นักวิจัยจากสหรัฐ ได้ทำการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีชีวิตขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยการปรับเปลี่ยนกลไกพันธุกรรมของแบคทีเรียชนิดหนึ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ ยังเป็นการเปิดประตู ไปสู่การประยุกต์ใช้งานต่างๆ มากมาย เช่น การเก็บข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งยีน
ทีมนักวิจัย โดยความร่วมมือของ ภาควิชาชีววิทยาและภาควิชาคณิตศาสตร์ ของ Davidson College, North Carolina และ Missouri Western State ได้ทำการเพิ่มยีนให้กับแบคทีเรีย Escherichia ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ได้จากแบคทีเรียชนิดนี้ สามารถแก้ปริศนาคลาสสิกของคณิตศาสตร์ ที่มีชื่อว่า burnt pancake ได้
ปัญหา burnt pancake จะเป็นกลุ่มของแพนเค้กขนาดต่างๆ วางซ้อนกันอยู่ โดยจะมีด้านที่สุกและด้านที่ไหม้อยู่ เป้าหมายของปัญหาดังกล่าว คือ จัดเรียงให้แพนเค้กชิ้นที่ใหญ่สุดอยู่ด้านล่าง โดยด้านที่ไหม้ต้องคว่ำอยู่ โดยพลิกแพนเค้กให้น้อยที่สุด
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ที่สร้างจากแบคทีเรีย ที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ก็คือ ในหลอดการทดลอง 1 หลอด สามารถบรรจุแบคทีเรียที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมได้หลายล้านตัว ซึ่งแต่ละตัวสามารถทำงานร่วมกันแบบขนานได้ นอกจากนี้ยังประหยัดเนื้อที่และมีราคาที่ต่ำ
Comments
คอมแบบนี้ลง Ubuntu ได้ไหมอะ?
เข้ามาฮา....
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
น่าสนใจนะ สักวันหุ่นยนต์อาจใช้คนเป็นคอมพิวเตอร์ก็ได้ หึหึ
PoomK
เกรงว่าหุ่นตัวนั้นอาจรวนๆ
ผมก็ว่างั้น คนยังหลอนๆๆกันเลย ถ้าเป็น Farm พลังงานแบบ Matrix นี่อาจเป็นได้
หงะกลัวเป็นแบบในภาพยนต์จังเลย
ทำงานอย่างไรอ่ะ
ปล. ตอนแรก นึกว่า สิ่งมีชีวิตถูกสร้างจากคอมพิวเตอร์ นึกถึง หมายเลข 16, 17 ใน DBZ ขึ้นมาซะอย่างนั้น
เดี๋ยวกรีนพีซก็ประท้วงหรอกครับ ใช้งานสิ่งมีชีวิต อิอิ
น่าสนใจมากครับ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจัง ลองดูภาษาอังกฤษแล้วงงตาตั้ง...
แต่ยังไม่มีรายงานผลเสียออกมา รอดูกันต่อไป
Priesdelly.com
ถ้าแบคทีเรียกลายพันธุ์ล่ะ แว๊กกก
มีอะไรใหม่ๆ เพิ่งขึ้นเรื่อยๆ จริงๆ ทำ fundamental ต่อไปดีกว่า :P
Overclock ได้มั้ย
Overclock ด้วยยาคูลท์ ?
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum ::
ไม่ได้น้อ เดี๋ยวได้แบคทีเรียกลุ่ม lactobacillus ขึ้นมา
สร้างกรดแลคติคขึ้นมาเยอะๆ คอมฯเจ๊งพอดี
สงสัยต้องอุ่นนิด ให้แบคทีเรียทำงานได้ดีๆ จะเพิ่มจำนวน processor ฮิๆ
แล้ว แบคทีเรีย จะอยู่ยังไงอ่ะคับ ก็ต้องให้อาหารมันอ่ะดิ ต่อไปอาจต้องเติมยาคู้ แทนการเสียบปลั๊ก แค่คิดก็ฮาแล้ว
อีกหน่อยอาจจะมี power supply 450 แคลอรี แทน 450 วัตต์ ก็ได้
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ป้อนมาม่าไปสองซองเล่นได้ทั้งวันนี้เยี่ยมเลย
น่าสนใจกว่าคือเรื่องของเสีย - -"
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเป็นมาม่า กลัวเจ้าของเครื่องมันจะแย่่งกินหมดอ่ะดิ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
เจ้าของเครื่องคงไม่ตกอับถึงขนาดนั้นหรอกมั้ง
6*2 = 12 แพงกว่าค่าไฟหรือเปล่าเนียะ?
เข้ามาฮา
ผมเพิ่งว่างอ่านเปเปอร์เมื่อเช้านี้
อธิบายง่ายๆ คือยีนเป็นเหมือน String เส้นหนึ่ง แล้วเขามีเอนไซม์ที่สามารถตัด substring ออกมาแล้วกลับด้าน substring นั้นแล้วต่อเข้าไปที่จุดเดิมได้ เช่น ABCDE ผมตัดที่ B กับ D (รวมทั้งสองตัวด้วย ดังนั้นชิ้นที่ตัดออกมาเป็น BCD) แล้วแปะเข้าไปให้เป็น ADCBE
การตัดและกลับข้างนี้โมเดลปัญหา BPP แบบมีสองแพนเค๊ก โดยใช้ยีน pLac เป็นแพนเค๊กก้อนแรก แทนด้วยหมายเลข 1 และ RBS-tetA(C) เป็นแพนเค๊กก้อนที่สอง แทนด้วยหมายเลข 2 เนื่องจากคุณสมบัติของยีนสองตัวนี้ เมื่อเรียงลำดับกันแบบ (1, 2) หรือ (-2, -1) จะเปิดยีนที่ต้านยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าเป็นแบบอื่นยีนที่ต้านยาปฏิชีวนะจะไม่ทำงาน ถ้าเราใส่แบคทีเรียลงในยาปฏิชีวนะ ก็จะมีแต่พวกที่มีลำดับ (1, 2) หรือ (-2, -1) เท่านั้นที่อยู่รอด
ทีนี้เค้าก็ฝัง (-2, 1) ลงในแบคทีเรีย แล้วปล่อยให้มันขยายพันธุ์เรื่อยๆ ปกติเวลาแบคทีเรียแบ่งเซลล์นั้น จะมีการตัดและกลับยีนตามที่ได้กล่าวมา เมื่อมันแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆ ก็มีโอกาสที่บางเซลล์ได้ยีนที่ต้านยาปฏิชีวนะ
เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็เอาแบคทีเรียไปปล่อยในยาปฏิชีวนะ อันนี้ทำให้มีแต่พวกที่มียีนสองแบบที่กล่าวมานั้นอยู่รอดได้
ข้อสังเกต: การตัดต่อยีนนี้ไม่ได้แก้ BPP อย่างแท้จริง เพราะการออกแบบยีนให้ต้านยาปฏิชีวนะนั้น เขารู้ลำดับของยีนที่ถูกต้องก่อน ปกติถ้าเราต้องการเรียงลำดับอะไรซักอย่าง เราก็ไม่ควรรู้คำตอบนั้นอยู่ก่อนเรียงไม่ใช่เหรอ?
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือเอนไซม์ที่ทำการกลับยีนอันนี้น่าจะสามารถเอามาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาพวก combinatorial problem ได้ อย่างไรก็ตามยีนที่ทำหน้าที่ตัด กลับ และต่อยีนอื่นนั้นได้รับการศึกษามาก่อนหน้านี้บ้างแล้ว (เช่น transposase) งานนี้จึงไม่ได้มีอะไรใหม่มากนักนอกจากการเอาความรู้ชีวโมเลกุลมาต่อกับคอมฯ