Tags:
Node Thumbnail

McKinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจทั้งรัฐ เอกชน มีสำนักงานสาขาใน 60 ประเทศ เผยเทรนด์ผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อแรงงานคนพบว่าในประเทศไทยอาจมีคนทำงานที่ได้รับผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีถึง 6 ล้านราย ภายในปี 2030 อาชีพที่กระทบสูงคือ อาชีพที่อาศัยทักษะทำงานแบบซ้ำเดิมทุกวัน เช่น แรงงาน, พนักงานออฟฟิศ เป็นต้น

No Description
ภาพจาก Shutterstock

เทคโนโลยีรวมทุกอย่างตั้งแต่ หุ่นยนต์หรือเครื่องมือที่ทำงานซ้ำๆ อัตโนมัติ, Smart workflows หรือการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเครื่องจักรที่ให้งานบรรลุได้รวดเร็วกว่า, Machine Learing, Natural Language และ Cognitive agents ที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับ บริการลูกค้าเบื้องต้นได้

No Description

มร.เกรเกอร์ ธีเสน ประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจ McKinsey ในเอเชียแปซิฟิก ระบุที่มาของการศึกษาว่า ทางบริษัทศึกษากิจกรรมกว่า 2,000 กิจกรรมที่คนใน 800 อาชีพทำอยู่ทั่วโลก และเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบันว่า มีเทคโนโลยีหรือกระบวนการอัตโนมัติใดทำกิจกรรมแทนคนได้บ้าง พบว่า 50% ของกิจกรรมในกิจกรรมในงานทั้งหมด สามารถแทนที่ด้วยเทคโนโลยีได้แล้ว คิดเป็นบุคลากร 75 - 135 ล้านราย

No Description

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีไปใช้แทนที่คนจริงๆ นั้นยังมีสัดส่วนน้อย McKinsey คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 15 ภายในปี 2030

เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทย พบว่าประเภทของงานที่เทคโนโลยีสามารถแทนที่ได้ในเชิงเทคนิค ในปัจจุบันมีประมาณร้อยละ 55 ของกิจกรรมทั้งหมด และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนคนจริงๆ ประมาณร้อยละ 17 หรือคิดเป็น 6 ล้านตำแหน่ง

สาขาอาชีพที่ McKinsey ระบุว่าอาจได้รับผลกระทบมากสุดคือ แรงงานผลิต, พนักงานต้อนรับอำนวยความสะดวกที่พัก, พนักงานในภาคขนส่ง จัดเก็บคลังสินค้า (ดูชาร์ตด้านล่าง แถบสาขาอาชีพที่มีสีฟ้ามาก คืออัตราส่วนที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาทำแทนได้)

No Description

การแทนที่ของเทคโนโลยีนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น นโยบายรัฐ การเปิดรับเทคโนโลยีของแต่ละประเทศ ในกรณีประเทศไทยที่ค่าแรงคนยังไม่ได้สูงมาก อาจไม่คุ้มถ้าจะใช้เครื่องจักร เทคโนโลยีที่ยังมีราคาสูงมาแทนที่ และยังมีประเด็นโครงสร้างพื้นฐานด้วย

ด้าน นพมาศ ศิวะกฤษณ์กุล ประธานกลุ่มธุรกิจดิจิทัล บริษัท McKinsey ประเทศไทย ระบุเพิ่มเติมว่า ในขณะที่มีหลายงานถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี แต่ก็มีโอกาสใหม่ สาขาอาชีพใหม่เกิดขึ้น

นพมาศกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า "แม้เราจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนได้ในบางส่วน แต่ไม่ได้หมายความว่างานจะหายไป เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ ทำให้ตลาดต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นในทุกประเภทเพียงแต่จะมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น"

ทางออกที่ McKinsey เสนอคือ ต้องเร่งขยายทักษะงานให้ทันต่อความต้องการอาชีพใหม่ๆ โดยเฉพาะภาคการศึกษา ส่งเสริมการร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา เพื่อผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของตลาด ส่วนภาคอุตสาหกรรมควรส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องให้บุคลากร (Life Long Learning)

Get latest news from Blognone

Comments

By: akira on 19 March 2018 - 14:53 #1039134

มันอยู่ที่ผู้ประกอบการจะนำเทคโนโลยีมาใช้มากแค่ไหน รวมถึงต้นทุนต่างๆ ด้วย ถ้าผู้ประกอบการคนไทยน่าจะคงต้องเป็น gen ถัดไป ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นต่างชาติถ้าเทคโนโลยีนิ่งพอก็ใช้กันแล้ว แต่ปัจจุบันก็เห็นแค่ Robot ที่นิ่งพอ น่าห่วงคือ เรายังมีผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีน้อย ที่จะป้อนความต้องการมหาศาลในอนาคต กลายเป็นโอกาสของต่างชาติหมด น่าห่วงมากว่าเราเป็นได้แค่ผู้บริโภคเทคโนโลยีหรือ ? ทั้งๆ ที่พื้นที่นี้จะเกิดโอกาสมหาศาลในอนาคตแน่นอน

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 19 March 2018 - 17:32 #1039163
Jaddngow's picture

เมื่อไหร่จะมีdrone มอไซค์รับจ้าง

By: tanapon on 20 March 2018 - 16:05 #1039408

คนเกิดน้อยลง แรงงานก็ลดลง ใช้เครื่องจักรมาช่วยก็ดีแล้วแต่คนต้องพัฒนาทักษะใหม่