ในท้องตลาดเรามักจะเห็นยาแก้ปวดหลากหลายชนิด มีราคาต่างกันออกไปตามความเก่าใหม่ของยา ส่วนใหญ่ยาที่ออกมาใหม่ ๆ มักมีราคาแพงกว่ายาที่ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งบริษัทยาก็โฆษณาว่า ยาตัวใหม่สามารถแก้ปวดได้ดีกว่ายาตัวเก่าเสมอ
ในวารสาร Journal of The American Medical Association ฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2008 ได้ตีพิมพ์การศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์การแก้ปวดกับราคายาที่คนไข้รับรู้ โดยทำการศึกษาในคนปกติ 82 คน โดยครึ่งหนึ่งให้กินยาหลอกที่ไม่มีผลใด ๆ ต่อการลดอาการปวด (Placebo = เม็ดแป้งธรรมดา) โดยได้รับข้อมูลว่าเป็นยาแก้ปวดขนานใหม่ที่มีราคา $2.50 ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็ให้กินยาหลอกตัวเดียวกัน แต่บอกว่า ยาถูกลดราคาลงมาเหลือ $0.10 แล้วนำกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มไปทดสอบให้คะแนนระดับความเจ็บปวด (visual analog scale) ตั้งแต่ 0 (ไม่ปวดเลย)-100 (ปวดมากที่สุด) โดยการช็อตด้วยไฟฟ้าในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนทนไม่ได้
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับรู้ว่ายาแก้ปวดมีราคา $2.50 สามารถลดระดับความเจ็บปวดหลังจากกินยาได้ 85.4% ในขณะที่กลุ่มที่รับรู้ว่ายามีราคา $0.10 ลดระดับความเจ็บปวดลงได้เพียง 61%
การวิจัยนี้ผู้วิจัยก็เลยสรุปผลว่า การรักษาความเจ็บปวดนั้นจะได้ผลดีหรือไม่ส่วนนึงขึ้นอยู่กับความคาดหวังของคนไข้ ซึ่งก็เป็นไปตามความเชื่อที่ว่ายาที่แพงกว่าจะมีฤทธิ์แก้ปวดที่ดีกว่า ทำให้เรามีแนวโน้มจะหันไปหายาแพง ๆ ที่ออกมาใหม่ ๆ มาใช้รักษาอาการปวด และบริษัทผู้ผลิตยาก็สามารถขายยาใหม่ได้เรื่อย ๆ ในราคาที่สูงกว่ายาเก่า
ที่มา
Commercial Features of Placebo and Therapeutic Efficacy
Rebecca L. Waber; Baba Shiv; Ziv Carmon; Dan Ariely
JAMA. 2008;299(9):1016-1017. จาก Journal of The American Medical Association
Comments
ว้า ถ้าอย่างนั้น placebo effect ก็กลายมาเป็นผลเสียกับผู้บริโภคอย่างเราซะแล้วสิครับ ต้องมาโดนให้เสียเงินเสียทองมากขึ้น
สมมุติว่าถ้าทุกคนบนโลกนี้รู้ข่าวนี้แล้ว บริษัทยาจะปั๊มราคายาขายเราแพงได้มั้ยครับนี่
มันเป็นการทดลองเพื่อทดสอบ placebo effect อย่างเดียวนี่หน่า อีกอย่าง ถ้าทุกคนในโลกรู้ข่าวนี้แล้ว ผลของ placebo effect ก็ไม่น่าจะเกิดนะครับ ในเมื่อคนรู้ว่าการทนความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึี้น มันมาจาก placebo effect (งงป่ะ)
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ไม่งงครับ :)
ผมว่าน่าเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์เหมือนกันนะครับ
เช่นแบบว่า หลอกน้องว่ายาแก้ไอนี่ขวดละห้าร้อย
เผื่อน้องจะได้หายหวัดเร็วขึ้น :D
ผมว่าความเชื่อแบบฝังใจมีผลมากต่อ placebo effect นะครับ เพราะงั้นต่อให้บอกว่ายาแพงไม่ได้ดีกว่ายาถูก แต่คนกินยา(ที่คิดว่า)แพงส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกว่าหายเร็วกว่าอยู่ดี
เหมือนคนที่เชื่อว่ากินนอแรดแล้วจะปึ๋งปั๋ง ถึงรู้ว่านอแรดมันส่วนประกอบเดียวกับเล็บคน แต่ก็ยังกินอยู่ดี แถมยังรู้สึกปี๋งปั๋งตามที่เชื่อเสียอีก ^^"
แต่ยาแก้ปวดที่เรากิน ๆ กันอยู่ อย่างพาราเซตามอล ยานอกมียี่ห้อมันหายปวดเร็วกว่ายาองค์การเภสัชจริง ๆ เพราะสารเคมีมันดีกว่า (และแพงกว่า)
เรื่อง brand ก็เป็น placebo effect อย่างนึงคล้ายๆ กับราคาครับ เพราะความเชื่อว่ายาแพงดีกว่า ยาที่ผลิตจากต่างประเทศดีกว่า ยาต้นตำรับดีกว่า นี่แหละครับ ที่ก่อให้เกิด placebo effect
Little RX
My Twitter
เห็น brand แล้วมันมั่นใจครับ
ดีนะ ปีนึงกินยาแก้ปวดเฉลี่ยต่ำกว่า ๕ เม็ด
ส่วนผมเดือนนึงเฉลี่ย 5 เม็ด - -
แม่ผมวันละห้าเม็ด บอกให้เลิกก็ไม่เลิก ไมเกรนเรื้อรัง T_T
ปวดใจต้องกินกี่เม็ดอ่ะ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ขวดนึงเลยครับ.. รับรองหาย!!
---------- iPAtS
iPAtS
หายไปจากโลกอะดิครับ - -
ถ้าเธอให้ก็กินครับ....ฮา
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ผมคิดว่าไม่แปลกหรอกครับ ไม่งั้นพวกเครื่องสำอางต่างๆ, รวมไปถึงพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมันจะขายได้หรือครับ
คงเป็นเพราะรู้ราคาแล้วจำเป็นต้องหายปวดไม่งั้นไม่มีตังจ่ายค่ายา ฮ่าๆ
อย่างนี้ พวกเศรษฐีก็หายโรคยากกว่าคนธรรมดาสิ? ถ้าการหายป่วยแปรตามจำนวนขนหน้าแข้งที่ร่วง
ไม่แน่เพราะไม่มียาอะไรแพงเลยในสายตาเศรษฐี
ชาวบ้านเจอยาเม็ดละ 20 ก็อาจจะคิดว่าแพงสุดยอดแล้ว (รีบหายเลย)
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เอาแค่ พาราเซตามอล กับ บรูเฟน ราคาต่างกันฤทธิ์ต่างกันเยอะ แต่มันก็มีผลรุนแรงต่อร่างกายเยอะตามไปด้วย น่าจะลองหันไปพึ่งยาสมุนไพรบ้างก็ดีนะ บางทีอาการปวดหัวอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ไปให้หมอแผนโบราณนวดดูแล้วจะรู้ว่าหายเป็นปลิดทิ้ง
ถ้าเป็นยาแก้ปวดเนี่ยอยากเถียงแฮะ ต่างยี่ห้อสรรพคุณต่างกันจริงๆ
7blogger.com
แน่ใจได้รึเปล่าล่ะครับ ว่าเป็นเพราะยี่ห้อนึงสรรพคุณดีกว่า ไม่ได้เป็นเพราะสมองเราคาดการณ์ไว้ก่อนว่ายี่ห้อนี้จะต้องดีกว่า
ถ้าอยากแน่ใจจริงๆว่าเป็นเพราะสรรพคุณ ใ้ห้ลองซื้อยามา 2 ยี่ห้อ เอาที่เม็ดเหมือนๆกัน แล้วหาคนช่วยจัดเป็น 2 ชุด แยกตามยี่ห้อ จากนั้นก็ลองกินดูทีละชุด (อาจจะชุดละ 1 วัน 1 อาทิตย์ 1 เดือน ก็แล้วแต่) แล้วก็ลองให้คะแนนไว้ ว่าหลังกินแต่ละครั้งปวดน้อยลงขนาดไหนในสเกล 1-10
พอลองครบ 2 ชุดแล้วค่อยให้่คนที่จัดชุดให้เฉลย ว่าอันไหนเป็นยี่ห้อไหน แล้วค่อยเอาคะแนนที่ให้ไว้มาเทียบกันดูครับ :)
ปล. เรื่อง placebo effect นี่เห็นแล้วนึกถึงคุโรมาตี้ตอนที่ 'ใส่"ไอ้นั่น"แล้วเอามืออังหม้อหุงข้าวแล้วข้าวจะนุ่มขึ้น' ขึ้นมาทุกทีเลยแฮะ = =;