มหาวิทยาลัยชั้นนำ 3 แห่งในประเทศจีนได้แก่ Zhejiang University, Nanjing University และ Shanghai Jiaotong University
ออกกฏห้ามนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีคอมพิวเตอร์จนกว่าจะขึ้นปี 2 เหตุผลสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยตัดสินใจออกกฏเช่นนี้เพราะว่า
นักศึกษาในชั้นปีที่ 1 ยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดีพอเมื่อเริ่มเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะนักศึกษาบางคนยังเคยชินกับการใช้ชีวิตกับเกมออนไลน์ตลอดทั้งคืน
ซึ่งส่งผลให้สอบตกในบางวิชาตอนเรียนมัธยม ทางมหาวิทยาลัยคิดว่าการออกกฏน่าจะช่วยให้นักศึกษาออกจากปัญหาเกมออนไลน์ได้
แต่จากผลการวิจัยนักศึกษายังคงเล่นเกมในศูนย์คอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยหรือร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และมีผลสำรวจจากนักศึกษามหาวิทยาลัย 15 คน สรุปความได้ว่าเกือบทั้งหมดของนักศึกษากลุ่มนี้
จะซื้อคอมพิวเตอร์เมื่อเขาขึ้นอยู่ปี 2 และตอนนี้ก็เริ่มเล่นเกมทั้งวันทั้งคืนและมีนักศึกษา 12 คนยอมรับว่าตัวเองสอบตกเพราะชอบเล่นเกมเป็นนิสัย
และมี 9 คนบอกว่าซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ในข่าวผู้เขียน (Jacqui Cheng) เชื่อว่าถ้ามีการสำรวจข้อมูลจากนักศึกษาที่มีปริมาณมากกว่านี้ ผลสำรวจน่าจะออกมาไม่นาตกใจเท่านี้
ดูเหมือนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางประเทศจีนมีนโยบายในการที่จะควบคุมเกมออนไลน์ ทางการจีนเคยออกกฏจำกัดเวลาเด็กเล่นเกมไม่เกิน 3 ขั่วโมงต่อวัน
ในข่าวนี้มีความคิดเห็นของบุคคลที่ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าควรมีการแก้ปัญหาที่ดีกว่านี้ ดีกว่าที่จะทำให้มันหายไปเฉยๆ ในชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
เพราะในเวลาหนึ่งปีที่ป้องกันเขาจากเกมมันไม่ช่วยอะไร
ผมเชื่อว่าคงไม่ใช่นักศึกษาทุกคนที่จะมีปัญหาติดเกมจนส่งผลกระทบต่อการเรียน แต่ในกลุ่มที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้ก็มี ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ทุกๆ ประเทศกำลังเจอ และภาคการศึกษาจำเป็นที่จะต้องหาทางออกที่ดีกว่านี้ เพราะในวัยที่เรียนมหาวิทยาลัยเป็นวัยที่เขากำลังจะเป็นผู้ไหญ่ เป็นวัยที่เขาควรมีวุฒิภาวะมากพอที่จะเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ควรหันกลับไปมองว่ามีการศึกษาหรือการสื่อสารในช่วงไหนที่ผิดพลาด
ทำให้เด็กบางส่วนขาดการควบคุมตัวเองไม่สามารถรับผิดชอบกับชีวิตตัวเองได้ ดีกว่ามาห้ามเมื่อสายเกินไป
ที่มา - Arstechnica
Comments
ภาษามันดูแปลก ๆ หลาย ๆ ที่นะครับ เช่น
ทางมหาวิทยาลัยคิดว่าการออกกฏน่าจะช่วยให้พวกเค้า จากปัญหาเกมออนไลน์ได้ - เค้านี่ควรจะเป็นเขานะครับ และ จากเฉย ๆ มันดูห้วน ๆ นะครับ
ดูเหมือนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางประเทศจีนมีมุมมองเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์ - มุมมองอย่างไรครับ บวก ลบ หรือว่าเป็นกลาง
เพราะในเวลาหนึ่งปีที่ป้องกันเข้าจากเกมมันไม่ช่วยอะไร - เข้า?
คำว่า "เค้า" ถูกแก้เป็น "นักศึกษา" และ "เขา" ตามแต่ความเหมาะสมของโครงสร้างประโยค
ส่วนประโยคว่า "ดูเหมือนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางประเทศจีนมีมุมมองเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน"
คำว่า "มุมมอง" ถูกขยายความด้วย "เกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน"
ซึ่งหมายถึงมุมมองความคิดเห็นของรัฐบาลจีนที่มีต่อเกมออนไลน์ ความคิดเหล่านั้นนำไปสู่วิธีปฏิบัติแบบการควบคุม ซึ่งผมไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะใช้คำพูดที่เป็นไปในทางชี้นำ (ด้านบวก ลบ หรือว่าเป็นกลาง) เพราะประโยคนี้มันสมบรูณ์ด้วยตัวมันเองแล้ว
ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำและช่วยสะกดคำครับ
คำว่า "อินเตอร์เน็ต" แก้เป็น "อินเทอร์เน็ต" แล้ว
ส่วนการเว้นวรรคตอนที่ผิดอยู่นี้หมายถึงเรื่องการเว้นบรรทัดรึเปล่า ผมมีปัญหาอย่างนี้ครับเมื่อตอนพิมพ์ประโยคไปแล้วทางทางเบราว์เซอร์จะเว้นบรรทัดให้เอง ถึงแม้ผมจะตามมาเว้นวรรคให้ชิดกันในภายหลังแล้ว แต่เมื่อเคะเว้นวรรคอีกทีมันก็จะกลายเป็นเว้นบรรทัดไป
ไม่ทราบแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ใช่ปัญหานี้รึเปล่า
เรื่องวรรคตอนไม่มีปัญหาครับ ส่วนเรื่องปัญหาของเบราว์เซอร์ก็คงต้องดูว่าใช้เบราว์เซอร์อะไรนะครับ
ส่วนเรื่อง "มุมมอง" ผมกลับไปอ่านอีกที ก็ยังรู้สึกแปลก ๆ นะครับ ลองดูประโยคนี้นะครับ
"ผมมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรัก" ถ้าประโยคมีแค่นี้ ผมก็เห็นด้วยความว่าประโยคมันสมบูรณ์ในตัวมันเองโดยต้องการจะบอกเล่าว่า ผมมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรักอันหนึ่งนะ แต่คนอ่าน อาจจะสงสัยต่อไปว่า แล้วอะไรคือมุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรักของผมละ มันเหมือนเป็นประโยคบอกเล่าที่เล่าได้ไม่สุด หรือว่ากั๊กเอาไว้นะครับ
ก็คล้าย ๆ กันนะครับ เวลาผมอ่านประโยค "ดูเหมือนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางประเทศจีนมีมุมมองเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์" ผมก็เกิดสงสัยว่า อะไรคือมุมมองอันนั้นละ ถ้าผมลองเปลี่ยนประโยคนั้นเป็นแบบนี้ "ดูเหมือนครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางประเทศจีนมีนโยบายในการที่จะควบคุมเกมออนไลน์" คือเปลี่ยนจากความคิด ไปเป็นสิ่งที่เขาปฏิบัติเลย (คือผมคิดว่า การควบคุม มันเป็น action นะครับ ไม่ใช่ cause ถ้าเป็น cause ก็น่าจะเป็น มุมมองด้านลบ แล้วทำให้เกิด action คือ การพยายามควบคุม)
ผมอาจจะคิดมากไปนะครับ อันนี้ก็แล้วแต่ผู้เขียนครับ :D
ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำและช่วยขัดเกลาประโยค
อินเทอร์เน็ต ท ทหาร นะครับ
การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ดูใน guideline ด้วยครับ
[ศัพท์] Internet
[ศัพท์บัญญัติ] อินเทอร์เน็ต
สาขาวิชา : คอมพิวเตอร์
( ฉบับปรับปรุง ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔ )
เทอร์ - ท ทหาร
ผมว่าไทยกับจีนคล้ายๆกันอยู่อย่างนึงคือ เรามุ่งเน้นการสอนงานให้กับนักเรียน มากกว่าการให้การศึกษา
การให้การศึกษาโดยให้ศูนย์กลางเป็นตัวเด็กเองนั้นคงไม่อยู่ในเป้าหมายของสถานศึกษาที่นั่น (และที่นี่) สักเท่าไหร่
PoomK
"เรามุ่งเน้นการสอนงานให้กับนักเรียน มากกว่าการให้การศึกษา"
โดนใจมากครับ
แต่จะทำอย่างนั้นได้โหดพอสมควรครับ ตกเป็นตก เพื่อรักษามาตรฐาน
BioLawCom.De
ประเทศที่เคยชินกับการบังคับ นึกอยากได้อะไรมันก็บังคับเอา
ไม่งั้นเดี๋ยวจะเป็นแบบประเทศไทย : )
แต่มันก็ได้ผลนะครับ
มหาวิทยาลัยในจีน ออกฏห้ามเด็กปี 1 มีคอมพิวเตอร์และเล่นเกม
แก้ไขแล้วครับ
เด๊๋ยวนี้ Blognone กลายเป็นเวปสอนเขียนข่าวกับภาษาไทยวันละคำไปแล้วเหรอครับ อ่านข่าวไหนก็เจอแต่ comment
พวกนี้
เป็นมานานตั้งแต่เปิดแล้วครับ
ตั้งแต่เปิดมาผมก็เห็นแต่คอมเมนต์ภาษาไทยวันละ 20 คำจนเบื่อแล้วครับ..ถี่ๆเข้าก็เบื่อๆเหมือนกัน...:P
บางทีมันไม่เกี่ยวกับเนื้อหาเลยน่ะ มีแต่เรื่องเขียนๆผิดสำนวนเต็มไปหมด แทบไม่เกี่ยวกับข่าวเลยก็มีเยอะแยะ
ถ้าขัดเกลาเอาผมว่าน่ามีระบบ pm ไปหาส่วนตัวน่าจะดูดีกว่าเนอะ...:(
ประกาศให้โลกรู้ว่า geek ไทย เขียนหนังสืออ่านรู้เรื่องและถูกต้องตามหลักภาษาครับ
ไม่เบื่อครับ สนับสนุนอย่างแรง ... แต่ เว้นวรรค ไม้ยมก เว้นวรรค นี่ยังทำใจไม่ได้แฮะ
เพื่อมาตรฐานครับ
กว่าจะเป็น "ประเทศไทย" มันไม่ง่ายนะครับ
ผมอยากให้มองการใช้ภาษาให้ถูกต้อง เป็นเรื่องของมาตรฐาน และการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจมากกว่าครับ ไม่อยากให้เป็นเรื่องของการรักชาติเท่าไร เพราะชาตินิยมทำร้ายคนมาเกินพอแล้ว (นอกเรื่องจนได้)
BioLawCom.De
เห็นด้วยอย่างยิ่งทั้งประเด็น "การใช้ภาษาให้ถูกต้องเป็นเรื่องของมาตรฐาน" และ "ชาตินิยมทำร้ายคนมาเกินพอแล้ว" ครับ :)
เห็นด้วยอีกคนครับ คำพูดนี้น่ายกย่องครับ
ผมว่าแบ่งคอมเมนท์เป็นสองส่วน คือส่วนเรื่องภาษา กับ ส่วนเนื้อหาข่าวดีกว่ามั๊ย? คือเข้าใจนะ อยากให้เป็นมาตรฐาน อยากให้ใช้ภาษาไทยให้ถูก แต่เปิดข่าวมาอ่านคอมเมนท์ เจอแต่ติเรื่องภาษาแบบนี้มันเซ็งกว่าเปิดอ่านคอมเมนท์ใน Digg อีก ในความคิดผมนะ
ก็เห็นด้วยนะครับ เพราะอยากเข้ามาอ่านความเห็นจากสมาชิกท่านอื่นเกี่ยวกับข่าวนี้
แต่เห็น "Log" การแก้ภาษาที่ไม่ถูกต้องเยอะๆก็มึนๆเหมือนกันครับ
meddlesome.tech.blog
+1 Interesting
ไว้จะลองศึกษาความเป็นไปได้ดูครับ :)
ตอนนี้เราจะมี redesign ใหม่พอดี เรื่องนี้คงเป็นอีกวาระนึงที่ต้องเพิ่มเข้าไป
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมคิดว่า "คอมเมนต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา" และ "คอมเมนต์แก้สะกดคำ" ไม่ได้เป็น mutual exclusion กัน นั่นคือคอมเมนต์สะกดคำเยอะ ไม่ได้มีผลให้คอมเมนต์เกี่ยวกับเนื้อหาน้อยแต่อย่างใด
ถ้าไม่ชอบคอมเมนต์สะกดคำ ยิ่งต้องช่วยกันคอมเมนต์สะกดคำให้มากขึ้น เพื่อว่าผู้เขียนจะได้รีบปรับปรุงตัว พอคุณภาพอยู่ในระดับที่เข้ามาตรฐานแล้ว คอมเมนต์สะกดคำก็จะหายไปเองครับ
ผมเชื่อว่าผู้อ่าน Blognone มาพอสมควร น่าจะคุ้นกับกฎเกณฑ์การสะกดคำของที่นี่กันบ้างแล้ว ผมอยากให้ลองไปเปิดหนังสือพิมพ์รายวันฉบับไหนก็ได้ ว่าเจอปัญหาสะกดผิดแบบเดียวกันหรือเปล่า? ถ้าอยาก Blognone เป็นสื่อที่ได้รับการยอมรับ มาตรฐานมันก็ต้องได้ระดับเดียวกัน
ข่าวนี้เป็นตัวอย่างที่ดีครับ ว่าไม่มีผลจริงหรือเปล่า จำนวน 6 ความเห็นที่เกี่ยวกับข่าว ในดง 28 ความเห็นเกี่ยวกับการสะกดคำ ถ้าไล่หน้าผ่านๆ นี่คิดว่าความเห็นเกี่ยวกับสะกดคำหมดทุกอันแล้วนะครับ (บวกเรื่องพฤติกรรมการอ่านไปด้วย)
ผมคิดว่าการสร้างมาตรฐานการสะกดคำให้แก่กลุ่มคนเขียนข่าวนี่เป็นเรื่องที่ดี แต่ การสนใจแต่เรื่องการสะกดคำ จนทำให้คอมเมนท์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวจมลงไปอยู่ในกองดินกองทราย จนกลายเป็นเหมือนเขียนข่าวให้โดนจับผิดแบบปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องดีซักเท่าไหร่
ปัญหาก็คือ อัตราการโตของ Blognone คงที่หรือติดลบหรือเปล่าครับ? ไม่ใช่ใช่มั๊ย? คนเข้าหน้าใหม่ยิ่งเข้าเพิ่มเรื่อยๆ ใช่มั๊ย? คนเขียนข่าวหน้าใหม่ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช่มั๊ย? ด้วยเหตุนั้น "คอมเมนท์สะกดคำ" จะไม่หาย มีแต่จะเพิ่มขึ้นครับ
ผมยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องแน่นอนในแง่จำนวน ต่อให้ลบความเห็นสะกดคำทั้งหมดออกไป เราก็ยังมีความเห็นเกี่ยวกับข่าวเท่าเดิม และผมก็ขอตอบสั้นๆ ว่าถ้าชอบคอมเมนต์ที่เกี่ยวกับข่าว ก็ต้องช่วยกันคอมเมนต์ให้เกี่ยวกับข่าว ตามหลัก "อยากได้ต้องทำเอง" ซึ่งที่นี่เน้นเสมอมา
ส่วนประเด็นเรื่องมันปนกันนั่นเป็นอีกเรื่องนึง ผมคิดว่าระบบ karma ที่น่าจะเอามาใช้ในอนาคตคงจะช่วยได้บ้าง ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นก็คือ comment overload ไม่ใช่เรื่องสะกดคำหรือไม่ใช่สะกดคำ (เพราะรวมถึงคอมเมนต์ที่เราไม่อยากอ่าน, troll, off topic และปัญหาอื่นๆ ด้วย)
Blognone เติบโตได้เพราะมาตรฐานการเขียนข่าวที่ดี ซึ่งที่ผ่านมาผมก็ยังไม่พบวิธีสอนให้คนเขียนข่าวหน้าใหม่รู้จักธรรมเนียมการเขียนได้ดีเท่ากับการคอมเมนต์ลงในข่าว (ถ้าใครมีไอเดียก็ช่วยแนะนำด้วย) ส่วนเรื่องระบบ PM นั้น ผมขอร้องว่าให้ย้อนไปอ่านประกาศเก่าๆ ก่อนแล้วค่อยมาคอมเมนต์นะครับ
ปัญหาก็คือ "ความเห็นเกี่ยวกับข่าวเท่าเดิม" นั่นแหละครับ มันเพราะอะไร? เพราะไม่มีคน "อยากได้" เลยไม่ทำงั้นเหรอ หรือว่าทุกคนมัวแต่ไปสนใจกับเรื่องสะกดคำมากกว่าเนื้อหาต่อยอดที่อาจจะมีประโยชน์ ความเห็นที่ควรต่อยอดข่าว แปรเปลี่ยนไปเป็นการติสะกดคำซะมาก (ผมลองเปิด 5045, 4045, 2045 ดู แล้วคิดว่า Blognone เปลี่ยนไปมากจริงๆ)
ผมเชื่อว่าเหตุผลที่ระบบ editorial ล้าสมัยอย่าง Slashdot ยังคงอยู่ได้ท่ามกลางกระแส social news ที่ผุดมาทุกวัน แม้ว่าข่าวจะลงช้ากว่าเพื่อน ก็เป็นเพราะคอมเมนท์ที่มีสาระ ช่วยต่อเติมเนื้อหาในข่าวแม้จะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้กลุ่มคนใช้ปัจจุบัน ยังเลือก Slashdot มากกว่า
ข้อเสนอ ผมมีแน่นอน อย่างที่บอกไปแล้วในโพสก่อนหน้า ว่าแยกส่วนคอมเมนท์กับส่วนสะกดคำให้ชัดเจนซะ (ขอเรียกเท่ๆ ว่า Metacomments ก็แล้วกัน) ให้ใช้พื้นที่ระหว่างเนื้อหากับคอมเมนท์ เป็นพื้นที่ที่ถูก fold โดยอัตโนมัติ และจะไม่มีนับในหน้ารวม เมื่อคอมเมนท์ลงใน Metacomment คนเขียนข่าวก็จะได้รับข้อความเตือนว่ามี Metacomment ใหม่เข้ามา คล้ายๆ กันกับ Talk ใน Wikipedia
เมื่อมันโดน fold โดยอัตโนมัติแล้ว มันก็ควรจะแก้เรื่องคอมเมนท์สะกดคำไปเบียด ไปบดบังคอมเมนท์เกี่ยวกับข่าวลงได้ คนที่สนใจจะอ่านเรื่องสะกดคำก็จะอ่าน ส่วนใครที่ไม่สนใจก็อาจจะ unfold มาเปิดผ่านๆ และไปอ่านคอมเมนท์ด้านล่างต่อ เพราะผมมองว่าการเตือนสะกดคำนี่ควรจะเป็นสิ่งที่อยู่ข้างหลัง ไม่ใช่ข้างหน้า (ยกเว้นว่าจะเป็นเว็บปรึกษาปัญหาภาษาไทย)
ถ้ามี patch ผมก็ apply ให้ทันทีครับ :)
ได้ครับ แต่ผมเขียน Plugin ของ Drupal ไม่เป็น ขอเวลาศึกษาซักพัก
สิ่งที่ผมอยากเห็นคืออยากให้นักเขียนข่าวแต่ละคนมีรูปแบบการเขียนเป็นของตัวเองมากกว่า ไม่เห็นจะต้องไปทำตามมาตราฐานที่ใครๆเป็นคนกำหนด เรื่องพวกนั้นน่ะน่าจะแตะลงคลองไปซ่ะให้หมด ขอแค่ให้อ่านรู้เรื่องสื่อสารกับคนอ่านได้ก็พอ รูปแบบการนำเสนอข่าวใน Blognone ตอนนี้แถบจะสูตรเดียวกันหมด ไร้ซึ่งสีสันและอารมณ์แทบจะเหมือนนั่งอ่านบทความวิชาการอะไรสักอย่าง เหมือนกับเวลาอ่านมังกะหรือดู anime บ้างจ้าวแปลซับมาตรงทุกอย่างถูกต้องหมดแต่ดูแล้วไร้ซึ่งอารมณ์ สู้ไปดูจ้าวที่แปลมาแบบดิบๆเถื่อนๆ ยังได้อารมณ์ร่วมมากกว่าอีก หรือที่เค้าเรียกกันว่า The art of translation นั้นแหละ
อ่อๆ หรือลองดูซับบะหมี่หยกในตำนานก็ได้
คือ blognone เน้นเรื่อง “อยากได้ต้องทำเอง” ครับ ผมคิดว่าทุกคนยินดีที่จะอ่านข่าวได้อารมณ์จากคุณ PowerBerry ครับ
สำหรับเรื่องการแปลนั้นผมก็เห็นด้วยครับ ว่าคล้าย ๆ กับการเขียนข่าว แต่มันก็ต้องเป็นไปแบบ step by step ครับ คือ "เขียนให้รู้เรื่องก่อน จากนั้นก็เขียนให้ถูก พอเก่งแล้วก็ค่อยใส่ลูกเล่นใส่อารมณ์".replace("เขียน", "แปล") หากกลับกัน มันก็จะหยุดแค่ใส่ลูกเล่น ใส่อารมณ์ เพราะจะไม่มีใครอ่านรู้เรื่องอีกเลยครับ
BioLawCom.De
ในตอนนี้รูปแบบการเขียนข่าวผมดูว่ามันก็ยังเป็นแบบของใครของมันอยู่ดี Blognone ก็ทำแบบนี้มาแต่เิดิม
เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ผู้ประกาศข่าวอ่านข่าวผิดโดนตำหนินะครับ นักข่าวหนังสือพิมพ์เขียนข่าวผิดก็โดน
ตำหนิเหมือนกัน แล้วทำไม Blognone ที่เป็นแหล่งข่าวอิสระในอินเทอร์เน็ตจะไม่รักษา มาตรฐานอันดีนี้เอาไว้
เพราะคุณเองยังใช้ภาษาที่ไม่ค่อยจะถูกต้อง คุณก็เลยมองความมักง่ายพวกนี้ว่าไม่สำคัญเอง
ผมว่าคุณลองกลับไปอ่านความเห็นของคุณดูบ้างไหม มันพิมพ์ผิดไปเยอะมาก
"เรื่องพวกนั้นน่ะน่าจะแตะลงคลองไปซ่ะให้หมด"
เรื่องพวกนั้น "หนะ" น่าจะ "เตะ" ลงคลองไป "ซะ" ให้หมด
"ตอนนี้แถบจะสูตรเดียวกันหมด"
ตอนนี้ "แทบ" จะสูตรเดียวกันหมด
"เหมือนกับเวลาอ่านมังกะหรือดู anime บ้างจ้าวแปล"
เหมือนกับเวลาอ่านมังกะหรือดู anime บางเจ้าแปล
"สู้ไปดูจ้าวที่แปลมาแบบดิบๆ"
สู้ไปดูเจ้าที่แปลมาแบบดิบๆ
ผมเองสมัยเรียน ม.ปลาย ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาไทยเลย ตัวภาษาไทยเลยไม่ค่อยจะแข็งแรง ยังเสียดายอยู่ มีแต่ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างเดียว
ขอทักคนทักอีกทอดหนึ่ง ว่า "น่ะ" นั้น ถูกแล้วครับ ส่วนคำอื่น ๆ ที่คุณทักแก้นั้น เห็นด้วยทั้งหมดครับ
ขอบคุณครับ แฮะๆ
เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่าครับ ระหว่าง "เขียนให้ถูกต้องตามมาตรฐาน" กับ "มีรูปแบบการเขียนของตัวเอง" ... ผมไม่เห็นว่าการเขียนให้ถูกต้องตามมาตรฐาน จะไปเกี่ยวข้องกับรูปแบบการเขียนตรงไหน ... นักข่าว คอลัมนิสต์ นักเขียน ทุกๆ คนต่างก็เขียนตามมาตรฐานกันทั้งนั้น แต่หลายๆ คนก็มีรูปแบบการเขียนที่ไม่เหมือนใคร
'รงค์ วงษ์สวรรค์ เขียนตามมาตรฐานที่ "คนอื่น" กำหนดมาครัับ แต่เขาสามารถนำเสนอในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ????
.... ขอเสนอนิดหนึ่งครับ
ผมว่า comment เรื่องพวกภาษาเนี่ยเตือนเป็นการส่วนตัวจะกว่ามั้ยครับ
แบบนี้เหมือนๆกับ....ไม่รู้สิครับ เ้ป็นผมคงรู้สึกแย่หากโดนติในที่แจ้งแบบนี้น่ะครับ
เอาเป็นว่าขอเสนอเป็นอีกแนวทางหนึ่งละกันครับ จะปฎิบัติอย่างไรก็แล้ว staff เถิด
ปล.ผมอยากเห็น comment ตอบโต้ทางความคิดกันมากว่าสอนเรื่องภาษาไทยนะครับ ^^
เรื่องนี้เคยมีพูดในประกาศเก่าแล้วครับ ว่าเพราะอะไรถึงได้ต้องประกาศในที่แจ้ง ผมละคนหนึ่งที่โดนประจำในการประกาศว่าเขียนผิด แต่ผมชอบนะ มันทำให้รู้ว่าเราผิดพลาดจริงๆ ต้องปรับปรุงตัว
ผมต้องขอขอบคุณ Blognone มากที่สร้างนิสัยหลาย ๆ อย่างที่ดี ๆ ให้กับผม ในการใช้ภาษาไทยให้ถูก การให้ reference การยอมรับในคำติชมแล้วนำมาปรับปรุงตัว และอื่น ๆ อีกมากมายครับ
ปล. ใช้ไม้ยมกถูกไหมเนี้ย
Please go to My site at molecularck.wordpress.com
http://www.digimolek.com
ความจริงแล้วผมเห็นด้วยกับการเตือนใน comment นะ
...เพราะบางคำที่ใช้มาทั้งชีวิต คุณอาจไม่รู้ตัวหรอกว่า มันผิด
แรกๆ เข้ามาอ่านบ่อย มีคนแสดงความคิดเห็นกับข่าวในหลายๆ ด้านทำให้เกิดปัญญาขึ้นเยอะ มีหลายอย่างน่าสนใจและน่าติดตาม บางข่าวเข้ามาอ่านคอมเมนต์หลายสิบครั้งเผื่อว่าจะมีอะไรเพิ่มเติมจากข่าวมากขึ้น การคอมเมนต์ภาษาในการเขียนก็ดี เพราะทำให้การใช้ภาษาถูกต้อง อย่างน้อยยังดีกว่าอ่านข่าวประเภทแดกดันชาวบ้าน อย่างมดดำมดแดง หรือซ้อเขียว
แต่ในบางครั้งการคอมเมนต์เรื่องภาษาเยอะเข้ามันก็กลืนความสำคัญของข่าวไปเลยก็มี ทำให้เบื่อไม่อยากที่จะอ่านคอมเมนต์ คือจะสนใจเฉพาะตัวข่าวอย่างเดียว ช่วงหลังนานๆ เข้ามาดูอ่านข่าวเพียงครั้งเดียว เหมือนกับข่าว CyberBiz ของผู้จัดการ ข่าวเขานำเสนอดีนะ มีรูปภาพประกอบชัดเจน มีคนที่เข้ามาตอบดีด้วย แต่การคอมเมนต์ที่ไม่ควบคุมเป็นต้นเหตุที่ทำให้สังคมเกิดความแตกแยกส่วนหนึ่ง อ่านแล้วไม่สบายใจ
ผิดบ้างถูกบ้างไม่เป็นไร ขอให้มีความพอดี มีความคิดคนละอย่างแต่ไปสู่จุดหมายเดียวกัน
อะไรที่มันเยอะไปมันก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละครับ ไม่ได้บอกว่าเตือนเรื่องสะกดคำไม่ดี แต่ผมว่ามันเยอะเกินไปจนดูเป็นบล็อกกระทรวงบางกระทรวงไปแล้วน่ะ
ไม่ใช่อะไรคนเขียนหน้าใหม่จะพลเห็นแล้วเซ็งไปด้วยไม่อยากเขียนอะไรเพราะเขียนแล้วมีแต่คนจับผิดตลอดเวลาเหมือนกับเวลาเรียนคณิตศาสตร์แต่ได้ 9/10 แทนที่จะเต็ม 10 เพราะโดนหักคะแนนเรื่องลายมือน่ะ ...
โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ความเห็นที่ทำให้ออกนอกเรื่องได้มากที่สุดไม่ใช่ตัวความเห็นที่แก้คำผิด แต่เป็นความเห็นทำนอง "เดี๋ยวนี้ Blognone กลายเป็นเว็บสอนภาษาไปแล้วหรือ?" ทันทีที่มีความเห็นทักขึ้นมาแบบนี้ ทุกคนจะหยุดเรื่องอื่นหมด ส่วน blog ที่มีการแก้คำผิดโดยไม่มีคำทักท้วงนี้ จะยังคงสนทนาต่อไปหลังจากแก้คำผิดแล้ว
ข้อเสนอ:
หากจะทักท้วงเรื่องกระบวนการพิสูจน์อักษร อาจจะไปเสนอที่อื่น เช่น forum หรือถ้าผู้ดูแลเว็บเห็นว่าเป็นวาระสำคัญ ก็อาจตั้งเป็น sticky post ไว้รับความเห็นนี้โดยเฉพาะ หรือถ้าคิดว่ามันจะทำให้เรื่องใหญ่โตเกินเหตุ เจ้าของข่าวก็ต้องทำใจ ยอมอุทิศเนื้อที่ให้กับการอภิปราย (ที่อาจมีข้อสรุปหรือไม่ก็ได้ แต่ข่าวของคุณอาจทำสถิติข่าว hot ประจำปีก็ได้ ;-) )
เกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์อักษร โดยส่วนตัวผมยอมรับการทักท้วงในแบบปัจจุบัน เพราะประหยัดเวลาในระยะยาว แทนที่จะต้องแก้คำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ กับนักเขียนหลายคน ก็ถือว่าการแก้คำผิด เป็นการบอกนักเขียนทุกคน ไม่ใช่แค่เจ้าของข่าวเท่านั้น ดีแค่ไหนที่คุณเห็นข่าวผิดแล้วทักท้วงให้แก้ไขได้ ไม่เหมือนเว็บข่าวหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ลงข่าวไอทีแบบขาดการกลั่นกรอง แล้วคนอ่านได้แต่บ่นว่าข่าวมั่ว
แต่ถ้าตกลงกันว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบอื่น (คิดในแง่ที่ยังไม่ต้องเขียน module ใหม่) ก็อาจจะเป็นว่า:
ให้ บ.ก. พิสูจน์อักษรแล้วแก้ให้เลย แล้วเขียนสรุปให้ทราบในความเห็นแรก (คล้ายกับที่เรารีวิวคำแปลในโครงการแปล) โดยใช้ subject ที่ตายตัว เช่น "รายการแก้คำผิด" แล้วจบแค่นั้น ถ้าใครจะทักท้วงเพิ่ม ก็ให้ reply แค่ thread นั้น ไม่ต้องตั้ง thread ใหม่ ถ้าทุก blog มีรูปแบบตายตัวแบบนี้ คาดว่าจะทำให้มันกลายเป็นเรื่องธรรมดาในที่สุด ไม่ต้องขึ้นมาปนกับการสนทนา แต่การอาศัย บ.ก. ก็หมายความว่า คุณให้สิทธิ์ขาดกับ บ.ก. ที่จะแก้ข่าวของคุณ (ซึ่งอาจไม่ได้อย่างที่คุณต้องการจะสื่อก็ได้)
แจ้งรายการแก้ไขเป็นการส่วนตัว (เช่น ส่งไปยังที่อยู่ e-mail ที่นักเขียนใช้สมัครสมาชิก) อาจจะดีในแง่ที่ซ่อนทุกอย่างอยู่หลังฉากให้หมด แต่ บ.ก. จะเหนื่อยหน่อย ที่ต้องแก้คำผิดรายการเดิมซ้ำ ๆ เมื่อตรวจข่าวของนักเขียนคนอื่นอีก
การแก้แบบหลังไมค์เราเคยพยายามแล้วกับ Private Message พบว่าไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นคงไม่กลับไปใช้แล้วครับ
ส่วนเรื่องให้ editor แก้ให้นั้น ผมมองว่ามันไม่ scale ในวันนี้เราเริ่มมีคนเข้ามาเขียนในหลักสิบ ถ้าเป็นหลักร้อย editor คงตายก่อน ยังไงเสียคงต้องให้ชุมชนดูกันเอง
แนวทางที่ผมสนใจคือการจัดหมวดหมู่คอมเมนต์ แบบ informative, funny, interesting แล้วอาจจะมี correction เข้ามาอีกตัว อย่างน้อยๆ คนที่คิดจะอ่านอย่างเดียวก็สามารถเลือกอ่านได้ แต่ตรงนั้นคงเป็นเรื่องของอนาคต เพราะด้วยคอมเมนต์เฉลี่ยน้อยกว่า 10 คอมเมนต์ต่อข่าว ผมว่ายังไม่จำเป็นเท่าใดนัก
สำหรับคนเขียน ผมพูดเสมอๆ แต่สรุปตรงนี้อีกที
- การถูกแก้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ผมเรียนภาษาอังกฤษต้องจ่ายเงินเพื่อให้คนมารีวิวภาษาให้ผม ขณะที่ Blognone ชุมชนมารีวิวให้ฟรี เช่นเดียวกับที่คนเขียนเขียนให้ทุกคนอ่านฟรีเช่นกัน อันนี้ตอนแรกๆ ที่ผมเขียนเองแล้วโดนแก้เรื่องภาษาก็รำคาญเหมือนกัน แต่พอเวลาผ่านไปมันก็ไม่ได้ยากอะไร
- การชี้ให้แก้ต้องเป็นในเชิงเสริมสร้าง และให้กำลังใจ แบบมาถึงแล้วบอกว่า "เขียนแบบนี้อย่าเขียน" อะไรอย่างนั้นผมก็ไม่ยอมเหมือนกัน
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องของ บ.ก. ความจริงผมหมายถึง "ทีม" บ.ก. ครับ ก็คือคนที่ติดดาวทั้งหลาย ซึ่งควรจะ scale ตามการเติบโตของเว็บอยู่แล้ว
มองในแง่ของระบบตอนนี้ เราสามารถแก้ปัญหาแบบง่ายที่สุดโดยไม่ต้องแก้อะไรเลย ตอนนี้ทางเลือกที่ดูจะดีก็คือ
วิธีการผมคิดออก 2 แบบ
ผมเลือกวิธี 1 ง่ายดี ไม่ลำบาก
ผมว่าอย่างนี้ก็คงแค่สร้างข้อตกลงว่าใครจะคอมเมนต์เรื่องภาษา ให้ไปต่อๆ กันจากคนแรกที่คอมเมนต์ อย่างนั้นก็พอแล้วรึเปล่าครับ?
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ แค่นั้นก็น่าจะพอ มันจะรวมอยู่ใน thread เดียว มองข้ามง่ายกว่า
+1 ครับ
ทำเป็น hidden ไว้ก่อน แล้วกดแสดงความเห็นทั้งหมดค่อยมองเห็น ก็ดีเหมือนกันครับ
แต่ว่า มันจะเป็นการชี้นำไปในตัวด้วยหรือเปล่าครับว่า ต้องมีทั้งคอมเมนต์เนื้อหา และ ภาษาไทย
บล็อกของผม: http://sikachu.blogspot.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
หรืออาจจะทำเป็นบล็อค
แล้วให้ฟิลเตอร์แปลงเป็น collapsible fieldset ปกติเป็นซ่อน
เสนอครับ
เป็นวิธีจูงใจให้เขียนดีขึ้นและไม่ต้องทะเลาะกันด้วยครับ ผู้ใช้ทั่วไป(ที่ไม่ได้ลงทะเบียน) ไม่ต้องมาเห็นว่า ต้องแก้กันอย่างไรคนที่ login ก็แสดงว่าเป็นผู้ใช้งานที่มีปฏิสัมพันธ์กับ web แสดงข้อความการแก้คำพูดให้เห็นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เว็บจะได้พัฒนาได้อย่างที่คุณลิ่วตั้งใจ