หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง IBM กับ Intel สร้างชิพควอนตัมนำไปก่อน ในที่สุด กูเกิลก็ออกมาเปิดเผยในงานประชุมประจำปี American Physics Society ที่ Los Angeles ถึง Bristlecone ชิพควอนตัม 72 คิวบิตที่กูเกิลกำลังวิจัยอยู่ นับเป็นชิพที่มีจำนวนคิวบิตสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการประกาศมา (เทียบกับชิพของ IBM และ Intel ที่มีอยู่ประมาณ 50 คิวบิต)
เป้าหมายสำคัญของการสร้างชิพ Bristlecone ไม่ได้มีแค่จำนวนคิวบิตที่เพิ่มสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมี error rate ต่ำด้วย โดยเทียบกับชิพควอนตัมขนาด 9 คิวบิตที่กูเกิลเคยสร้างขึ้นมาเมื่อปี 2016 (ผมเข้าใจว่าน่าจะใช้เทคโนโลยีเดียวกันด้วย แต่สเกลให้มีจำนวนคิวบิตเยอะขึ้น) เท่าที่ทดสอบมาแล้วคือ error rate อยู่ในระดับต่ำกว่าชิพเดิม เมื่อใช้คิวบิตจำนวน 49 คิวบิต (รายละเอียดการทดสอบสามารถอ่านได้เพิ่มเติมจากที่มา)
นอกเหนือจากการแข่งขันกับชาวบ้านแล้ว ชิพควอนตัมอันใหม่นี้ก็จะถูกนำไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับ simulation, optimization, และ machine learning ด้วย
ที่มา - Google Research
(ซ้าย) ชิพ Bristlecone ของกูเกิล (ขวา) ภาพจำลองการจัดเรียงคิวบิตภายในชิพ (ภาพจาก - Google Research)
กราฟแสดงทิศทางการวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมของกูเกิล (ลูกศรสีแดง) จะเห็นได้ว่ากูเกิลพยายามผลิตชิพที่มีจำนวนคิวบิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ error rate ก็ต้องน้อยลงด้วยเช่นกัน (ภาพจาก - Google Research)
Check out Bristlecone, a new quantum processor from the Google Quantum AI Lab. Bristlecone will provide a testbed for research into system error rates and scalability of Google's qubit technology, as well as applications including #MachineLearning → https://t.co/47FVC9YzkB pic.twitter.com/XdcojLdthK
— Google Research (@googleresearch) March 5, 2018
Comments
สงสัยครับว่าคิวบิตที่เพิ่มขึ้น มันทำให้การถอดรหัสเร็วขึ้นในอัตราเร่งแบบยกกำลังหรือแบบเส้นตรงครับ
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดมันคั่นระหว่างได้หรือไม่ได้นะครับ แต่ถ้าจำนวนมากพอที่จะทำได้แล้วก็จะไม่เร็วไปกว่านั้น
ส่วนงานอื่นๆ ก็ควรจะเป็นแบบยกกำลัง?
อยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับคิวบิต และ error rate พอจะหาอ่านได้ที่ไหนครับ แบบง่ายๆ หน่อย
ถ้าเป็นคิวบิต ลองเริ่มต้นที่คลิปนี้ก่อนก็ได้ครับ เค้าลองอธิบายสถานะของคิวบิตด้วยการโยนเหรียญ น่าจะพอช่วยให้เก็ทไอเดียเกี่ยวกับคิวบิตได้บ้าง แล้วค่อยไปลงรายละเอียดต่อที่อื่น
ส่วน error rate นี่ กูเกิลเค้าคำนวณโดยให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมรันสักโปรแกรมนึง (ประมาณว่าสุ่มวงจรคอมพิวเตอร์มาสักชุดแล้วให้คิวบิตวิ่งผ่าน) แล้วเทียบผลกับ simulator ที่รันโดยคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปครับ (อันนี้มีอธิบายในที่มา) ถ้าจะไปไกลกว่านี้ก็น่าจะเป็นเรื่อง quantum error correction ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาอ่านแบบง่ายๆ จากที่ไหน 555
สวัสดีค่ะ พอดีตามมาจาก Blog "[ฝึกงาน Blognone] ทดลองสร้าง Speech Recognition ด้วย CMUSphinx ตอนที่ 1และตอน2" อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมไม่ทราบว่ามีช่องทางติดต่ออื่นมั้ยคะ