ตอนนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่ โดยพรรคกลาง (Moderate Party) ที่ไปจดทะเบียนแล้วนั้น ได้นำเสนอนโยบายที่น่าสนใจ ด้วยการนำเทคโนโลยีอย่างบล็อคเชน มาใช้สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้ประชาชนเป็นคนออกเสียงตัดสินใจในสิ่งต่างๆ แทน สส.
ดร.ชุมพล ครุฑแก้ว อดีตผู้บริหารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.หรือ NECTEC) และนายสุขทวี สุวรรณชัยรบ ตัวแทนจากพรรคกลางระบุว่า วิธีนี้เป็นประชาธิปไตยทางตรง ที่สามารถก้าวข้ามความขัดแย้งและรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปได้ และกระบวนการตัดสินใจโดยไม่ใช้ตัวแทนนี้จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชัน และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้มากขึ้น
ดร.ชุมพล ยกตัวอย่างกรณีกระแสข่าวการขุดคอคอดกระ ที่รัฐบาลสามารถสอบถามความเห็นประชาชนได้โดยตรง ขณะที่การออกกฎหมายใหม่ๆ สามารถสอบถามความเห็นประชาชนได้โดยตรง แทนที่จะเสียเงินทำประชาพิจารณ์เป็นพันๆ ล้านเหมือนเมื่อก่อน
ตัวแทนจากพรรคกลางระบุด้วยว่า ถึงแม้จะไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะป้องกันการปลอมแปลงหรือการเจาะข้อมูลได้ 100% แต่อย่างน้อยๆ บล็อคเชนมีความเชื่อถือได้ระดับหนึ่งและมีการใช้งานได้จริงแล้วอย่างในสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนปัญหาคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ดร.ชุมพลระบุว่า ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนหรือสถานที่ราชการก็ได้
ดร.ชุมพลเผยตอนนี้พรรคกลางกำลังพัฒนาระบบนี้อยู่ ต้องทำให้คนเห็นเป็นรูปเป็นร่าง เพื่อให้เขาสนใจก่อนจะนำไปใช้งานจริง ซึ่งหากรัฐบาลหรือพรรคอื่นๆ สนใจจะนำไปใช้ พรรคกลางก็ยินดี
ที่มา - บีบีซี
Comments
ดีครับ โหวตผ่าน blockchain app บนมือถือ ไม่ผ่านคนกลาง ประหยัดงบเลือกตั้งแต่ละครั้งไปได้เยอะเลย ลด % การคอรัปชั่นได้ แต่ใครโหวตผม แจก 1 ETH นะครับ ;)
แนวคิดแบบนี้จะกลายเป็นพวกมากลากไปนะครับ บางครั้ง(ย้ำ)รัฐเองก็ต้องชักจูงประชาชนมากกว่าตามประชาชนนะ
อาทิโครงการที่มีประโยช์นต่ออนาคตแต่ปัจจุบันอาจไม่เห็นผลถ้าประชาชนไม่เห็นชอบอนาคตก็ไม่เกิด , หรืออาทิมีคนเอาเรื่องจำพวก ยกหนี้ เข้าสภาแล้วโหวตผ่าน คิดดูจะเละขนาดไหน
ส่วนเรื่องดีๆก็มี เพียงแต่มันต้องกำหนดกรอบเสียก่อนว่าเรื่องไหนให้ประชาชนโหวตได้โดยตรง
รัฐบาลเองก็พวกมากลากไปเหมือนกันหนา พรรครัฐบาลคนเยอะกว่า เวลาลงเสียงในสภาก็ลากกันไปทั้งนั้น แต่เห็นด้วยที่ว่าเรื่องใดบ้างที่จะให้ประชาชนโหวตได้
ประชาชนไม่ได้โง่ครับ..
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
อย่าว่าแต่คนไทยเลยครับ https://www.blognone.com/node/101324
มองดูคนไทยแล้ว... ยังขูดหาเลข งมงาย หลงเชื่อง่าย วงการเก่าๆ เช่นพวกเครื่องเสริมสวยยังมีข่าวโดนต้มอยู่เรื่อยๆ บล็อคเชนเหรอ ก็เป็นเครื่องมือหาเสียงให้พรรคการเมืองไงครับ 555
ประชาธิปไตยมันก็ต้องแบบนี้รึเปล่า?
ใช่ครับ ปชต มันก็ต้องแบบนี้นั่นล่ะ เพียงแต่มันควรกำหนดกรอบให้ชัดเจนเสียก่อน
ประชาชนไม่ได้โง่ ก็จริงครับ ผมเองก็ประชาชนครับ แต่บางครั้งการตัดสินใจของคนเราก็ไม่ได้มองประโยช์นส่วนรวมเสมอไปนี่ครับ บางคนเข้าคูหากาคนที่ชอบ บางคนแค่ไม่ชอบหน้าคนนี้ก็กาให้คนอื่น หรืออีกเรื่องอาทิ ข่มขืน=ประหาร ถ้าผลโหวตมันสะท้อนอารมณ์ของสังคม อะไรจะเกิดขึ้นล่ะครับ
ขึ้นกับว่านิยามประโยช์นส่วนรวมว่าอะไร ...
ถ้าแปลว่า คือสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ (คนที่ vote) ได้ประโยชน์มันก็ไม่ขัดกัน
ถ้าแปลว่า ผลรวมของผลประโยชน์ที่คนไทยได้ มันก็อาจจะขัดกันเป็นบางกรณี
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แล้วในบริบทสังคมแบบปัจจุบัน มีอะไรที่ต่างกับการโหวตจากระบบแบบในข่าวเหรอครับ?
อย่างที่เคยเห็น Liquid Feedback มา เขาใช้วิธีโหวตเป็นลำดับๆ นะครับ ยกตัวอย่างเช่น ผมเลือกให้ สส.จังหวัดผมเป็นตัวแทนเสียง แล้ว สส.ก็ไปโหวตต่อในรัฐสภา ผมไม่จำเป็นต้องโหวตเองทุกครั้ง แต่ถ้าวันหนึ่ง ผมไม่พอใจผลโหวตของ สส.ที่ผมเลือก ผมก็เลือกที่จะ Detach ผลโหวตผมออกจาก Chain นั้นได้ ส่วนเรื่องขายเสียงในยุคที่เกิดความต่างขั้วทางการเมืองเยอะ ผมว่าเกิดยาก คนมีฐานเสียงในใจอยู่พอสมควร จะเหลือแต่คนที่ยัง 50/50 เท่านั้น เอาเงินที่จะซื้อเสียง ไปทำ Propaganda ยิงเข้ากลุ่มเป้าหมายแบบที่ทรัมป์ทำ น่าจะได้ฐานเสียงเยอะกว่า และคุ้มกว่าด้วยซ้ำ
ผมกลับมองว่า ประชาชนโหวตตรงได้เป็นเรื่องที่ดีครับ ทุกคนจะได้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน
แม้นโยบายช่วงแรกอาจจะเป๋ๆไปบ้าง แต่สุดท้ายจะดีขึ้นเองครับ
ปัจจุบันนี้คือ เลือกพรรค = ได้ทั้ง นโยบาย + วิธีการ + ผู้บริหาร
ปัญหาอย่างแรกเลย พรรคคิดนโยบาย ประชาชนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้พิจารณาอย่างละเอียด เพราะมีคนคิดให้แล้ว หลายครั้งก็เลือกตามตัวบุคคลสิครับ พวกใครพวกมัน
อีก 20 ปี ประชาชนก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรเท่าไหร่
โหวตตรงกระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น คนก็ศึกษากันมากขึ้น
ปัญหาที่สอง คนเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยนด้วย การพัฒนาเลยไม่ต่อเนื่อง
ให้ประชาชนโหวตนโยบายตรง แล้วเลือกตั้งคือเลือกผู้บริหาร+วิธีการ
หน้าที่ผู้บริหารคือ เสนอวิธีการ+ทำตามนโยบายให้ได้
พอผู้บริหารจากไป นโยบายยังต้องเหมือนเดิม
“ไปคนเดียวไปได้ไว แต่ถ้าอยากไปได้ไกลต้องไปด้วยกัน”
- สุภาษิตของชาติแอฟริกัน -
+1 บางเรื่องให้ปชช.ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มากพอมาโหวต อาจจะเกิดเป็นผลเสียกับประเทศ การกำหนดกรอบเฉพาะเรื่องที่ให้ปชช.ร่วมโหวตได้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่งั้นโหวตทุกเรื่อง ปชช.จะเอาเวลาที่ไหนมาศึกษามันทุกเรื่อง จุดนี้มีโอกาสที่ปชช.จะโดนชักจูงจากสื่อได้ง่ายๆ เลย
... ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกไห้ประชาชน vote เฉพาะเรื่องที่โกงกินได้น้อย และไม่ไห้ประชาชน vote ในเรื่องที่โกงกินกันเยอะๆ
ง่ายสุดคือมีตัวเลือก no vote
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ใครเป็นคนตัดสินล่ะครับว่า ใครมีความรู้มากพอที่จะโหวต
การโดนชักจูงจากสื่อก็ไม่ต่างจากวิธีโหวตปกติ
ในวิธีโหวตปกติ ชาวบ้านก็โดนชักจูงอยู่แล้ว ทั้งป้ายโฆษณา ทั้งรถหาเสียง ทั้งการดีเบตในทีวี ทั้งตามสื่อโซเชียลต่างๆ
ถ้าใช้ความไม่รู้มาเป็นอุปสรรคและเงื่อนไขในการพัฒนาประเทศ ... ประชากรในประเทศก็จะไม่รู้กันต่อไปครับ ความรู้ก็จะกระจุกอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มกันต่อไป
ทำไมไม่คิดว่าต้องทำให้ประชาชนรู้ล่ะครับ
ผมเห็นด้วยนะ
ถ้ามีโครงการที่ดีจริงๆ หรือจำเป็นจริงๆ แต่คนยังไม่อิน แล้วสุดท้ายตัวแปรสำคัญจะเป็นสงครามสื่อโฆษณามากกว่า
สุดท้าย ถ้ามีโครงการดีๆ แต่ฝ่ายค้านปลุกกระแสคัดค้านได้ดังกว่า (โดยอาจจะเล่นประเด็นที่อ่อนไหว และเข้าถึงง่าย แต่ไม่ค้านที่สาระ ซึ่งการเมืองบ้านเราก็มีให้เห็นเป็นปกติ)
โครงการประเภทนี้ก็จะผ่านไม่ได้ จนกว่าจะโคม่ากันจริงๆ
เห็นด้วยครับว่ายังมีประเด็นนี้ที่ต้องระวัง
ต้อง balance ให้ดีระหว่าง
ประชาธิปไตยทางตรง (e-referendum) vs ประชาธิปไตยตัวแทน (สส)
รวบรวมอำนาจ (นับคะแนนทั้งหมด) vs กระจายอำนาจ (นับคะแนนเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจริงๆ)
ประชาธิปไตยทางตรง ข้อดีก็มีที่รู้ๆกันอยู่
แต่พอเป็นการรวบรวมอำนาจที่ศูนย์กลางด้วย มันกลายเป็นการรวมข้อเสียทวีคูณ คือการกระจายข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ
การรวบรวมอำนาจ อำนาจจากศูนย์กลางตัดสินชะตาชีวิตคนในพื้นที่ มีข้อเสียที่เป็นไปได้มากที่จะไม่ได้ยินมองข้ามเสียงเล็กเสียงน้อยผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ ข้อมูลจากคนพวกนี้ไปไม่ถึงฐานเสียงทั้งหมด
ถ้าเป็นประชาธิปไตยทางตรง ประชาชนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ลงคะแนนตัดสินชะตาชีวิตคนอื่น ที่ไม่มีความรู้นี่ไม่ได้เกี่ยวกับระดับการศึกษาในระบบนะ แต่ประชาชนทั่วไปไม่ได้ถูกคาดหวังให้ศึกษาทุกประเด็นที่มีในประเทศนี้ จะเกิดอาการประมาณว่า "ก็ฉันไม่รู้ แต่ก็ยังจะให้ฉันมาตัดสิน งั้นฉันก็โหวตไปแบบนี้ละกัน"
เทียบกับ ประชาธิปไตยตัวแทน นักการเมืองที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ถูกเลือกตั้งมาแบบงงๆ แล้วต้องมาทำงานตัดสินชะตาชีวิตคนอื่น ยังพอจะ educate ให้เข้าที่เข้าทางง่ายกว่าเพราะคนจำนวนน้อยกว่า กระจายข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ตัวแทนเป็นผู้ที่ถูกคาดหวังว่าจะต้องทำงานศึกษาข้อมูลรายละเอียดก่อนตัดสินใจ (กรณีในอุดมคติ) แล้วข้อมูลบางอย่างก็เปิดเผยเฉพาะในชนชั้นปกครอง
ที่เขียนนี่คือจากประสบการณ์การเมืองระดับหมู่บ้าน (กรรมการหมู่บ้านจัดสรร)
ถ้าจะซื้อเสียงก็ง่ายกว่าเดิมนะ เอาแค่มือถือไป ไม่ก็ เอา User / pass ไปก็จบ ไม่ก็บังคับให้ Vote ต่อหน้าคนซื้อเสียง ตอนที่มีการรับร่าง รัฐธรรมนูญ 50 ยังมีข่าวว่ายึด ID ไปเพื่อไม่ยอมให้ไปลงคะแนนอยู่เลย สุดท้ายก็อาจจะใช้เจ้าหน้าที่เพื่อพิสูจน์ ว่าเป็นการลงคะแนนโดยเต็มใจไม่โดยบังคับมา เป็นตัวจริง เป็นความลับ ค่าใช้จ่ายก็เท่าเดิม ดีไม่ดีก็มากกว่าด้วย
รูปแบบจะเป็นการ vote แบบในสภา (ไม่ไช่เลือกตั้ง) ซึ่งบ่อยกว่าครับ ดังนั้น ซื้อเสียงง่ายก็จริงแต่ ถ้าต้องซื้อใหม่ทุกครั้งที่โหวต และต้องทำแบบเป็นความลับ มันก็จะทำให้ ค่าซื้อเสียงแพงขึ้นและตามจับได้ง่ายขึ้น ไปพร้อมๆกัน
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้าเป็น blockchain ในเรื่องการเมือง ผมเชื่อว่ามีดราม่าแน่นอน
จะมี ส.ว., ส.ส. ไปทำแมวอะไร ถ้าต้องให้ ปชช. มานั่ง Vote ทุกครั้ง ?
เป็นคนเขียน Project ให้คนมาโหวต?
ตัดสินเรื่องที่จำเป็น เร่งด่วน หรือเหมาะสมครับ
อย่างพวกขึ้นภาษีขาเข้า, ปรับนโยบายทางการเงิน ฯลฯ พวกนี้หลายอย่างทำ poll ไม่อย่างนั้นกลายเป็น panic กันก่อนนโยบายจะออกจริงแล้ว
ที่เหลืออะไรที่รอได้ ไม่รีบ และอาจจะ "ตัดสินใจยาก" เช่น ทำแท้ง, ระดับการคุ้มครองแรงงาน, ฯลฯ พวกนี้ไม่ออกกฎหมายในเดือนสองเดือนความเปลี่ยนแปลงไม่มีผลทันทีก็หาทางทำ poll ให้หมด หลายประเทศก็เป็นอย่างนี้กัน (สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น)
lewcpe.com, @wasonliw
ใครเป็นคนกำหนดเรื่องความจำเป็น หรือเร่งด่วนเหรอครับ
สภาต่างๆ ไงครับ
เอาไว้มาอภิปรายว่า เสนออะไร เพราะอะไร แล้วอีกฝ่ายก็ซักค้านไป ให้ประชาชนฟัง
ถ้าเห็นด้วยก็โหวตอะไรแบบนี้ครับ
ปล. สงสารแมวครับ ไปทำเขาทำไม
น่าจะโหวตแค่บางอย่างนะ แบบสวิตเซอร์แลนด์ ขืนให้ประชาชนโหวตทุกเรื่อง คงไม่ต้องทำงานกันพอดี
เรื่องบางเรื่องก็เรื่องคนในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องทุกคน อย่างจะผลิตโรงไฟฟ้าหรือตั้งโรงงาน คนนอกพื้นที่ไม่รู้ถึงความเดือดร้อน แต่ถามว่าอยากให้มีทุกคนก็อยาก แต่ไม่อยากให้มีในพื้นที่ตน
เอางี้นะครับ
ผมว่าประเทศไทยเรา ระบบดีอยู่แล้ว
ที่ผ่านมา 10 กว่าปีมานี่ ที่มันมีปัญหาจริงๆ คือ มีการอ้างว่า คนนู้นคนนี้ จะเอาแบบนั้น แบบนี้
เช่น นายสั่งมา นายขอมา นายจะเอาแบบนี้ นายให้เรี่ยรายเงิน ผ่านมา 10 ปี เมื่อสังคมเรา
ผ่านอะไรมาด้วยกัน มาถึงจุดหนึ่ง ที่ไม่มีใครเชื่อการอ้างแบบนี้แล้ว หรือ อ้างแล้ว
คุณจะโดนตรวจสอบ หนักกว่าเดิม หลายสิบเท่า ระบบมันจะกลับมาทำงานตามปรกติ
อย่างที่มันควรจะเป็น ถึงประโยค ยุคมหาชนพาไป คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น
ผมว่าที่คิดจะใช้ บล็อกเชน มีเจตนดี แต่มีด้านลบคือ อาจจะตรวจสอบไม่ได้มาใครลงคะแนน vote
ถ้าเอา ไปผูกกับบัตรประชาชนก็รู้ตัวอีกว่าใครลงคะแนน vote ซึ่ง ไม่ work ทั้งคู่
เข้าคูหา กาบัตร ตรวจสอบได้ ผมว่าดีแล้ว ... แต่เราไม่มีเลือกตั้งมา 10 กว่าปีแล้ว อันนี้ก็หาทางแก้ไขกันไป
blockchain ไม่แก้ปัญหาได้อย่างงั้น ประชาคนที่คนไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจไปทุกอย่างหรือการเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกันพอที่จะตัดสินทุกอย่างในประเทศได้
ถ้า Blockchain ผูกกับ ID แบบเห็นหมดว่าเคยโหวตอะไรไว้ว่าไงบ้าง เกิดข้อมูลหลุดขึ้นมาว่าคนนี้ๆ โหวตว่างี้ๆ ดราม่าเละเทะเลยแน่นอน
แต่ผมก็ฝันถึงระบบนี้นะ อยากให้เป็นประชาธิปไตยทางตรงเลย ไม่ใช่แค่ไปกดใน Change.org ไปวันๆ
จริงๆ ต่อให้ไม่หลุดก็ต้องมีใครสักคนรู้อยู่ดีว่า ID ไหนเป็นใคร คนนั้นก็จะเป็นคนผู้กุมรสนิยมทางการเมืองของคนจำนวนมาก ถ้าเป็น public chain เอา sample ไปขายว่า ID ไหนเป็นใครบ้างก็เละเทะหนักกว่า CA/SCL เอยะ
ผมว่าระบบแบบนี้ blockchain (แบบ public chain) ไม่เหมาะนะ ระบบโหวตบ้านๆ นี่ล่ะ ออกแบบดีๆ ให้มี audit ดีๆ ว่าไม่มั่ว ไม่ปั่นเลข (โดยฟังก์ชั่นให้กลต. ดูแลไปก็ได้ รัฐบาลไม่ใช่คนดูแลระบบเอง)
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ไม่ได้ให้ Vote ทุกครั้งนี่ครับ Vote เฉพาะบางคน บางกลุ่มเท่านั้น เช่น การลงมติสร้างโรงไฟฟ้าในชุมชน
ถ้าอย่างโรงไฟฟ้านี่ก็โดนต้านตลอดไม่มีใครอยากให้สร้างในชุมชนของตัวเอง นี่ยังไม่นับการให้กระจายผิดๆเกี่ยวกับโครงการต่างๆอีกนะ
ยกตย.สุดโต่งดูแล้วกัน
ฯลฯ
เปิดให้โหวต จะพวกมากลากไปไหม
ขอ Purge Day ด้วย
ข้อแรกนี่ ดูโดดกว่าข้ออื่นมากมาย
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่อนุญาตินะครับ ถึงส่วนใหญ่จะได้เฉพาะวันหยุดก็เถอะ
ผมว่าเขาน่าจะหมายถึงนักเรียนนะ ถ้ามหาวิทยาลัยจะเรียกว่านักศึกษา คงจะเป็นระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ มัธยม 6 ลงไป
งั้นก็มีพวก รร.นานาชาติบางแห่ง (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ) ที่ไม่บังคับใส่ยูนิฟอร์มนะครับ
ข้อสองโหวตด้วยๆ
น่าสนใจครับ เห็นด้วยนะ
บางนโยบายคงให้โหวตไม่ได้ เพราะบางกลุ่มก็อาจจะเอาเน้นแต่ผลประโยชน์ตัวเองหรือเสรีแบบมากเกินขอบเขตไป
งง ย.ก.ต.ย. ไปแว่บนึงเลย
ถึงประชาชนมีคุณภาพกว่านี้มากก็เป็นไปไม่ได้
และไม่คิดมีทางเกิด ใครจะมีเวลามานั่งวิเคราห์เรื่องต่างๆในปรเทศ งานการก็ต้องทำ ความรู้ก็แตกต่างกันไป สุดท้ายกดส่งเดดไปงั้นๆ หรือ ขายสิทการโหวดให้ใครๆ ยิ่งหนักไปอีก สุดท้ายกลุ่มคนถือเสียงมากสุดครองเมือง โหวดให้คนกลุ่มน้อยอดอยากไปตาย
ถ้าโหวดได้ทุกเรื่อง เดี๋ยว นโยบายแบบนี้เดี๋ยวคงมีหลุดมาบ้างล่ะ ประเภท
- ประกันราคาสินค้าการเกษตร ที่แพงกว่าท้องตลาด
- ยกหนี้ทั้งในและนอกระบบ
- แจกเงินให้ผู้มีรายได้น้อย ทุกเดือน
- และสุดท้าย ภาษีไม่ต้องเสีย แต่เงินงอกได้ เย้
มันก็ต้องคัดมาแล้วว่าเรื่องที่จะ Vote ไม่ว่าจะออกหัวหรือก้อยก็เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน (คัดมาแล้วว่าจะ Yes หรือ No ก็รับได้ทั้งคู่)
คนไทยยังไม่พร้อม แต่ให้รายงานผลทางบล็อกเชน น่าจะไหว ส่วนให้โหวตกฏหมายน่าจะไม่ได้
บางเรื่องที่ต้องทำประชาวิจารณ์อะได้ครับ แต่เรื่องบริหารให้ทุกคนมาตัดสินใจมันไม่ใช่ครับ การเลือกตัวแทนนั่นคือประชาธิปไตย์ แต่การบริหารมันต้องใช้ความรู้ ประสพการณ์ข้อมูลวางแผน ไม่ใช่ใครเย้วๆกันมารวมตัวกันก็กำหนดนโยบายได้
หรือเช่นจะเป็นการทำการคัดค้านนโยบาย เช่น การจะเพิ่มเงินเดืน สส เองไรงี้ให้คัดค้านได้ผ่านระบบ มันโอเคครับ
คำถามที่น่าสนุกว่า "คนไทยมีคุณภาพอหรือยัง?"
คือ
"ท่านคิดว่าจัวท่านอยู่ในระดับมีคุณภาพพอที่จะโหวตหรือไม่?"
เชื่อว่าแทบทุกคนจะตอบว่าตัวเองมีคุณภาพพอ แต่คนอื่นไม่พอ
ผมคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถเพียงพอในทางการแพทย์
ถ้ามีการโหวตในเรื่องที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ทึ่มีความลึกในเชิงวิชาการมาก
ผมคิดว่าผมไม่มีคุณภาพพอที่จะโหวตครับ
ก็ไม่ใช่ทุกคนที่คิดแบบนั้น เพราะเรามีบ้านเรามี รมต. เยอะครับ จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีสภากาแฟ...
ดูคำตอบในข่าวนี้ก็ทำให้เห็นได้ว่า
คนส่วนใหญ่คิดว่าแม้ว่าจะไม่มีความรู้
ในบางเรื่องก็สามารถเข้าร่วมโหวตได้
ไม่เห็นว่าเกี่ยวกับ blockchain อย่างไร ใช้แค่ digital signature ก็ได้
ระบบโหวตจะดีแค่ไหน ถ้ายังป้องกันเรื่องการข่มขู่ หรือระบบอุปถัมภ์ไม่ได้ก็คงยาก ตัวระบบโกงได้ยาก แต่การข่มขู่คนใช้ระบบในสังคมแถวๆนี้ง่ายมากมาย ยิ่งถ้าตรวจสอบระหว่างกระบวนการโหวตไม่ได้(เช่นให้โหวตจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้)
ประสบการณ์คนบ้านแถวตจว. มีคนถือปืนด้วยอำนาจตาม...มาเคาะประตูโน้มน้าวให้...ไม่กี่วันก่อนเวลาลงประชามติ
หรือเคสคลาสสิค จับแกนนำ ไปขังคุกมืดหลายๆวัน พอตกลงกันได้ก็จับแก้ผ้าเอามาปล่อยข้างถนน(เคสนี้มีหลายคนพบเจอตอนเหตุการณ์จริงที่เจ้าตัวโดนปล่อยทิ้งบนถนนวงแหวนฯ)
ถ้ายังไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยขั้นต่ำของผู้มีสิทธิ์โหวตได้ ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องคุณภาพของผู้มีสิทธิ์โหวตเลย แม้แต่ตัวผมเองถ้าไม่มั่นใจในความปลอดภัยก็ไม่กล้าออกหน้าแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงครับ
สุดท้ายผมเชื่อว่าหลายคนเชื่อว่าตัวเองฉลาดพอที่จะตัดสินใจในบางเรื่องและมักมองคนที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองว่าโง่กว่า แต่ก็มักจะไม่ยอมรับว่าจริงๆแล้วตัวเองใช้"ความเชื่อ"ในการตัดสินใจทางการเมือง ทั้งๆที่ก็รู้อยู่แล้วว่าชุดข้อเท็จจริงที่รับรู้มามันไม่ได้ครบถ้วนเสมอไป การตัดสินใจใดๆย่อมชั่งน้ำหนักคุณค่าจากมุมมองของผู้รับรู้ ไม่ใช่จากการพิสูจน์ข้อเท็จจริง(เพราะมันพิสูจน์ความจริงแท้ไม่ได้)
เขาเลยต้องใช้การโหวต แล้วสุดท้ายก็ต้องยอมรับผลจากการโหวตของสังคมตัวเอง อย่างน้อยมันก็เกิดจาก"การเลือก"ของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่โดนบังคับจากใครบางคนที่คุณไม่มีโอกาสโต้แย้ง
ถ้าจัดการให้การโหวดเป็นนิรนาม และสามารถเปลี่ยนการโหวดที่หลังได้ (ก่อนการนับคะแนน) ก็น่าจะดีไม่น้อย
ต่อให้ข่มขู่เก่งแค่ใหนก็คงแอบดู การกดลงคะแนน / ปรับเปลี่ยนคะแนน จากบ้านของผู้ลงคะแนนแต่ละคนตอนนับคะแนนได้ไม่กี่คน แล้วการข่มขู่ก็จะยิ่งมีโอกาศผิดพลาดสูง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนภายหลัง (ตอนเปลี่ยนไม่โชว์ตัวเลือกเดิม) นอกจากนั้นถ้าทุกอย่างมาจากบ้านของผู้ลงคะแนน ... เดี่ยวนี้กล้องวงจรปิดมีขายทั้วไปและราคาถูก เกิดเป็นหลักฐานได้ง่าย
สิ่งที่ต้องระวังจะกลายเป็น การโน้มน้าวด้วยสื่อที่ให้ข้อมูลเพียงบางส่วน หรือ โน้มน้าวด้วยการพนัน มากกว่า (แต่ก็ลดการข่มขู่และการซื้อเสียงเป็นรายคนได้นะ)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้าเป็นนิรนามแบบสุ่ม ก็อาจจะพอปกป้องได้(ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะแจก secret key ยังไงให้ตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้? เพราะไม่งั้นก็ยืนยันสิทธิ์ไม่ได้เช่นกัน)
แต่ถ้าเป็นนิรนาม แต่ไม่กระจาย เช่นได้ชุดตัวเลขเดียวกันในzoneเดียวกัน เขาตรวจสอบได้
เลือกตั้งจริงเขาก็ดูคะแนน ในแต่ละเขตไงครับ เขตไหนคะแนนไม่เป็นไปตามที่คาด ผญบ.หรือแกนนำหัวคะแนนโดนเรียกก่อนเลย ยังไม่นับว่า คนธรรมดาทั่วไปเจอคนพร้อมอาวุธมาเคาะประตูถึงบ้าน จะกล้าสวนกระแสไหม?
เรื่องกล้องวงจรปิด ลองดูเคสชัยภูมิครับ มีกล้อง มีคนมีีสีชั้นผู้ใหญ่บอกเคยดูภาพ แต่พอหลักฐานไปถึงจนท. ไม่มีีีีีีอะไรเหลือแล้วนอกจาก HDD เปล่าๆ....
ผมเชื่อว่า ส่วนท้องถิ่นจะอำนวยความสะดวกให้คนไปใช้ระบบโหวตในบ้าน / สำนักงาน หรือพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง แล้วยืนดูจอว่าทำอะไรไปบ้าง
ผมไม่ได้ต่อต้าน ผมแค่เห็นปัญหาครับ แก้ปัญหาได้ก็จบ
การศึกษา/สามัญสำนึก!!!
จะโหวตทุกเรื่องผมว่ามันก็จะเกินไปหน่อยนะครับ
ผมว่าโหวตแค่ความพึงพอใจในการบริหารประเทศ ปีละครั้งพอละ
ถ้าต่ำกว่า70% ก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ลองมาทำให้บริษัทมาเป็นประชาธิปไตยดีไหม ถ้าคิดว่าระบบนี้มันดี
ทุกอย่างผ่านการ โหวตหมด
บ.ส่วนใหญ่ก็ใช้วิถีประชาธิปไตยนี่ครับ
คือการโหวตโดยผู้ถือหุ้นหรือกรรมการบริษัทไง เป็นเจ้าของร่วมกันก็มีสิทธิ์กำหนดทิศทางบ.อยู่แล้ว(อาจยกเว้นหุ้นบางชนิด)
ส่วนลูกจ้างก็คือลูกจ้าง จะไปมีสิทธิ์กำหนดนโยบายได้ยังไง?
หรือคุณกำลังบอกว่า ประชาชนไม่ใช่เจ้าของประเทศ เป็นแค่ทาสแรงงาน?
ผมคิดว่ามันต้องมองสองแกนครับ
เราต้องการระบบการเมืองที่มีประสิทธิภาพมากสุดต่อสังคมโดยรวม หรือระบบการเมืองที่คนในสังคมมีส่วนร่วมมากที่สุด
หรือทั้งสองอย่างจะสามารถไปด้วยกันได้
ถ้ามองแบบที่่คุณว่า แปลว่าคุณไม่เชื่อว่าการออกความเห็นจากทุกคนในสังคมเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด(เพราะลูกจ้างเองก็เป็นคนในสังคม และถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของสังคมนั้นด้วยซ้ำแม้ไม่ได้เป็นเจ้าของ)
เพราะงั้นมันจะนำไปสู่ประเด็นที่สองคือ จริงๆแล้วคนเราต้องการระบบการเมืองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อสังคม หรือต้องการกำหนดทิศทางสังคมด้วยตัวเองแม้มันจะไม่ดีที่สุด
ซึ่งผมมองว่ามันเป็นรสนิยมล่ะนะ ไม่มีใครผิดถูกหรอก
คือเอาลูกจ้างไปเทียบกับรัฐประเทศไม่ได้เลยครับ
เพราะลูกจ้างคือความสมัครใจ(เราคงไม่พูดถึงลูกจ้างยุคโบราณนะ) แต่รัฐนี่เกิดจากประชาชนโดยกำเนิด(เป็นหลัก)
แน่นอนลูกจ้างก็มีสิทธิ์ของลูกจ้างในแง่ของสวัสดิภาพการทำงานหรือเสนอการปรับปรุงการทำงาน ส่วนด้านทิศทางการบริหาร ผู้บริหารอาจจะรับฟังความคิด แต่ไม่จำเป็นต้องทำตาม แต่รัฐที่ประกอบด้วยประชาชนนี่ต้องรับฟังและควรจะทำตามเสียงส่วนใหญ่ด้วย ยกเว้นจะมีข้อโต้แย้งที่ชัดเจนว่าประโยชน์แบบไหนมากกว่ากัน
ซึ่งในโลกความเป็นจริิงการตัดสินใจใดๆ มันทำนายผลไม่ได้100%ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน เราจึงต้องให้ผู้โหวตจำต้องยอมรับผลที่ตามมาไปด้วยเขาเรียกความรับผิดชอบทางการเมืองร่วมกัน ตรงนี้แหละที่ประชาชนต่างจากลูกจ้างหรือทาสแรงงานครับ เพราะลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงจากความคิดเห็นของตัวเอง(ผู้บริหารเป็นคนตัดสินและผู้ถือหุ้นรับผลกระทบ)
สุดท้ายรสนิยม ต้องไม่ละเมิดคนอื่นครับ ประเทศที่เจริญแล้วอาจจะมีพรรคที่นำเสนอการปกครองแบบเก่าๆ เขาก็เปิดกว้างให้คนไปชื่นชอบ แต่ถ้าจะบังคับให้ทุกคนเห็นด้วยกับการโดนละเมิด อันนี้คงไม่ใช่แล้วล่ะ
(งั่กๆ) จะกาคนนี้ต้องทำยังไงน่ะหลานเอ๊ย?
ผมว่าเริ่มที่ระบบสัญญาต่างๆของรัฐโยนลง block chain ให้คนทั้งประเทศเห็นก่อน ยังไม่ต้องไปถึงโหวตแค่นี้ก็โอเคละ
เปิดเว็บรวมศูนย์ก็พอครับ ตอนนี้ blockchain นี่ใกล้เคียงยาผีบอกแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
ผมรู้สึกว่าแค่เว็บมันไม่โปร่งใส่พอนะครับ ด้วยคุณสมบัติของ blockchain ใส่แล้วแก้ไขยากมากพอสมควรแถมไม่มีศูนย์กลางทำให้การจะโจมตีต้องไปทุกโหนด เราก็ให้ประชาชนถือโหนดไว้พอสมควรแก่การตรวจสอบ ทุกโึครงการตรวจได้ทันทีราชการส่งเอกสารเข้า block ไม่เข้าเงินจ่ายไม่ได้ มันอาจจะโปร่งใสกว่าครับ เพราะเอกสารพวกนี้ให้รัฐเป็นคนถือก็ควบคุมข้อมูลเอกสารได้เปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นได้ง่าย
ปล. ผมก็เห็นเดี๋ยวนี้เอา blockchain มาทำสัญญากันผมว่ามันเรื่องเก่านะครับไม่ใช่ยาผีบอกหรอกครับ
ถ้าต้องการแค่ immutable ก็ดูพวก Merkel Tree ตัวอื่นได้ครับ ไม่มีความจำเป็นต้อง distributed แต่อย่างใด โครงสร้าง Certification Transparency ก็คิดแบบเดียวกันว่าแก้ไม่ได้ (แก้แล้วคนอื่นรู้ตัว) แต่ก็มีแค่เซิร์ฟเวอร์ล็อกข้อมูลไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง ไม่ต้องรอบล็อค หรือมีระบบแก้ไข node ชนกัน และความซับซ้อนอื่นแต่อย่างใด
lewcpe.com, @wasonliw
2 ส่วน:
1. ประชาชนโหวตเลือกนโยบาย
2. ประชาชนโหวตเลือกคนเข้าไปทำ
ไอเดียดีนะครับ แต่จะทำให้เชนโปร่งใสยังไง โดยที่ข้อมูลผู้โหวตไม่หลุด
ไม่ว่าป้องกันยังไงก็ โดนขู่เข็ญ เอา login มาได้ ผมเชื่อเช่นนั้น เหมือน โดนเอาปืนมาขู่ให้บอกรหัสบัญชี bitcoin
การขู่เข็ญเอา login ไปจำนวนมากมีโอกาสที่จะมีข่าวรั่วสูงมากเลยนะครับ
สมมุตินะสมมุติ โหวตให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในกรุงเทพเลย คนกรุงเทพทั้งจังหวัดโหวตไม่ให้สร้างแต่ คนที่เหลือ 76 จังหวัดโหวตบอกให้สร้างได้ คนกรุงเทพแพ้ต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ข้างๆคอนโดคุณเลย พูดแค่นี้เห็นภาพกันม่ะ
นโยบายที่มีผลกระทบทางลบกับคนในพื้นที่ ก็ต้องให้คนที่มีภูมิลำเนาที่นั่นเป็นคนโหวตสิครับ
ตัวนโยบายก็ควรมีผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผลเสียด้วย เช่น คนในพื้นที่ได้รับผลกระทบควรได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก/ฟรี แลกกับได้รับมลพิษไป ทีนี้ก็แล้วแต่คนที่โดนลกระทบแล้วว่าจะยอมแลกมั้ย
จริงๆ เขามีการทำประชาพิจารณ์นะครับ ให้คนในพื้นที่ประชุมระดมความคิด ตัดสินใจกัน
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project