Tags:
Node Thumbnail

Cochrane Collaboration ซึ่งเป็นที่ที่มีการรวบรวม วิเคราะห์หลักฐานเกี่ยวกับการทดลอง และเก็บสถิติทางการแพทย์ ได้ทำการรวบรวมการวิจัยผลของการกินอาหารเสริมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant -- beta-carotene, วิตามิน A, วิตามิน C, วิตามิน E และ Selenium) เปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอก (placebo) หรือการไม่ได้รับยาเลย ที่เคยตีพิมพ์ออกมาจำนวน 67 งานวิจัย และมีประชากรกลุ่มตัวอย่างรวมกัน 232,550 ราย โดยในจำนวนนี้ 21 งานวิจัยเป็นการเปรียบเทียบในกลุ่มประชากรที่แข็งแรง และ 46 งานวิจัยเปรียบในกลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัว

พบว่าการกินอาหารเสริมในกลุ่ม antioxidant ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตแต่อย่างใด โดยอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมที่มีฤทธิ์ antioxidant อยู่ที่ 13.1% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารเสริมอยู่ที่ 10.5% เมื่อทำการวิเคราะห์ลงไปในแต่ละการทดลองแล้วพบว่า beta-carotene, วิตามิน A และวิตามิน E เพิ่มอัตราการเสียชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในส่วนของวิตามิน C และ Selenium นั้น ก็ยังไม่พบหลักฐานว่าสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

ผลจากการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงสรุปว่าหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สนับสนุนให้ใช้อาหารเสริมที่เป็น antioxidant ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวบางโรค

อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้รวมถึงผลของ antioxidant ที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคบางชนิด และ antioxidant ที่มีอยู่ในอาหารจำพวกผัก และผลไม้

งานนี้ไม่รู้ว่าจะส่งผลต่อวงการอาหารเสริมยังไงบ้าง

ที่มา
The Guardian, บทคัดย่อจาก Cochrane Collaboration

Get latest news from Blognone

Comments

By: AdmOd
iPhoneWindows
on 19 April 2008 - 11:16 #48917

โชคดีที่จน ไม่มีเงินซื้อกิน >___>

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 19 April 2008 - 12:15 #48921
gotobanana's picture

อย่างเช่นพวกอาไรมั่งอ่ะปกติกินอยู่ทุกวันอ่ะ

By: BonBon
iPhone
on 19 April 2008 - 13:06 #48926

เอ่อ..แล้วไม่เปิดเผยสาเหตุการตายของคนเหล่านั้นเลยหรือครับ อุบัติเหตุ? โรคอะไร? อ่านแล้วทะแม่งๆ

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 19 April 2008 - 20:29 #48962 Reply to:48926
elixer's picture

เท่าที่อ่านดูเป็น All-cause mortality (การตายจากทุกสาเหตุ) ครับ

Little RX


My Twitter

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 April 2008 - 13:25 #48927
tekkasit's picture

อันนี้เป็น secondary data ครับ คือไม่ได้ทดลองโดยตรง แต่ไปรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว แล้วมาหาความสัมพันธ์ทางสถิติครับ เลยไม่มีรายละเอียดเรื่องพยาธิสภาพ, สาเหตุการเสียชีวิต

คงต้องหาคนมาเก็บข้อมูลและติดตามระยะยาวๆกันอีกต่อไป

By: pawinpawin
Writer
on 19 April 2008 - 13:33 #48928

มีฉบับเต็มด้วยครับ

คือต้องเข้าใจว่ามันเป็น meta-analysis คือเอา paper หลายๆ อันมารวมกัน (คือเอาคนในแต่ละ paper มารวมกันเลยน่ะครับ) แล้วคำนวณอัตราต่างๆ ใหม่ครับ

เท่าที่อ่านดูเรื่องที่เอามาศึกษานี่มัน broad มากเลยครับ คนที่อยู่ในแต่ละ study มีตั้งแต่คนธรรมดา, เอาเฉพาะหมอ, เอาเฉพาะคนที่เคยเป็นมะเร็ง, พาร์กินสัน, คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่จำเป็นต้องฟอกไต ฯลฯ

ผมว่าอันนี้มันจะเข้าข่าย Garbage In Garbage Out หรือเปล่าน้า

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 19 April 2008 - 20:20 #48955 Reply to:48928
elixer's picture

Types of studies
All primary and secondary prevention randomised clinical trials, irrespective of trial design, blinding, publication status, publication year, or language. From cross-over trials, only the first trial period was considered.
Types of participants
Adult participants (age 18 years or over) who were
healthy participants or were recruited among the general population (primary prevention) or diagnosed with a specific disease in a stable phase (secondary prevention).

จาก inclusion criteria ข้างบนนี่ดูโอเคดูนะครับ คัด trials จาก 815 เหลือแค่ 67 trials แถม 47 ใน 67 trials ยังมี low-bias risk ด้วย ไม่น่าจะเป็น garbage ทั้งหมดนะครับ

Little RX


My Twitter

By: pawinpawin
Writer
on 19 April 2008 - 23:26 #48981 Reply to:48955

A total of 17880 of 136,023 participants (13.1%) randomised to antioxidant supplements and 10136 of 96527 participants (10.5%) randomised to placebo or no intervention died. In random-effects meta-analysis, antioxidant supplements had no significant effect on mortality (RR 1.02, 95% CI 0.99 to 1.06). In fixed-effect meta-analysis, antioxidant supplements significantly increased mortality (RR 1.04, 95% CI 1.02 to 1.06). There was no significant intertrial heterogeneity (I2 = 13.1%)(Comparison 01).

อืม ผมไม่แม่นเรื่อง random-effects metaanalysis เท่าไหร่ แต่คิดว่าตรงจุดนี้ก็น่าสังเกตเหมือนกันนะครับ

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 20 April 2008 - 01:17 #48990 Reply to:48981
elixer's picture

fixed effects model ถัวเฉลี่ยด้วยการถ่วงน้ำหนักตามความแปรปรวนของแต่ละการศึกษา ทำให้การศึกษาขนาดใหญ่ได้รับการถ่วงน้ำหนักมากกว่า
ส่วน random effects model ถัวเฉลี่ยด้วยการถ่วงน้ำหนักตามความแปรปรวนของแต่ละการศึกษา และความแปรปรวนระหว่างการศึกษา การศึกษาที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กจึงได้รับการถ่วงน้ำหนักที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

การที่ผลการศึกษาจากสองโมเดลนี่ต่างกันโดยเฉพาะ CI ที่กว้างกว่าของ random effects model แสดงว่า ความแปรปรวนระหว่างการศึกษามีมากซึ่งน่าจะเกิดจากลักษณะประชากรที่ศึกษาแตกต่างกัน การใช้วิตามินในขนาดที่แตกต่างกัน ระยะเวลาการศึกษาที่แตกต่างกัน และรูปแบบการศึกษาที่แตกต่างกัน

ดังนั้นถึงจะอิงผลจาก random effects model อย่างน้อยก็พอบอกได้ว่าการรับประทานอาหารเสริมหรือ ไม่ได้รับประทานอาหารเสริม ให้ผลต่ออัตราการเสียชีวิตไม่ต่างกัน
(ถ้าดูจาก tornado plot ของ random effects modelจะเห็นว่าค่า CI คร่อม 1 แต่เอนไปทางมากกว่า 1 )

จริงๆ แล้วคนเขียน systematic review ชิ้นนี้ก็ยอมรับว่าการศึกษาที่เลือกมาส่วนใหญ่ มีรูปแบบการศึกษาที่ไม่ค่อยดีนัก ถึงแม้ว่าจะเลือกมาเฉพาะ RCT ซึ่งเป็น gold standard ในการคัดเลือกการศึกษามาแล้ว แต่การศึกษาพวกนี้กลับไม่ค่อยทำตาม Consort statement ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงไป เขาจึงอยากให้มีการศึกษาที่ทำตาม Consort ออกมาอีกเยอะๆ เพื่อที่ในอนาคตจะได้ทำ systematic review จากการศึกษาพวกนี้

เห็นการศึกษานี้ในตอนแรกก็อยากทำ critical appraisal (การประเมินความเชื่อถือของงานวิจัย)แต่การทำ critical appraisal ใน systematic review มันยาก และต้องใช้เวลาพอสมควร เลยชี้ให้ดูได้แค่บางจุดครับ

Little RX


My Twitter

By: melodigaman
Windows Phone
on 19 April 2008 - 13:58 #48931
melodigaman's picture

ผมก็ไม่ได้กินนะครับของแพงๆพวกนี้

แต่ผมก็ไม่ค่อยเชื่อข้อมูลเทือกๆนี้เหมือนกัน

เพราะความเป็นจริงของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง

คือ อีกไม่นานมันก็จะล้าสมัยแล้วก็มีงานวิจัยใหม่ๆ

มาหักล้างทุกที...ผมชอบคำว่า"สมดุล ทางความคิด ทางการกระทำ"ครับ

แล้วเราก็จะไม่ถูกใครหลอกเอาง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องนี้ อาจเป็นเรื่องของ

"นักธุรกิจ+หมอ=พวกหัวหมอ"

อาจจะ..นะครับ อาจจะ..

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 19 April 2008 - 15:35 #48938

ข้อมูลดุไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ อีกอย่าง ผลต่าง 3% สำหรับผมผมว่ามันไม่มากเท่าไหร่นะ ไหนจะมีค่าความคลาดเคลื่อนอีก

ถ้าเอาจากนิยามทางด้านพิษวิทยาที่ว่า "สารทุกอย่างสามารถเป็นพิษได้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น" เรื่องนี้ก็คงไม่ได้แปลกเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยจนเกินกว่าจะถือเป็นสาระมากกว่ามั้งเนี่ย

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 19 April 2008 - 20:55 #48970 Reply to:48938
elixer's picture

ผลต่่าง 2.6% นี่มากนะครับ ถ้าคิดเป็น Number needed to treat (จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาเข้าไป แล้วเห็นผลจากความต่างนี้) ได้ประมาณ 38 เลยนะครับ

ยาลดความดันโลหิตที่ใช้กันในปัจจุบันก็มี NNT ในการป้องกันการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณนี้แหละครับ (10 - 60)

Little RX


My Twitter

By: macxide
iPhoneAndroid
on 19 April 2008 - 21:16 #48971

ก็มีแต่พวกคอยลอบกัดนั้นหละครับที่จะออกมายวิจัยเรื่องแบบนี้กัน ทั้งๆที่มันให้ผลกันดีๆอยู่แล้ว ถามหน่อยซิครับ Q10 ที่เค้าขาย ไอ้พวกหมอยังรักษาพวกที่เป็นหลอดเลือดหัวใจอุดตันไม่ได้เลย แต่ทำไม Q10 ช่วยขึ้นมาได้ มีแต่พวกนักวิจัยแบบชุ้ยๆกันนั้นหละที่ออกมาพูดกันแบบนี้ ใช้หลักความเป็นจริงกันหน่อยก็ดี สังคมไทยมักโดนองค์กรรัฐบางองค์กรเอาเปรียบ สุนัขไม่เลิก ขออภัยที่เขียนแรง ผมทนไม่ได้จริงๆ หากจะใช้ให้ได้ผลจริงๆ คุณเคยใช้ไหมหละ Q10, vit c อาจจะทำให้เสียชชีวิตก่อนวัยอันควร คิดผิดคิดใหม่นะครับ ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเลยสักนิด

ไปหาดูผู้ผลิตสินค้าต่างๆ เช่น NOW Food, พวกเมสัน ดูครับ เค้าวิจัยกันมาดีแล้ว เมืองไทยยิ่งอ่อนประสบการณ์เรื่องนี้อยู่ ยิ่งมาเจอข่าวนี้อีก เศร้าใจจัง คนที่เค้าไม่รู้เรื่องแล้วเค้าอยากหายเค้าก็ไม่มีโอกาศหาย เพราะมีพวกกัดไม่เลิกมาเอารัดเอาเปรียบอยู่แบบนี้ เมื่อไหร่ ไทยจะพัฒนากันเสียที

By: Amy on 19 April 2008 - 21:34 #48974

กลุ่มอาสาสมัครป่วยเป็นอะไรคะ แล้วสารอาหารเสริมที่นำมาทดลอง แน่จริงอย่าทดลองแค่สารเบสิคๆ(antioxidant — beta-carotene, วิตามิน A, วิตามิน C, วิตามิน E และ Selenium) น่ะ มันใช้กับโรคพวกนั้นได้เหรอ ถ้าสมมุติเกิดจากโรคที่มาจากเชื้อโรคและไวรัสต่างๆ คุณจะเอามาทำการทดลองกับอาหารเสริมแค่บางตัวได้ยังไงคะ นี่คือจงใจดิสเครดิตกันแล้ว นักวิจัยจงใจให้นักข่าวพาดหัวแบบเหมารวม ทั้งๆที่สารอาหารเสริมในโลกนี้ มีมากมายเยอะพอๆกับชื่อแมลงนั่นแหละ จากพืช จากสัตว์ จากการสังเคราะห์ชีวภาพ ไหนจะนำสารมารวมกันเป็นสูตรจดสิทธิบัตร หรือจดลิขสิทธิ์ชื่อ ขอบอกค่ะว่าสมุนไพรต่างๆ ก็เอามาขายเป็นอาหารเสริมเหมือนกัน อาหารเสริมไม่ได้แปลว่า วิตามินเอซีอี เบสิคๆแบบที่พวกนักวิจัยพยายามยัดเยียดนิยามให้ผิดๆ
บางคนก็โบราณซิปหาย พอเห็นเป็นกระปุกอาหารเสริม ก็ด่าแหลกว่าหลอกลวง มีการบอกว่ากินยาหม้อดีกว่ากันเยอะ ถามหน่อย อย่างสารสกัดขมิ้นก็สมุนไพรโบราณเหมือนกัน เค้ามาสกัด standardizedได้ Curcuminoids 95% กินแบบเม็ดสบายๆ ทำเป็นกระปุกขาย สะอาดสะอ้าน เพื่อให้เข้ากับวิถีคนรุ่นใหม่ พวกคุณก็ด่าแหลกเหมือนเค้าไปฆ่าบรรพบุรษงั้นแหละ มาบอกให้ต้มขมิ้นกินหรือกินแบบผงบดดีกว่า ก็ดีนี่ มันก็แล้วแต่คุณจะเลือก แต่ถามหน่อย มันก็ขมิ้นเหมือนกัน พอมันเข้มข้นขึ้นและวางขายในร้านขายอาหารเสริม ทำไมต้องคอยจับผิดและด่าแหลกลาญกันด้วย หรืออิจฉาที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำเงินได้มากกว่า
เวลาเอามาอยู่ในรูปแคปซูล เบื่อ เซ็ง นักวิจัยประเภทโภชานาการต่ำ โรคภัยสูง
สารอาหาร เยอะแยะไปหมด หัดgoogleดูมั่ง นักวิจัยพวกนี้ วันๆทำอะไรนอกจากจับผิดคนอื่น ขัดแข้งขัดขา ถ้าสมมุติคนไข้เป็นโรคติดเชื้อ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนมาให้ วิตามินซี Zinc หรือ สารสกัดกระเทียม สารเบต้ากลูแคน สารสกัดจากพืชบางชนิด รวมไปถึง สารสกัดเห็ดบางชนิด แต่นี่คุณมุ่งเจาะจงไปให้สารอาหารที่มันไม่ถูกกับโรค อย่างเช่น คนไข้ติดเชื้อมากๆ เจือกไปให้วิตามินเอเข้มข้น ก็ตายห้าตายสิบพอดีสิคะ นี่คุณทำการวิจัยดิสเครดิตและลวงโลก เพียงเพื่อจะขายยาหมอให้ได้มากขึ้น เพราะกระแส Nutritional medicine มันแรงไปใช่มั้ยคะ

By: lee
ContributorAndroidWindows
on 19 April 2008 - 22:07 #48978 Reply to:48974
lee's picture

"พวกคุณก็ด่าแหลกเหมือนเค้าไปฆ่าบรรพบุรษงั้นแหละ มาบอกให้ต้มขมิ้นกินหรือกินแบบผงบดดีกว่า ก็ดีนี่ มันก็แล้วแต่คุณจะเลือก แต่ถามหน่อย มันก็ขมิ้นเหมือนกัน พอมันเข้มข้นขึ้นและวางขายในร้านขายอาหารเสริม ทำไมต้องคอยจับผิดและด่าแหลกลาญกันด้วย"

อ่านใน http://www.guardian.co.uk/science/2008/apr/16/medicalresearch

และ http://www.cochrane.org/reviews/en/ab007176.html

เค้าไม่ได้ด่าอะไรเลยนิครับ งง

ผลงานวิจัยแค่บอกว่า

"The evidence suggests it would be safer to obtain the chemicals not as supplements but by eating plenty of fruit and vegetables"

อยากให้คุณ Amy ใจเย็นๆครับ ลองไปอ่านตัว summary กับ abstract ก่อนดีกว่า ส่วนตัวผมก็ทานอาหารเสริมพวกนี้อยู่แล้วเป็นประจำและทุกวันด้วย

By: lee
ContributorAndroidWindows
on 19 April 2008 - 21:58 #48977
lee's picture

วันก่อนเพิ่งดูข่าวหยกๆเอง

ตอนนี้ทาน LifePak ของ Pharmanex (Nu Skin เป็นคนขาย)

ข้างกล่องมี "beta-carotene, วิตามิน A, วิตามิน C, วิตามิน E และ Selenium" หมดเลย

จะรอดไหมนี่ เรา

By: Amy on 19 April 2008 - 22:52 #48979

“พวกคุณก็ด่าแหลกเหมือนเค้าไปฆ่าบรรพบุรษงั้นแหละ มาบอกให้ต้มขมิ้นกินหรือกินแบบผงบดดีกว่า ก็ดีนี่ มันก็แล้วแต่คุณจะเลือก แต่ถามหน่อย มันก็ขมิ้นเหมือนกัน พอมันเข้มข้นขึ้นและวางขายในร้านขายอาหารเสริม ทำไมต้องคอยจับผิดและด่าแหลกลาญกันด้วย”

อ่านใน http://www.guardian.co.uk/science/2008/apr/16/medicalresearch

และ http://www.cochrane.org/reviews/en/ab007176.html

เค้าไม่ได้ด่าอะไรเลยนิครับ งง

ผลงานวิจัยแค่บอกว่า

“The evidence suggests it would be safer to obtain the chemicals not as supplements but by eating plenty of fruit and vegetables”

อยากให้คุณ Amy ใจเย็นๆครับ ลองไปอ่านตัว summary กับ abstract ก่อนดีกว่า ส่วนตัวผมก็ทานอาหารเสริมพวกนี้อยู่แล้วเป็นประจำและทุกวันด้วย

ที่โพสนี่ ไม่ได้เถียงให้งานวิจัยนี้อันเดียวนะคะ แต่มันอัดอั้นมาจากคำพูดของนักวิชาการในไทยหลายๆคน

แต่ข่าวพาดหัววันนี้ทำให้ต้องออกมาพูดค่ะ

นักวิจัยพวกนี้ ต่อยอดนี่น้อยมาก ถนัดหักล้างกัน

By: Mr.JoH
Writer
on 20 April 2008 - 02:12 #48998

เฮ้อ ลามมาถึง blognoneด้วย

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: macxide
iPhoneAndroid
on 20 April 2008 - 12:21 #49040 Reply to:48998

ก็เค้ามาลามกันก่อนอ่า ยาเค้าดีๆ ทำไมไม่เทสอะไรที่มันมีเกรดมากกว่านี้อ่า หากพวกนักวิจัยเค้ามีสัจธรรมของคนเองเค้าคงไม่ได้มาทำ project แบบนี้หรอกอ่า...

By: ds2kGTS
ContributorAndroidSymbianUbuntu
on 20 April 2008 - 13:47 #49045 Reply to:49040
ds2kGTS's picture

ที่ Mr.JoH บอกว่าลามมาถึง Blognone คงไม่ได้หมายถึงตัวข่าวหรอกครับ

By: Mr.JoH
Writer
on 20 April 2008 - 14:08 #49048 Reply to:49040

ว่าจะไม่เข้ามาตอบแล้วเชียว.....

"ยาเค้าดีๆ" คุณเอาอะไรมาวัดครับ ? สุดท้ายคุณก็ต้องพึ่งผลการวิจัยอยู่ดี

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: macxide
iPhoneAndroid
on 20 April 2008 - 17:30 #49068 Reply to:49048

ผลวิจัยส่วนมาก antioxidant ที่อยู่ในวิทตามินอื่นที่เค้ามาวิจัย มันได้เอามาวิจัยรอบนี้ไหมหละ ส่วนมากเอามาแต่พวกวิทตามินเบสิกอยู่แล้วเหมือนคุณamyกล่าว ทำไมไม่ลองเอาพวกวิทตามินสูงๆมาหละ อันนี้มากล่าวโดยรวมดิ พวกวิทตามินสูงๆก็ซวยกันซิ ข่าวนี้กระทบภาพลักษณ์ทุกอย่าง ไม่ได้กระทบแค่วิทตามินที่มาวิจัยที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างเดียว หากคนอื่นเห็นคนแค้นกันพอดี ง่ายๆ คนไทยรู้เรื่องพวกนี้มากน้อยแค่ไหน ส่วนมากก็ไม่รู้กัน แค่เห่อตามยีห้อเป็นหลักเท่านั้นเอง ที่ว่าตายเร็วเพราะทดลองกันเกินขนาดที่ร่างกายจะรับไหว แล้วมาเขียนข่าวโบยๆแบบนี้ แล้วบริษัทใหญ่ๆที่เค้าผลิตมามันกำหนด mg ให้มาดีอยู่แล้ว มีแต่พวกเวอร์เกินนั้นหละที่จับโน้นจับนี้มาทดลองเกินที่ร่างกายจะรับไหว

By: chakrit
ContributoriPhone
on 20 April 2008 - 22:05 #49088
chakrit's picture

Tech News That's Worth?

By: MN on 20 April 2008 - 22:22 #49089

อ่านไปมาหลายเที่ยว ก็ยังไม่เข้าใจว่าสองคนเขาโมโหอะไรนักหนา ก็วิจารณ์paperสิ ว่ามีข้ออ่อนตรงไหน แล้วQ10คืออะไร ไอ้พวกหมอเป็นใคร Q10ช่วยได้ ช่วยอะไรใครได้ ไม่รู้เรื่องหมายถึงอะไร

By: zybernav
WriterAndroidUbuntu
on 21 April 2008 - 03:28 #49102

ไม่ได้คิดว่าจะทำให้เป็นประเด็นนะครับ แต่ว่าเห็นว่าตอนนี้หลาย ๆ คนให้ความสนใจกับการใช้อาหารเสริมต่าง ๆ กันมาก รวมทั้ง บริษัทที่ขายอาหารเสริม ก็พยายามจะทำการศึกษาวิจัยสนับสนุนประโยชน์ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นแนวคิดในอีกทางหนึ่งครับ

เท่าที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางการแพทย์นี่ การศึกษาแบบ meta-analysis มีข้อดีตรงที่ รวบรวมผลการวิจัยจากหลาย ๆ ที่ที่วิจัยเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน แล้วนำมาสรุป-แปลผล ทำให้ลดโอกาสที่ความลำเอียง (bias) ของงานวิจัยในแต่ละชิ้นให้น้อยลงได้ แต่มันก็มีปัญหาตรงที่ raw material ที่นำมาใช้นั้น ก็อาจจะยังไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ (แม้ว่าจะเป็น Randomized Controlled Trial) ก็ตาม ซึ่งในที่สุดแล้ว อาจจะเป็นตัวจุดประกายให้เกิดการทำ trial ขนาดใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้

แต่ในระหว่างที่รอข้อมูลตัดสินนั้น ผมว่า ฟังทุกสิ่งทุกอย่างแบบเผื่อไว้อีกหูนึงก็ดีเหมือนกันครับ

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 21 April 2008 - 12:17 #49115
zerocool's picture

อยากรู้จังว่าคำว่า "วิตามินสูงๆ" ของคุณ macxide นี้หมายถึงอะไรนะ เห็นพิมพ์หลายครั้งแล้วแต่ไม่เคยจะยกตัวอย่างเลยสักครั้ง

ในความคิดเห็นส่วนตัวผมว่าความคิดเห็นของคุณ Amy และคุณ macxide มีความโน้มเอียงค่อนข้างมาก โดยลักษณะการอธิบายจะเป็นว่า paper ชิ้นที่เป็นข่าวนี้ไม่ดี คนที่ค้นคว้าสรุปผลจากการทดลองที่ไม่มีประสิทธิภาพ แล้วก็บอกว่ามีการวิจัยอื่น ๆ ที่ดีกว่าบ่งชี้ว่าการกินวิตามินอาหารเสริมประเภท anti-oxidant ดีต่อสุขภาพและช่วยให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น

ผมว่าการอธิบายในลักษณะนี้แต่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงประกอบ มันก็เหมือนการกล่าวหาแบบเลื่อนลอยอย่างหนึ่งนะครับ งานวิจัยในข่าวยังมี reference ที่ชัดเจนมากกว่าเสียอีก

ปล. ผมก็เป็นคนหนึ่งที่กินวิตามินทุกวันนะครับ ผมกินเพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่ากินแล้วจะดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่ผมก็ไม่ได้ปิดกั้นที่จะรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประเภทนี้ บางทีสุดท้ายวิตามินที่ผมกิน ๆ อยู่ทุกวันอาจจะสู้ placebo ไม่ได้ก็เป็นได้


That is the way things are.

By: fujitarc on 21 April 2008 - 23:08 #49136

เคยอ่านใน Reader's Digest ไม่นึกว่าเป้นเรื่องจริง
Vitamin A,E เบต้าแคโรทีนกินมากๆไม่ดี รู้นานแล้วครับ พวกหมอสิว Skin เค้าให้กิน Vit A เพื่อแก้สิว แต่อันตรายต่อตับ....

อาหารกินแล้วเป็นมะเร็งมีข่าวทนโท่ ไม่ตื่นตูมกัน มาตื่นตูมกับแค่เรื่องอาหารเสริม
ถามหน่อยเถอะ ไอ้พวกวิจัยนี่จ้องจับผิดอะไรรึเปล่า??

-ถ้าบอกว่ากินอาหารเสริมในคนที่ร่างกายแข็งแรง งั้นกินผักผลไม้มากๆจะตายเอา???
่-งั้นทำไมคนที่กินอาหารเสริมถึงแก่ช้ากว่าคนไม่กินล่ะ???
-คนแก่ชาวจีนที่อยู่บ้านนอก อาหารพวกผักอุดมสมบูรณ์ มีสารพวกนี้ในอาหารเสริมเหมือนกัน ทำไมอยู่ได้ถึง 120 ปี???

*** ดูไงก็เหมือนเป็นการ Discredit มากกว่า เป็นเรื่องของคนขายของกับคน Anti ของที่เค้าขายเสียมากกว่านะครับ

ฟังหูไว้หูแล้วกัน.....

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 22 April 2008 - 08:24 #49157
elixer's picture

เคยอ่านใน Reader’s Digest ไม่นึกว่าเป้นเรื่องจริง Vitamin A,E เบต้าแคโรทีนกินมากๆไม่ดี รู้นานแล้วครับ พวกหมอสิว Skin เค้าให้กิน Vit A เพื่อแก้สิว แต่อันตรายต่อตับ….

  • ที่ใช้รักษาสิวคืออนุพันธ์ของวิตามิน A ชื่อว่า Isotretinoin ซึ่งจดทะเบียนเป็นยาแล้วครับ ไม่ใช่อาหารเสริม ส่วนผลต่อตับเป็นผลข้างเคียงที่ทราบอยู่แล้วว่าต้องเกิด (known side effect)

อาหารกินแล้วเป็นมะเร็งมีข่าวทนโท่ ไม่ตื่นตูมกัน มาตื่นตูมกับแค่เรื่องอาหารเสริม ถามหน่อยเถอะ ไอ้พวกวิจัยนี่จ้องจับผิดอะไรรึเปล่า??

  • ต้องจับผิดหลายอย่างครับ ถ้าสนใจลองอ่านเอกสารเรื่อง Critical appraisal of systematic review ดูครับ

ถ้าบอกว่ากินอาหารเสริมในคนที่ร่างกายแข็งแรง งั้นกินผักผลไม้มากๆจะตายเอา??? ่-งั้นทำไมคนที่กินอาหารเสริมถึงแก่ช้ากว่าคนไม่กินล่ะ??? -คนแก่ชาวจีนที่อยู่บ้านนอก อาหารพวกผักอุดมสมบูรณ์ มีสารพวกนี้ในอาหารเสริมเหมือนกัน ทำไมอยู่ได้ถึง 120 ปี???

  • การศึกษานี้ก็บอกแล้วว่าศึกษาเฉพาะ antioxidant ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่รวม antioxidant ในผัก ผลไม้ ดังนั้นผลการศึกษานี้เอามาใช้กับคนที่กิน antioxidant ในผัก ผลไม้ ไม่ได้อยู่แล้วครับ แถมผู้ทำการศึกษาก็สรุปแค่

ไม่สนับสนุนให้ใช้ อาหารเสริมที่เป็น antioxidant ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวบางโรค

ปล. ที่มาตอบหลายๆ อันนี้ผมไม่ได้ต่อต้านการใช้อาหารเสริมนะครับ เพราะทุกวันนี้ผมก็ยังทานวิตามินรวมอยู่ เพราะผมเป็นคนทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เลยจำเป็นที่จะต้องเสริมพวกวิตามินครับ

Little RX


My Twitter

By: fujitarc on 25 April 2008 - 22:51 #49582 Reply to:49157

อืม แบบนี้นี่เอง ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
ผมเชื่อว่าเดี๋ยวนี้น้อยคนนักที่จะกิน "ครบ 5 หมู่จริงๆ" นะครับ เพราะเร่งรีบไปทำงานน่ะ
เช้า ขนมปัง ไส้กรอก ไข่ดาว กาแฟ โอวันติน--. แป้ง ไขมัน น้ำตาลทั้งนั้น
เที่ยง พวกข้าวขาหมุ ข้าวมันไก่ หรือดีๆหน่อยก็ข้าวแกงแถวๆนั้น -->~ ข้าวก็แป้ง ไก่ก็โปรตีนน้อยมาก (เล่นบี้ซัแบนนี่ ฮา~~)
เย็น แล้วแต่คน

แต่โดยรวมคือ โอกาสที่จะกินได้ครบ "ยาก" เหลือหลายครับ
ยิ่งคนเป็นภูมิแพ้นี่ยิ่งต้องทานวิตามินเสริมเลย อากาศในเมืองยิ่งสกปรกอยู่ด้วย ไหนจะพวกปิ้งๆย่างๆอีก
ต่อให้แข็งแรงไง เจอไอ้ของพวกนี้ตายผ่อนส่งอยู่แล้ว...

By: aimakung
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 22 April 2008 - 11:23 #49169

ส่วนตัวไม่เคยเื่ชื่อว่ายาที่สกัดมาจะดีกว่าอาหารหลัก 5 หมู่หรอกครับ
ถ้าไม่ได้ป่วยอะไรนะ กินแต่พอดีดีที่สุด

ป.ล. ยกเว้นจะไม่มีโอกาสได้กินครบจริงๆ มีตัวช่วยบ้างก็น่าจะีดีกว่า :)

By: 7
Android
on 25 April 2008 - 00:29 #49513
7's picture

ผมอ่านดู เขาก็ว่าถูกนะ ว่ามันไม่มีผลกับอายุขัยแต่อย่างใด
เพราะไม่มีใครรู้ว่าตนเองจะตายเมื่อใดอยู่แล้ว ถึงจะแข็งแรงแค่ใหนก็เหอะ
ก็ไม่ได้ประกันว่าจะจะมีอายุขัยเท่าใด อิอิ

7blogger.com

By: sirichai on 4 May 2008 - 06:54 #50587

Dear all healthy,

If you'd like to know your antioxidant level by
-non invasive
-use 3 minnutes
-100 bath a head ( hospital charge 5,000 bath )
-95% reliability

Please be scanned at
-SCB park or
-Silom complex by

Wednesday or Saturday : 13.00-18.00

Reservation in advance : K.Sirichai : 081-659-4616

Scientific Reference :

  1. Federation of American Societies for Experimental Biology ( FASEB) meeting , April 2006
  2. Prestige international Antioxidant Summit in China , June 2005
  3. Scientific meeting on antioxidant organized by the oxygen club of California , February 2004
  4. Gordon research Conference , January 2004
  5. Scientific Conference of New York Academy of Science , February 2003

The Biophotonic Scanner is a lifestyle measuring device that indicates carotenoid levels in human tissue at the skin surface using optical signals. Carotenoids are a particular type of antioxidant nutrient found in many types of fresh fruits and vegetables.

Receiving a scan involvesplacing the palm of your hand in front of the Scanner’s low-intensity blue light for a few minutes. It is a painless, non-invasive procedure.

The signals generated by the scanning process identify the unique molecular structure of carotenoids, allowing their measurement without interference by other molecular substances and providing the person being measured with a Skin Carotenoid Score (SCS). ไม่อนุญาตให้เขียน เบื่อมากที่จะลบ is the exclusive owner of the patented Biophotonic Scanner technology for the measurement of skin carotenoids in a non-medical environment.

There are many factors that influence your Skin Carotenoid Score:

  1. Your diet. People who eat high amounts of carotenoid-rich fruits and vegetables normally have
    higher readings.
  2. Your supplementation. Typically, people who regularly consume antioxidant supplements have
    higher scores.
  3. Your body fat percentage. People who are overweight or have a high level of body fat for their
    height and gender often have a low score.
  4. Your Lifestyle. High levels of oxidative stress and exposure to free radicals can decrease your
    score. Tobacco smoke, stress, sunlight, pollution and toxins are common sources of free radicals.
  5. Your genes. Individual differences in your body's predetermined ability to absorb carotenoids will
    impact your Skin Carotenoid Score