Jaguar เปิดตัวรถยนต์ I-Pace รถยนต์ครอสโอเวอร์ 5 ที่นั่งพลังงานไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว หลังจากโชว์ทีเซอร์รถยนต์คอนเซปต์มาสองปี ซึ่งรถยนต์รุ่นนี้ก็เป็นคู่แข่งโดยตรงของรถยนต์เอสยูวี Model X จาก Tesla
รถยนต์ I-Pace ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน 90kWh สามารถวิ่งได้ 480 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง โดยหากแบตเตอรี่หมดแล้วชาร์จที่สถานีชาร์จไฟ 100kW DC จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่จาก 0-80% ในเวลาเพียง 40 นาทีเท่านั้น (หากชาร์จแบตเตอรี่ด้วยเครื่องชาร์จไฟบ้าน 7kW จะใช้เวลากว่า 10 ชั่วโมง) ตัวรถใช้มอเตอร์สองตัววางไว้เพลาละตัว รวมจะทำให้ I-Pace มี 394 แรงม้า สามารถเร่งความเร็ว 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ในเวลาเพียง 4.8 วินาที มีระบบ Smart Settings ใช้อัลกอริทึม AI ในการปรับแต่งให้ I-Pace เหมาะกับการขับของผู้ใช้แต่ละคน
ส่วนภายในรถยนต์นั้น Jaguar ใส่ระบบอินโฟเทนเมนต์ InControl Touch Pro Duo พร้อมแอพสำหรับควบคุมที่มี Alexa skill ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้ผู้ขับรถสอบถามข้อมูลรถยนต์ I-Pace ได้จาก Alexa (แต่ยังไม่ใช่ Alexa เต็มรูปแบบ) ระบบอินโฟเทนเมนต์นี้รองรับซอฟต์แวร์อัพเดตแบบ over-the-air, มีช่องสำหรับใส่แท็บเล็ตและแล็ปท็อปใต้เบาะหลัง มีพอร์ต USB ทั้งหมด 6 พอร์ต, ช่องเสียบ 12V socket ทั้งหมด 3 ช่อง และฮอตสปอต 4G Wi-Fi
Jaguar คาดว่าจะวางจำหน่ายรถยนต์รุ่นใหม่ภายในปีนี้ ส่วนราคาขายในสหราชอาณาจักรเริ่มต้นอยู่ที่ 63,495 ปอนด์หรือประมาณ 2.75 ล้านบาท (ไม่รวมภาษี)
Comments
หัวข้อเขียนวิ่งได้ 240 km แต่เนื้อข่าวเป็น 480 km
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
จริง ๆ คือ 240 ไมล์ (ถ้าตาม The Verge) หรือ 480 กิโลเมตร (ถ้าตาม Jaguar) ครับ ผมเขียนสลับหน่วยกันครับ แก้เรียบร้อยแล้วฮะ
ต้นทาง the verge บอกว่า 240 ไมล์ ครับ ไม่ใช่ กม. ส่วนเว็บ jaguar บอกว่า 480 กม. ไม่รู้ยังไงเหมือนกัน
เห็นข่าวรถยนต์ไฟฟ้าทุกวัน
ประเทศไทยควรคิดหาสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าได้แล้ว
คงเลี่ยงนิวเคลียร์ไม่พ้น
โรงไฟฟ้าถ่านหิน ยังประท้วงกันไม่จบ ผมเห็นที่ออกมาพูดกัน กลับไม่ใช่คนในพื้นที่ทั้งนั้น 555 นิวเคลียร์คงเกิดยากมาก
ผมเห็นด้วยว่าสุดท้ายคงหนีนิวเคลียร์ไปไม่พ้น ถ้าแนวโน้มตลาดรถยนต์ไปทางรถไฟฟ้า แต่สร้างในผืนแผ่นดินไทยคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะคงมีหลายกลุ่มคอยทักท้วง ทางหนึ่งที่ผมคิดว่ามีโอกาสคือสร้างในประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งไฟฟ้าเข้ามาขายแทน
ทำอยู่ครับตอนนี้ไทยไม่พอใช้นานแล้วใช้วิธีนั้นแต่พอเพื่อนบ้านเจริญเราก็จบครับเพราะเขาก็ต้องทำให้ตัวเองใช้
ผมว่านิวเคลียร์ไม่เหมาะ โดยเฉพาะเมืองไทย ด้วยสาเหตุหลายอย่าง
อย่างแรกในโลกนี้มีไม่กี่บริษัทที่สร้างโรงงานนิวเคลียร์ได้ครับ มันสร้างไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อนละ ต้องรัดกุมปลอดภัยกว่าเดิมมากมาย โครงการทศวรรษนี้ส่วนใหญ่งบบานกระจาย และล้มเหลวดีเลย์ จนต้องยกเลิกไปก็หลาย โครงการมันหลายสิบปีครับ ต้องวางแผนล่วงหน้านานมาก ถ้าเกิดสภาวะการณ์เปลี่ยนก็เปลี่ยนตามไม่ทันเพราะมันวางแผนล่วงหน้าหลายสิบปี
อีกเรื่องคือขนาด เทคโนโลยีพลังงานทดแทนมี scalability ที่ดีกว่า มีความยืดหยุ่นด้านความต้องการ สามารถสร้างได้เกือบทุกที่ในประเทศ เช่นโซลาร์เซล์ หรือลม โดยเฉพาะเมืองไทยถือว่ามีความเหมาะมาก
ขณะที่โรงไฟฟ้านิลเคลียร์ต้องขนาดใหญ่เท่านั้นถึงจะคุ้ม และมีข้อจำกัดด้านปัจจัยทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างมาก
การที่สามารถสเกลพลังงานทดแทนได้ ทำให้เราค่อยๆ เพิ่มกำลังผลิตได้ ไม่ใช่สิบปีเพิ่มที่ละมากๆ เพราะเมืองไทยผลิตไฟเยอะเหลือกินไปมากครับ เนืองจากกฎหมายนโยบาย ล่าสุด รมตพลังงาน ถ้าจำไม่ผิดบอกว่าเราควรเปลี่ยนไม่ต้องผลิตเผื่อเกินจนผิดไปจากประเทศอื่นๆ ในโลกอย่างที่เป็นทุกวันนี้ ซึ่งสิ้นเปลือง
ประเด็นต่อมาคือขณะที่ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญยังลำบาก ประเทศไทยจะเหลืออะไร การเมืองก็ไม่เสถียร ที่น่ากลัวสุดคือคอรรัปชั่น รถไฟฟ้าต่ำกว่ามาตรฐาน รถชนหนึ่งขบวน กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดมันเทียบกันไม่ได้เลยในเรื่องความเสี่ยง
สรุปได้ว่าเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และระบบเก็บพลังงานสำรอง น่าจะพัฒนาก้าวหน้าไปก่อนที่เมืองไทยจะพร้อมสร้างโรงงานไฟฟ้านิลเคลียร์
เห็นด้วยเกือบทั้งหมดครับ แต่ที่ว่า
"เช่นโซลาร์เซล์ หรือลม โดยเฉพาะเมืองไทยถือว่ามีความเหมาะมาก"
พอจะมีอ้างอิงไหมครับ อยากอ่านเรื่องนี่อยู่พอดี
ให้นึกตอนนี้ขี้นมาเลย นึกไม่ออกครับ ที่จำได้ชัดคือตอนนั้นมีผู้เชี่ยวชาญฝรั่งให้ความเห็นไว้ครับว่าเมืองไทยควรจะปรับปรุงกฎหมายพลังงานทดแทน เมืองไทยแดดจัดอันนี้ชาวบ้านธรรมดาก็รู้สึกได้ และเราฝุ่นไม่เยอะเท่าทะเลทรายเหมือนพวก ตอก. (ที่ต้องคอยทำความสะอาดฟาร์มโซลาร์ค่อนข้างบ่อยถึงจะแดดดี) แล้วเราด้ามขวานเหมาะมากครับกับพลังงานลมเพราะ ลมแรง เพราะใกล้ชายฝั่งเป็นพันกิโลสองฝั่งน้ำเลย คิดว่าในบางกอกโพสต์นะ หลายปีละ ตอนนั้นมีเรื่องนิวเคลียร์ สมัยอภิสิทธิ์ หรือบิ๊กบังเนี่ยแหละ
แต่กฎหมายล้าหลังหลายอย่างซึ่งคิดว่าใกล้ๆ นี้คงเปลี่ยน เช่นไม่ส่งเสริม(ทำให้ลำบาก)ในการติดตามโซลาร์เซลล์ในบ้านพักอาศัยทั่วๆ หรือที่ใครมาพูดว่าต้องเก็บภาษีพลังงานทดแทน เพราะลบสมดุลพลังงานกลางวันกลางคืน ไรงี้เป็นต้น
เอามาจากไหนว่า เมืองไทยเหมาะกับ PV cell มาก ข้อเสียอย่างนึงของเทคโนนี้คือความร้อน ที่ทำให้การผลิตออกมา ไม่ถึงจุดที่ควรจะเป็น สภาพแวดล้อมที่ดีของ PV cell คือความเข้มแสงเยอะและอุณหภูมิไม่สูง ซึ่งเป็นสิ่งที่พัฒนากันอยู่อย่างตลอดสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยา
เมืองไทยเหมาะกับSolar จริงครับ
แต่ต้นทุนค่าไฟมันแพงครับ ตก7-9บาทต่อหน่วยนะครับ แผงมันมีอายุการใช้งาน ไม่ใช่ตั้งเสร็จแล้วใช้ได้ตลอดกาล
ส่วนลมมันก็มีอยู่แล้วครับ แต่ผมว่ายังไงมันก็ไม่เหมาะอยู่ดี กังหันตัวนึงก็ไม่ใช่ถูกๆ แถมส่งเสียงรบกวน ไหนจะบดบังทัศนีย์ภาพอีก
และปัญหาใหญ่ที่สำคัญที่สุดของพลังงานทดแทนพวกลมและแสงอาทิตย์ก็คือ มันผลิตได้ไม่พอใช้ครับ
ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผมว่าถ้าสร้างจริงมันไม่ทำชุ่ยๆหรอกครับ เพราะถ้ามีปัญหามา ตัวมันเองก็ได้รับผลกระทบด้วยอยู่ดี และอีกอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถึงเราไม่ทำ เดี๋ยวเพื่อนบ้านเราก็ทำอยู่ดีครับ ระเบิดทีเราก็โดนลูกหลงด้วยอยู่ดี
สร้างในประเทศ ยังได้ใช้ด้วย รับความเสี่ยงด้วย
ถ้าไม่สร้าง สักวันนึงก็ต้องรับความเสี่ยงจากเพื่อนบ้านอยู่ดี
ต้นทุนตอนนี้ถ้าทำระดับ 1-5 MW เงินลงทุนแค่ 30 กว่าล้านบาท/MW เองครับ คิดเฉลี่ยต่อหน่วยตลอด 20 ปี ตกต้นทุนหน่วยละ 2.2 บาทต่อหน่วยเองครับ
ตอนนี้ปัญหาของ pv ไม่ใช่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแพงแล้วครับ ปัญหามาจากความไม่แน่นอนในการผลิต ทำให้ มาบ้างไม่มาบ้างคุมไม่ได้ มำให้ต้องเดินโรงไฟฟ้าก๊าชธรรมชาติมาช่วยซึ้นต้นทุนแพงประมาณ5 บาทต่อหน่วย
ที่ขาร์ตบ้าน 7kW x 10 ช.ม. = 70kW แต่ชาร์ต Battery 90kW เต็ม ?
0-80% ไม่ใช่เหรอครับ
รอแบต ssb
ใช้เครื่องสันดาปเติมน้ำมันง่ายกว่า 3 นาทีเสร็จ
น่าจะเติมเร็วมากนะครับ วันก่อนผมเติมเบนซิน ไม่ถึงสามสิบลิตร ตอนนั้นรีบ เลยจับเวลา รู้สึกว่ามันนานกว่าห้านาที ไปใกล้ๆ สิบนาทีนะครับ แหะๆ
หัวจ่ายเชลแถวบ้านแรงมาก เพิ่งก้มตรวจลมยาง ได้ ล้อเดียว มันเติมเสร็จละ 1200
ถ้าเรายังไม่คิดค้นเอง ยากครับที่จะได้มาใช้ในเร็ววันเพราะจ่ายไม่คุ้มที่ได้
solarcell ถ้าทำกันทุกหลังคา มีพอใช้แน่นอน แต่เฉพาะกลางวันนะ ถ้าจะใช้กลางคืน ต้องว่ากันเรื่อง battery อีก ตัวนี้แหละที่ทำให้แพง