เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย ได้คิด "Parametron" ซึ่งเป็นวงจรไฟฟ้าที่สามารถนำไปสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ได้ แนวคิดนี้ไม่มีใครสนใจ จนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถให้ชีวิตใหม่กับแนวความคิดนี้ได้ และงานของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จะนำไปสู่ก้าวใหม่ของคอมพิวเตอร์ที่อิงบนกลไกมากกว่าการสั่งงานด้วยไฟฟ้า
ปัจจุบันนี้ "0" และ "1" เป็นตัวเลขดิจิทอลที่สำคัญในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะถูกระบุด้วยทรานซิสเตอร์ที่จะมี ความต่างศักย์ที่ 0 หรือ ที่ 1 ผ่าน Parametron จะตอบสนองต่อการสั่นของ oscillator ไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นความถี่ คอมพิวเตอร์ที่อิงความรู้นี้ได้ถูกผลิตขึ้นแต่แนวความคิดไม่ได้ถูกใช้เพราะปัญหาในการจ่ายพลังงานและทราสซิสเตอร์ที่มีความไวมากกว่า
ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น นักวิจัยจากบริษัท NTT ในญี่ปุ่น ได้พัฒนา Parametron ขนาดนาโนขึ้นโดยมีความคล้ายสะพาน มีความลึก 4 ไมโครเมตร สะพานยาว 260 ไมโครเมตร กว้าง 84 ไมโครเมตรและหนา 1.35 ไมโครเมตร และใช้ gallium arsenide (GaAs) เป็นวัตถุดิบในการสร้าง ตอนปลายของสะพานทั้ง 2 ข้างจะมีลักษณะเป็นแซนวิช คือจะมีชั้นบาง ๆ ของ GaAs อยู่ระหว่างทองคำที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรด และระบบไฟฟ้าแบบ 2 มิติ เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติ สะพานจะเกิดการสั่นตัวแบบขึ้นลง การเคลื่อนไหวแบบกายภาพจะทำให้เกิดการแทนที่อะตอมในชั้นบาง ๆ ของ GaAs เพื่อตอบสนองต่อศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดประจุบวกและลบที่แบ่งแยกด้วยชั้นบาง ๆ แล้วทำให้เกิดการตึงไปยังความยาวของสะพาน สะพานจะเกิดการงอ และนี้จะเปลี่ยนไปสู่ความถี่เรโซแนนท์ต่อไป การเกิดเรโซแนนท์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเก็บข้อมูลได้
ที่มา -จาก foosci.com โดย Physorg
ต้นฉบับ - Bit storage and bit flip operations in an electromechanical oscillator
Comments
พิมพ์ผิดหลายจุดครับ
เป้น ===> เป็น
เทคโนดลยี ===> เทคโนโลยี
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
โอ้ว ปวดหัวดีแท้
ผมทำ fundamental ต่อไปดีกว่า ลึก ปวดหัว ไม่มีค่อยมีคนสนใจ แถมไม่มีงานทำอีก T-T
น่าจะง่ายกว่า Quantum Computer
มีหลายเรื่องบนโลกนี้ที่เราไม่ควรไปยุ่งครับ 55+
๕ ๕ ๕
ผมก็อ่านไปงั้นแหละครับ เห็นมันน่าสนใจ อ่านไปไม่เข้าใจหรอก ยากเกินไป แต่อ่านแล้วมันส์ในอารมณ์
อ่านแล้ว มึน งง ไปหมด อย่างนี้ต้องใช้เซียงเพียวอิ๊ว
555
น่าจะเป็นข่าวแบบนี้แทน
"Girly berry จะนำคุณสู่ยุคคอมพิวเตอร์แบบใหม่"
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย ได้คิด “Girly berry nano skirt” ซึ่งเป็น skirt ที่สามารถนำไปสร้างเป็นของจริงได้ แนวคิดนี้ไม่มีใครสนใจ
จนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถให้ชีวิตใหม่กับแนวความคิดนี้ได้ และงานของกลุ่มนี้จะนำไปสู่ก้าวใหม่ของ skirt แบบเล็กจิ๋ว
ปัจจุบันนี้ “ดึ๋ง” และ “ดั๋ง” เป็นสิ่งสำคัญในการเก็บข้อมูล skirt
จะตอบสนองต่อการสั่นของ owner leg และเปลี่ยนเป็นเสียง ..."โอว แจ่มเลยน้อง"
ปัจจุบัน nano skirt เข้ามามีบทบาทมากขึ้น นักวิจัยจากบริษัท RSS ในญี่ปุ่น ได้พัฒนา skirt ขนาดนาโนขึ้นโดยมีความคล้ายกระดาษชำระ มีความลึก 1 มิลลิเมตร ยาว 60 เซนติเมตร กว้าง 15 เซนติเมตรและหนา 0.1 เซนติเมตร และใช้ Transparent Object เป็นวัตถุดิบในการสร้าง
ตอนปลายของ nano skirt ทั้ง 2 ข้างจะมีลักษณะเป็นแซนวิช คือจะมีชั้นบาง ๆ ของ Transparent Object อยู่ระหว่าง UW ที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรด และระบบไฟฟ้าแบบ 2 มิติ เมื่อเสียงเพลงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติ owner leg จะเกิดการสั่นตัวแบบขึ้นลง
การเคลื่อนไหวแบบกายภาพจะทำให้เกิดการแทนที่อะตอมในชั้นบาง ๆ ของ UW เพื่อตอบสนองต่อศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดประจุบวกและลบที่แบ่งแยกด้วยชั้นบาง ๆ (UW) แล้วทำให้เกิดการตึงไปยังความยาวของ Male (อ่านว่า มาเล เป็นวัตุชนิดหนึ่ง) จะเกิดการงอ และนี้จะเปลี่ยนไปสู่ความถี่เรโซแนนท์ต่อไป การเกิดเรโซแนนท์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเก็บข้อมูลได้
แย่ละ...ผมเริ่มพาออกทะเลอีกแล้่ว
555
โอ้ว โคตรเด็ด
ดีกว่า 0 และ 1 อย่างไร ?
ผมเป็นคนนึงล่ะ ที่จะไม่ยุ่งเรื่องแบบนี้เด็ดขาด....
ปล่อยให้นักวิทยาศาสตร์เค้าทำหน้าที่ไปเถอะ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
พยายามพูดให้ง่ายๆ ไม่รู้จะง่ายหรือเปล่า
มันเป็นอุปกรณ์กึ่ง mechanics กึ่ง electronics
คือไม่ได้ใช้เพียงแค่ไฟฟ้าในการทำงาน
แต่ใช้การเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ในวงจรด้วย
อุปกรณ์นี้ จะสั่นที่ความถี่ธรรมชาติของมัน (เหมือนเวลาเคาะส้อมเสียง ดีดสายกีต้า)
เราสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อเก็บสถานะ (เก็บข้อมูล) โดยใช้การสั่นของมันได้
กล่าวคือ อุปกรณ์นี้ สามารถใช้ไฟฟ้าเพื่อ "ดีด" ให้มันสั่น
เราสามารถเก็บ "ข้อมูล" โดยใช้สถานะการสั่นของมัน
การเขียนข้อมูลลงไป ทำได้โดยส่งไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของอุปกรณ์นี้