็อกอินสำเร็จจึงลงมือสอบสวนโดยคาดว่าจะมีมัลแวร์ที่มุ่งโจมตีพนักงานของบริษัททำให้เครื่องของพนักงานถูกบังคับให้เชื่อมต่อไปยังประเทศจีนเพื่อล็อกอินกลับเข้ามา โดยเรียกชื่อสมมติพนักงานว่า "Bob"

Tags:
Node Thumbnail

แม้จะปิดประเทศมาเป็นเวลานาน แต่เกาหลีเหนือก็ยังเปิดให้มีมหาวิทยาลัยและชนชั้นนำกลุ่มหนึ่งสามารถเรียนวิชาระดับสูงได้ ล่าสุดก็มีบริษัท Nosotek เปิดให้บริการเอาท์ซอร์สแก่บริษัทภายนอก และได้ทำเกม Pyongyang Racer เกมขับรถชมเมืองรอบกรุงเปียงยาง

โปรแกรมเมอร์ของบริษัท Nosotek เป็นนักคณิตศาสตร์มากกว่า 50 คนที่ถูกเลือกมารับการฝึกด้านคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ภาษาแอสแซมบลีไปจนถึง C#

จุดเด่นของบริษัทนี้คือการรักษาความลับของซอฟต์แวร์ที่ทำ (คนเกาหลีเหนือคงไม่พูดกับเพื่อนหรือญาติเรื่องงานกันนัก) และที่สำคัญคืออัตราการย้ายงานต่ำมาก ทำให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ต่อเนื่อง

Tags:

เศรษฐกิจแย่ทำให้การจ้างงานของสหรัฐฯ นั้นตกต่ำอย่างต่อเนื่องโดยเดือนล่าสุดตัวเลขนี้ก็ขึ้นไปถึงร้อยละ 9.7 และคาดว่าจะทะลุร้อยละ 10 ในเร็วๆ นี้ แต่ในวิกฤติก็เป็นโอกาสสำหรับหลายๆ คนเมื่อเว็บ oDesk ผู้ให้บริการจับคู่ระหว่างผู้ให้บริการเอาต์ซอร์สกับผู้รับงานได้ออกมาแถลงตัวเลขยอดการจ้างในงานเว็บ และพบว่าตัวเลขชั่วโมงการจ้างงานเอาต์ซอร์สนั้นเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดสวนทางกับเศรษฐกิจมาก

Tags:
Node Thumbnail

บริษัทที่ปรึกษา A.T. Kearney เปิดเผย 50 อันดับประเทศที่น่าเอาต์ซอร์สงานด้านไอที, call center และงานธุรการอื่นๆ ใต้ชื่อ Global Services Location Index (GSLI) ประจำปี 2009 ประเทศไทยอยู่อันดับ 4 คงที่เช่นเดียวกับ GSLI ครั้งที่แล้วในปี 2007 สิบอันดับแรกได้แก่

Tags:

บริษัทธุรกิจที่ปรึกษา Pierre Audoin Consultants รายงานว่าบริษัทต่าง ๆ เริ่มมองหาที่ตั้งในการเอ้าท์ซอร์สในแหล่งอื่น ๆ แล้ว นอกเหนือจากมุมไบและบังกาลอร์ในประเทศอินเดีย

หากดูจากบริษัทที่เอ้าท์ซอร์สมากที่สุด 50 อันดับของโลก จะเห็นได้ว่าอินเดียยังเป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจการเอ้าท์ซอร์ส โดยในขณะนี้ หัวเมืองที่เล็กลงมาหน่อยอย่างเชนไน นอยดา เริ่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น

สาเหตุหลักของการย้ายฐานเอ้าท์ซอร์ส เกิดจากการแข่งขันแย่งตัวนักศึกษาที่จบใหม่จากสถานศึกษาต่าง ๆ ทำให้ต้องเริ่มมองหาแหล่งทรัพยากรมนุษย์แห่งใหม่ในเมืองอื่น ๆ

Tags:
Node Thumbnail

ขณะที่บ้านเราการปล่อยบอตและขายของในเกมอาจจะเป็นเรื่องปรกติ แต่ใครจะรู้ว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างงานได้นับแสน

รายงานนี้สำรวจโดยศาสตราจารย์ Richard Heeks แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ที่ระบุว่ามีแรงงานในอุตสาหกรรมการขายเงินของสิ่งของในเกมแล้วกว่าสี่แสนราย โดยสร้างรายได้ได้ประมาณห้าพันบาทต่อเดือนรวมแล้วปีๆ หนึ่งอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

แรงงานร้อยละ 80 ของอุตสาหกรรมนี้อยู่ในจีน น่าสนใจว่าตัวเลขของแรงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดียนั้นอยู่ที่ประมาณเก้าแสนคน แสดงว่าอุตสาหกรรมทั้งสองแบบมีความสำคัญในระดับเดียวกันเลยทีเดียว

ที่มา - BBC

Tags:
Node Thumbnail

นาย Kiran Karnik ประธานสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการของอินเดีย (National Association of Software and Services Companies - NASSCOM) ได้ออกมาให้ความเห็นว่าอินเดียกำลังจะต้องการการปรับปรุงการศึกษาครั้งใหญ่ เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจากจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในการให้ความเห็นนี้นาย Karnik ได้ให้ความเห็นว่าจีนยังคงต้องตามหลังอินเดียไปอย่างน้อยสามถึงห้าปี แต่ด้วยอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เขาเตือนว่าอินเดียไม่สามารถมองข้ามจีนไปได้แม้แต่น้อย

จีนนับเป็นประเทศที่มีประชากรเกินพันล้านคนเพียงประเทศเดียวนอกจากอินเดีย อีกทั้งมีระบบการศึกษาที่สร้างแรงงานออกมาได้เป็นจำนวนมากไม่แพ้อินเดีย แต่อินเดียนั้นได้เปรียบเนื่องจากมีการใช้ภาษาอังกฤษอยู่มากมาก่อนหน้าแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

เราคุ้นกันดีว่าอินเดียโกยเงินมหาศาลไปจากการรับงานเอาต์ซอร์ส แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่าจีนขึ้นมาหายใจรดต้นคอแล้ว

บริษัท IDC ได้จัดทำ Global Delivery Index (GDI) โดยเปรียบเทียบความพร้อมของ 35 เมืองแถบเอเชียแปซิฟิกในทุกด้าน อินเดียยังครองอันดับต้นๆ อยู่เช่นเดิม แต่ IDC พยากรณ์ว่าจีนจะล้มแชมป์ในช่วงปี 2011

10 อันดับแรกมีดังนี้ครับ

  1. บังกะลอร์
  2. มะนิลา
  3. นิวเดลี
  4. มุมไบ
  5. ต้าเหลียน
  6. เซี่ยงไฮ้
  7. ปักกิ่ง
  8. ซิดนีย์
  9. บริสเบน
  10. โอ๊กแลนด์

รายงานฉบับเต็มยังไม่ออก เลยไม่รู้ว่ากรุงเทพอยู่อันดับที่เท่าไร

ที่มา - IDC

Tags:
Node Thumbnail

ผมคิดว่าคนอ่าน Blognone น่าจะได้ยินตำนานของบังกะลอร์ เมืองแห่งการ outsource งานไอทีจากสหรัฐ จนกลายเป็นรายได้มหาศาลให้กับอินเดียเป็นอย่างดี (และน่าจะเคยได้ยินนโยบายการเป็นบังกะลอร์ 2 ของรัฐบาลไทยด้วย)

ตอนนี้บรรดาบริษัทรับงาน outsource เริ่มมองหาสถานที่ใหม่ๆ แทนบังกะลอร์ ด้วยสาเหตุทั้งด้านเงิน จำนวนแรงงาน และความแออัดของบังกะลอร์เองแล้ว

สถานที่ซึ่งเอ่ยถึงในบทความได้แก่รัสเซีย, โรมาเนีย, บราซิล, ฟิลิปปินส์, เมืองต้าเหลียงในประเทศจีน (ติดกับเกาหลี รับงานจากเกาหลีญี่ปุ่น) และโฮจิมินห์ซิตี้ในเวียดนาม ซึ่งแต่ละที่ก็มีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกันไป อย่างบราซิลจะได้เปรียบประเทศอื่นเรื่องเวลาที่ตรงกับในสหรัฐ เป็นต้น