คนอ่าน Blognone คงรู้จักซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สกันเป็นอย่างดี คราวนี้มารู้จักฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สกันบ้าง ฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สคือฮาร์ดแวร์ที่เปิดเผยสเปก เฟิร์มแวร์ หมายเลขชิ้นส่วนประกอบ ไฟล์ CAD เอกสารประกอบ ฯลฯ โดยผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างฮาร์ดแวร์แบบเดียวกันด้วยตัวเองได้ (ถ้ามีเครื่องมือนะ)
ตัวอย่างฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สที่ดังที่สุดคือ OpenMoko FreeRunner ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือของบริษัท FIC จากไต้หวัน บริษัท FIC ได้เปิดเผยสเปกและไฟล์ที่ใช้ออกแบบ FreeRunner ทั้งหมด นั่นแปลว่าถ้ามีบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในไทยสนใจ ก็สามารถผลิตเครื่องแบบเดียวกันได้ทันที และวางขายได้อย่างไม่ผิดลิขสิทธิ์ (แต่เรื่องแบรนด์ก็คงต้องเปลี่ยนเป็นของตัวเองนะครับ)
อีกตัวอย่างหนึ่งคือโปรเซสเซอร์ตระกูล SPARC ของซัน ซึ่งเปิดเผยสเปก และไฟล์ Verilog ออกมาเมื่อไม่นานนี้ ปัจจุบันมีโครงการ OpenSPARC ที่กำลังสร้างโปรเซสเซอร์ SPARC แบบโอเพนซอร์สให้ใช้กัน
เว็บไซต์ของนิตยสาร MAKE ได้รวบรวมโครงการฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สอื่นๆ ที่ไม่ดังเท่า 2 ตัวนี้มาอีกกว่า 60 โครงการ ครอบคลุมทั้งอุปกรณ์การแพทย์ การ์ดประมวลผลด้านฟิสิกส์ การ์ดเสียง การ์ด Wi-Fi แบบ mesh network หูฟัง แว่นตา นาฬิกาปลุก ไปจนถึงอุปกรณ์พกพาสำหรับช่วยโหวตในเว็บ Digg (โหวตได้อย่างเดียวทำอะไรไม่ได้) ใครอยู่ในแวดวงฮาร์ดแวร์ ต้องบอกว่าน่าสนใจมากครับ
ที่มา - MAKE
Comments
เออ ที่เห็นเอา oscilloscope มาทำนาฬิกาอนาล็อกนี่ สุดยอด
ผมว่า arduino เจ๋งมากเลยหนะคับ มีใครลองเล่นแล้วบอกกันด้วยค้าบ
เล่นแล้ว arduino กับ avr butterfly เจ๋งมากมาย แต่อย่างว่าละครับ มันกินเมมไปหน่อย อาจจะไม่เหมาะในการทำงานจริง เหมาะทำต้นแบบมากกว่า
อย่าหวังได้เห็น OpenIPOD เลย
ขออนุญาตเพิ่มเติมนิดนะครับ
ในส่วนที่ว่า "วางขายได้อย่างไม่ผิดลิขสิทธิ์" ตรงนี้ควรจะเป็น "วางขายได้อย่างไม่ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์" นะครับ ไม่อยากให้เข้าใจความหมายผิดกันครับ
ขอบคุณครับ
กรณีนี้ ลิขสิทธิ์ น่าจะถูกแล้วนะครับ ถ้าเค้าเลือกไปจดสิทธิบัตรก็ไม่น่าจะเอามาเผยแพร่เป็น Open source Hardware อีก
จริงๆ ในความหมายของผมคือ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ครับ ครอบคลุมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เพียงแต่เลือกใช้คำว่า "ลิขสิทธิ์" นี้เพราะว่าขี้เกียจ :P คือมันเห็นภาพดีสำหรับคนทั่วไป
กรุณาใช้ให้ถูกต้องเถอะครับ คนจะได้ไม่จำไปใช้ผิดๆ
อืม นั่นสิครับ น่าสงสัย
ปกติซอฟต์แวร์ จะจัดเป็นงานสร้างสรรค์ เข้าข่ายงานที่ได้รับคุ้มครองลิขสิทธิ์ โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ก็มีไลเซนส์ (เช่น GPL) มาทำให้เป็นโอเพนซอร์ส
แต่ฮาร์ดแวร์ ได้รับการคุ้มครองอะไรหว่า
จำได้ว่าคุณโดมเคยเอาการ์ดอะไรซักอย่าง แปะป้าย GNU Public License มาโชว์ตอน BTD
onedd.net
onedd.net
น่าจะจดสิทธิบัตรนะครับ แต่อาจเป็นสิทธิบัตร"แบบเปิด" เช่นทางด้านซอฟต์แวร์ก็จะเป็นสิทธิบัตรGNU/GPL
GPL รู้สึกมันจะเป็น license (สัญญาอนุญาต) ไม่ใช่เหรอครับ ตัวซอฟต์แวร์เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับคุ้มครองลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ครับ แม้ว่าจะเป็น "ฮาร์ดแวร์" แต่ก็ได้รับความคุ้มครองไม่ต่างจากงานสร้างสรรค์อื่นๆ ลายวงจร อะไรพวกนี้ล้วนเป็นลิขสิทธิ์ครับ ถ้าเราวางอุปกรณ์ให้บอร์ดเล็กกว่าคนอื่น สวยกว่าคนอื่น อะไรอย่างนี้ได้รับความคุ้มครองในทันทีที่มีการสร้างสรรค์ ไม่ต้องไปจดอะไรทั้งสิ้น
ส่วนสิทธิบัตรนั้นเป็นแนวคิดครับ เช่นสถาปัตยกรรม x86 นั้นเป็นสิทธิบัตรของอินเทล ทาง AMD จะต้องเสียเงินค่าขอใช้สิทธิบัตรเพื่อทำชิปที่ทำงานร่วมกันได้ แม้ว่าลายวงจรบนซีพียูของเอเอ็มดีจะไม่มีความเหมือนกับของอินเทลเลยแม้แต่น้อยก็ตาม
GPL นั้น "ต่อต้าน" สิทธิบัตรเต็มรูปแบบครับ ประเด็นสิทธิบัตรนั้นถ้าตามอ่านบทความของ Richard Stallman จะเห็นว่าเขาเขียนโจมตีเรื่องพวกนี้ไว้เยอะมาก
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
อย่างนี้ก็มีด้วย :D
</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>
เดียวก็มี "หันไปใช้ Hardware Open source ดีกว่าไปใช้ของ copy"
ตามมาอีกมันก็จะกลายเป็นเรื่องเดียวกันกับ software ที่กำลังพูดๆกันอยู่
ผมว่ากรณีนี้จะเหมือนเรื่อง CL ยามากกว่าครับ
ถ้าเอาไปพัฒนาต่อต้องเปิดเผยซอร์สเหมือนกัน opensource หรือป่าวครับ
แล้วแต่สัญญาอนุญาตน่ะครับ ถ้าเป็น GPL ก็ต้องเป็น GPL ต่อไป ถ้าเป็น LGPL หรืออื่นๆ ก็ไม่ต้อง