กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัดประกวด การประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ครั้งที่ 1/2551 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การพัฒนาเว็บไซต์ ให้เป็นมาตรฐานและทุกคนเข้าถึงได้ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท
การประกวดแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ทีมเยาวชน อายุไม่เกิน 18 ปี และ ทีมประชาชนทั่วไป โดยในแต่ละทีมต้องมีสมาชิก 2-5 คน
กติกา
ระยะเวลาส่งเข้าประกวด ปิดรับสมัคร 15 สิงหาคม, ปิดรับผลงาน 30 สิงหาคม และประกาศผลผู้ได้รับรางวัล 11 กันยายน พ.ศ. 2551
ดาวน์โหลดใบสมัคร ข้อมูลระเบียบการแข่งขัน และสอบถามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ :
www.equitable-society.com/webcontest.aspx
ที่ีมา: forum.thaicss.com และ equitable-society.com
Comments
น่าสนใจดี แต่ตลกนิดๆ ที่เว็บหลักของการจัดประกวด สอบตกเรื่อง Web Accessibility อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ Flash Menu ข้างบน
+10
เว็บนี้ไม่ได้เข้าแข่ง
กลัวว่าเข้าแข่งแล้วจะได้อยู่อันดับบนๆ น่ะสิ
สงสัยว่าทำไมห้ามใช้ CMS ใช้แล้วมัน Accessibility ลดลงเหรอ
หรือกลัวไม่ได้ใช้ฝีมือ แต่ผมว่าถ้าใช้ CMS แล้วผลงานออกมาไม่ต่างกัน + การจัดการต่างๆ
ง่ายกว่าทำไม่ถึงไม่สนับสนุนให้ใช้
Mheenote
ผมไม่ได้อ่านวัตถุประสงค์นะ แต่เข้าใจว่า
เขาต้องการทดสอบว่าคุณมีความสามารถด้านการทำ Web Accessibility แค่ไหน
ถ้าต้องพึ่ง CMS อย่างเดียว แปลว่าจะทำเว็บอะไร ก็ต้องใช้ CMS อย่างนั้นหรือเปล่า
เพราะไม่สามารถทำได้ด้วยตนเองได้ ต้องอาศัยความสามารถของ CMS เพียงอย่างเดียว
มองในแง่ดีว่าเขาอยากสร้างบุคคลากรที่ให้มีความรู้เรื่อง Accessibility มังครับ
เรื่อง CMS ที่ Accessibility ดีๆ นี่มีหลายตัวครับ แต่น่าประหลาดว่าพอคนไทยเอามาใช้งานแล้วหลายๆ ที่กลับทำให้คะแนนตกต่ำอย่างน่าใจหาย ปัญหามันเลยไปอยู่ที่ "คน" มากกว่าซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ดียังไงแต่คนทำกับคนตรวจรับไม่มีความรู้มันก็ออกมาเน่าได้เหมือนกัน
สร้างคนขึ้นมาได้แล้วอีกหน่อยจะได้มีความสามารถไปดึง CMS มาใช้แล้วแก้ไขโดยไม่เสีย Accessiblity ไปก็ดีนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ที่ผมไม่เข้าใจอีกอย่าง "โดยในแต่ละทีมต้องมีสมาชิก 2-5 คน"
ทำไมครับ ทำคนเดียวไม่ได้หรือยังไง
แล้วถ้าผมเอา equitable-society.com มาดูดเป็น offline web แล้วมาปรับปรุงใหม่เรื่อง Web Accessibility ผมจะโดนเพ่งเล็ง หรือโดนเก็บรึปล่าวครับเนี่ย เป็นถึง web ที่ให้ความรู้เรื่อง Web Accessibility แท้ๆ แต่ไม่พัฒนาของตัวเองให้ดีเสียก่อน
เดี๋ยวลองของกะ ICT ดูซักตั้งดีกว่ามั๊ง อิอิ
ให้คะแนนเพิ่ม 10 คะแนนเมื่อเอา flash menu ออก
เอาแบบที่ผมเคยเจอมาน๊ะครับ โปรแกรมเมอร์ เก่งๆ ไม่ค่อยมีหัวเรื่องออกแบบ เขียนโปรแกรมระดับโครตเซียน แต่ทำ flash ไม่ได้เรื่อง ทำ Photoshop ไม่เข้าท่า แต่ถ้าเขียนโปรแกรมเหรือ หุหุมาดิ อะไรประมาณนี้ แต่ก็มีโปรแกรมเมอร์หลายท่าน ทำได้เก่งทุกอย่าง ผมเลงเห็นว่า ถ้าทีมนึง มีสามคน ออกแบบ เขียนโปรแกรม ทำ flash มันช่างเยียมจริงๆ
และที่สำคัญ CMS ไม่ได้เขียนเสร็จ ภายใน 1 เดือน ที่ผมดู เขียนโปรแกรมหลายพันบรรทัด
หุหุ และยังฐานข้อมูลอีก จ๊อดดดดดดดดดด มันยอดเยี่ยมจริงๆ
แปลกใจ ผมอ่านข่าวนี้แล้วก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างสร้างสรรค์ แต่ Comment ที่คุยๆ กันอยู่กลับดูเหมือนไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่
ตัวโครงการที่เป็นเจ้าภาพกิจกรรมคือ "โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT" เค้าก็ไม่ได้ระบุหรือยกตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่ไหน เพียงแต่อาจจะกำลังมีกิจกรรมหรือนโยบายภายในอะไรสักอย่าง เลยใช้การสร้างกิจกรรมขึ้นมาเป็นส่วนเสริมในการขับเคลื่อน ก็มีแจกรางวัลอะไรกันไปตามเรื่อง
จุดประสงค์ของงานตามความเข้าใจนะ คือเวทีที่เปิดเนี่ย เค้าเปิดให้สร้างผลงานแล้วส่งผลงานเข้าประกวด ไม่ได้เปิดเว็บขึ้นมาแล้วบอกว่านี่คือตัวอย่างของเว็บที่มี Accessibility ที่หรูเลิศ ทำไว้ให้ดูเป็นแนวทาง ถ้าทำตามนี้ได้หรือใกล้เคียงก็จะได้รางวัล??
หน้าเว็บที่ใช้ประชาสัมพันธ์ เปรียบไปอาจเทียบได้กับโปสเตอร์สำหรับโลก offline ผมไม่คิดว่าโปสเตอร์ประกาศงานแข่งขันศิลปไทย จะต้องลงลักปิดทอง ถึงจะเรียกว่าคู่ควรนะ
ผมก็เห็นด้วยครับ ว่ามันเป็นการริเริ่มที่ดี
อย่างที่คุณเทียบในย่อหน้าสุดท้ายนั่นแหละครับ ถ้าสมมติมีการแข่งขันศิลปไทย ถึงจะมีโปสเตอร์ธรรมดาๆ แต่ถ้าคณะกรรมการมาจากกรมศิลป์ฯ ผู้คนยอมรับในความรู้ ความสามารถ ว่าเข้าใจศิลปะอย่างดี มันก็โอเค
แต่กรณีนี้เป็นเรื่องใหม่ บวกกับกระทรวงนี้ค่อนข้างมีภาพลบเยอะ ซึ่งคนทั่วๆ ไปก็ต้องการรู้ว่าผู้จัด หรือกรรมการ เข้าใจสิ่งที่กำลังทำมากแค่ไหน คนทั่วไป เห็นสื่อ (เว็บไซต์) ที่ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ ก็เลยคิดสงสัยขึ้นมา ก็เท่านั้นเอง
ผมไม่ได้ว่าทางผู้จัดว่าไม่มีความรู้ด้านนี้นะครับ เพียงแค่เค้าไม่สื่อออกมาให้คนภายนอกรู้เท่านั้นเอง
ถ้าจะให้เทียบ ก็เหมือนมีโครงการประกวดกลอนโดยมีคำเชิญชวนเป็นกลอน แต่กลอนเชิญชวนเนี่ย ดันมีสัมผัสมั่วไปหมด ผิดฉันทลักษณ์ แล้วอย่างนี้จะให้รู้สึกอย่างไรล่ะครับ
---------- iPAtS
iPAtS
ส่วนที่เห็นด้วยคือ
ถ้ามีการถามถึงรายชื่อคณะกรรมการผู้ตัดสิน อันนี้เป็นคำถามที่รับได้และน่าสนใจ
รวมไปถึงเรื่องเกณฑ์การตัดสินที่ถ้าทำแยกออกมาเลยว่ามีเกณฑ์ยังไง และแต่ละส่วนมีสัดส่วนคะแนนเป็นอย่างไร อันนี้คงจะำทำให้ดูว่าคนจัดงานมีหลักการคิดที่เป็นระบบหน่อย
แต่ในมุมมองเรื่องการออกแบบหน้าเว็บที่ใช้ประชาสัมพันธ์
ผมไม่รู้แน่ชัด แต่อนุมานเอาว่าตัวเว็บน่าจะได้รับการออกแบบมาก่อนที่จะมีการจัดประกวด
หรือจะอย่างไรก็แล้วแต่ โดยภาพรวมดูแล้วก็ให้ความรู้สึกกลางๆ ไม่บวกไม่ลบ ไม่หรูเลิศ แต่ก็คงไม่ถึงกับเลวร้าย
ที่ไม่ค่อยเห็นด้วยจึงเป็นในส่วนของการเปรียบเปรยว่าเป็นคำเชิญชวนประกวดกลอนที่เขียนผิดฉันทลักษณ์ มันคงไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้คิดว่าเค้าทำผิดกฏการออกแบบอะไร
จริงอยู่ที่ว่าการตะบี้ตะบันใช้ Flash อย่างขาดสติยั้งคิด เป็นเรื่องที่ดูไม่ค่อยฉลาดเท่าไหร่
แต่การที่ใช้ Flash เป็น Top ก็ไม่ได้ทำให้เว็บนั้นกลายเป็นเว็บที่ล้มเหลวเรื่องการออกแบบไปโดยปริยายเหมือนกัน
อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะ Flash หรือเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรก็แล้วแต่ มันคงจะมีคำว่า "ใช้อย่างเหมาะสม"
คงไม่ใช่ว่าใช้แล้วจะกลายเป็นสิ้นคิดในทันที
เจ้าเว็บเจ้าปัญหานี่ เผอิญว่ามันเป็นเว็บของโครงการอบรมเรื่อง web accessibility และมีอบรมสำหรับผู้พิการทางสายตา ให้เห็นเป็นพักๆ ด้วยน่ะสิครับ เลยโดนหนักหน่อย ถ้าหากเอาไปประกาศในเว็บของ ICT เองอาจจะไม่คิดอะไรเท่านี้
เรื่อง Flash Header นี่นอกจากความรำคาญแล้วมันไม่มีผลเรื่อง accessibility เท่าไหร่ (ผู้ใช้ทั่วไป อาจจะรู้สึกว่ามันเท่ดี) แต่ในกรณีใกล้ๆ กัน การใช้ Flash มาเป็น menu ถึงอาจจะดูสวย แต่มันก็ทำให้การเปิดเมนูด้วยคีย์บอร์ดล้วนๆ หรือผ่านทาง screen reader นั้นเป็นไปไม่ได้เลย--และทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นหนึ่งในเรื่องหลักๆ ของคำว่า accessibility
นอกเหนือจากเรื่อง Flash Menu แล้วผมยังเจออะไรเด่นๆ ในเว็บอีกสองอัน
คนเข้าเว็บปกติอาจจะไม่ซีเรียสเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าหากเราคุยกันในประเด็นของคำว่า accessibility มันก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่เว็บโครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT นี่สอบตกครับ (แต่ไม่ถึงขั้น "โดยสิ้นเชิง" เพราะส่วนที่ทำ "ถูก" มันก็มีอยู่บ้าง)
ผมสรุปเป็นข้อๆ ละกันครับ:
1. ไม่เห็นด้วยที่ใช้ Flash ทำเมนู?
2. ไม่เห็นด้วยที่ใช้ Marquee?
3. พบการใช้งาน Js เพื่อกำหนดพฤติกรรมประหลาดให้กับ Link?
โดยผมขอสรุป 1,2 รวมกันไว้ในคำว่า "ข้อถกเถียง" จะดีกว่าไหมครับ?
นั่นเพราะไม่คิดว่าการใช้ Flash ทำเมนูจะมีแต่ข้อเสีย คุณ sirn อาจจะบอกว่าใช้ Flash แล้วมันเปิดเมนูด้วยคีย์บอร์ดล้วนๆ ไม่ได้ เกิดในขณะเดียวกันมีใครอีกคนบอกว่า "เฮ้ย...เดี๋ยวนี้ใครเค้าใช้คีย์บอร์ดอย่างเดียวในการ Surf เว็บกัน แล้วการใช้ Flash เนี่ยก็สร้างข้อได้เปรียบ ทำให้เกิดเป็นการดึงความสนใจ" อย่างนี้ถามว่าใครผิดใครถูก? คำตอบคือไม่มี เพราะมันเป็นเรื่องทัศนะที่แต่ละคนเห็นต่างกันและนั่นหมายถึงไม่มีใครผิดใครถูกไปกว่ากัน และที่หมายรวมไปถึง Marquee ด้วย บางคนบอกอ่านยาก บางคนบอก เฮ้ย...เจ๋งๆ คือของอย่างงี้มันสร้างให้เกิดความคิดที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน จะบอกว่าเค้าทำผิดที่ใส่ Marquee ลงไป อย่างนั้นถ้า Marquee มันไม่ดีเอาจริงๆ จังๆ ในทุกกรณีอย่างเป็นเอกฉันท์แล้ว Browser จะใส่ Feature นี้มาทำไม? รวมถึงหลายเว็บก็หยิบไปใส่ที่หน้าตัวเองเหมือนกัน บางคนทำไม่เป็นถึงกับไป Googling มา นั่นคงจะเป็นข้อยืนยันได้ว่า Marquee ก็สร้างความประทับใจในเชิงบวกให้หลายคนอยู่เหมือนกัน และประเด็นก็ยังคงวนอยู่ที่เดิมที่ว่ามันเป็นเรื่องที่ตัดสินไม่ได้ เราไม่สามารถบอกได้ว่าความชอบของเราเป็นความชอบที่ถูกต้องกว่าความชอบของคนอื่น
ส่วนข้อที่ 3 ผมไม่มั่นใจว่าคุณ sirn หมายถึงอะไร มันไม่มี url ปลายทางของ link แสดงที่ status bar? เอาเป็นว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง ข้อนี้ผมเห็นด้วยกับคุณ sirn ว่าไม่รู้จะซ่อนไปทำไม นึกข้อดีของมันไม่ออก แต่เรื่องของเรื่องคือผมก็มองเห็น ปลายทางที่ status bar นะ(ใช้ FF) ก็เลยไม่มั่นใจว่าหมายถึงอะไร
ประเด็นปิดท้าย คือเรื่องสอบผ่านหรือสอบตก... ก็ยังมองว่าเป็นเรื่องที่ตัดสินยากนะ สอบตกสำหรับบางคน แต่ก็อาจจะสอบผ่านสำหรับบางคนในขณะเดียวกัน แต่ถ้าถามผม... ผมว่าก็เฉยๆ นะ ไม่ผ่าน แต่ก็ไม่ตก คือไม่ได้มองว่านี่เป็นการสอบ และก็ไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนตรวจข้อสอบครับ
ประเด็นของผมมันอยู่ที่คำว่า "Accessibility" น่ะสิครับ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า "ยุคนี้ใครใช้คีย์บอร์ดอย่างเดียวเข้าเว็บ" (อย่างน้อยผมก็คนนึงนะ ที่ใช้คีย์บอร์ดเป็นหลัก) หรือ "Flash ช่วยดึงความสนใจ" ถ้าหากคุณพูดในแง่ของการดีไซน์ นั่นก็อาจจะถูก แต่จุดประสงค์ของเว็บนี้คือเป็นแหล่งข้อมูลของโครงการสนับสนุน accessibility ใช่มั๊ย ถ้าหากเป็นตามนั้นก็แปลว่าเว็บดังกล่าวสอบตกในหัวข้อที่ตนเองยืนอยู่ครับ
ข้อเสียของ Flash menu นอกจากเรื่องคีย์บอร์ดแล้ว ลองเปิดลิงค์ในเมนูนั่นในแท็บใหม่สิครับ แต่ถึงกระนั้น ผมก็ไม่ได้บอกว่า Flash menu เนี่ยมันเป็นปิศาจร้ายอะไร ถ้าหากทำอย่างถูกวิธี และมี fallback สำหรับกรณีที่ไม่ใช้ Flash มันก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม (เว็บของ Codegent เป็นตัวอย่างที่ดี)
ส่วนเรื่อง Marquee tag นั้นคำตอบของ "Browser จะใส่ Feature นี้มาทำไม" ก็คงเพราะต้องการ backward compatibility กับเว็บไซต์เก่าๆ ล่ะมั้งครับ ทั้งๆ ที่ W3C ก็ deprecate แทคนี้ทิ้งไปแล้ว
มีเว็บหลายแห่งในโลกที่เรื่องดีไซน์อาจจะได้คะแนนเต็ม แต่เรื่อง accessibility ได้คะแนนติดลบ ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะไม่สนใจ ขอแค่คลิ๊กได้ก็พอแล้ว แต่สำหรับผมเองถือว่า accessibility มีค่าเหนือ eye candy ครับ
อ้อ JavaScript link นั่น ลองเอา Internet Explorer เปิดสิครับ ตรงรายละเอียดหลักสูตร
Remark ไว้ตรงนี้ก่อนว่า จริงๆ สิ่งที่เรากำลังคุยกันอยู่นี่ ห่างไกลจากจุดเริ่มของบทวิพากษ์พอสมควร ส่วนห่างไกลยังไง เดี๋ยวกลับมาว่ากัน
ชวนคุยต่อนะครับ ถ้าประเด็นของคุณ sirn อยู่ที่คำว่า Accessibility แล้วที่ Codegent มีทางเลือกไว้ให้ผู้ใช้ที่ไม่มี Flash เป็น Solution ทดแทน(ซึ่งผมไม่รู้ว่าทางที่ว่านี่เป็นยังไงนะครับ พอดี Browser ที่ใช้ลง Flash ไปแล้ว) ก็เลยถือว่าสอบผ่าน ในทำนองเดียวกันเมนูทั้งหมดที่อยู่ในรูป Flash ด้านบนของเว็บโครงการดังกล่าว ก็สามารถเข้าผ่าน link ปกติที่อยู่ทางด้านล่างสุดของหน้าเว็บเป็นทางเลือกทดแทนได้เหมือนกัน อย่างงี้แล้วทำไมไปให้เค้าสอบตกซะละครับ? คุณ sirn ก็อาจจะบอกต่อไปว่า "ถึงมีก็ช่างเหอะ มันก็ไม่สะดวกเท่าที่ควรอยู่ดีเพราะเล่นไปอยู่ซะล่างสุด" แต่นั่นก็น่าจะแค่โดนตัดคะแนนนะครับ ไม่น่าจะุถึงกับสอบตก
อย่างไรก็แล้วแต่ที่บอกว่านี่เริ่มไกลจากสิ่งที่เริ่มวิพากษ์ เพราะจริงๆ แล้วตรงนี้ไม่ได้สำำคัญอะไรนะครับ เพราะผมเองก็ไม่ได้โน้มน้าวว่าเว็บของโครงกาีรดังกล่าวดีแล้ว Perfect เพียงแต่จะบอกว่ามันก็ไม่ได้ถึงกับแย่จนสอบตกหรือทำให้การแข่งขันนี้ดูน่าตลก โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการกระทำหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่เล็งเห็นว่าแล้วว่าสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่น่าเอาใจช่วยและส่งเสริม การเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐเพื่อกระตุ้นกระแสในเชิงสร้างสรรค์ก็อาจจะนับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดี ถึงแม้ว่าอาจจะมีบางส่วนยังขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็คงไม่ถึงกับสอบตกสมควรโดนไล่ออกจากสนามมั้งครับ.
ถึงมันจะออกอ่าวไปขนาดไหน ยังไงจบอยู่แค่ใน thread นี้ thread เดียวล่ะครับ คงไม่โผลงไปที่อื่น ดังนั้นไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไหร่
สังเกตว่าเว็บที่ผมยกเป็นตัวอย่าง เขาไม่ได้ใช้ Flash ทำเมนูครับ แต่ใช้ CSS ทำ ซึ่งผลที่ออกมาก็ไม่มี tradeoff ระหว่างความหวือหวากับการใช้งานให้เห็น แถมยังดูดีด้วย ผิดกับการเอาลิงก์ที่ควรจะเป็นลิงค์หลัก ไปใส่ไว้ใน footer ถึงมันจะพอเป็นส่วนทดแทนได้ก็จริง แต่ก็อย่างที่คุณ BLeAm บอกนั่นแหละครับ ว่ามันก็ไม่สะดวกเท่าที่ควร เพราะไปอยู่ล่างสุด
ถ้าหากผมบอกว่า "คงโดนตัดคะแนนไปเยอะ" ในตอนแรก มันคงไม่ยืดยาวให้มีประเด็นถึงขนาดนี้ แต่ที่บอกไปตั้งแต่แรกว่า "อย่างน้อยที่สุด" เพราะมันยังมีองค์ประกอบย่อยๆ อีกหลายๆ อย่าง เช่นสามข้อที่บอกไว้ข้างต้น หรือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างลิงค์แรกของหน้าเว็บที่เป็นลิงค์จริงๆ (ควรอยู่ซ้ายบน) ไม่ใช่ลิงค์กลับหน้าแรกตามความคาดของผู้ใช้ หรือแม้แต่ปุ่ม login ที่ submit form ไปแล้วไม่ได้ feedback อะไรกลับมา (พึ่ง AJAX เพื่อ validate แก่ user เพียงอย่างเดียว) และอื่นๆ อีกมากมาย
ผมยอมรับว่าการมีโครงการแบบนี้เป็นทางเริ่มต้นของการเปลี่ยนแนวคิดที่ดีและน่าชื่นชม แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนกับที่คุณ ipats เปรียบเทียบไว้ ว่าโครงการประกวดกลอนโดย แต่ตัวเองดันสัมผัสมั่วไปหมด ผมก็คงรู้สึกตลกกับโครงการดังกล่าวก่อนเป็นอย่างแรกครับ
'ถ้าหากผมบอกว่า “คงโดนตัดคะแนนไปเยอะ” ในตอนแรก มันคงไม่ยืดยาวให้มีประเด็นถึงขนาดนี้' อืม... ไม่นะ คือผมมองว่าคุณ sirn มีสิทธิ์ที่จะพูดยังไงก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าพูดอย่างงี้แล้วผิด พูดอย่างงี้แล้วยาว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้ระหว่างพวกเราผมมองว่ามันเป็น discussion ไม่ถึงกับ argument เพราะสิ่งที่อภิปรายกันอยู่มันไม่ได้อยู่ในทิศทางตรงกันข้าม
ที่ถามกันไปกันมาเรื่องเมนู ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าไม่ได้มีใครยืนกรานว่ามันเหมาะแล้วดีแล้ว แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผมอาจจะแค่ยกขึ้นมาเพื่อเสนอแนวคิดที่ว่า นี่ไงมันมีเมนูแบบปกติให้ "เข้าถึง" ได้นะ ไม่ใช่ไม่มีเอาซะเลย ถ้าเทียบเป็นการสอบก็ไม่ได้ถือว่าขาดคุณสมบัติที่ควรมีนะเพราะงั้นเปลี่ยนไปตัดแต้มในเรื่องความฉลาดในการจัดวางแทนเถอะ
ตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้ ผมไม่รู้ว่าคุณ sirn กำลังแอบคิดว่าเรากำลังโต้เถียงกันและผมโจมตีหักล้างคุณ sirn หรือปล่าว ซึ่งจริงๆ แล้วคือ ปล่าวนะ ไม่ได้ึถึงขนาดนั้น ถ้าเทียบเป็นเหตุการณ์จริงมันก็เหมือนกับเราเป็นผู้ไปอ่านประกาศ แล้วคุณ sirn เปรยลอยๆ มาว่า "คนจัดประกวดโครงกลอนมันยังเขียนกลอนเชิญชวนผิดฉันทลักษณ์อยู่เลย แล้วยังจะมาจัดประกวดอีก ตลกเยอะอยู่นะ" ดังนั้นทัศนะที่เกิดขึ้นกับผมคือ "เฮ้ย ไม่ถึงขนาดนั้นหรอก อย่างมากมันก็ขาดความสละสลวย ขาดคุณสมบัติที่จะทำให้เรียกได้ว่าเป็นกลอนที่ดี แต่ไม่ถึงขนาดว่าไม่มีความเป็นกลอนเลยหรอก... เอาน่า ดีกว่าไม่มีอะไรเลย" จึงได้แสดงทัศนะออกมาเป็นเชิงพูดคุยมากกว่าครับ
เรื่องนี้ผมสนับสนุนครับ
ถึงผมจะใช้เมาส์กับการใช้อินเตอร์เน็ตกับ PC แต่กับการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือ (ตอนนี้ผมใช้ Opera mini 4.1...คิดเป็น 30% ของเวลาที่ผมเสียไปกับการใช้อินเตอร์เน็ต) นั่นแปลว่า ไม่ต่างอะไรกับการใช้คีย์บอร์ดล้วนๆ เลยครับ
ดังนั้น อะไรก็ตามที่เป็น Flash ผมให้คะแนนติดลบเรื่อง Accessibility ทันที
อ่อ เพิ่มเติมด้วยครับ ในหน้าลงทะเบียนของเว็บนี้ ตรงช่องวันเดือนปีเกิด ผมไม่สามารถกรอกหรือทำอะไรได้เลยครับ สรุปคือผมไม่สามารถลงทะเบียนได้หากผมใช้ Firefox 3 (แต่หากใช้ IE7 ตรงนี้กลับใช้งานได้...ตรงนี้ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่ควรพิจารณาอย่างมากครับผม)
ลองอ่าน Web Content Accessibility Guidelines แล้วจะเข้าใจเหตุผลสองข้อแรกครับ
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่ของเรา (มนุษย์ครบ 32) เพียงอย่างเดียว ยังมีคนตาบอด ตาบอดสี แพ้แสงกระพริบ ขยับมือลำบาก (ลากเมาส์ไม่ได้) ฯลฯ อีกมากมายที่ถูกละเลยไปทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ถ้าช่วยให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน (accessible) ผมก็คิดว่าไม่มีอะไรที่น่าคัดค้าน
จริงๆ คงไม่ใช่เรื่องว่าจะมีใครคัดค้านหรืออะไรนะครับ เพราะโดย Concept ก็เป็นเรื่องที่ดี เป็นแนวคิดที่น่าเข้าร่วม จริงๆ W3C ก็ออกแนวรณรงค์เรื่อง WAI นี่มานานพอสมควร จริงๆ ในรายละเอียดภาคภาษา Eng ลงลึกไปมากกว่าพวกเรื่อง Content และการออกแบบด้วย ยังรวมไปถึงการเข้ากันได้กับ Browser และ Device (อุปกรณ์เสริมเพื่อคนพิการ)ที่จะใช้งานอย่างหลากหลายด้วย
ซึ่งตรงนี้ถ้าเข้าไปอ่าน Definition ของตัวโครงการในไทยก็จะเห็นว่ามีการ ตีความ/ถอดความ ออกมาไม่ครบครอบคลุมตามโครงการแม่แบบอยู่เหมือนกัน โดยมุมมองเหมือนจะจำกัดอยู่แค่เพียงว่า:
"Web Accessibility คือ การจัดทำเว็บไซต์สำหรับกลุ่มคนที่มีความ
หลากหลายทัง้ทางด้านเชือ้ชาติ ภาษา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่และสภาพร่างกาย
และจิตใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Web Accessibility เป็นเว็บไซต์ที่
ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานเว็บไซต์ทุกกลุ่มคนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่าน
เว็บไซต์ได้"
ข้างบนนี่คือผมคัดลอกมาจากเอกสารที่ Publish ในเว็บไซต์โครงการดังกล่าว
โดยที่ประเด็นของผมคือ พอจะทราบว่ามันขาดๆ เกินๆ อยู่บ้าง แต่ก็คงไม่ถึงกับสอบตกแพ้คัดออกหรืออะไรทำนองนั้น การมีโครงการที่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ย่อมดีกว่าไม่มีโครงการอะไรเลยเสมอ...
โดยส่วนตัวผมว่าเหมือนกับ คนจัดแคมเปญรณรงค์ปัญหายาเสพติด แต่ตัวเองยังสูบบุหรี่ปุ๋ยๆ อยู่น่ะครับ คือขึ้นกับวิจารญญาณของแต่ละคนว่าที่ทำนั่นดีพอแล้วหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจำกัดเซ็ตของแต่ละคน ยาเสพติดของเค้าอาจจะไม่รวมถึงบุหรี่ก็ได้ เว็บที่ดีของคนทำเว็บคนนี้อาจจะรวมถึงการใช้แฟลชและมาร์ควีก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อหน้าเว็บที่ประกวดยังก่อให้เกิดการยกคำถามขึ้นมาเช่นนี้ ก็คงยากที่จะทำให้ทุกคนเชื่อถือน่ะครับ เรียกว่าแกร่งไม่พอ ถ้าจะสอบตก คงเป็นตรงจุดนี้มากกว่าประเด็นว่าทำถูกหรือทำผิด สอบตกด้านแบรนดิ้ง ด้านความน่าเชื่อถือผลิตภัณฑ์ (ในที่นี้คือการประกวด) มากกว่าครับ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าตัวเว็บการประกวด และเอกสาร ดูดีขึ้นกว่าสมัยก่อนๆ มากแล้วครับ เพียงแต่ยังดูดีไม่พอที่จะทำให้คนเชื่อถือเท่านั้นเอง.
แหม่... ยกตัวอย่างได้น่ารักดีครับ(โดยเฉพาะตรงคำว่า "ปุ๋ยๆ") แต่จริงๆ คงไม่ได้มีภาพที่ขัดแย้งกันขนาดที่ต่อต้านยาเสพติดแต่เจ้าตัวสูบบุหรี่ อะไรขนาดนั้นหรือปล่าว? อย่างมากผมก็รู้สึกแค่ว่า นี่เป็นงานมหกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด ที่ประธานของงานยังอ้วนลงพุง อุปมาว่าจุดประสงค์ของงานคือการเล่นกีฬาเพื่อ"ต่อต้านยาเสพติด" สิ่งที่เค้าเป็นหรือทำก็ไม่ได้ถึงขนาดขัดแย้งกับจุดประสงค์ปลายทางของงาน อย่างไปติดยาหรือติดบุหรี่ซะเอง เพียงแต่แหม่...ดูหุ่นประธานแล้ว ไม่เป็นแรงบันดาลใจให้เล่นกีฬาเลย อะไรประมาณนี้ครับ
เมนูที่เป็น Flash นั่นมันขัดแย้งน่ะสิ - -"
ด้านขวาสุดของเมนูมีรูปคนอยู่สามคน ถ้าสังเกตดีๆ คนตรงกลางมีลักษณะคล้ายเป็นผู้พิการทางสายตานะ - -"
เห็นแล้วก็เป็น Accessibility ที่แปลกๆ ดีนะ เอิ้กๆ
ตรงนี้มีได้แอบคุยกับคุณ sirn ไว้ด้านบนบ้างแล้ว ไม่แน่ใจว่าได้อ่านหรือยัง แต่ตอบอีกทีก็คือมันมีเมนูทดแทนเป็น HTML ด้านล่างนะครับ อาจจะดูไม่ Make sense ไม่ฉลาด และใช้ไม่สะดวก ซึ่งการที่มีทางเลือกไว้แต่ใช้ไม่สะดวกคงไม่เรียกขัดแย้งมั้งครับ
เอางี้ครับ
ลองไปโหลด JAWS + TATIP มาใช้ แล้วหลับตาเล่น web ดูครับ แล้วลองเปรียบเทียบความยากง่ายในการเข้าถึงของแต่ละหน้า, คำอธิบายรูปภาพ
ผมก็ไม่ใช่คนที่อคติกับ Flash นะ แต่โครงการนี้เป็นหน่วยงานที่สอนเรื่องนี้โดยตรง แต่เอา menu ไปไว้ใน Flash
ที่ผมดู code แบบคร่าวๆนะครับที่ต้องปรับปรุงก็มี
content-language, alt, Flash menu, access key, site map
ถ้าคิดในแง่ดี ก็เป็นการกระตุ้นให้เว็บมีการตื่นตัวเรื่อง Web Accessibility
ไม่แน่กระทรวง ICT อาจจะอยากหาทีมงานมือฉมัง ไปแก้เว็บของ ICT ผ่านการประกวดนี้ก็ได้
มองเป็นโอกาส ก็จะเห็นโอกาสนะครับ
+2 เข้าใจว่านั่นเป็นวัตถุประสงค์ข้อต้นๆ เลยแหละคาดว่าจะหลายเว็บด้วย นั่นคือสาเหตุที่ในทีมต้องมี "2-5 คน" ไงครับ อิอิ :P
ในเอกสารระบุโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาเว็บมาสามตัวคือ โปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX, โปรแกรม Adobe Photoshop CS2, โปรแกรม Adobe Illustrator CS2ต้องใช้สามอันนี้เท่านั้น? แล้วถ้าใช้โปรแกรมเถื่อนนี่จะโดนปรับตกยกรางวัลหนีตอนหลังมั้ยเนี่ย (อคติจริงๆ เรา)
ระบุโปรแกรมมาแต่ละตัวนี่นะ ... เอาอะไรคิดเนี่ย - -"
เอกสารหน้า 14 ระบุโปรแกรมสามตัวนี้ แต่เอกสารหน้า 8 กล่าวถึง "การใช้เครื่องมือรวมทั้งซอฟต์แวร์ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง" ... เอ่ออออ โปรแกรมสามตัวนั่น แผ่นละ 150 ใช่ไหมเนี่ย... - -"
เค้าไม่ส่งเสริมให้ซื้อแผ่นก๊อป แต่ให้ดูดจากบิทครับ
ฮา
+10
ดีครับ หัดทำอะไรดีๆ ให้ชื่นชมบ้าง
เค้าระบุ "2-5 คน" เพราะอยากได้ "ทีมงานเก่งๆ" มากกว่าอยากได้ "คนเก่งๆ" เฉยๆ มั้งครับ
Rerng®IT
เอ่อ ผมว่าก็ดีนะครับที่เขามีโครงการแบบนี้ออกมา อาจจะเป็นสิ่งใหม่ ๆ สำหรับบุคลากรที่จัดก็ได้ เช่นคนที่เขียนเอกสารนี้ก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีโปรแกรมทดแทนอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนได้หรือเขาอาจจะออกแบบเอกสารเป็นแบบ Document Accessibility ก็ได้นะครับ เพราะคนทั่ว ๆ ไป ที่เขาไม่ได้ทำงานด้าน IT ลึก ๆ ก็คงไม่รู้ว่ามีโปรแกรม GIMP, INKSCAPE แล้วอีกอย่างโปรแกรมแบบนี้ก็มีแต่คู่มือเป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นโปรแกรมอย่างในเอกสาร คนทั่วไปที่สนใจก็สามารถหาซื้อหนังสือที่สอนได้ ตามร้านหนังสือทั่วไป เป็นการเปิดโอกาสได้กว้างขึ้น ตามความคิดของผม แรกเริ่มมันก็เริ่มแบบนี้อยู่แล้วซะส่วนใหญ่(ใช้โปรแกรมผี) แต่ถึงจุดหนึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปใช้โปรแกรมทดแทนเหมือนกับชาว Blognone หรือไม่ก็ซื้อของจริงเลย
ยังไงก็หวังว่าจะมีโครงการแบบนี้ออกมาเยอะ ๆ แล้วกัน ไอทีไทยจะได้ไปไอทีโลกซะที อิอิ
ผมว่าหลักเบื้องต้นของ accessibility ส่วนง่ายที่สุด คือ ทำเว็บที่ไม่มี style ให้สามารถแสดงผลได้สวยงามไปพร้อมกัน (โดยใช้พวก CSS, XHTML)
เพราะโปรแกรม screen reader (ในที่นี้ขอเน้นเรื่องคนตาบอดก่อน) มันจะอ่านแบบบรรทัดต่อบรรทัด จำเป็น ต้องมี link ในตอนต้นของเว็บเพจ เพื่อที่จะข้ามไปที่เมนูของหน้านั้น (jump to menu) หรือ หัวข้อสำคัญๆ ที่จำเป็น เช่น ช่อง search
ควรมี access key (พวก ALT+ตัวอักษร) ที่ไปยังหน้าหลัก (Homepage) หรือเมนูใหญ่ของเว็บ
วิธีทดสอบอย่างง่ายๆ คือ ลองเปิดเว็บไซต์ด้วย firefox แล้วเลือกเมนู view - page style - no style
codegent ที่คุณ sirn แนะนำก็ถือเป็นตัวอย่างได้นะครับ
ส่วนที่ mk แนะนำเสริม เป็นระดับสูงในขั้น AA หรือ AAA ครับ (ยิ่ง A เยอะ ยิ่งดี)
ปกป้อง | เฟสบุ๊ก | ทวิตเตอร์
ถ้าใช้ ajax เนี่ย โปรแกรมมันจะอ่านได้ไม๊ ??? สงสัย ???
คิดว่าถ้าใช้ในบางฟังก์ชั่นที่เหมาะที่ควร ก็ดีครับ แต่ถ้าใช้แบบบางเว็บที่สักแต่ว่า "ชั้นเป็นเว็บ 2.0" แล้วพอเข้าแล้วเป็นไอคอนหมุนติ้วๆ รอโหลดคอนเทนต์ในแต่ละบ๊อกซ์ แบบนี้ก็แย่ครับ
ขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรมอ่านหน้าจอครับ ปัญหาก็คือตัวโปรแกรมอ่านหน้าจอไม่รู้ว่ามีการ Update DOM บางส่วน จึงไม่สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการออกแบบ AJAX ก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย เพราะผู้ใช้ที่ไม่ได้เห็นหน้าจอควรรู้ว่าีข้อความนั้นคือข้อความที่มีการ Update ทีหลังจากทั้งหน้า....
ยาก.... ใช้ CMS แล้วแสดงแบบ 2 Version จะง่ายกว่า...
เป็นความคิดที่ดี แต่ execution ไม่งาม ครับ
เสียดายเงินภาษีไปใหญ่ . . .
NERD GOD
ไม่พอใจ ก็ไม่เข้าร่วม จบ
cms ตัวเล็กๆ 1 เดือนทำเสร็จได้นะ ไม่ยากหรอก
ไม่น่าจะจำกัดไรมากมาย ไปถึงตัวโปรแกรมที่พัฒนานะ มันไร้สาระมาก
7blogger.com
"ไม่พอใจ ไม่เข้าร่วม จบ" จริงๆ น่ะเหรอครับ
ผมว่าอย่างน้อยมาเถียงกันบ้างน่ะดีแล้ว ความคิดความอ่านจะได้ฟุ้งๆ กันหน่อยครับ
ทำไมไม่ให้ส่ง url ไปเอา ถ้าได้จะลองไล่แก้ที่เขียนอยู่ ส่งไป 555+
แบบนี้เปลี่ยนโจทย์เป็น "แก้ไขเว็บกองประกวดให้ได้มาตรฐานอย่างน้อยระดับ A" ดีไหม
ตรงลืมรหัสผ่าน ไหง มี comment โผล่มาเนี่ย
ลืมรหัสผ่าน ?
-->
ดูใน IE7 กับ Firefox3 แสดงผลต่างกันแฮะ เนื้อหาบางส่วนใน Firefox3 จะหายไป
นี้คือ ใน IE7
และอันนี้ ใน Firefox3
------------- au8ust.org
เหมือนเป็นบั๊กอะไรซักอย่างของ Firefox 3 ที่ทำให้ปิดแทคคอมเมนท์ผิดที่ (ลองกด source ดูตรง "ลืมรหัสผ่าน" จะเห็นว่ามัน highlight ผิดที่)
เป็นที่ Firefox เจ้าเดียว ส่วน Safari กับ Opera แสดงเหมือน IE7 ครับ รู้สึกว่าเรื่อง containing block ของ Firefox จะยังมี Bug ที่เคยเจอ คือ position absolute ที่ใช้กับ tag table
ถ้าคิดจะใช้ comment tag ใน Firefox จงหลีกเลี่ยงที่จะใส่ DOCTYPE ในหน้าเอกสาร
<!DOCTYPE html PUBLIC "-//W3C//DTD XHTML 1.0 Strict//EN" "http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1-strict.dtd"> <html> <head><title>standard compliance mode - wrong render</title></head> <body> section 1 <!-- -------------------------------------------------- --> section 2 <!-- -------------------------------------------------- --> </body> </html>
มันจะทำให้การวาดหน้าเว็บเพจผิด
ต้องตัด DOCTYPE ออก ใน Quirks mode มันจะวาดหน้าได้ถูกต้อง
<html> <head><title>Quirks mode</title></head> <body> section 1 <!-- -------------------------------------------------- --> section 2 <!-- -------------------------------------------------- --> </body> </html>
มันเป็น bug ของ Firefox มีมานานแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข
iake;
จะว่าไป.. มันไม่ใช่บั๊กครับ ผมก็เคยสับสนมาแล้ว จริงๆ แล้วผิดที่เว็บครับ ตามนิยามของ XML (ซึ่ง XHTML ต้องเป็น XML ด้วย) [15] Comment ::= '<!--' ((Char - '-') | ('-' (Char - '-')))* '-->'
แปลให้เป็นภาษามนุษย์คือ คอมเมนท์จะคลุมด้วย <!-- และ --> โดยในคอมเมนท์ จะใช้ตัวอักษรอะไรก็ได้มาผสมกัน ยกเว้นการใช้ -- (คือ - สองอันติดกัน) รวมทั้งห้ามใช้ - (แม้จะตัวเดียว) เป็นอักษรสุดท้าย คือ ถ้ามี - จะต้องมีอักษรที่ไม่ใช่ - มาปิดก่อนหนึ่งตัว
สรุปคือ.. เว็บนั่นไม่ผ่านมาตรฐานนั่นเองครับ
รายละเอียดอ่านได้จากที่นี่ http://developer.mozilla.org/en/docs/The_Importance_of_Correct_HTML_Commenting
---------- iPAtS
iPAtS
อืมม ต้องเป็น XML ด้วย
ขอบคุณครับ
ผมลองใช้ Keyboard กับ Menu Flash มันก็ได้นิครับ ลองดูจากที่link มาให้นะครับ
http://picpost.gushare.com/viewimage.php?file=LPo2218.jpg
ชาว Blognone อภิปรายสำหรับเรื่อง Accessibility ไปยัง www.equitable-society.com/ ดีกว่าพูดกันในนี้แล้วก็ไม่ได้อะไรครับ คนไทยควรช่วยเหลือกันครับไม่ใช่ทำไม่ดีแล้วเอาแต่ว่ากล่าวอย่างเดียว แนะนำว่าควรบอกด้วยว่าแก้ยังไง
ใช่ครับที่ว่า keyboard ใช้ได้ แต่ต้องเอาเม้าไปจิ้มที่ flash ก่อน 1 ที ถึงจะเลือกได้ ลองคิดถึงคนตาบอดดูซิครับ
แล้ว screen reader มันอ่าน flash ไม่ได้ครับ
ตราบใดที่คนไทยส่วนใหญ่ ยังใช้ ie 6
การทำเว็บ accessibility กับให้ได้มาตรฐาน ก็ยังเป็นอะไรที่แสนเหนื่อยล่ะครับ
เว็บพจนานุกรม แปลภาษาจีน-ไทย ไทย-จีน
http://www.zhongtai.org
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
Validate HTML
Validate CSS
Validate WAI
ครับคุณ platalay
น่าทำส่งดีนะครับ
..แต่มีอยู่คนเีดียวนี่สิ - -"
อีกอย่าง WAI ปิดตำรามานานพอควร เพราะทำไปทำมา หลายๆ คนไม่ค่อยชอบใจ
ความอลังการเป็นหลัก เว็บมีไว้ให้คนปกติดีดูเท่านั้น = ="
เห็นเว็บไอซีทีเองก็แปะโลโก้ WAI-A อยู่ด้วยนี่นา แต่ไม่รู้ผ่านจริงป่าว เปิดดูจัดหน้าเว็บทั้งหมดด้วย Table พารามิเตอร์อธิบายรูปภาพก็ไม่มี เอ่อ เยอะแยะ -*-
เนื่องจากผมใช้โอเปร่า จึงซนคลิกขวาแล้วทำการ validate เว็บไอซีทีเล่น อืม Error เป็นแถบ ลองเทสต์ WAI-A ที่ TotalValidator ก็ไม่ผ่าน
จากที่ลองเทสต์เว็บที่ผมลองทำเพื่อจะส่งประกวดงานนี้ ผมลองเทสต์ที่ http://www.contentquality.com ในระดับ AAA ปรากฏว่าไม่มีตรงไหนที่ไม่ผ่าน มีแต่ผ่านกับ N/A (ซึ่งอ่านๆดูมันบอกทำนองว่าไม่พบของพวกนั้นในเว็บที่ผมทำ เช่นเฟรมเซ็ต ฟอร์ม หรือออพเจ็กท์)
หลังจากนั้นไปลองต่อที่ http://www.totalvalidator.com ในระดับ AAA ซึ่งถ้าตัดส่วนลิงค์ไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่ (HTTP 404 Not Found ซึ่งเป็นหน้าที่ผมยังไม่ได้) ก็จะผ่านระดับ AAA ของเว็บนี้ไปได้ (เพจที่เช็คเป็นเพจที่เป็น Template ของหน้าอื่นๆ)
ไม่รู้ว่าเว็บที่ผมไปเทสต์เล่นจะเป็นมาตราฐานจริงๆไหม(แต่เห็นบอกว่าอ้างตาม WAI ของ W3C) อยากได้หน้าเทสต์ของ W3C ไม่ทราบว่ามีมั๊ยครับ? (ของ ATRC ก็เทสต์ผ่านนะ เหอๆๆ) ถึงตอนนี้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเว็บที่ผมทำมันผ่านไปได้แค่ระดับไหน แต่เห็นแบบนี้มันก็ชื้นใจละครับ ว่าอย่างน้อยผมก็ทำให้มันผ่านได้ ฮ่าๆๆ
ปล.มันต้องมีไรพลาดแน่ๆ - -"
คิดว่าที่สุดแล้ว เขาคงอยากได้คนไปทำเว็บให้เป็นมาตราฐานจริงๆนั่นแล
ผมอยากจะขอเสริมนิดนึงคับ กลัวว่าคนที่สนใจเข้าประกวดจะมองข้ามไป ก็คือ ในเรื่องของมาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขันนั้น จะใช้มาตรฐาน TWCAG2008 ซึ่งอิงมาจาก WCAG2.0 ของ W3C นะคับ เด๋วบางคนทำตาม WCAG 1.0 มาหละยุ่งเลย อีกเรื่องนึงก็คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนนั้น ในส่วนของมาตรฐานก็จะแบ่งเป็นการเช็คผ่านทางเว็บที่ให้บริการในการตรวจสอบมาตรฐาน ต่าง ๆ ซึ่ง ICT ก็ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่าจะใช้เว็บไหนในการตรวจสอบ ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะใช้ เว็บATRC เพราะเมื่อคราวที่ICT จัดสัมมนาเกี่ยวกับ web accessibility นั้น ICT ได้ยกตัวอย่างเว็บที่ใช้ในการตรวจสอบมาตรฐานก็คือ เว็บATRC แต่อีกส่วนนึงที่ผมว่าสำคัญมากกว่าคือ usability test คือการเช็คด้วย user ที่ใช้โปรแกรม screen reader ไม่ว่าจะเป็น jaws, nvda หรือแม้กระทั่ง tatip ว่าสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ ให้ความสะดวกในการใช้งานกับผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน เพราะถึงแม้เราจะทำเว็บให้ได้มาตรฐาน wcag2.0 level AAA แต่การทำไปใ้ช้งานจริง เว็บไซต์ไม่ได้ support user ก็ไ่ม่มีประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดในสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้พิการ โดยเฉพาะคนตาบอดนั้น มีหลายอย่างที่ไม่สามารถเช็คผ่านเว็บได้ ยกตัวอย่างเช่น contrast color, accesskey หรือแม้กระทั่ง alt ใน tag img เองก็ไม่สามารถเช็คได้ว่า ข้อความที่ใส่นั้นสัมพันธ์กับรูปหรือไม่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าน่าจะเน้นที่ประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากกว่าเน้นมาตรฐานคับ