Tags:
Node Thumbnail

ข่าวจากบล็อกอย่างเป็นทางการของ Amazon ได้เปิดเผยว่า ก่อนสิ้นปีนี้ บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆภายใต้ชื่อ Amazon EC2 จะสามารถรองรับคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual machine) ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Server ทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิต

แต่เดิม Amazon EC2 สนับสนุนคอมพิวเตอร์เสมือนที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการตระกูล Linux และ Solaris เท่านั้น การสนับสนุน Windows บน Amazon EC2 ครั้งนี้ นับเป็นโอกาสทองของ Amazon ให้สามารถดึงดูดลูกค้าในกลุ่มผู้ใช้ Windows ซึ่งมีจำนวนมากได้ และลูกค้ายังสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์เสมือนที่ฝากบน Amazon EC2 ผ่านโปรแกรมอย่าง Remote Desktop Connection หรือ rdesktop ได้อีกด้วย

ขณะนี้ Amazon EC2 ให้การสนับสนุน Windows ในช่วงเบต้าอยู่ และทีมงาน Amazon จะเข้าร่วมงาน PDC2008 เพื่อโปรโมทข่าวนี้ด้วย โดย PDC2008 เป็นงานเดียวกันกับที่ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Windows Cloud อย่างเป็นทางการ

ที่มา - Amazon Web Services Blog

Get latest news from Blognone

Comments

By: audy
AndroidUbuntu
on 2 October 2008 - 18:36 #66947
audy's picture

ออกช้ากว่า GoGrid.com
จริงๆ ก่อนหน้านี้ก็รันได้นะครับ แต่รันผ่าน Virtual machine บน Linux อีกที

By: javaboom
WriteriPhone
on 2 October 2008 - 19:02 #66954 Reply to:66947
javaboom's picture

ใช่ครับ จริงๆ GoGrid ถูกกว่า แถมใช้งาน/ติดตั้ง/ดูแลง่ายกว่าด้วย แต่ที่ทำงานผมเขาเลือก Amazon ไม่รู้ทำไม ไม่เคยถามครับ ใครเคยใช้งานจริงๆแล้วช่วยวิจารณ์หน่อยครับ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 2 October 2008 - 22:28 #66976 Reply to:66954
lew's picture

โอ้ ผมเพิ่งเคยเห็น GoGrid ไว้ลองดีกว่า

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: audy
AndroidUbuntu
on 3 October 2008 - 12:21 #67008 Reply to:66954
audy's picture

ผมชอบ EC2 ตรงที่ นึกอยากจะเปิดหรือปิดเมื่อไหร่ก็ทำได้ทันที และจ่ายเท่าที่เราใช้ มันสะดวกสำหรับการลองโปรแกรมครับ
ส่วน GoGrid กำลังหาโอกาสลองใช้บริการดูครับ คิดว่าเป็นโครงการหน้า จะใช้ GoGrid ครับ ได้ผลเป็นยังไง จะมาเล่าให้ฟังนะครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 3 October 2008 - 12:31 #67009 Reply to:67008
javaboom's picture

ขอบคุณมากเลยครับ ถ้าจะลองใช้บริการ GoGrid เปรียบเทียบ Amazon กับ GoGrid ในมุมมองผู้ใช้ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้า แต่ผมไม่มีทุนสนับสนุนให้ลองนะ ^_^

ผมไม่เคยใช้ GoGrid แต่เห็น spec แล้วก็คล้ายกับ Amazon มี API ให้เหมือนกัน

ที่ผมชอม Amazon ก็ตรง API นี่แหละ สั่งเปิด/ปิด สร้างเครื่องตาม template ได้ กำหนด logic ของการทำงาน เช่น เปิด/ปิด, สร้างเครื่องใหม่/ทำลายเครื่องเก่า, ย้ายที่ได้, snap shot ได้, ขอพื้นที่ storage เพิ่ม/ลด ตามแต่จะโค้ดลงไป เป็นต้น ไม่เคยลอง API ของ GoGrid ครับ คงจะมีอะไรมาแข่งคล้ายๆกัน (หรือเปล่า ?)

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: wearetherock
BlackberryUbuntu
on 2 October 2008 - 18:50 #66950

เข้ายุค Terminal อีกรอบ

rdesktop งะ เน็ตที่บ้านจะใช้ได้หรอเนียะ
ผมขอแค่ ssh -X ได้ก็พอ (linux!)

By: javaboom
WriteriPhone
on 3 October 2008 - 01:45 #66961 Reply to:66950
javaboom's picture

สำหรับลูกค้าบางราย (อาจจะหลายรายก็ได้)ก็ต้องการ GUI ที่ใช้งานง่ายครับ ที่อเมริกาเร็วครับ หรือประเทศที่มีเครือข่ายเร็วมาก อย่างเช่นสิงคโปร์ที่ผมอยู่ net ขั้นต่ำมันเริ่มที่ 3 Mbps แต่หลายคนยอมจ่ายเพื่อ 8 Mbps (ไม่เกินพันบาทต่อเดือน) เวลา remote มันก็ทำงานคล้ายคอมที่ช้าลงไปนิดหน่อย เคย remote จากสิงคโปร์เข้า X Server ตั้งที่ไทย (ไม่ใช่ X อย่างว่านะ) ได้หน้าจอ GNOME มาเลย ความเร็วไม่น่าเกลียดมาก กระตุกเวลาพิมพ์เร็วๆ หรือเลื่อนหน้าต่างเร็วๆครับ

เรื่องหน้าจอ GUI แบบใช้ง่ายๆ นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่บางบริการ เช่น Google Apps ให้บริการบน Cloud Computing แบบ Software-as-a-Service (SaaS) เพราะลูกค้าสามารถใช้ซอฟท์แวร์ SaaS ผ่าน browser ได้เลย ซึ่งบริการแบบนี้เป็นรูปธรรมและพร้อมใช้งานในมุมมองของผู้ใช้ที่เป็น end-user ไม่ต้องไปยุ่งกับระบบเบื้องล่างให้ปวดหัว

บางบริการก็ใช้ไอเดียแบบ Platform-as-a-Service (PaaS) เช่น Google App Engine กับ IBM IT Factory เขาให้แพลตฟอร์มเป็นระบบคอมพิวเตอร์ (เสมือน)ที่พร้อมใช้งานมาเลย แต่ปรับแต่งอะไรบางอย่างไม่ได้มาก บริการ PaaS จะจัดเตรียมองค์ประกอบสำคัญ อย่างเช่น มี OS มีซอฟท์แวร์พื้นฐาน (เช่น DBMS + App Server) และเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นมาให้พร้อม

ต่างจาก Amazon EC2 และ IBM Blue Cloud ที่มีบริการแบบ Infrasture-as-a-Service (IaaS) บางรายอาจจะเรียก Hardware-as-a-Service (HaaS) ลูกค้าจะเอา infrastucture นี้ไปทำ SaaS หรือ PaaS ก็แล้วแต่ลูกค้า ลูกค้าสามารถปรับแต่ง virtual machine ที่รันบน infrastructure ได้ตามต้องการ

ไหนๆก็อธิบายถึงนี่แล้ว เอาไปอีกตัว คือ data-Storage-as-a-Service (dSaaS) เช่น Amazon S3 และ Nirvanix พวกนี้ให้มาแต่ storage สำหรับเก็บข้อมูลครับ

ถ้าจะให้เกิด solution แบบพร้อมใช้งานจริงๆ เราจะเห็นว่ามันมี layer อยู่ 4 layer ไล่จากบนสุด (ใกล้กับผู้ใช้) ไปถึงล่างสุด (ใกล้กับระบบ) ดังนี้

  • [ SaaS ] = Application Software (เช่น ซอฟต์แวร์ต่าๆง อย่างเช่น Google Docs หรือแม้แต่ Web mail)

  • [ PaaS ] = Platform (เช่น OS + Database + App/Web Server + และอาจเป็น preinstalled virtual machine)

  • [IaaS ] = Hardware (physical machine หรือเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ)

  • [ dSaaS ] = Storage (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล)

ในตลาด Cloud Computing ผู้ให้บริการ (Cloud Provider) จะเล่นบทบาทใน layer ไหนก็ว่ากันไป หรือจะเล่นทุกๆบทบาทก็ยังได้ บางรายอย่าง Amazon เตรียมบริการอย่าง IaaS กับ dSaaS แล้วก็เปิดโอกาสให้เจ้าอื่นพัฒนา SaaS กับ PaaS ของเขาเอง และอนาคตไมโครซอฟท์อาจจะลุยตลาดแบบ Amazon ก็ได้ครับ อ้างอิงจากข่าวการวิเคราะห์ของบิล เกตส์

ปล. รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบนี้ ผมฟังมาจาก IBM อีกต่อหนึ่งครับ

UPDATE: สถาปัตยกรรมดังกล่าวดูได้จากเว็บของ IBM หัวข้อ Cloud computing with Linux

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: นายขโมย on 3 October 2008 - 02:05 #66992 Reply to:66961

ทำไมข้อมูลแน่นงี้ เทพจริง

By: javaboom
WriteriPhone
on 3 October 2008 - 02:34 #66994 Reply to:66992
javaboom's picture

ชมอย่างนี้ตัวลอยเลย (แต่ลอยไม่ได้มาก ตัวอ้วนครับ) จริงๆผมก็แค่ผู้อ่านที่ต้องอ่านข่าวด้านนี้น่ะครับ ใช้คำว่าต้อง เพราะผมทำวิจัยด้านนี้ ผมหาอ่านข่าวสารหรือหาแหล่งอ้างอิงที่เป็นผลงานวิชาการยากมากครับ เลยต้องอ่านพวกที่เป็นข่าว blog บ้าง และก็ white paper น่ะครับ

Cloud computing ยังเป็นหัวข้อใหม่สำหรับงานวิจัย อุ้ย! ไม่ใหม่หรอกครับ ^_^ แฮๆ ... จริงๆมันเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหลายๆงานที่เคยได้ตีพิมพ์ไปแล้ว ทั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบันน่ะครับ ตั้งแต่ fault tolerant, process migration, replication, scheduling, security, optimization, และอีกมากมาย ทว่าก็มีช่องว่างสำหรับงานวิจัยให้แทรกเข้าไปทำได้อยู่ครับ อาจจะไม่ใหม่มาก แต่ผมเชื่อว่าคำกำกวมอย่าง Cloud เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยที่มีการพัฒนาจำนวนมากต่อไปในอนาคตครับ ผมเชื่อว่า เดี๋ยวก็มี Conference/Journal ของแวดวงวิชาการที่เปิดหัวข้อ Cloud Computing ครับ เริ่มได้กลิ่นแล้วครับ (พูดเหมือนสุนัขเลย)

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: Anjue
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 2 October 2008 - 22:53 #66979 Reply to:66950

ง่ะ ผมติดปัญหาอยู่เลยมันไม่ยอม Forward ไม่ว่าจะขาเข้าหรือขาออกใครช่วยแนะหน่อยครับ Config ตามที่บอกในเวปแล้วมันไม่ออกหรือว่าติดที่ Compiz ขอบคุณมากครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 2 October 2008 - 23:31 #66983 Reply to:66979
javaboom's picture

เอ่อ ไม่ทราบว่า คุณ Anjue อ้างถึงเรื่อง Amazon EC2 หรือ GoGrid ครับ แต่ที่แน่ๆ คำถามนี้ผมไม่ชำนาญครับ โดยเฉพาะ Ubuntu กับ Compiz ครับ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: wearetherock
BlackberryUbuntu
on 3 October 2008 - 11:11 #67003 Reply to:66979

ไม่รู้นะครับ ผมใช้บน Ubuntu ไม่ได้ Config อะไรเลย แต่เครื่องผมไม่ได้ลง Compiz นะ

Forward ทั้ง X11 และ pulseaudio ก็ใช้ได้ดีนะครับ