ในเวลานี้ที่เทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติกำลังมาแรงสุดๆ งานค้นคว้าวิจัยใช้ประโยชน์งานพิมพ์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ, งานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ทั้งการสร้างบ้าน, สร้างรถ หรือจะเพื่อการแพทย์อย่างใช้การพิมพ์ 3 มิติสร้างเนื้อเยื่อตับไว้ทดสอบยา, สร้างกระดูกเทียมก็ยังมี แน่นอนว่าสร้างหุ่นยนต์ก็ย่อมได้ แต่วันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวหน้ามากขึ้นจนสามารถทำชิ้นงานขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ส่งผลให้นักวิจัยสามารถสร้างหุ่นยนต์อสุจิได้แล้ว
คาดกันว่าในอนาคต คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ รวมทั้งเครื่องพกพาต่างๆ ตั้งแต่เครื่องโทรศัพท์มือถือ และกล้องถ่ายภาพ ไปจนถึงเครื่องเล่นเพลงและเครื่อง laptops จะมีสมรรถนะที่ดีขึ้น อันเป็นผลจากการแข่งขันกันพัฒนาหน่วยความจำ (memory) ที่สามารถสนองตอบความต้องการและความพึงพอใจที่ต้องการหน่วยความจำจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดเล็กลง
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม กำลังหาช่องทางใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของ “ท่อนาโนคาร์บอน” (carbon nanotube) เพื่อประดิษฐ์เซ็ลหน่วยความจำที่มีราคาถูกและเล็กกะทัดรัดโดยใช้กำลังไฟต่ำและมีความเร็วในการจัดเก็บข้อมูลสูง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pensylvania) ได้สร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อยู่บนพื้นฐานของลวดนาโน (Nanowire) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนบิตได้มากกว่าหน่วยความจำแบบทั่วไป แทนที่จะเก็บข้อมูลอยู่ในรูปของ "0", "1" ก็จะสามารถเก็บได้เป็น "0", "1" และ "2" ความสามารถดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลรุ่นถัดไป ซึ่งมีความจุของข้อมูลสูงกว่าเดิม
ลวดนาโนที่ทางทีมวิจัยนำมาใช้ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับสาย โคแอ็กเชียล (Coaxial) โดยส่วนของแกนทำด้วยสารประกอบระหว่าง เจอร์เมเนียม, เงิน, เทลลูเรียม หรือ Ge2Sb2Te5 ในขณะที่ส่วนนอกสร้างมาจาก เจอร์มันเนียม เทลลูไรด์ หรือ GeTe
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย ได้คิด "Parametron" ซึ่งเป็นวงจรไฟฟ้าที่สามารถนำไปสร้างเป็นคอมพิวเตอร์ได้ แนวคิดนี้ไม่มีใครสนใจ จนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถให้ชีวิตใหม่กับแนวความคิดนี้ได้ และงานของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จะนำไปสู่ก้าวใหม่ของคอมพิวเตอร์ที่อิงบนกลไกมากกว่าการสั่งงานด้วยไฟฟ้า
ก้าวกระโดดที่ใหญ่มากสำหรับการทำนาโนแมชชีน เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอริโซน่า ได้พัฒนานาโนมอเตอร์แบบใหม่ที่มีพลังมากว่าแบบเดิมถึง 10 เท่าและจะตีพิมพ์ลงวารสาร ACS Nano ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้
ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเชื่อกันว่า การใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carboon Nanotube) น่าจะเป็นความหวังใหม่ในการกักเก็บไฮโดรเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell)
แต่จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาคาร์บอนนาโนทิวบ์ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ในการใช้กักเก็บไฮโดรเจน ทำให้ความต้องการที่ใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ยังคงมีความจำเป็นต่อไป
CBS 13/4/51 รายการ 60 Minutes ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ Kanzius Machine ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นโดย John Kanzius นักประดิษฐ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคลื่นวิทยุ ผู้ซึ่งเคยล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ร่วมกับทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Steve Curley แห่ง M.D. Anderson เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยแนวคิด และวิทยาการทางด้าน nanotechnology ร่วมกับการใช้คลื่นวิทยุ
คงเคยเห็นการใส่วัตถุขนาดนาโนเมตรเพื่อวิเคราะห์โรคมะเร็งในหนูมาแล้ว ตอนนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยนักวิจัยได้พบประสิทธิภาพของวัตถุขนาดนาโนในการระเบิดมะเร็งให้สลายตัว
วิธีการคือใส่วัตถุขนานนาโน 2 ชิ้นมีชื่อว่า nanothermite ทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนและเชื้อเพลิง สามารถสร้างคลื่นจุดระเบิดซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายเซลล์มะเร็งด้วยความเร็ว 1,500 ถึง 2,000 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากมาใช้ในร่างกายสิ่งมีชีวิตแล้ว นักวิจัยกล่าวว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเมื่อทดลองกับเนื้อเยื่อหนูพบอัตราสำเร็จอยู่ที่ 99%
เทคโนโลยีนี้จะพร้อมใช้ได้ในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า
ที่มา - Engadget.com
มีใครเคยคิดบ้างว่าหุ่นยนต์ระดับนาโนตัวเล็กจิ๋วจะใช้พลังงานจากอะไร อาจจะเป็นแบตเตอรี่จิ๋ว การเหนี่ยวนำ หรืออะไรอีกร้อยแปด แต่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ที่ Cornell ได้คิดวิธีสร้างพลังงานแบบใหม่โดยใช้เทคนิคของ อสุจิ อสุจิตัวกระจิ๊ดริ๊ดแต่มีพลังงานเหลือเฟือที่จะเคลื่อนที่ว่ายไปตามของเหลว นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่จะจำลองความสามารถของอสุจิใส่เข้าไปในหุ่นยนต์นาโนเพื่อส่งเข้าไปในร่างกายโดยที่ไม่มีผลกระทบกับร่างกาย จากการวิจัยอสุจิก็ทำให้พบว่าอสุจิของเรานั้นประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเก็บพลังงานเริ่มต้น ส่วนที่สองคือหางที่ปั่นสุดชีวิตเพื่อให้เกิดพลังงานต่อเนื่องเสริมให้อีกชั้น การวิจัยนี้คือมาเน้นที่ส่วนที่ 2 ซึ่งแยกส่วนออกมาเป็นเอนไซม์ 10 ตัว ณ สถานะล่าสุดนักวิจัยได้นำเอนไซม์ 2 ตัว