ไอบีเอ็มประกาศเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งช่วยให้นำเศษซิลิคอนเวเฟอร์มาใช้ประโยชน์ต่อได้
การผลิตชิปทั่วไปนั้นจะพิมพ์ลายวงจรลงบนแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์เหล่านี้แล้วนำไปตัด ปัญหาคือมีเศษซิลิคอนต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก (ในข่าวให้ข้อมูลว่าเอามารวมกันตกประมาณ 3 ล้านแผ่นเวเฟอร์ต่อปี) และบริษัทผู้ผลิตชิปก็ไม่นิยมนำไปรีไซเคิลเพราะว่าบนเศษซิลิคอนยังมีลายวงจรอยู่ ซึ่งบริษัทถือเป็นความลับทางการค้า
เทคโนโลยีใหม่ของไอบีเอ็มช่วยลบลายบนแผ่นซิลิคอนเหล่านี้ ทำให้นำไปใช้ซ้ำในการทดสอบชิปได้ หลังจากนั้นยังนำไปใช้ทำแผ่นเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย วิศวกรของไอบีเอ็มให้ข้อมูลว่าการรีไซเคิลแผ่นซิลิคอนนี้ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับการผลิตแผ่นใหม่ และแผ่นซิลิคอนจำนวน 3 ล้านแผ่นจะสร้างเซลล์พลังงานให้กับบ้านได้ 6,000 หลัง
ไอบีเอ็มยินดีแบ่งปันเทคโนโลยีนี้ให้กับบริษัทผู้ผลิตชิปอื่นๆ โดยนักวิเคราะห์คาดว่ามันจะช่วยกระตุ้นความตื่นตัวในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งขาดแคลนวัตถุดิบมานาน
ที่มา - Stateman
Comments
ถ้าแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงได้ก็ดีสินะ
Oakyman.com
ราคาแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์จะได้ถูกลงชักที
สาธุ...
สามล้านแผ่นนี่มันกี่พันล้านบาทอะเนี่ย
PoomK
โอ้ว แบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ ขอให้เจริญๆ ครับ
/me นั่นสิ เมื่อไหร่แผงรับพลังงานมันจะถูกลงสักทีนะ