นิตยสาร The Economist ได้พยากรณ์แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2008 โดยเฉพาะเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต 3 ข้อดังนี้
- อินเทอร์เน็ตจะช้าลง ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนพฤติกรรมจาก "ดาวน์โหลด" อย่างเดียว มาเป็น "อััพโหลด" มากขึ้น (user-generated content) ผสมด้วยเนื้อหาที่มีขนาดใหญ่อย่างภาพยนตร์แบบ HD ทำให้ขนาดไฟล์ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย P2P ใหญ่ขึ้นไปเป็นเงาตามตัว ขณะนี้ยังเป็นที่เถียงกันอยู่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตปัจจุบันจะรองรับได้แค่ไหน อาจเลวร้ายถึงขั้นอินเทอร์เน็ตล่มสลายหรือไม่ (อ่านรายละเอียดในเรื่องนี้จากสกู๊ปของ Ars Technica)
- อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนรูปแบบออกไป ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อด้วยคอมพิวเตอร์เหมือนเคย ผู้เล่นที่สำคัญในเรื่องนี้คือกูเกิล ซึ่งออกจิ๊กซอตัวแรกอย่าง Android มาแล้ว และปลายเดือนมกราคมปีหน้า กูเกิลจะยังเข้าประมูลความถี่ช่วง 700MHz ของรัฐบาลสหรัฐที่ว่างลง ถ้าประมูลชนะ (ราคาขั้นต่ำของบล็อค C ที่กูเกิลต้องการ อยู่ประมาณ 4.6 พันล้านเหรียญ) อนาคตเราจะเห็นกูเกิลรุกเข้าธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว และเปลี่ยนโฉมวงการสื่อสารของสหรัฐก็เป็นได้ (อ่านรายละเอียดเรื่องความถี่ 700MHz ที่ Wired และ Gigaom)
- เทคโนโลยีที่เปิดกว้างมากขึ้น ขนาดบริษัทอย่างแอปเปิลยังเตรียมจะเปิดให้นักพัฒนาภายนอกเขียนโปรแกรมสำหรับ iPhone นี่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีเปิด (ทั้งโอเพนซอร์ส, มาตรฐานเปิด, แนวคิดการเปิด API) ได้รับการยอมรับในวงกว้าง Economist ตัวอย่างเทคโนโลยีเปิดที่มาแรงได้แก่ Ubuntu, OLPC และโน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่ใช้ลินุกซ์ไม่ว่าจะเป็น Eee PC หรือ gPC นี่อาจแปลได้ว่าใครไม่เคยใช้โอเพนซอร์สอาจจะตกยุคได้ในเร็ววัน
ที่มา - Economist
Comments
ผมมั่นใจเหลือเกินว่า แนวคิดโอเพนซอร์ส และมาตรฐานเปิดต่างๆ จะกลายเป็นกระแสหลักของโลกในอีกไม่นานนี้ หรือไม่ก็เป็นไปแล้วในบางประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งที่ต้องคิดคือทำอย่างไรเรา หรือประเทศของเราซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของโลกใบนี้ จะปรับตัวตามได้ทัน ทุกวันนี้ผมใช้ Linux บน Desktop มานาน แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดัน หรือทำให้คนรอบข้างยอมรับมันได้ อย่าว่าแต่ Linux ซึ่งเป็น OS เลย แค่ลำพังโปรแกรมโอเพนซอร์สบน Windows เองก็แทบจะไม่มีคนใช้
คำตอบอยู่ที่การปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิทธิ์ของรัฐจะจริงจังแค่ไหน
แต่คิดว่าไม่นานต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา ก็คงจะบีบให้เราต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เพื่อยกเป็นข้ออ้างในการกีดกันด้านการค้า เหมือนเดิม
เริ่มต้นด้วย มาตรฐานเปิด อาจจะง่ายกว่าการให้คนรอบข้างหันมาใช้ open source software เต็มตัว
+1
"แค่ลำพังโปรแกรมโอเพนซอร์สบน Windows เองก็แทบจะไม่มีคนใช้"
เห็นด้วย แต่ขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมระบบและผู้บริหารด้วยนะว่าจะเอาจริงกับเรื่องไลเซ่นส์หรือเปล่า
อย่างที่บริษัทผมควบคุมระบบเอง จะใช้วิธีการแนะนำในเรื่องการใช้ซอฟท์แวร์ว่าตัวนี้ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร ผสมกับการขู่นิดๆ ว่าโปรแกรมที่ใช้เดิมมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรือการสูญหายของข้อมูล แล้วก็ขู่ไปอีกว่าถ้าอยากใช้ของละเมิดเจ้าของเครื่องต้องทำเรื่องสั่งซื้อเอง เรื่องการขู่ไม่ใช่ว่าจะยกมาลอย มันจะต้องอ้างอิงจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อย่าง outlook express มีปัญหาในการรับเมล์มากโดยเฉพาะสแปมสปาย บางเมล์ทำให้ดาต้าเบสของ inbox เสียไปเลยก็มี เจอบ่อยมาก มันก็ซ่อมได้นะ แต่ผมใช้วิธีลบทิ้งแล้วให้โปรแกรมมันสร้างใหม่ ผู้ใช้จะได้ตระหนักถึงข้อมูลของตัวเอง
โอเพ่นซอร์สที่เป็นที่ยอมรับในบริษัท ได้แก่ nectec dict, firefox, thunder bird, irfanview, 7zip อะไรที่ทับซ้อนกับโปรแกรมพวกนี้จะไม่ติดตั้งให้เลย ไม่ให้คำปรึกษาด้วย บางโปรแกรมจะผนวกมากับวินโดว์ก็จำเป็นต้องไปเอาออก พอไม่มีให้ใช้ผู้ใช้ก็จะหันหน้าไปพึ่งโอเพ่นซอร์สที่ติดตั้งใว้ แล้วเขาก็จะชินไปเอง
ส่วน office นี่บอกตรงๆ ไม่กล้าเปลี่ยน แค่คิดยังเห็นนรกอยู่ตรงหน้า ขนลุก
อีกตัวคือ gimp นี่ใช้เองยังรู้สึกหงุดหงิดอยู่ อาจเป็นเพราะว่าคุ้นเคยกับ photoshop แล้ว
ควรจะแสดงท่าทีตั้งแต่แรกแล้ว... อย่างน้อยผมก็เซ็ง iPhone ไปอีกนาน
กับ Android ที่แม้ยังไม่มี product ออกมา ผมยังรู้สึกดีกว่าอีก
Patrickz's blog | blog @ G2K | blog @ narisa | AsteriskThailand
Patrickz's blog|
linkedin