ยักษ์ใหญ่สีฟ้าไอบีเอ็ม (IBM) เปิดตัวศูนย์การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing Center) พร้อมกันถึง 4 แห่ง คือ เซาเปาโล ประเทศบราซิล, บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย, โซล ประเทศเกาหลี, และฮานอย ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ศูนย์ดังกล่าวสามารถให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆให้กับระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน และไอบีเอ็มยังได้จ้างนักวิจัยกว่า 200 ตำแหน่ง พร้อมทั้งประกาศลงทุนด้วยงบถึง 100 ล้านเหรียญสำหรับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ไอบีเอ็มทุ่ม 300 ล้านตั้งศูนย์ข้อมูล 13 แห่ง
ที่มา - ON-DEMAND ENTERPRISE
Comments
เวียดนามมี แล้วไทยละ
Priesdelly.com
เอาไม่เห็นความสำคัญแล้วละ การเมืองเราไม่นิ่ง
ไม่กล้ามา กลัวม๊อบยึด
ไม่ตายไม่เลิก
ทำเนียบยังยึดได้ แล้ว IBM จะเหลือหรอ
Cloud มาแรงจัด ขนาดเพื่อนบ้าน
Oracle's Ellison nails cloud computing
555 เห็นด้วยครับ Cloud Computing มันเป็น buzz word ครับแล้วแต่คนจะนิยามครับ Oracle ก็ยังตามกระแสแฟชั่นนี้เลย
ผมคิดว่า Ellison พูดเหน็บแนมบริษัทอื่นๆที่พากันออกผลิตภัณฑ์ที่ (อ้าง) ว่าเป็น Cloud บางตัวอาจจะยังไม่ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น Cloud ก็ได้ ก็พูดถูกของเขาครับ แต่มุมมองของผม ผมว่ามันดีครับที่มีการแข่งขัน บางคนอาจจะโม้ว่าเป็น Cloud แต่มันก็จะเกิดสิ่งแปลกขึ้นมาเรื่อยๆ เกิดบริการใหม่ๆ เกิดการเปรียบเทียบ การแข่งขันกันจะทำให้บริษัทหรือผู้คนเข้มแข้ง ทำในสิ่งที่แตกต่างและสิ่งที่เหมือนกัน และเกิดเป็นมาตรฐานหรือรูปแบบอันเป็นที่ยอมรับขึ้นมา มันเป็นวิวัฒนาการน่ะ ทำให้เกิดบริการที่ดีขึ้น ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น (เช่น กระแส Green ที่มาพร้อมๆกับ Cloud) และทำให้วงการไอทีเติบโตขึ้นครับ
ตามความคิดเห็นอันน้อยนิดของผม ผมคิดว่าสิ่งที่ IBM Microsoft Intel Yahoo! Google Amazon และตัว Oracle เอง ลงทุนกับ Cloud พวกเขาทำด้วย vision ครับ ไม่ได้ทำตามแฟชั่น หรือแม้ว่าอาจจะดูเหมือนเป็นแฟชั่น แต่ถ้ามีคนพัฒนาหรือให้บริการเพียงฝ่ายเดียวมันก็ทำให้เกิดการผูกขาด และแน่นอน บริษัทเหล่านี้ที่แข่งขันกันอยู่ ก็อาจจะขาดลูกค้าจำนวนมากไป เพราะ Cloud มันเล่นเอาอินเตอร์เน็ตเป็นสนามแข่ง หรืออีกมุมมองหนึ่งก็คือ เราจะรอให้คนอื่นพิสูจน์ว่าเขาประสบความสำเร็จก่อน แล้วเราค่อยเดินตามก็คงไม่ผิดครับ
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ลุยงานวิจัยด้าน Cloud และเป็น Cloud ที่ผมนิยาม ไม่ทำตามแฟชัน เพราะทำมาก่อนแฟชั่นนี้จะดังซะอีกครับ แต่ผมทำตามอุดมการณ์ครับ ^_^
ปล. มีบทความหนึ่งชื่อ Cloud Enabled จาก Linux Magazine ที่พูดเหน็บแนมคล้ายๆกันครับ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
Oracle นี่ไม่ใช่เหรอ ที่ออก NC ก่อนใคร (และแป๊กก่อนใคร)
:) ครับ ตลาดมันก็มีความเสี่ยงเช่นนี้แหละครับ แป๊กได้ทุกคน แม้แต่ของที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า วันหนึ่งก็อาจจะล้มละลายได้
ตามกฎไตรลักษณ์ครับ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา สรรพสิ่งก็มีแค่ชื่อ แต่ตัวมันไม่มีอะไรเลยครับ ตอนนี้เราก็ทำอะไรกับชื่อที่ไม่มีตัวตนทั้งนั้นครับ ... สาธุ ^_^ ถ้าปลงได้ก็คงดีครับ
ขอปิดท้ายด้วย "Cloud คำเล็กๆ คำที่กำกวม แต่เป็น Butterfly Effect ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่"
Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ขอเสริมนิดนึงนะครับ กลัวคนจะหมั่นไส้ผม คือ ที่ผมบอกว่าลุยงานวิจัยด้าน Cloud ไม่ได้จะอวดว่าทำมานานและชำนาญนะครับ แค่อยากบอกว่าไม่ได้ทำตามแฟชั่นน่ะครับ ... และทำตามอุดมการณ์ที่อยากทำเพราะอยากทำน่ะครับ
อุดมการณ์กินไม่ได้ แต่หลับสบายครับ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมว่าน่าจะเป็นวิสัยทรรศน์ทางการตลาดน่ะ สำหรับ การเอาของที่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนชื่อใหม่ให้ดูเข้าใจง่ายขี้น ขายง่ายขึ้นเปรียบเทียบกันง่ายขึ้น ด้วยความเคารพ คือผมว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ anti- หรอกนะว่ามันจะเป็น Cloud (หรืออะไรก็ตามแต่) แต่ ผลลัพท์คือ คนสนใจมันจริงๆ เออ คน IT นี่ แฟชั่นจ๋ากันจริงๆ วันข้างหน้า อาจจะมีการรวม CPU GPU RAM แล้วบอกว่า นี่คือ "The Thing" แล้วทุกคนขาย The Thing กันหมด ผู้บริโภคก็ดีใจ "นี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ" มันน่าสนุกใช่ไหมล่ะ - ไม่หรอ?
ผมเห็นด้วยครับ จริงๆคำว่า vision ของผมก็คือวิสัยทรรศน์ทางการตลาดอย่างที่คุณ wildseed กล่าวไว้ครับ และวิสัยทรรศน์นี้มันมีสีสันเหมือนแฟชั่นและก็สร้างความสนุกได้อย่างที่คุณ wildseed ปิดท้าย
ผมเห็นด้วยกับคุณ wildseed ทุกประการครับ จริงๆผมเองก็ไม่ได้ยึดติดกับคำว่า cloud มากเท่าไหร่หรอกครับ มันจะชื่ออะไรก็ได้ จริงๆผมชอบคำว่า on-demand computing หรือ Any Computing มากกว่าด้วยซ้ำ ^_^ จริงๆเวลาพูดในวงวิชาการ หรือถ้าต้องตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ผมจะหลีกเลี่ยงคำว่า cloud ครับ ตราบใดที่มันยังไม่มี de facto หรือ standard ปล่อยมา ผมไม่กล้าใช้ เพราะ buzz word ก็แปลกันจริงๆได้ตามที่คุณ wildseed พูดแหละครับ คือมันเป็นแฟชั่น ผมไม่ชอบการใช้ buzz word อย่าง cloud ในวงวิชาการมาก เพราะกลัวว่าผลที่ตามมาจะติดลบหาก buzz word นั้นมันไปอิงกับ The Thing ของเจ้าใดเจ้าหนึ่ง
จริงอย่างที่คุณ wildseed กล่าวครับ หากบริษัทสามารถเปลี่ยน product ของตน และยกคำที่ติดปากอย่าง Cloud มาได้ มันก็ง่ายต่อการตลาดน่ะครับ และเห็นด้วยกับ Ellison ที่พูดว่า cloud คนเห่อมากเหมือนแฟชั่น จนลืมไปว่าพื้นฐานของ cloud มันควรจะเป็นยังไง
จริงๆ มันไม่ต่างกับ Grid Computing หรอกครับ เพราะช่วงหนึ่งบริษัทหลายแห่งก็เคยใช้คำว่า Grid ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ เช่น Grid-Enabled / Grid-Ready / Grid Edition เป็นต้น ทั้งที่ลืมไปว่า Grid มันมีพื้นฐานอย่างไร และที่รา้ยไปกว่านั้น Grid มันไม่ใช่ buzz word ที่กำกวมเหมือน Cloud เพราะมีองค์กรอย่าง Globus OGF ที่ให้นิยามและความเป็นกลางกับมันอยู่ แต่ก็ยังมีคนฝ่าฝืนนิยามคำว่า Grid ให้เป็นนิยามของตนเอง ผมเคยทำงานเป็น Consult ในตลาดของฟิลด์หรือใกล้เคียงกับฟิลด์นี้ (คือ HPC) ทำให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีผลิตภัณฑ์ตีตราว่าเป็นกริด บ้างครั้งมันก็ไม่ใช่กริด แต่ผมรู้ว่าถ้าผมโยงให้เห็นว่าเดี๋ยวมันก็เป็น Grid ถ้าหากมีปัจจัย 1...2... 3 ก็ว่าไป มันก็ขายได้น่ะครับ เช่น ขายคอม 10 เครื่องต่อบนแลนแล้วบอกว่าเป็นกริดก็ได้น่ะครับ ถ้าใครบอกว่าไม่ใช่กริด ก็บอกว่า "เรายังไม่เปิด feature นี้น่ะครับ มันมีอยู่แน่นอน และมันสนับสนุนกริด เราเลยเรียกว่า Grid-Ready หรือพร้อมที่จะทำให้เป็นกริด แต่ยังไม่กริดเฉยๆ ถ้าคุณอยากได้ ผมเปิด feature นี้ให้" ว่าแล้วก็ทำการติดตั้ง Globus และตั้งค่าให้ต่อไป ThaiGrid อ่าวเป็นกริด ^_^ นี่คือตัวอย่างของสิ่งที่ไม่กำกวม แต่ก็เอามาทำให้มีสีสันในตลาดได้ครับ เพราะ vision ทางการตลาดนั่นเอง
ขอบคุณคุณ wildseed นะครับ ที่ร่วมวงสนทนาด้วยหัวข้อดีๆครับ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
แอบเสียใจ เวียดนามได้ไปอีกแล้ว
ดีใจด้วย ที่เวียดนามได้ไป
เพื่อบ้านได้ เราก็จะได้แข่ง ทุ่มเท เพื่อแข่งขัน ไม่ต้องนอนกินเหมือนเสือ
ผมว่า องค์ความรู้ต่างหาก ที่สำคัญ
ไม่เห็นใครพูดถึง Thaigrid เลย?
เขาไม่มองประเทศไทย แล้วไปเวียดนามแทน
ไม่ชอบเลยพวกที่พูดว่ากู้ชาติทำเพื่อชาติ แต่ตัวเองกลับกำลังทำลายชาติให้เสียหาย
So what? (เพลงของ Miles Davis)
ezybzy.info blog
ไปฮานอยอีกแล้ว แล้วไทยจะเลยอะไรล่ะเนี้ย ไปฮานอยหมดเลย
IBM ในไทยก็ใหญ่พอไม่ใช่หรอ หรือว่ากลุ่มของลูกค้าแถวๆ ไทยไม่ค่อยมีน่ะ
อย่าท้อแท้ที่จะเรียนรู้ และจงเป็นครูสอนผู้อื่นต่อ
จากแหล่งข่าวกล่าวว่า มหาลัย รัฐบาล และบริษัทโทรคมนาคมของเวียดนาม เป็นผู้นำให้เกิดความร่วมมือนี้ได้ครับ
ผมคิดเห็นว่า เราต้องทำลายกำแพงในใจก่อน เพราะหลายคนมักกลัวการเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทลายอคติที่มีต่อเทคโนโลยีด้วยด้วยการเปิดใจให้กว้าง สร้างกำลังคนที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เลือกผู้นำที่มีวิชั่นและทำได้ตามสัญญา ให้ความรู้และข้อมูลทันสมัยแก่ประชาชนได้ทั่วถึง เลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับงาน + ฐานะ + กำลังคนและความเชี่ยวชาญที่มี จากนั้น อะไรดีๆมันก็เกิดขึ้นได้ครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog