สามสี่ปีหลังมานี้งานวิจัยสายหนึ่งที่เริ่มเยอะขึ้นคือการพยายามส่งสัญญาณ Wi-Fi ไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ และในตอนนี้เจ้าของสถิติก็ตกไปเป็นของ Ermanno Pietrosemoli ประธานวิทยาลัยเน็ตเวิร์คแห่งละตินอเมริกา ชาวเวเนซูเอลา ที่สามารถดัดแปลงตัวส่งสัญญาณในระบบ Wi-Fi ได้ส่งข้อมูลได้ระยะทางถึง 382 กิโลเมตร
ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ในการส่งสัญญาณระยะทางไกลๆ คือค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก ด้วยการ์ตทั่วๆ ไปราคาไม่ถึงสองพันบาท การสร้างโครงสร้างพื้นฐานรราคาถูกเช่นนี้จะช่วยให้พื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับคนในเมือง
ทางกลุ่มนักวิจัยระบุว่าความยากของการทดลองครั้งนี้คือการหาพื้นที่ทดลอง เนื่องจากต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเส้นสายตา (Line of Sight - LOS) แต่หลักจากหาได้ทางกลุ่มก็ทดลองซ้ำสองครั้ง และได้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 3Mbps ซึ่งนับว่ามากพอ
บ้านเราด้วยความที่อากาศชื้น เข้าใจว่าเป็นงานหินสำหรับการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุอยู่เหมือนกัน ใครทำวิจัยด้านนี้แล้วต่อเน็ตเข้าไปหมู่บ้านชาวเขาได้น่าจะดี
Comments
นี่ก็เป็นอีกโปรเจคหนึ่งที่ผมว่ามันน่าเอามาทำมากในไทยเลยนะ -- My blog: poomk.blogspot.com
นั่นน่ะสิครับ Router ทั้งหลายบอกว่าไกลมากมาย อยู่เมืองไทยระยะทางเท่าหอย ----- German Pride--, Werder Bremens
@TonsTweetings
382 นี้เกือบๆจะข้ามจังหวัดเลยนะนั่น
ส่งจากกรุงเทพถึงโคราชสบายๆ
กม. ไทย ไม่ให้เกิน 0.1 watt ครับ
แต่จะนำมาใช้ได้จริง ๆ หรือเปล่าครับ หรือว่าแค่ทดลองอ่ะ
ป.ล. รู้สึกจะสะกดผิดสองที่ ตอนช่วงท้าย
"บ้านเราด้วยความที่อากาศชื้น เข้าในว่าเป็นงานหินสำหรับการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุอยู่เหมือนกัน "
ผมคิดว่าสภาพอากาศแถบๆ ลาตินอเมริกาน่าจะใกล้เคียงกับบ้านเรานะ น่าจะมาประยุกต์ใช้ได้บ้านเราได้
สุดยอดมาก มันจะเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีอีกครั้ง ระบบการสื่อสารจะพลิกฝ่ามือเลยนะเนี่ย ถ้ามันใช้งานได้จริงละก็รวยไม่รู้เรื่อง
ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ในการส่งสัญญาณระยะทางไกลๆ คือค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก ด้วยการ์ตทั่วๆ ไปราคาไม่ถึงสองพันบาท การสร้างโครงสร้างพื้นฐานรราคาถูกเช่นนี้จะช่วยให้พื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาส เข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับคนในเมือง
ว่าแต่ว่า กำลังส่งเท่าไหร่มีการ ดัดแปลงหรือเปล่า