CIO.com ลงบทความแนะนำภาษาสคริปต์รุ่นใหม่ๆ ที่อาจจะมาแรง และองค์กรควรจับตาดูไว้เผื่อจะได้ใช้ในอนาคต
- Scala - เจาะกลุ่มโปรแกรมเมอร์จาวาเดิม อ้างว่าแก้ปัญหา (เชิงภาษา) ของจาวาไปเกือบหมด
- Groovy - สำหรับผู้อ่าน Blognone คงไม่ต้องแนะนำกันมาก อ่าน สัมภาษณ์ Guillaume Laforge ผู้ดูแลโครงการ Groovy และ Grails66
- Clojure - เหมือนกับ 2 ภาษาแรกคือแปลงโค้ดเป็น byte code ก่อนเรียกใช้ แต่เน้นการใช้งานด้านมัลติคอร์และประมวลผลแบบขนานเป็นพิเศษ
- Lua - เป็นภาษาขนาดเล็กมากๆ นิยมใช้ร่วมกับภาษาอื่น แพร่หลายในวงการพัฒนาเกม โฆษณาว่าเหมาะสำหรับการพัฒนาแบบ Agile
- F# - เป็นโครงการวิจัยภายในของไมโครซอฟท์ ที่สร้างภาษาสคริปต์ขึ้นมาสำหรับแพลตฟอร์ม .NET
- Boo - ภาษาที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Python แต่ตอนใช้จะคอมไพล์เป็น CLI
นอกจาก 6 ภาษานี้ในบทความยังเอ่ยถึง Factor กับ REBOL และภาษาเก่าแก่อย่าง Lisp ก็ไม่เว้น
ที่มา - CIO.com ผ่าน OSNews
Comments
Lua ก็ไม่ได้ใหม่เท่าไหร่นะครับ ผมว่าผมได้ยินมานานมากแล้ว
Yume Nikki
ข้อสังเกตที่น่าสนใจอย่างนึงคือ Scala, Groovy, Clojure, F# และ Boo มีคุณสมบัติของ functional language กันหมดเลยครับ
Lua อาจจะมี? แต่ผมไม่แน่ใจ
ไม่รุ้จักซักกะอัน -_-!
notz-dev :: RIA Develop & Design
ม่ายรู้จัก แต่เพิ่งหัด Python ได้สัปดาห์เดียวเอง
+1 Boo
Lua นี่นานมากแล้วนะ ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะอย่างน้อย 7-8 ปีแล้ว
Ruby - -?
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
นั่นรุ่นเดียวกับจาวาเลยครับ - -
เท่าที่อ่านดูพบว่าส่วนใหญ่มีเป้าหมายไปรวมกันที่ JVM หรือ CLI ขึ้นอยู่กับว่าจะชอบ syntax ภาษาไหน ดูๆ ไปก็เหมือนภาษาเก่าๆ กลับชาติมาเกิด Clojure -> Lisp, Groovy -> Java, Boo -> Python, F# -> C#, (แถม Duby -> Ruby)
รบกวนทุกท่านแลกเปลี่ยนเีรียนรู้หน่อยครับ ไม่จำเป็นว่าต้องถูกต้อง : )
ประเด็นนี้ผมคุยกับคุณ cblue ใน Twitter คือว่าสุดท้ายแล้ว ตัวภาษาจะกลายเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ใน development platform (หรือจะใช้คำว่า stack ก็ได้)
เหตุผลก็คือการสร้างไลบรารีที่เพียบพร้อมขึ้นมาใน platform ใหม่ (แถมมีคู่แข่งเป็น platform เดิมๆ ที่มีไลบรารีสมบูรณ์อยู่แล้ว) ไม่ใช่เรื่องง่าย การใช้พลังของ platform เก่าที่มีอยู่แล้ว โดยแก้จุดอ่อนเรื่องภาษาแทน เป็นเรื่องที่ประหยัดพลังกว่ามากนั่นเอง
ตอนนี้ platform ใหญ่ๆ ก็มีสองค่าย คือ Java platform กับ .NET Framework ซึ่งภาษาใหม่ๆ จำนวนมากก็ต้องเลือกข้าง อิงกับตัวใดตัวหนึ่ง (หรือถ้าภาษาไหนนิยมหน่อย ก็ทั้งสองค่าย เช่น IronPython/Jython)
ส่วน platform อิสระอื่นๆ อย่าง Perl, PHP, Python, Ruby นั้นก็ถือว่าโชคดีที่มาเร็ว ในยุคที่ภาษายังไม่เยอะมาก มีการแข่งขันน้อยและดึงนักพัฒนาได้ง่าย ก็จะอยู่ได้ของมันต่อไป ส่วนภาษาใหม่ๆ ที่มาเองคนเดียว (แบบ Lua หรือ D) ก็ต้องพยายามกันหน่อย หรือไม่ก็หาตลาดเฉพาะทางไปเลย เช่น Lua สำหรับเกม หรือ Erlang สำหรับ concurrency
เขียนมาถึงตรงนี้เลยรู้สึกว่า Mono มันเทพมาก เพราะนอกจากโคลน .NET stack แล้ว ยังสร้าง Mono stack มาใช้ควบด้วย
ผมกำลังอ่านบทความสองอันนี้อยู่ ยังไม่จบ เผื่อจะมีคนสนใจ
เสริมเรื่องประวัติศาสตร์ของ Mono นิดหน่อย
ก่อนหน้าที่ Novell จะกลายมาเป็น sponsor ใหญ่ stack ของ Mono อยู่บน Gtk# และก็ไม่สนับสนุน WinForms อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ยุคหลัง Novell ซื้อ และคิดว่าคงได้รับไฟเขียวจาก Microsoft การทำให้สนับสนุน stack สาย Windows จึงเกิดขึ้น และพัฒนาไปได้แบบไม่สะดุด
ผมคิดว่าปัจจัยความร่วมมือน่าจะเป็นจุดที่ทำให้ Mono สมบูรณ์(อย่างที่เห็น) ในกรณีนี้แค่ open source spirit อย่างเดียวอาจจะไม่พอ
เสริม @tonkla F# มาจาก ML, OCaml
Grooy เป็นสายผสม Java มากหน่อย, แล้วเอา feature จาก Ruby, Python มาลด noise
ส่วน Duby เท่าที่คุยกันเราจะเอา Ruby เป็นฐานแล้วเสริม modern features บางตัวเข้ามาเพื่อลด noise ของ Ruby (ทั้งจาก Scala และ Java)
ที่พอจะตกลงกันได้แล้วคือ "implements Interface" ที่ไม่มีใน Ruby, import statement, แล้วก็การประกาศ type
แต่เหมือนกับว่าหลาย feature ยังต้องถกกันอีกนาน เช่นการประกาศ getter/setter, การประกาศ array
ขอบคุณครับ mk, cblue
F# นี่ผมหาไม่เจอว่ามาจากไหน เลยมั่วว่าคงดัดแปลงจาก C# น่าอายๆ แหะๆ ขอบคุณครับ : )
C# เป็นภาษา static ครับ ไม่ใช่ภาษา script
เอามาทำโปรแกรม High Performance ได้ดีกว่า
ผมคงไม่เอา F# ทำเกมล่ะครับ
python, ruby เก่าแล้วสินะ
เรียกว่า classic ครับ
+1 Groovy
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
post script,python,php,java,c,c++,FORTRAN,basic,rexx,bash,VB เท่านี้แหละที่เคยผ่านหูผ่านตาและเคยเขียน Groovy เห็นมานานแล้วเหมือนกันแต่ไม่เคยใช้ แต่ +1 python สู้ตายย อย่าเข้าไปอ่านนะ บทความของ Rookie
โดยส่วนตัวผมคิดว่าในหกภาษา Groovy กับ Lua น่าจะมีอนาคตสดใสหว่าตัวอื่น
ปกติการเลือกภาษาเขียนโปรแกรมมีปัจจัยต่าง ๆ ค่อนข้างมาก สำหรับคนที่เพิ่งหัดเขียนโปรแกรม อาจได้เปรียบตรงที่มีโอกาสลองได้มาก เพราะยังไม่ถึงจุดที่ต้องยึดติด แต่สำหรับคนที่ถนัดภาษาใดภาษาหนึ่งอยู่แล้ว ผมคิดว่าคำถามทีทุกคนต้องตั้งเหมือน ๆ กันคือ ทำไมต้องเปลี่ยน หรือเรียนรู้ภาษาใหม่ ซึ่งหากข้อดีในการเปลี่ยนไม่มากจริง ๆ คงไม่ค่อยมีใครอยากเปลี่ยน (แต่โดนเจ้านายบังคับนั่นอีกเรื่อง)
หากจะจัดประเภทของภาษา คงแบ่งได้ตาม paradigm และ platform
สำหรับ paradigm นั้นผมคิดว่า imperative นั้นน่าจะมีโอกาสที่ดีกว่า functional เพราะ คนส่วนใหญ่คิดแบบ imperative ได้ดีกว่า และโปรแกรมที่เป็น imperative มัก effective กว่า ดังนั้น Clojure และ F# น่าจะไปได้ไม่ไกล เพราะ functional รุ่นพี่หลาย ๆ ภาษา ก็ไม่มีภาษาไหนติด Top 10 ภาษายอดนิยม ไม่ว่าสำนักใด (ไม่ได้บอกว่า functional ไม่ดีนะครับ แต่โอกาสดังน้อยกว่า)
ส่วน Scala นั้นกึ่ง ๆ ระหว่าง imperative กับ functional ผมมองว่า ปัญหาของ Scala น่าจะอยู่ที่ syntax, keyword (ลองทายสิว่า case ใน Scala ใช้ทำอะไร) และลำดับความคิดซึ่งต่างออกไปมากพอสมควร ปัญหานี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Small Talk ไม่รุ่งอย่างที่คิด
หากแบ่งตาม platform อย่างที่ @mk เขียนไปแล้ว สามารถแบ่งได้สามกลุ่มใหญ่ ๆ คือ Java, .NET แล้วก็ Native ในส่วนของ .NET ผมคิดว่าคนที่เลือกใช้ .NET ไม่น่าจะเป็นเพราะ C# แต่น่าจะเป็นเพราะ MS กับ Visual Studio มากกว่า (แต่ Mono ก็เข้ามาช่วยมาเพิ่งความมั่นใจได้ว่า .NET สามารถ cross OS ได้) ดังนั้น บน .NET ไม่ว่าภาษาจะเจ๋งแค่ไหน โอกาสดังก็ยาก หากไม่มีเครื่องมือ หรือ framework เจ๋ง ๆ มาสู้กับ Visual Studio
สำหรับ Java นั้น เสียงบ่นถึง Noise ของ Java เริ่มหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นภาษาใหม่ ๆ บน Java จึงน่าจะมีโอกาสที่ดี โดยมีข้อแม้คือ วิธีคิดเหมือนเดิม แต่ทำงานง่ายและเร็วขึ้น เพราะจะช่วยประหยัดต้นทุนสำหรับการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เยอะพอสมควร ซึ่ง Groovy น่าจะเป็นภาษาที่ลงตัวที่สุดในตอนนี้
ส่วนภาษาที่เป็น Native นั้น ทุกอย่างยังคงเปิดกว้าง อยู่ที่ว่าใครจะมีจุดขายคืออะไร อย่าง Lua ก็มีจุดขายที่ชัดเจน ที่ภาษาอื่น ๆ ไม่มี หรือดีไม่เท่า (light weight, c++ embedding, thread)
ภาษาที่ผมคิดว่าน่าสนใจอีกหนึ่งภาษา (แม้ไม่ใช้สคริปต์) นั่นคือ ภาษา D แนวทางของภาษาใหม่ ๆ ที่ออกมาตอนนี้คล้าย ๆ กันเกือบหมด นั่นคือ Managed Code และเน้น Web App พูดง่าย ๆ คือ ทุกคนพยายามเป็น Hi-Level กันหมด ราวกับว่างาน Low-Level ที่ต้องใช้ C, C++ มันไม่มีปัญหาให้ต้องคิดอีกต่อไป ภาษา D เป็นภาษาที่เน้นงานตรงนี้ โดยเอาโครงสร้างของภาษาใหม่ ๆ มาใช้ แต่อนาคตของ D เดาค่อนข้างยาก เพราะฐานการใช้งานภาษา C เหนียวแน่นมาก จนยากจะมีภาษาอื่นทดแทน
BioLawCom.De