ในงาน Bangkok FinTech Fair 2018 ที่จัดขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย Mastercard ได้ออกมาบูธภายในงานพร้อมนำเสนอโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านการเงินแบบ contactless ภายใต้ธีม Smart City โดยหลายๆ โซลูชันถูกนำไปใช้งานจริงแล้วในหลายเมืองและ Mastercard พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในไทย
โซลูชันที่ใกล้ตัวและเห็นได้ชัดที่สุดคือการนำบัตรเครดิตหรือเดบิต Mastercard แบบ contactless ไปจ่ายค่าโดยสารสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า, รถไฟใต้ดินและรถเมล์ อย่างที่มีการใช้งานไปแล้วในสิงคโปร์และกรุงลอนดอน ซึ่งลดเวลาในการต่อแถวแลกเหรียญและต่อคิวเพื่อซื้อบัตรอีกครั้งลงไปได้มาก รวมถึงลดต้นทุนของผู้ให้บริการด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามกับผู้บริหาร Mastercard ถึงความคืบหน้าและโอกาสว่าจะได้เห็นโซลูชันนี้ในไทยเมื่อไหร่ ผู้บริหารตอบว่าทาง Mastercard ทำได้เพียงนำเสนอโซลูชันเท่านั้น ต้องอยู่ที่วิสัยทัศน์ของ BTS, MRT และหน่วยงานด้านขนส่งที่จะติดต่อเข้ามาเพื่อนำไปใช้ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี
นอกจากโซลูชันด้าน Transit โซลูชันอื่นๆ ที่ถูกนำเสนอก็มี QR Code ไปจนถึงเทคโนโลยี Token ที่ใช้งานในกระบวนการชำระเงินออนไลน์หรือบน Digital Wallet โดยตัว Token จะถูกสร้างขึ้นหลังการยืนยันเลขบัตรเครดิต 16 หลักของผู้ใช้และเข้ารหัสไว้ และเมื่อทำธุรกรรม Token จะเข้ามาเป็นตัวกลางแทน ทำให้การส่งข้อมูลบนเครือข่ายไม่มีหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ใช้ ซึ่ง Token มีการใช้งานในไทยแล้วบน Samsung Pay
อีกหนึ่งโซลูชันที่ผู้บริหาร Mastercard พูดถึงระหว่างการสัมภาษณ์ (แต่ไม่มีในงานเปิดตัว) คือ 3DS 2.0 หรือ 3D Secure 2.0 เทคโนโลยียืนยันตัวตนแบบใหม่เวลาใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ ด้วยการใช้ไบโอเมตริกอย่างใบหน้า, ม่านตาหรือลายนิ้วมือแทนที่ OTP ในแบบเดิมๆ ซึ่งโซลูชันนี้จะเชื่อมต่อและทำงานผ่านแอปโมบายล์ของธนาคารที่ออกบัตร หากผู้ใช้งานไม่มีสมาร์ทโฟนหรือใช้โมบายล์แอป การยืนยันตัวตนก็จะกลับไปเป็น OTP เหมือนเดิม
3DS 2.0 จะเริ่มเปิดใช้งานจริงทั่วโลกภายในสิ้นปีนี้
Comments
อยู่ที่วิสัยทัศน์ของ BTSกับ MRT แทบจะตอบแทนได้เลยว่าไม่ได้ใช้แน่
จะเติมเงินด้วยบัตรเครดิตยังไม่ได้เลย 555
ออกมาบูธ => มาออกบูธ
หมายถึงวิสัยทัศน์ ?
ฮ่าๆ
ไม่ได้หมายถึงวิสัยทัศน์ก็อาจจะเป็นเงินใต้โต๊ะครับไม่มีให้เลยไม่ทำ...
ค่าใช้จ่ายการรักษาเงินนิมันสูงนะค่าซ่อมเครื่องหยอดเหรียญค่าคนมาค่อยนั่งเติมเงิน แต่ดันไม่มีช่องทางให้ชำระออนไลน์สักอย่างล้าหลังกว่าการเดินทางด้วยรถสมัยนี้อีก
ของแบบนี้มันต้องชงมาว่า
ยังไม่มีแผนจะนำไปใช้งาน?
ค่อยตบว่า วิสัยทัศน์
ปล. ผมว่าเค้ารู้แหล่ะว่าอะไรคืออะไร แต่ปัญหาคือบริษัทเอกชนมุ่งหวังกำไรสูงสุด
เพิ่มได้ 1.x% จากค่าธรรมเนียมบัตร (หรือลดค่าธรรมเนียมบัตร 1.x ลงได้)
แม้ผู้บริโภคจะลำบากก็เอา ... แต่มันคือตัวเลขกำไร ขณะอยู่ในวาระ
ถ้าทำแล้วตัวเลขเป็นลบ ออกไปเปลี่ยนวาระ กลายเป็นผลงานอีกคน
แถมคนเอามาด่าว่าเพรางั้นเพราะงี้
ทั้งที่โดยนัยแล้วมันควรเชื่อมโยงความร่วมมือกับร้านค้ามากกว่า
สำหรับผม กลายเป็นแรบบิทหมดความน่าใช้ไปเยอะเลย
ปล.2. ไม่ต่างจากการเมืองไทยบ้านเราที่น้อยคนจะไล่เอาว่าโครงการนี้ใครเริ่ม ช่วงไหนใครจ่ายช่วงไหนตัวแดงแล้วช่วงเป็นผลตอบแทนคือช่วงไหน ... พอมันไปแดงในงบประจำปีก็ด่าเสียเทเสีย เป็นต้น
อะไรประหยัดได้ก็ประหยัดอย่างบันไดเลื่อนเคยดูแลกันเปล่า เกือบมีคนตายแล้ว มาอ้าง18ปีไม่มีปัญหา จะใฟ้เกิดก่อนแล้วถึงตรวจสอบหรือไง
มันเป็นเพราะไม่ค่อยมีการแข่งขันด้วยแหละครับ เรื่องค่าธรรมเนียมไม่น่ามีผลเยอะ คนเข้าได้เร็ว ไม่ต้องใช้พนักงานมาดูแลมาก ค่าใช้จ่ายมันชดเชยกันอยู่แล้ว แต่ไม่มีการแข่งขันมันไม่ต้องทำอะไรก็ได้ยังไงก็ต้องใช้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ในเคสของ BTS ค่าธรรมเนียมมีผลค่อนข้างมากนะครับ
เหตุผลหลักๆคือ เติม และรูดผ่านเครื่อง EDC/POS ของระบบรถไฟฟ้า (ซึ่งตอนยุคนั้นแทบจะเป็นจุดเดียวในการเติมเงินที่ใช้บัตรเครดิตได้) และเอาเงินนั้นไปใช้บนบริการอื่นๆ ... ฟีลประมาณ Rabbit แบกรับทุกค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตที่เกิดจากการเติมเงินแทนผู้ให้บริการชำระด้วย Rabbit (ถึงแม้หลังบ้านจะมีการชาร์จในรูปแบบอื่นก็เหอะ)
ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันก็ยังใช้บัตรได้อยู่ แต่จำกัดเฉพาะเติมเที่ยว และบัตรวัน (ซึ่ง BTS ได้การใช้จ่ายตรงนี้เต็ม)
มันเป็นความพลาดของการดีลกันระหว่าง Rabbit กับร้านค้าต่างๆ ที่คงส่งผลต่อเนื่องมาและแก้ Term ยากนั่นแหล่ะ แต่ก็อีกล่ะ สุดท้ายคนรับจริงๆก็เลยกลายเป็นผู้บริโภคปลายทางไป
เข้าใจส่าเติมเงิน พร้อมเที่ยวยังใข้บัตรได้อยู่ แล้วก็การเติมเงินอัตโนมัติผ่านบัตรแรบบิท กรุงเทพ
ข่าวนี้มันเรื่องใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าโดยสารสาธารณะหนิครับ ซึ่งเงินตรงนี้เข้า BTS ผมไม่ได้หมายถึงเรื่องเอาไปเติม rabbit ไปจ่ายบริการอื่น
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ่อครับ งั้นคงเข้าใจผิด
นึกว่าตอบใต้ผม (ซึ่งอนุมานเอาว่าการไม่มีวิสัยทัศน์เรื่อง Cashless คือการยกเลิกบัตร Credit ในการเติมเงินทั่วไป) ก็เลยตอบในประเด็นที่เค้ายกเลิกอาจไม่ใช่เพราะไม่มีวิสัยทัศน์ อาจะไม่ใช่เพราะ Fee ไม่มีผล
แต่ถ้าในเคสวิซ่า/มาสเตอร์ ที่เป็น contactless ก็โดนแค่ fee กับ ดอกเบี้ยจากเงินที่เติมไว้ล่ะมั๊งครับ
เพิ่งกลับจากไตหวัน เห็นระบบ e-payment ที่นั่นแล้วอิจฉามากกก ของไทยไม่ได้ขนาดเทคโนโลยี แต่ขาดวิสัยทัศน์ ฮืออออ.
ถ้าทำได้จะเยี่ยมมาก แต่สงสัยคงจะอีกนาน
น่าจะสอดคล้องกับข่าวนี้ ตั๋วร่วมรถไฟฟ้าขยับอีกคืบ ‘คมนาคม’สั่งอัพเกรดเป็นบัครเครดิต
Contactless ของ Master Class ไม่เห็นเจอห้างในรับเลย ไปแต่ละที่เจอแต่ Logo VISA
จริงๆ ขอให้ไทยแค่แบบญี่ปุ่นก็พอบัตรไรก็ได้ มาตรฐานเดียวกันใช้ได้กันหมด
รอไปเถอะ BTS, MRT
That is the way things are.
ดีงามมาก ขอให้ใช้งานจริงได้ และ รฟม BTS เห็นพ้องร่วมกัน ระหว่างรอบัตรแมงมุม ไรนั้น ที่รอมาหลายปีละ ก็เอา Credit card contact less มาใช้ก่อน ซื้อตั๋ว BTS หมอชิต ยาวไปออก MRT หัวลำโพง ไรงี้
เพิ่งกลับจาก Kuala Lumpur รถไฟฟ้า KLIA ใช้ VISA pay wave ได้