มหาวิทยาลัย California State University (CSU) กำลังพิจารณาว่าจะเพิ่มการสอบพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้กับนักเรียนปี 1 ทุกคน นอกเหนือไปจากการสอบภาษาอังกฤษและพื้นฐานคณิตศาสตร์ ที่สอบกันมานานแล้ว
ถึงแม้นักเรียนรุ่นใหม่จะมีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้างก็ตาม แต่มันยังไม่พอเพียงสำหรับการเรียนยุคใหม่ จากการทดลองข้อสอบโดย Educational Testing Service (ETS - หน่วยงานที่จัดสอบโทเฟล) พบว่านักเรียนส่วนมากรู้จักวิธีการค้นหาข้อมูลผ่านเสิร์ชเอนจิน แต่กลับไม่รู้วิธีเลือกผลการค้นหาที่เหมาะสมกับความต้องการ และมักคิดว่าผลการค้นหาอันแรกสุด ดีที่สุดเสมอ
Lorie Roth เจ้าหน้าที่ของ CSU ให้ความเห็นว่า ทักษะการแยกแยะสิ่งที่ต้องการออกมาจากข้อมูลจำนวนมากในอินเทอร์เน็ต มีความจำเป็นต่อการเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา - E-Commerce Times
Comments
เมืองไทยก็น่าจะเริ่มทำตามบ้างซะทีนะครับ... หรือว่าต้องรอหาวิธี "กิน" ให้ได้ก่อน ถึงจะเริ่มได้..
mp3wizard - ทำเอนทรานซ์ให้ โปร่งใส เป็นระบบ ไม่ยุ่งยาก เป็นธรรม ก่อนดีกว่ามังครับ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
อยู่มหาลัยคนเปิดคอมไม่เป็นยังมีเยอะนะครับ -_-'
mp3wizard : การใช้งานคอมพิวเตอร์ในบ้านเรามันยังไ่ม่พร้อมนะครับ คอมพิวเตอร์บางโรงเรียนยังมีให้เด็กยังไม่พอเรียนเลย ถ้าจะกำหนดแบบนั้นเท่ากับตัดอนาคตเด็กอีกหลายคนในสังคมเลยทีเดียว แล้วจะว่ากันจริงๆ หลายๆคณะ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนคอมพิวเตอร์ก็สามารถจบมา ปฎิบัติวิชาชีพได้ด้วยซ้ำไป แค่ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ททำให้มีโอกาส ในการทำงานหลายๆอย่างให้ง่ายขึ้นและหาความรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น
คอมพิวเตอร์ กับอินเตอร์เน็ตมันสร้าง "ความรู้จริงๆ" ให้ใครไม่ได้นะครับ มันทำได้แค่ให้ข้อมูล ให้คนเราไป สังเกต วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ของแต่ละคนขึ้นมา แล้วส่ง ความรู้นั้นต่อยอดให้คนอื่นต่อๆไป
ตอนเรียน "วิศวคอมฯ" ได้ยินมาว่า มีบางคนใช้คอมไม่เป็นตอนปีหนึ่ง
มันก็ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงหรอกนะ ก็จะมาเรียนหนิ เป็นอยุ่แล้วจะเรียนทำไม แต่ก็นะ.. อย่น้อยก็น่าจะศึกษาเบื้องต้นมาบ้าง
---------- iPAtS
iPAtS
คำว่า พิ้นฐานคอม นี่น่าสนใจ ดูเหมือนว่าเค้าจะเน้นที่การแยกแยะผลการค้นหา ผมกลับคิดว่าส่วนใหญ่ที่หาไม่เจอมันเกิดจากคีย์เวิร์ดผิด หรือพูดง่ายๆ หาโดยไม่รู้ว่าต้องการหาอะไรกันแน่ สุดท้ายเลยไม่เจอ เรื่องแยกแยะมันเป็นอีกเรื่องนึง ส่วนใหญ่ถ้ามันหาไม่ได้จริงๆ อันไหนใกล้เคียงผมก็อ่านหมด แล้วค่อยเอามาประยุกต์ใช้เองอีกที อันที่ไม่ตรงก็ทิ้งไป มันไม่ได้เสียเวลานักหรอก
อย่างน้อยก็มั่นใจว่าการบ้าน 90% เคยมีใครซักคนทำแล้ว และใน 90% น่าจะมีซัก 10% ที่เป็นผลิตผลของ open source
ผมว่าเด๋วนี้ เน้นประยุกต์ มากกว่า จะมาพัฒนาอะไรจาก 0 นะครับ
------------------------------------------------- vavar-studio
ผมมองว่าสมควรที่จะมีนะ ไม่ว่าเรียนสาขาอะไรก็สมควรที่จะใช้คอมพิวเตอร์ได้ ไม่ใช่โยนงานทุกอย่างที่ใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นงานของวิศวะคอม+วิทยาคอม (ซึ่งก็ดีไปอย่าง)
แต่ผมมองว่า มันเป็นการบังคับให้ศึกษาเกี่ยวกับคอมพ์พิวเตอร์ไปในตัวนะ พวกการใช้งานง่ายๆ ความรู้พื้นฐานๆ อาจจะเป็นการปลูกฝังเหมือนวิชา สปช ลูกเสือ....
้เพราะต่อไปอะไรๆก็ใช้คอมพิวเตอร์ไปหมด
ipats - ไม่แปลกนะ หลายๆ คนรุ่นผมรับปริญญาแล้ว ยังใช้ไม่เป็นเลย
:D ขำขำ
พูดเรื่องการศึกษาทีไรเป็นกระทู้ร้อนทุกทีครับ ทำไงได้...
ไม่น่าจะใช้คำว่า "พื้นฐานคอม" นะครับ
"tech literacy" ในบทความนี้ เป็นคำย่อของ "technological literacy" (ดูบรรทัดแรก ย่อหน้าสุดท้าย "CSU is considering adding a mandatory assessment test on technological literacy for all freshmen, ...") (i.e. ไม่ใช่คำย่อของ "technology literacy")
"literacy" คือ ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้, การรู้หนังสือ แปลเทียบเคียง "tech literacy" ก็คือ ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ทางเทคโนโลยี การรู้อินเทอร์เน็ต ทำนองนี้ คือ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ รู้ว่าจะไปหาที่ไหน อย่างไร และคัดเลือกคัดกรองได้ด้วยตัวเอง (อย่างที่คุณ sugree ว่าไว้) ซึ่งทักษะนี้ จำเป็นอย่างมากต่อการเรีียนรู้ด้วยตัวเองในยุคอินเทอร์เน็ต ทั้งทำการบ้าน รายงาน วิทยานิพนธ์
อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ที่พบกันมากช่วงนี้ และคิดว่าสำคัญ ก็คือคำว่า "media literacy" หรือในภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปคือ "การรู้เท่าทันสื่อ" ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องที่จำเป็น สำหรับสังคมอุดมปัญญา (knowledge society) คือผู้คนในสังคมควรจะแยกแยะคัดกรองข่าวสารจากสื่อได้เองในระดับหนึ่ง
tong053 - ผมว่าถ้ามันจะร้อนก็ไม่เป็นไรหรอกครับ แต่อย่านอกเรื่องก็พอ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะจัดสอนเป็นวิชานึงในปี 1 มากกว่า
หิริโอตัปปะ
มหาวิทยาลัยในไทยบางแห่งก็มีจัดหลักสูตรให้นักศึกษาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานนะครับ เช่นมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนอยู่ (ใบ้ว่ามีอยู่แถวรังสิต)แต่ว่าหลักสูตรยังไม่ลงตัวเท่าไหร่ ผมเรียกเอาเองว่า "วิชาปั้นดินให้เป็นเซียนคอมฯภายในเทอมเดียว" ครับ และวิชานี้ยัง "บรรยาย" อย่างเดียวไม่มีปฏิบัติให้ดูแต่อย่างใด พอถึงเวลาสั่งงานกลุ่มคนที่ใช้คอมฯไม่เป็นก็ต้องไปอยู่กับคนใช้คอมฯเป็น สุดท้ายก็ไม่ได้ทำงานเอง แล้วก็ใช้ไม่เป็นอย่างเคย แต่ปีหน้าคงเปลี่ยนหลักสูตรแล้วกระมัง เห็นอ.บอกว่ามีคนท้วงเรื่องนี้หลายคนเหมือนกัน ส่วนเรื่องระบบสอบเข้า - หวังว่าปีนี้รุ่นน้องผมคงไม่ต้องมาลุ้นระทึกเหมือนรุ่นผมนะ? (ม่ายอาววภาวิช!)
อธิบายนิดนึงครับ ที่คุณ bact เข้าใจ ถูกแล้วครับ
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ETS พัฒนาข้อสอบที่จะวัดความสามารถหรือทักษะพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ETS® ICT Literacy Assessment) ที่แน่ ๆ ไม่ได้วัดให้เป็นนักพัฒนา แต่เป็นผู้ใช้ที่รู้จักใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (โดยหลักวิชาการ คือ การรวมเอาทักษะสารสนเทศ + ทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เข้าไว้ด้วยกัน)
ข้อสอบ ICT Literacy ของ ETS ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกับ 15 นาที วัดความสามารถ 7 ด้าน ได้แก่ การรู้และสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศของตัวเองได้, ความสามารถในการเข้าถึง, การจัดการ (เช่น การจัดหมวดหมู การสร้าง folder การสร้าง map เป็นต้น), การบูรณาการ (เช่น การแปลงข้อมูลจาก Word document format หนึ่งให้อยู่ในรูป spreadsheet), การประเมิน, การสร้างเอกสาร, และการสื่อสาร
ปัญหาก็คือ พอดูจากหมวดย่อยและรายละเอียด ก็ออกจะดูทะแม่ง ๆ เพราะมันไม่ใช่ ทักษะสารสนเทศอย่างที่นักวิชาการสารสนเทศพูดถึงกัน แต่ออกจะเป็นทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐานมากกว่า เช่น การสร้าง word การ copy-paste การสร้าง folder การจัดการ email เพราะทักษะสารสนเทศหรือ Information Literacy ในนัยยะของนักวิชาการสารสนเทศศาสตร์ คือ ทักษะในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน สารสนเทศตามความต้องการของตนเองได้ ซึ่งค่อนข้างเป็น subjective เนื่องจากความต้องการสารสนเทศเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล
ดังนั้น ถึงจะพัฒนามาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครกล้านำไปใช้อย่างจริง ๆ จัง ๆ เพราะยังกลัวว่าจะไม่ได้มาตรฐาน และตรงตามอย่างที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อยากให้เป็น แล้วก็ดูจะเป็นการบีบบังคับกันเกินไป
ใครอยากจะลองทำข้อสอบ เค้าก็มีให้ลองครับ (Flash required) ส่วนรายละเอียดของข้อสอบก็ลองเข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์ของ ETS ได้ครับ
>> ข้อสอบ ICT Literacy ของ ETS ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกับ 15 นาที วัดความสามารถ 7 ด้าน ได้แก่ >> การรู้และสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศของตัวเองได้, ความสามารถในการเข้าถึง, การจัดการ (เช่น >> การจัดหมวดหมู การสร้าง folder การสร้าง map เป็นต้น), การบูรณาการ (เช่น การแปลงข้อมูลจาก Word >> document format หนึ่งให้อยู่ในรูป spreadsheet), การประเมิน, การสร้างเอกสาร, และการสื่อสาร
ถ้าแบบนี้เดี๋ยวก็มีเรื่อง Windows & Linux ตามมาอีก
onedd.net