World Economic Forum ตีพิมพ์รายงาน The Global Information Technology Report ประจำปี 2006-2007 โดยมีการจัดอันดับประเทศที่มีบทบาทต่อวงการเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งใช้ดัชนี Networked Readiness Index (NRI) เป็นตัววัด ผลปรากฎว่าอันดับประเทศปีล่าสุด สหรัฐตกจากที่ 1 ไปอยู่ที่ 7 ซะแล้ว และแชมป์ใหม่คือเดนมาร์ก สังเกตว่าประเทศแถบสแกนดิเนเวียอันดับขึ้นกันถ้วนหน้า
สิบอันดับแรก (ในวงเล็บคืออันดับของปีก่อน)
เชื่อว่าต้องมีคำถามถึงประเทศไทย อยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 122 ประเทศครับ (มาเลเซียอันดับ 26 อินเดียอันดับ 44)
ที่มา - BBC, อันดับประเทศ (PDF)
Comments
ประเทศแุถบยุโรปที่ยังไม่มี software patent แล้วก็สนับสนุน opensource รวมทั้ง open standard อย่างออกหน้าออกตา ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นิ
We need to learn to forgive but not forget...
ผมว่าไม่แปลกนะ เพราะโซนนั้นเขาเป้นเจ้าเทคโนโลยีการสื่อสารมานานแล้ว โดยเฉพาะมือถือ แต่ถ้าองค์กรอเมริกันมาจัดอันดับ ผลก็คงเป็นอีกอย่าง
เน้นภาพรวมทั้งประเทศมั้งครับ ขนาดอินเดีย จีน ยังต่ำกว่าไทยเลย
ปล. ไทย 37 .. เวียดนาม 82
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ไม่น่าเชื่อว่า ไทยจะได้อันดับดีกว่าอิตาลี ซะอีก... แต่ยังไงก็ไม่อยากให้แพ้มาเลเซียเล๊ยจริงๆ
สงสัยได้ตำแหน่งตั้ง ๓๗ เพราะ e-auction!!
เมื่อไหร่อเมริกาจะ open source ซอฟท์แวร์ที่อยู่ในหัวรบนิวเครียร์ซะทีนะ รับรองตอนนั้นได้ขึ้นอันดับหนึ่งแน่
ไปกันใหญ่ละ เค้าวัดแค่ด้านการสื่อสาร -*-
ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีไอซีทีสูงมาก... เพื่อบล็อกเว็บ -_-a
-------------------- suksit.com
suksit.com
สแกนดิเนเวีย เป็นมหาอำนาจ ICT ไปแล้ว :-)
สหรัฐมันเรียนแต่อาชีพเอาเปรียบชาวบ้านนี่ครับ พวกบริหารการตลาด ส่วน programmer ส่วนใหญ่ซื้อเอาทั้งนั้นนี่?
(ขออนุญาต)
การจัดอันดับด้วยดัชนี Networked Readiness Index เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน The Global Information Technology Report โดยการจัดอันดับนี้ ไม่ได้จัดอันดับ "บทบาทต่อวงการเทคโนโลยีไอซีที" (ในทางตรง - ในความหมาย บทบาทนำ/ผู้เล่นสำคัญ) แต่จัดอันดับ "ความพร้อมในการใช้ประโยชน์จากไอซีที" ประเทศที่แม้ไม่ได้ผลิตเทคโนโลยีเอง แต่มีสภาพแวดล้อม(สาธารณูปโภค/กฎหมาย/บรรยากาศธุรกิจ)พร้อม, มีความรู้ในการใช้งาน, มีการใช้งานเกิดขึ้นจริง ก็สามารถมี NRI สูงได้ (และในแง่ของสาธารณูปโภคแล้ว ประเทศเล็กน่าจะได้เปรียบ)
เพิ่ม: เรื่องของความรู้ความพร้อมในการใช้งาน และการใช้งานจริง NRI จะวัดทั้งสามภาคส่วน คือ บุคคลทั่วไป, ภาคธุรกิจ, และภาครัฐ เช่นถ้าภาคธุรกิจกับประชาชนทั่วไปก้าวหน้ามาก แต่ภาครัฐล้าหลังตามไม่ทันโลก ก็ฉุดได้
อินเดียก็มีความรู้ความสามารถทางด้าน ICT สูงแต่ว่าทำไมต่ำกว่าไทยหว่า แปลกใจมากๆๆๆๆ โดยเฉพาะทรัพยากรทางด้านบุคคลผมว่ามีประสิทธิภาพมาก
คนอินเดียหนีไปทำประเทศอื่นไง ที่ทำอยู่ก็เป็นแรงงาน outsource ราคาถูก (กว่าอเมริกา, ออสเตรเลีย, ฯลฯ)
We need to learn to forgive but not forget...
อินเดียน้อยเพราะว่าเขาคงเอาจำนวนประชากรเข้าไปคิดด้วยมั้งครับ คงต้องยอมรับว่าถ้าเอาประชากรส่วนใหญ่ของประเทศรวมเข้าไปด้วย ตัวเลขต่าง ๆ ก็จะถูกฉุดลงโดยห้ามไม่ได้ (แย่จริง ๆ ปัญหาเดียวกันกับประเทศไทย)
สแกนดิเนเวียเป็นมหาอำนาจทางด้าน ICT ก็คงหนีไม่พ้นเพราะว่าประเทศพวกนั้นก็ถือว่าเป็นประเทศที่มี HDI (Human Development Index) ที่อันดับต้น ๆ ของโลกเราเช่นกันครับ ไม่รู้ทำไมตอนคิด HDI นี่ประเทศไทยอยู่ใน Lower Middle Income แฮะ แปลกใจเหมือนกัน
@TonsTweetings
ขอฝันว่า ไทยเราจะมีโอกาสติดอันดับสูงๆได้บ้างซักวันนึง :-)
วัดจาก NETWORKED READINESS INDEX จึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับหัวข้อข่าว(ตั้งแต่ต้นฉบับ) เพราะส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราแอบดีใจ(เกินไปหรือปล่าว)ที่ลำดับดีกว่าหลายประเทศ? :) ---------------- http://www.ThaiBuddy.com ฟรี T<->E dictionary แค่ชี้ mouse
สแกนดิเนเวียถือเป็นยักษ์เล็ก งั้นไทยเราก็เป็นเสือบ้างดีกว่าเน้อะ
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.