TDAX ตลาดซื้อขายเงินคริปโตในไทยประกาศว่าได้รับการติดต่อจากธนาคารกรุงเทพ ขอให้ทาง TDAX หยุดใช้บัญชีธนาคารกรุงเทพเพื่อทำธุรกรรม และทาง TDAX ตกลงหยุดให้บริการตามที่ข้อเรียกร้อง โดยไม่รับเงินฝากเข้าทางธนาคารกรุงเทพ แต่ยังคงถอนเงินออกไปยังบัญชีของธนาคารกรุงเทพต่อไปได้
ทางธนาคารกรุงเทพขอ TDAX โดยอ้างจากการ "ขอความร่วมมือ" ของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดียังไม่มีธนาคารอื่นติดต่อ TDAX ในรูปแบบเดียวกัน แม้ตัวประกาศจะส่งถึงทุกธนาคารก็ตาม
TDAX เป็นตลาดซื้อขายเงินคริปโตที่ให้บริการระดมทุน JFIN Coin ที่ระดมทุนจากผู้ลงทุนกว่าสองพันคน รวมมูลค่า 660 ล้านบาทไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ประกาศขอความร่วมมือของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นขอให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังการใช้บัญชีที่อาจนำไปสู่การทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินคริปโต
ที่มา - TDAX
Comments
สงสัยครับ เว็บ BX และ TDAX ดูแล้วไม่น่ามี e-money license ที่ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 200 ลบ. ทำไมถึงให้ฝากเงินเพื่อเข้าไปซื้อขาย crypto ได้ครับ
เพราะเงินคริปโตไม่ใช่ "เงิน" ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
เข้าใจครับ แต่ที่สงสัยคือระบบของเว็บมีให้เก็บเงินบาทไว้ในระบบก่อนนะครับ
ผมนึกว่าการที่จะฝากเงินบาทเข้าระบบใดๆ แล้วมี balance แสดงเป็นเงินบาทเพื่อที่จะเอาไปซื้อขายอะไรต่อก็แล้วแต่ ต้องมี e-money license ซะอีก
edit:
ลองไปค้นเพิ่มเติมจากเว็บ BoT ทั้งสองบริษัทไม่อยู่ในแบบ A,B,C เลย
https://goo.gl/sQAUha
พวกเก็บเงินบาทไว้ก่อนจะเป็นอีกแบบครับ เหมือนคูปองซื้ออาหารตามศูนย์อาหาร (ซื้อสินค้าได้จำกัด ในรายการ/พื้นที่ที่กำหนดไว้)
ถ้าผมจำไม่ผิดแบงค์ชาติก็น่าจะมีประกาศยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
พอมีใครทราบ link ของประกาศดังกล่าวบ้างมั๊ยครับ หรือ keyword ก็ได้ เดี๋ยวไปค้นเอง
ผมแค่อยากเทรดอย่างสบายใจ ทุกวันนี้ซื้อทีก็ต้องรีบโอนออกไป wallet ส่วนตัว กลัวบริษัทมันโดนปิดยึดทรัพย์ไปก่อน
อ่านครึ่งหน้าแรกของคู่มือจากแบงค์ชาติครับ
ถ้าหาเองไม่เจอ วันหลังอย่าไปไล่คอมเมนต์ไปทุกคนแบบนี้นะครับ มันรกเว็บ คุณคอมเมนต์ทีเดียวเขาก็รู้แล้วว่าคุณกังวล
lewcpe.com, @wasonliw
https://bx.in.th/info/transparency/THB
ผมไม่ได้กวนนะครับ แต่ตรงนี้ก็ยังไม่ตอบคำถามที่ผมสงสัย
คือเข้าใจว่าระบบดี มี transparency ผมเองก็ชอบ ก็ใช้
แต่ระแวงครับ คือระบบรับฝากเงินบาทเข้าไป แต่ทำไมบริษัทไม่มี e-money license
จดทะเบียนไม่ถึง 10 ลบ.ด้วยซ้ำ นั่นหมายความว่าบริษัทจะรับผิดชอบจำกัดเพียงมูลค่าจดทะเบียนเท่านั้น
ผมก็ไม่แม่นกฏหมายเท่าไหร่ เลยอยากถามเผื่อมีผู้รู้ในนี้ครับ
คงเพราะ crypto มันไม่ได้ถูกนิยามทางกฎหมายเลยว่าคืออะไรกันแน่ กฎหมายเดิมทั้งหมดเลยใช้ไม่ได้ครับ ตอนนี้เหมือนสสารมืด
คือไม่ได้สงสัยตรง crypto นะครับ สงสัยตรงเงินบาทที่ฝากเข้าไปแล้วเก็บ balance ของลูกค้าเป็นเงินบาท ก่อนที่จะเอาไปเทรด เท่าที่ผมทราบมา บริษัทใหญ่ๆ ที่มีระบบลักษณะนี้ ต้องมี e-money license ทั้งนั้น ขนาดเว็บเติมเงินเพื่อเอาไปเติมเกมส์ต่อบางเว็บ ยังมี license เลยครับ
ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ที่ให้ดูเพราะเหมือนว่าเขามีเงินอยู่ในระบบเยอะมาก เลยเดาว่าเขาอาจจะจดแบบถูกต้องก็ได้นะครับ
ด้วยความสงสัยขั้นสุด ผมเลยลองไปค้นจาก DBD
TDAX บริษัท ทีแดกซ์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 5.5 ลบ.
BX บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ลบ.
ไม่ถึง 200 ลบ. ซึ่งเป็นขั้นต่ำของการขอ e-money license
ต้องมีระบบโอนเงินระหว่างสมาชิกด้วยกัน หรือชำระค่าบริการของบุคคลที่สาม หรือโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของบุคคลอื่นได้ครับ
จึงจะเข้านิยามเป็นผู้ให้บริการ e-money อันนี้เป็นเพียงรับฝากเงินเพื่อซื้อขาย cryptocurrency เท่านั้นครับ
เข้าข่ายประเภทยกเว้น แค่ต้องแจ้งให้ ธปท รับทราบครับ
bx สมัยก่อนน่าจะผิดเรื่องไม่มี e-money license ครับ เพียงแต่ไม่มีคนไปแจ้ง ธปท. เท่านั้นเอง
เดิมทีตัวเว็ปสามารถชำระค่าบริการของบุคคลที่สาม หรือโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของบุคคลอื่นได้ครับ พึ่งจะมาเอาออกตอนเว็ป Alpha Bay โดนจับ ช่วงประมาณครึ่งหลังของปีที่แล้วเอง ช่วงประมาณกันยามั้ง
ส่วนเรื่องบริษัทจะรับผิดชอบจำกัดเพียงมูลค่าจดทะเบียนเท่านั้น
อันนี้คนเทรดก็ต้องรับผิดชอบเสี่ยงเอาเองครับ บางทีทุนจดทะเบียนจ่ายไม่พอบัญชีใหญ่ๆ บัญชีนึงด้วยซ้ำ ตัวอย่าง ล่าสุดเมื่อวานเห็นบัญนึงกดซื้อที 40 ล้าน - -"
อันนี้นักลงทุนทั่วไปต้องดูแลตัวเองเลยสินะ ต้องเอาชื่อบริษัทไปค้นดูเองว่าเค้ามีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ แล้วก็ต้องเสี่ยงภัยเอง ถ้าไม่รู้ว่าต้องดูอะไรแล้วไปลงทุนสุ่มสี่สุ่มห้านี่ เหนื่อยเลย
BBL นี่เป็นเด็กดีคงเส้นคงวามาก....
จริงๆ ที่แบงก์ห่วงกันคือจะโดนเรื่องฟอกเงินมากกว่า เพราะเรื่องซื้อขายคริปโตนี่ยังลอยๆ แบงก์ชาติก็พูดกว้างๆ กลต. ก็ยังไม่ทำอะไร แต่ถ้าเผลอพลาดไปโดนปปง. สักบัญชีนี่ได้ไม่คุ้มเสียแน่นอน
ไม่น่าเกี่ยวผมว่าเขาคงศึกษาความเสี่ยงสูง กลัวเป็นNPLมากกว่า
อันนี้ฝั่งเงินฝากครับ ไม่ใช่สินเชื่อ ไม่เกี่ยวอะไรกับ NPL
volume ของbxช่วงพีคๆปลายปีที่แล้วเฉียดหมื่นล้านต่อวัน เงินหมุนเวียนขนาดนี้ ถ้ามีบางแบ๊งไม่ทำตาม คงเสียดายน่าดู
คงไม่เสียดายหรอกครับ volume เยอะ ก็ไม่ได้หมายความว่าแบงค์จะเก็บเงินได้เยอะนิ
โอนเข้าต่างธนาคาร 5 ล้านแบงค์ก็ได้เงินแค่ ร้อยบาทกว่าๆ เองมั้ง แถมส่วนมากก็ใช้โอนธนาคารเดียวกัน แบงค์ก็ไม่ได้เงินค่าธรรมเนียมอีกต่างหาก
ที่สำคัญแบงค์ที่เอาออกไม่มีใน bx มีแต่ tdax ซึ่งเว็ปมันมี volumes นิดเดียว - -"
เงินค้างบัญชีเยอะเขาก็เอาเงินไปหมุนได้เยอะน่ะครับ จริงๆ แค่มีคนฝากยอดมากๆ เขาก็โอเคแล้วไม่ต้องถึงกับได้ค่าธรรมเนียม
เอาทีละข้อนะครับ
บัญชีที่แบงก์ชอบที่สุดคือ บัญชี CASA (Current/Saving) ที่ทำตัวเหมือน Fixed คือไม่ค่อยเคลื่อนไหว เพราะจ่ายดอกน้อย และประมาณจำนวนเงินสิ้นวันง่าย
ส่วนตามข้างบนคือเป็นบัญชี CASA ที่ Volume เยอะ เคลื่อนไหวเยอะ จะสร้างความลำบากในการประมาณการเงินคงเหลือสิ้นวันของธนาคารครับ ถ้ามีบัญชีแบบนี้มากๆ เกิดถอนพร้อมกันทีละเป็นพันๆ ล้านตอนเย็นๆ แบงก์อาจสภาพคล่องขาดได้ (เพราะก่อนหน้านี้จัดสรรไว้พอดีแล้ว) ก็ต้องไปกู้ Interbank เปลืองดอกอีก หรือในทางกลับกันถ้าเหลือเป็นพันๆ ล้านก็ปล่อยได้แค่ Interbank ซึ่งดอกต่ำเหมือนกัน บัญชีแบบนี้ไม่ใช่การระดมเงินฝากที่ยั่งยืนครับ
ผมว่าเทียบสิ่งที่ได้มากับความเสี่ยงจะไปผิดเกณฑ์ผิดกฎ ธปท./กลต/ปปง. คงไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ BBL ที่นิสัยแนวเด็กดีก็ห้ามไปเลยสิ้นเรื่อง ส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ห้ามคงกลัวเรื่องชื่อเสียงทางลบ ไม่ใช่เพราะกะจะได้เงินจากบัญชีเหล่านี้ (ในตอนนี้) หรอกครับ
ตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายคุมเลย BOT ใช้คำขอร้องเชิงบังคับ ซึ่งจริงๆ หมิ่นเหม่ที่จะล้ำเส้นกฎหมายด้วยซ้ำ ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติโดนตั้งคำถามจากสภาแน่นอน
แต่อย่างว่า ตอนนี้ร้องอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าคนถือม.44 ไม่พยักหน้า
ใน "สถานการณ์ปกติ" BOT มีการออกหนังสือเวียน จดหมายเวียน หนังสือขอความร่วมมือมาโดยตลอดครับ ซึ่งก็ไม่ได้อ้างอิงกฎหมายอะไรในหนังสือเหล่านั้น แต่เนื้อหาก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจของธนาคารโดยตรง (ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ BOT ดูแลอยู่แล้ว)
สาเหตุที่ดำเนินการแบบนั้นเอาจริงๆ คือเพราะธุรกิจมันเปลี่ยนเร็ว กฎหมายตามไม่ทัน (กรณีนี้ก็เช่นกัน) ไม่ได้เกี่ยวกับว่าประเทศอยู่ภายใต้การบริหารของใครแล้วจะใช้อำนาจยังไงครับ กรณีนี้ธนาคารอื่นๆ ที่ไม่ปิดบัญชีก็มีถมไป BOT ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรนะครับ
ถึงแบบนั้นก็ควรต้องมีกฎหมาย ประกาศให้อำนาจไว้ เช่นพรบ.ต่างๆจะให้อำนาจผ่านกฎกระทรวงครับ โดยปกติกฎกระทรวงจะมีศักดิ์น้อยกว่ากฎหมาย แต่มีอำนาจจัดการหรือประกาศตามสมควรตามอำนาจกฎหมายเดิม
มาอ้างว่ากฎหมายมันช้า เลยใช้คำสั่งทางอ้อมแบบจดหมายขอความร่วมมือ ตอนดีก็ดีไป แต่ถ้าตอนร้าย มีคนรับผิดชอบไหม?
หรือมีเรื่องร้ายจริงก็ปัดสวะ บอกแค่ขอความร่วมมือ ไม่ได้ับังคับ คนอ่านไปทำเกินหน้าที่เอง?
เราอลุ่มอล่วย เล่นนอกกฎซะเคยตัวไปหรือเปล่า?
ยิ่งตอนนี้ไม่มีใครกำกับดูแล BOT ซึ่งเป็นองค์กรอิสระอีกปกติวุฒิสภาจะเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้น)
ออกคำสั่ง แต่ไม่รับผิดชอบ? ต่างอะไรกับรัฐมาเฟีย
อันนี้ผมมองต่างนะ
ถ้าผมจะtrade ผมก็มีบัญชีนึงสำหรับ trade โดยเฉพาะแล้วก็มีบัญชีเก็บเงินยาวๆก้อนใหญ่ๆ เผื่อสำรองtrade หรือไว้เก็บกำไรส่วนเกินเป็นระยะๆ ซึ่งก็มักไว้bank เดียวกันเพื่อสะดวกในการโอนอีกที
แล้วยิ่งถ้าบัญชีที่ใช้trade เป็น internet banking ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะใช้บริการอื่นๆมากขึ้น เพราะใช้ประจำไงครับ ค่าธรรมเนียมทั้งหลายก็ตามมาจากบริการเสริมอื่นๆนี่แหละ เอาง่ายๆ sms บอกรายการเข้าออกก็มีโอกาสสูงที่จะใช้ เพราะต้องmonitor ตลอด(ผ่าน appได้แต่มันไม่รวดเร็วเท่า)