แม้ทุกวันนี้ระบบเข้ารหัสดิสก์แบบเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประเด็นของการถูกขโมยข้อมูลจำนวนมากในช่วงหลังๆ ที่ทำให้ข้อมูลสำคัญของคนจำนวนมากถูกเผยแพร่ออกไป แต่กระนั้นก็ตามระบบการเข้ารหัสนั้นส่วนมากอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นจะหายไปหากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำงานไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แต่กลุ่มนักวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน, Electronic Frontier Foundation, และ Wind River System ได้ร่วมกันทำงานวิจัยที่ท้าทายแนวคิดแบบเดิมๆ ด้วยการเขียนซอฟต์แวร์ในการกู้ข้อมูลจากหน่วยความจำหลักการบูตเครื่องไปแล้วหนึ่งครั้ง โดยอาศัยความจริงที่ว่าแม้หน่วยความจำหลังการบูตเครื่องจะไม่น่าเชื่อถือว่าจะเหมือนเดิม แต่ข้อมูลเกือบทั้งหมดก็ยังคงอยู่ครบถ้วนดี
นักวิจัยเขียนซอฟต์แวร์เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมดในหน่วยความจำลงแผ่นดิสก์ทันทีหลังการบูต หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลนั้นไปหาคีย์สำหรับถอดรหัสข้อมูลในดิสก์ที่มีการเข้ารหัส ทำให้สามารถแก้การเข้ารหัสของโปรแกรมเข้ารหัสอย่าง TrueCrypt ออกมาได้
หลังจากนี้ก่อนจะทิ้งคอมพิวเตอร์ไว้แบบไม่มีคนดู อาจจะต้องกอดคอมพิวเตอร์ไว้กับตัวก่อนสัก 20 นาทีเพื่อความปลอดภัย..
ที่มา - Princeton
Comments
ความรู้ใหม่เลยว่าข้อมูลใน RAM ยังค้างอยู่หลังจากปิดเครื่อง
ไม่ก็..ชัตดาวน์ไปเลย
ประหยัดไฟด้วย >__>
.
ข่าวต่อไป..
MS ออกแพตช์ล่าสุด โดยเพิ่มความสามารถในการทำ zero fill ในแรมให้อัตโนมัติ เมื่อมีการสั่งชัตดาวน์เครื่อง นอกจากนี้ทางผู้พัฒนา Ubuntu ดิสโทรชื่อดังก็ได้ให้คำมั่นสัญญากับผู้ใช้ว่า จะใส่คุณสมบัตินี้ลงใน Ubuntu 9.99 เช่นกัน :p
---------- iPAtS
iPAtS
เขียนได้วกวน อ่านแล้วงงดีมากๆ ครับ
หน่วยความจำหลักการบูตเครื่องไปแล้วหนึ่งครั้ง <<< หลังการบูตเครื่อง ?
ใช่ครับ Cold Boot เพราะเขาบอกว่า DRAM ปัจจุบันแม้จะไม่จ่ายไฟแล้ว อาจจะคงค่าไว้ได้นานหลายวินาทีจนถึงระดับนาที แม้ว่าจะไม่ได้รับไฟฟ้าเลี้ยงแล้ว ถอดออกมา ก็ได้ ยิ่งถ้าบวกกับการใช้สเปรย์ทำความเย็น ก็อาจได้ระดับนาที
แต่ถ้าเล่นแบบโจ่งแจ้ง ใช้ไนโตรเจนเหลว!!! ข้อมูลจะอยูก็ได้เป็นชั่วโมง
ผมนึกถึงการย้ายอวัยวะมนุษย์ (ทางการแพทย์)แฮะ