Tags:
Node Thumbnail

ข่าวดีสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีลูกหลานเเหลนโหลน ชอบเล่นเกม หากลูกหลานของท่าน เป็นเซียนเกมชั้นอ๋อง รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์อาจจะตกอยู่กับลูกหลานของท่านโดยไม่รู้ตัว

สำหรับผู้ที่เล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ คงจะเคยใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน ในการเล่นเกมที่โปรดปรานให้จบหมดทุกด่าน จบแบบธรรมดาไม่พอ ต้องจบแบบเก็บได้ครบทุกไอเท็ม อีกต่างหาก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington University) เล็งเห็นประโยชน์ของเหล่าบรรดาเกมเมอร์เหล่านี้ ก็เลยพัฒนาเกมที่มีส่วนช่วยในการวิจัยขึ้นมา เกมส์ดังกล่าวมีชื่อว่า Foldit

ก่อนที่เล่นเกมนี้แล้วได้รางวัลโนเบล ก็ต้องอธิบายหลักการในเบื้องต้นก่อน เนื่องจากในร่างกายของมนุษย์เรา ประกอบไปด้วยโปรตีน และโปรตีน ก็สามารถมีูรูปแบบต่างๆ ได้มากกว่า 100,000 รูปแบบ รวมถึงมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีที่ไม่เหมือนกัน เรารู้รหัสพันธุกรรมบางส่วนของโปรตีน แต่เราไม่รู้ว่ามันจะโค้งงอเปลี่ยนรูปร่างซับซ้อนได้อย่างไร ซึ่งรูปร่างของโปรตีน ถือเป็นส่วนสำคัญมากในทางชีววิทยา

ถ้าหากมีคนนึกออก เคยมีโครงการอย่าง Rosetta@Home ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์ของอาสาสมัครในการประมวลผล แต่ด้วยยอดสมาชิกในปัจจุบัน ที่มีประมาณ 200,000 คน ก็ยังไม่พอกับความต้องการดังกล่าว

เกม Foldit กับ โปรแกรม Rosetta ก็อาศัยรากฐานเดียวกัน แต่ในขณะที่ Rosetta@Home อาศัยเวลาว่างจากการประมวลผลมาช่วยในการคำนวณ แต่ Foldit อาศัยพลังสมองจากคนที่ว่างพอจะมาเล่นเกม ซึ่งเกมดังกล่าวไม่ต้องการอะไรมาก นอกจากความสามารถในการแก้ปัญหารูปร่าง 3 มิติเท่านั้น

ปัจจุบันนี้ มีผู้ที่เล่นเกมส์นี้้แล้วกว่า 1,000 คน และในอนาคต อาจมีการจัดแข่งขันระหว่างเกมเมอร์ กับ กลุ่มนักวิจัยที่ทำเรื่องโปรตีน โดยวางแผนไว้ว่า จะมีการจัด 2 ปี ครั้ง

สำหรับผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด ก็จะมีการใส่ชื่อลงไปในผลงานที่ตีพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสำหรับผู้ที่ชนะในการออกแบบโปรตีน ทางทีมวิจัยก็อาจนำการออกแบบนั้น มาสร้างเป็นโปรตีนที่ใช้งานได้จริง ซึ่งถ้าหากสามารถนำไปแก้ปัญหาโรคระบาดที่ร้ายแรงในปัจจุบัน (เอดส์,มาลาเรีย) เหล่าเกมเมอร์ก็อาจมีสิทธิคว้ารางวัลโนเบลอีกด้วย

ดีจัง จะได้มีข้ออ้างในการเล่นเกม

ข้อมูลเพิ่มเติม

Foldit เว็บไซท์ของเกม (ขณะที่เขียนข่าวยังไม่สามารถเข้าได้)

Rosetta@Home

ที่มา - EurekAlert via Jusci.net

Get latest news from Blognone

Comments

By: Framekung
iPhone
on 9 May 2008 - 20:17 #51282

ถ้าเล่นเกมอ่วมขนาดนี้ ผมก็คิดว่าค่าไฟคงบานตะไทแน่ นี่อย่างที่หนึ่ง
อย่างที่สองก็มีหวังดังเป็นข่าวแน่

มันเกือบจะเป็นข่าวที่ดีสำหรับน้องผมนะเนี่ย

By: ABZee on 9 May 2008 - 20:21 #51284

ผมว่าต้นฉบับมันเกินจริงไปหน่อย ถ้ามีชื่อเราในงานตีพิมพ์จริงชื่อมันก็คงอยู่ตรงกลางๆ ไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าชื่อแรกและชื่อสุดท้าย ซึ่งถ้างานนั้นมีผลกระทบขึ้นมาจริงๆคนอื่นในรายชื่อก็น่าจะมีสิทธิ์ด้รับรางวัลมากกว่าอยู่ดี

PoomK

By: Mr.JoH
Writer
on 9 May 2008 - 20:25 #51286 Reply to:51284

+10 เห็นด้วยว่า ถ้ามีการรับรางวัลจริงๆ คนที่ได้ก็น่าจะเป็นคนอื่นๆอยู่ดี (อย่างเช่นคนสร้าง)

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: papercut
Android
on 9 May 2008 - 23:57 #51306 Reply to:51284

้ผมว่าเค้าหมายถึงกรณีผู้ที่ทำคะแนนสูงสุดมั้งครับ

ถึงยังไง การมีรายชื่ออยู่ในทีมพัฒนา ก็เป็นเครดิตที่น่าสนใจนะ

By: tr
Writer
on 9 May 2008 - 20:32 #51288

เกมชื่อ Foldit แต่รากเดียวกับ Rosetta@home ไม่ใช่ Fold@home แฮะ

อ้อ Rosetta มาจาก Washington U. เหมือน Foldit
แต่ Folt@Home ของ Stanford

By: bankkung
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 9 May 2008 - 22:56 #51300

ถ้าเล่นจนได้รับรางวัลโนเบลขึ้นมา หนังสือพิมพ์ก็จั่วหัวเหมือนเดิมว่า
"อนาถเด็กไทยเล่นเกมส์ ชื่อเสีย(ง)ระดับโลก"
มองว่ายังไงก็ผิดหรือไงฟระ -*-

By: mr.k on 10 May 2008 - 00:23 #51309 Reply to:51300

+1

By: mnop
Android
on 10 May 2008 - 01:25 #51320

เมืองไทยน่าจะมีงานวิจัยแบบนี้บ้าง เห็นอาจารย์เมืองไทยมีแต่ ไอ้นั่นไม่ดี ไอ้โน้นไม่ดี (ยังไม่ได้เริ่มทำอะไรก็ไม่ดีซักอย่างแล้ว)

http://itshee.exteen.com/ -- Can you upgrade Vista to XP Pro?

By: nimrod
AndroidUbuntuWindows
on 10 May 2008 - 02:54 #51331

เอา .... อ้าวนึกว่า duocore อิอิ

By: ellevoid on 10 May 2008 - 10:14 #51348

ไม่รู้ว่ามีคนมองแบบผมบ้างป่าว

ผมว่ามันเป็นแนวคิดที่สุดยอดมากๆ ปกติปัญหาประเภทนี้ (การออกแบบโปรตีน ฯลฯ) เรามักจะใช้วิธีการของ machine learning มาจัดการ แต่ว่าทำยังไง machine ก็ไม่เก่งเท่ามนุษย์ เราก็พยายามแก้ไขโดยการเพิ่มพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์,สร้าง Super Computer, มีระบบ Distributed Computing, Grid Computing ฯลฯ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาที่ยากมากๆ

ดังนั้นการเอาสมองของยอดมนุษย์(Gamer) มาทำงานร่วมกับสมองของยอดคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหายากๆที่คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ (อย่างเรื่องความคิดสร้างสรรค์) ย่อมเป็นอะไรที่น่าจับตามองมาก

ถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จย่อมเป็นก้าวกระโดดสำหรับวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อย่างแน่นอน

"ในเมื่อทำยังไง CPU ก็เก่งไม่เท่าสมองคน เราก็เอาสมองคนมาทำเป็น CPU ซะเลย"

ปล. ถ้าเอาวิธีการนี้บวกกับพลังของ Quantum Computer และ Distributed Computing คงต้องเปลี่ยนคำว่าก้าวกระโดดสำหรับวงการนี้จาก Leap มาเป็น Warp แทน ^^

By: jeno
iPhone
on 10 May 2008 - 15:23 #51365 Reply to:51348
jeno's picture

+1
ครับ เห็นด้วยในจุดนี้สมองคนมีจิตนาการครับ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เล่นเกมส์ ก็มีจิตนาการที่ดีเช่นกัน
ที่สำคัญถ้า กระบวนการนี้ทำให้เกิดผลขึ้นมาจนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ ก็ถือว่าเยี่ยมเลยครับ โดยส่วนตัวไม่คิดว่ามันเป็นเกมส์เลย แต่เค้าพยายามทำ interface ออกมาให้ Friendly จนใกล้เคียงกับรูปแบบการเล่นเกมส์
ตอนนี้ สามารถเข้า website ได้แล้วครับ ผมทดลองสมัครและกำลัง d/l client มาติดตั้ง ไว้จะมารายงานผลครับ ^ ^

By: mk
FounderAndroid
on 10 May 2008 - 15:31 #51366 Reply to:51348
mk's picture

ผมคิดต้นฉบับของแนวคิดประมาณๆ นี้ที่เป็นรูปธรรมและดังหน่อย คงเป็น ESP Game

By: Mr.JoH
Writer
on 10 May 2008 - 15:56 #51368 Reply to:51348

+1 เห็นด้วยเช่นกันครับ

ผมมองว่า นอกจากคนที่คิดไอเดียนี้จะสุดยอดแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราต้องขอบคุณก็คือ กระแสความรุ่งเรืองของ Web2.0 ซึ่งตรงนี้น่าเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้โครงกานี้เกิดขึ้นมาได้

ลองเอาโครงการนี้ไปทำเมื่อซักสิบปีที่แล้วสิ อาจจะเจ๊งไม่เป็นท่าก็ได้

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net