Blog : Knowledge Revolution RSS Feed : http://feeds.feedburner.com/worawisut
----------------------------------- ก่อนจะไปรู้จักกับ MySpace ในตอนต่อไป ขอพูดถึง Concept ของเว็บ MySpace (และพวก Hi5, Facebook) ซักหน่อย เว็บไซต์อย่าง MySpace ภาษาในโลกออนไลน์ยุค Web2.0 เค้าจะเรียกกันว่า “Social Networking” ซึ่ง Social Networking นี้เนี่ย เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของสังคมประเภทหนึ่ง ที่มาออนไลน์อยู่บนอินเตอร์เน็ต (หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสังคมเสมือน “Virtual Communities) หรืออาจจะเรียกว่า Online Community โดยที่สังคมที่เราใช้ชิวิตตอนนี้จะเรียกว่า Offline (ให้มันคู่กัน) สังคมประเภทที่ว่า มีการขยายตัวแบบ Network หรือเครือข่าย (บางท่านอาจจะคุ้นเคยกับ Amway ซึ่งนั่นก็เป็น Network แบบหนึ่งเช่นกัน คือ มีการขยายตัวแบบต่อๆกันไป) สมมติว่าให้ผมพูดโฆษณาออกทีวี โดยให้พูดแค่ 15 วินาที ผมคงจะพูดว่า ”Social Networking เป็นสังคมที่เราสามารถรู้จักเพื่อนๆของเพื่อน และทำให้เป็นเพื่อนของเราได้ อีกด้าน เพื่อนของเรา อยากรู้จักเพื่อนๆของเรา (งงมั้ยครับ) ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเป็นการรู้จักกันต่อไปเป็นทอดๆ คล้ายเครือข่ายใยแมงมุม ที่โยงกันไปมาได้“ คิดว่าคนทั่วไปคง งง ว่า ไอ้นี่ มันพูดอะไรของมันวะ (ฮ่าๆ) จากคำพูดสั้นๆ ฟังดูเหมือนจะเข้าใจง่ายๆข้างบน แต่การที่จะสร้าง Social Networking นี่ไม่ใช่หมูๆนะครับ Concept ข้างต้นค่อนข้างหยาบเกินไปที่จะบอกว่าเป็น Social Networking ที่ประสบความสำเร็จได้หรือไม่ เพราะเบื้องหลังการมีสังคมประเภท Social Networking มันมีอะไรมากกว่านั้น ----------------------------------- หลักการพิ้นฐานของสังคมทั่วไป ที่จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่ อยู่ได้นานๆ และขยายตัวได้ มีการเจริญเติบโตตามสมควร นั่นคือ พื้นฐานของการให้และรับ (Give&Take) การแบ่งปัน (Sharing & Contribution) เป็นหลักการพื้นฐานของจิตวิทยาด้านสังคม (Social Psychology) และสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีทางเศรษฐศาตร์ Peter Kollock ได้ให้กรอบจำกัดความเรื่อง แรงจูงใจในการ Contribute ใน Online Communities มีอยู่ 4 เหตุผล คือ 1.) Anticipated Reciprocity - การที่นาย ก. ได้ให้ข้อมูล ความรู้ กับ Online Community นั้นบ่อยๆมีแรงจูงใจมาจากการที่ ตัวนาย ก. เอง ก็ต้องการจะได้รับข้อมูล ความรู้ อื่นๆกลับคืนมา เช่น นาย ก.มาโพสต์ข้อความตอบกระทู้บ่อยๆใน Pantip.com จนคนรู้จัก มีความคุ้นเคยกัน ถ้ามีการถามกระทู้ใน Pantip.com กระทู้ของนาย ก. จะมีคนมาโพสต์ตอบเร็วกว่ากระทู้ของคนอื่นที่เป็นคนแปลกหน้ามาโพสต์
2.) Increased Recognition - ความต้องการมีชื่อเสียง และเป็นที่จดจำของคนใน Online Community นั้นๆ เช่น การให้คะแนน ให้ดาว คนที่ตอบคำถามเก่งๆใน Community ทำให้คนคนนั้นดูมียศเหนือกว่าคนอื่น
3.) Sense of efficacy - ความรู้สึกภาคภูมิใจ คนที่ Contribute อะไรแล้วเกิด Impact กับ community นั้น ย่อมทำให้คนๆนั้นมีความภาคภูมิใจ เช่น นาย A ตั้งกระทู้ใน Pantip.com และมีคนเข้ามาโพสต์ตอบตามมาเป็นหมื่นๆคน ย่อมรู้สึกดีกว่าตั้งกระทู้แล้วไม่มีคนเข้ามาตอบเลย (thanks to aozster สำหรับตัวอย่างที่เห็นภาพดี)
4.) Sense of Community - เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันหรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างคนในสังคมนั้นๆ เหมือนมีคนมาตั้งกระทู้หรือเขียนบทความอะไร เรามาอ่านเจอเข้าก็คันไม้คันมือ อยากแสดงความคิดเห็นของตัวเอง การที่ความคิดคนหนึ่ง มีอิทธิพลเหนือคนกลุ่มหนึ่ง หรือ การมีอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างร่วมกัน เช่น การรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังทางการเมือง หรือ การรวมตัวกันเพื่อแสดงออกอะไรบางอย่างบน Online Community (อ้างอิงจากหนังสือ "The Economies of Online Cooperation: Gifts and Public Goods in Cyberspace" ของ Peter Kollock)
---------------------------------------
การที่เราถ้าอยากจะสร้าง Online Community ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆจะคิดและทำให้มันสำเร้จได้ง่ายๆ แนะนำว่าก็ให้ตาม Framework ที่เค้าว่าไว้ ซึ่งก็จะมี Design Guideline เบื้องต้นไว้ให้แล้วดังนี้ครับ (ไม่แปลนะ ไปอ่านเอาเอง) Click to see Design Guideline จากนั้น ให้ลองหัดสังเกตุตาม Online Community ดังๆ ว่ากลุ่มคนกลุ่มใหญ่ เค้าเล่นอะไร (หรือมีอะไรดึงความสนใจของคนเหล่านั้น มาเป็นความสนใจร่วมกันในสังคม) แล้วลองไปสังเกตุอีก Online Community อื่นๆ มามีความสนใจแบบเดียวกันรึเปล่า หรือตอบสนอง ต่อความคิดที่คล้ายๆกันรึเปล่า --------------------------------------- บทวิเคราะห์ และ ความเห็น การจ้องมองตัวอย่างความสำเร็จ จาก Web 2.0 ของเมืองนอกที่ดังๆด้าน Social Networking แล้วจะมาประยุกต์สร้างขึ้นเองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มันไม่ใช่แค่ว่า คุณมี Flash VDO แบบ Youtube.com มี Photo Album ที่ยอดเยี่ยมอย่าง Flickr.com หรือ แม้แต่จะมี Instant Messenger ที่ดีอย่าง MSN แล้วจะสร้าง MySpace อีกอันขึ้นมาได้นะครับ
แค่นึกถึงเว็บพวกนี้ผมก็คิดออกประมาณสิบกว่าเว็บได้ แล้วทำไมผมต้องคิดถึงเว็บคุณ หรือเปลี่ยนใจมาร่วม Community อันนี้ด้วยล่ะ แค่มี Feature ลูกเล่นที่ชาวบ้านเค้าก็มีกัน ถึงคุณจะ สร้าง Differentiation โดยการอัด Feature เยอะแยะละัลานตา นำหน้าชาวบ้าน... เชื่อผมเถอะ เค้า Copy ได้ใช้เวลาแค่วันเดียว!
สิ่งที่สำคัญที่สุด ผมอยากให้มองไปที่พื้นฐานจริงๆ มองไปที่รากฐาน ความคิด Concept ต่างๆ ว่าทำไมคนที่เล่นเน็ตหลายๆคน จะต้องมารู้จักกัน มาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกัน มีแรงจูงใจอะไร (ก็ที่เค้าค้นคว้าวิจัยมาจากหลักทฤษฏีทางด้าน Social Psychology ที่พูดไปแล้วข้างบนล่ะครับ)พื้นฐานเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้เราสร้างกระบวนท่า ไม้ตายของตัวเองได้ คงคล้ายๆกับพื้นฐานที่ดี จะฝึกวิทยายุทธอะไรก็ไม่ยาก แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี ต่อให้ได้สุดยอดคัมภีร์ยุทธ ฝึกไปก็ธาตุไฟเข้าแทรกได้ศึกษาไว้นะครับ คนที่คิดว่าจะทำเว็บลอกแบบ MySpace มาใช้ในเมืองไทย ทั้งหลาย...
ปล. ผมคันไม้คันมือ อยากเขียนเรื่อง Second Life มาก อีกไม่นานๆ
reference Virtual Communities Social Psychology
Comments
ขอบคุณมากครับที่มาเขียนเรื่องนี้ ตรงใจผมพอดีเลย
เขียนมาอีกเยอะๆนะครับ
ปล. โลก WWW ตอนนี้ ถ้าอยากจะให้เว็บประสบความสำเร็จละก็ ถ้าไม่เอาชนะกันด้วย Tools ที่เจ๋งแบบหลุดโลกจริงๆ (เช่น Google) ก็ต้องเอาชนะด้วยพลังของ Community ครับ
เข้าเป้าดีครับ อยากอ่านอีก :-)
เอาเว็บ social network ของคนไทยมาแนะนำให้ลองเล่นดูครับ
MyFri3nd.com
อยากรู้เหมือนกันว่า เว็บที่พัฒนาโดยคนไทย จะชนะใจคนไทยได้เหมือนเว็บนอกหรือเปล่าครับ?