ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นการผลักดันของรัฐบาลปัจจุบันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และเงียบหายไปจนกลางปี 2017 จึงกลับมารับฟังความเห็นอีกครั้ง ตอนนี้ร่างล่าสุดก็กลับมารับฟังความเห็นอีกครั้งแล้ว โดยมีกำหนดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 25 มีนาคมนี้
สิ่งที่เปลี่ยนไปชัดเจนที่สุดในร่างนี้คือความยาว จากเดิมมีทั้งหมด 43 มาตรา ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 58 มาตราแล้ว มาตราที่น่ากังวลที่สุดคงเป็นมาตรา 47 ที่ยังคงกำหนดให้เจ้าพนักงานสามารถสั่งคนมาให้ข้อมูล, สั่งให้บุคคลใดๆ ดำเนินการ, และเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารได้ทุกรูปแบบ โดยต้องข้อคำสั่งศาลเฉพาะการดักฟัง แม้กระนั้นก็ยังสามารถยกเว้นได้หากถือว่าเป็นกรณีเร่งด่วน
อีกประเด็นหนึ่งที่เพิ่มมาจากร่างปี 2017 คือระบุให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) รับหน้าที่เป็นสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติไปจนกว่าสำนักงานจริงจะตั้งเสร็จ ซึ่งคงไม่น่าแปลกใจนักเพราะตั้งแต่ร่างแรกออกมา ผู้อำนวยการสพธอ. ก็เป็นคนออกมาชี้แจงว่าต้องดักฟังเพื่อป้องกันการแฮก
ที่มา - lawamendment.go.th
Comments
สั่งคนมาให้ให้ข้อมูล >> สั่งคนให้มาให้ข้อมูล
โดยต้องข้อคำสั่งศาล -> โดยต้องขอคำสั่งศาล
ขำเพลงท้ายข่าว 555+
That is the way things are.
ศรีธนญชัยสุดๆ แค่บอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนก็ข้ามข้อกฏหมายได้แล้ว
รับฟังความคิดเห็นเฉพาะที่อยากฟังสินะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
กฎหมายที่ยาวนั้นน่าสงสัย #ElonMusk
my blog
แบบนี้เรียกว่า "จงใจสร้างช่องโหว่" ใน พรบ. นี่นา แค่เปิด request มาเป็น URGENT ด่วนที่สุด!! ก็ข้ามขั้นตอนสำคัญทางกฎหมายได้หมดเลย! แล้วคำว่า "เร่งด่วน" ก็มีหลาย Level อย่างด่วนแต่ไม่สำคัญก็ขอได้เหมือนกัน จริง ๆ ควรจะยกเว้นแค่กรณีเดียวคือเคสก่อการร้ายเท่านั้นเพราะกระทบความมั่นคงของแท้ตามชื่อ พรบ.
เขากรุณาเติม firewall มาให้แล้วนะครับ เพิ่งเติมมาร่างสอง ร่างแรกนี่โล่งๆ เลย
เติม firewall มาให้แล้วเขาก็ขอปุ่ม disable firewall ไว้ด้วย
lewcpe.com, @wasonliw
ถถถถถถถ
อารมณ์เหมือนไฟล์วอร์วินโดสเซเว่น ที่ใครๆก็กด disable ทันทีที่ใช้งาน...
ความมั่นคงมาแล้ว ความเจริญย่อมตามมา
ข้อ 3 ควรเพิ่ม ถ้าดำเนินการไปก่อนแล้วต้องส่งไปยังศาลพิจารณาภายหลังถ้าศาลไม่เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ไม่มีการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นจริง ผู้ที่มีส่วนอนุมัตและดำเนินการทั้งหมดต้องรับผิดชอบทางกฎหมายทั้งหมด
เพราะปรกติก็ขอศาลได้อยู่แล้วแต่ปัญหาคือถ้ากลัวช้าแล้วเห็นปัญหาซึ่งๆหน้าก็เห็นด้วยว่าควรตรวจสอบได้เลยแต่ถ้าทำโดยเกินอำนาจ ไปจับผิดเป้าหมายเขาพิมพ์เล็กๆน้อยๆแต่หาข้ออ้างเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตัวเองและพอสืบค้นแล้วไม่ใช่ก็ควรได้รับโทษทางกฎหมายเช่นกันกับการละเมิดผู้อื่นโดยเจตนา
ปล...ลองรับฟังข้อมูลหลายๆด้าน หลายๆมุมมองนะครับ ลองเอาตัวเองไปมองในมุมของคนอื่นๆมั่ง