Tags:
Node Thumbnail

จากประเด็นเรื่อง ข้อมูลลูกค้าหลุดของ TrueMove H ก่อให้เกิดคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรับผิดชอบของบริษัท และบทลงโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

คำตอบคือกรณีนี้ True ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพราะว่าประเทศไทย [ยัง] ไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเองครับ เป็นเหตุผลที่น่าเศร้าแต่บ้านเมืองของเราเป็นเช่นนี้จริงๆ

บทความนี้จะลอง "สมมติ" เหตุการณ์จำลองขึ้นมาว่า ถ้าบ้านเรามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แล้ว True จะมีความผิดอะไรบ้างจากกรณีข้อมูลหลุดครั้งนี้

No Description

ภาพประกอบจาก EFF

กฎหมาย-กฎระเบียบอะไรข้างที่เข้าข่าย

ตามหลักการในแง่กฎหมายและกฎระเบียบแล้ว กรณีข้อมูลหลุดของ True จะถูกกำกับดูแลด้วยกฎหมายและกฎระเบียบ 2 ข้อ ได้แก่

ต้องอธิบายว่าประกาศ กทช. ฉบับนี้เป็นการกำกับดูแลระหว่าง กสทช. ในฐานะ regulator กับ True ในฐานะผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. เท่านั้น ไม่มีผลต่อบุคคลทั่วไป (เพราะ กสทช. ไม่มีอำนาจกับบุคคลทั่วไป มีเฉพาะกับผู้รับใบอนุญาต)

กล่าวโดยสรุปคือ กสทช. สามารถเอาผิด True ได้ถ้าทำผลเงื่อนไขในประกาศด้านโทรคมนาคม แต่ประชาชนไม่สามารถทำอะไรกับ True ได้ในแง่ข้อมูลส่วนบุคคล เพราะประเทศไทยไม่มีกฎหมายด้านนี้ (สักที) แม้มีความพยายามมายาวนาน ส่วนสาเหตุเกิดจากอะไรนั้นก็ไม่ทราบได้

ประกาศ กทช. เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ช่วยอะไรเราได้บ้าง?

นิยามของข้อมูลส่วนบุคคล

ก่อนอื่นต้องดูจาก "นิยาม" ของข้อมูลส่วนบุคคลในประกาศฉบับนี้ก่อน

คำว่า "ข้อมูลส่วนบุคคล" ตามประกาศนี้ หมายถึง "ข้อมูลผู้ใช้เลขหมายโทรคมนาคม ข้อเท็จจริง รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ หรืออาจระบุตัวผู้ใช้บริการนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ข้อมูลการใช้บริการ เลขหมายโทรคมนาคม รวมทั้งพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการ"

กรณีของ True ที่เกิดขึ้นเป็นสำเนาบัตรประชาชน ซึ่งน่าจะนับเป็น "ข้อมูลผู้ใช้เลขหมายโทรคมนาคม" ตามนิยามข้างต้น

No Description

หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต

ข้อกำหนดในประกาศ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องมี "มาตรการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล" ทั้งในทางเทคนิคและทางการจัดการภายในองค์กร ข้อกำหนดในประกาศเขียนกว้างๆ เพียงว่าต้องเปลี่ยนรหัสความปลอดภัยทุก 3 เดือน และปรับระดับความปลอดภัยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี

No Description

การส่งต่อให้ "บุคคลอื่น" ช่วยเก็บข้อมูล

จากแถลงการณ์ของ True ระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากส่วนของ iTruemart ไม่ได้มาจาก TrueMove H โดยตรง ปัจจุบัน iTruemart เปลี่ยนชื่อเป็น Wemall และดำเนินการโดย "บริษัท แอสเซนด์ คอมเมิร์ซ​ จำกัด" ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้กลุ่ม True แต่อยู่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์

ตรงนี้เราอาจมองได้ว่า iTruemart ถือเป็น "บุคคลอื่น" ที่เข้ามาจัดการเรื่องการเก็บข้อมูลให้กับ TrueMove H อีกทีหนึ่ง ซึ่งในประกาศ กทช. ก็มีระบุเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 18

No Description

บทลงโทษ

ในประกาศ กทช. เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ได้กำหนดบทลงโทษเอาไว้ว่าถ้าทำผิดเงื่อนไขแล้วจะมีโทษอย่างไร

แต่เรื่องนี้อยู่ใน พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (ดาวน์โหลด) มาตรา 50 ว่าผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ทำตามมาตรการที่ กสทช. กำหนด หากพบว่ามีบุคคลใดละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือ กสทช. ระงับการกระทำดังกล่าว และแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบโดยเร็ว

No Description

ใน พ.ร.บ. ยังกำหนดการบังคับทางปกครองไว้ในมาตรา 64 ให้เลขาธิการ กสทช. มีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตระงับการกระทำได้ และหากผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 64 เลขาฯ ก็ยังมีอำนาจกำหนดค่าปรับทางปกครองได้เช่นกัน

ที่ผ่านมา กสทช. เคยกำหนดเพดานขั้นสูงของค่าปรับ จากการคำนวณรายได้ของโอเปอเรเตอร์แต่ละราย ข้อมูลจากเว็บไซต์ กสทช. ในปี 2558 ระบุว่าค่าปรับขั้นสูงของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด อยู่ที่วันละ 169,244 บาท (อ้างอิง) แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ขึ้นกับอำนาจและดุลพินิจของ กสทช. ว่าจะปรับที่เท่าไร

จากกรณีนี้ ในกฎหมายและประกาศของ กสทช. ไม่ได้ระบุความผิดไว้ชัดเจน ถ้าตีความกันตามตรงแล้ว True ทำผิดมาตรา 50 จริง แต่ถ้าดำเนินการแก้ไขตามที่ กสทช. สั่งการแล้ว ก็จะไม่โดนลงโทษอะไรเพิ่มเติมอีก

ความผิดตาม [ร่าง] พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

จิ๊กซอส่วนที่หายไปของสังคมไทยคือ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ไม่เคยออกเป็นกฎหมายสำเร็จ แม้มีแนวคิดเรื่องนี้มานานเกือบ 20 ปี เราลองมาดูกันว่า ถ้าหากวันนี้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีข้อมูลหลุดของ True จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ้างอิง ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2558

กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ "คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" จำนวน 13 คนที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกำกับดูแลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย

มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และมาตรา 29 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดหามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม, ดำเนินการป้องกันกรณีส่งต่อให้บุคคลอื่น และแจ้งเหตุละเมิดแก่เจ้าของข้อมูลโดยไม่ชักช้า

No Description

No Description

มาตรา 37 เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนต่อ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่พบการฝ่าฝืนเงื่อนไขตาม พ.ร.บ. นี้ โดยคณะกรรมการฯ จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง

No Description

ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น เจ้าของข้อมูลสามารถเอาผิดทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลได้

No Description

ส่วนความผิดในแง่ปกครองระบุไว้ในมาตรา 44 ว่าการทำผิดตามมาตรา 24 และ 29 มีบทลงโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท และหากความผิดนั้น "เป็นการกระทำเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์อันมิควรได้ หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น" จะโดนโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน, ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

No Description

นอกจากนี้ในมาตรา 45 ยังกำหนดโทษของการละเมิดมาตรา 24 ไว้อีกส่วนด้วย โดยกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน , ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

No Description

บทสรุป: ความคุ้มครองที่ไม่มีอยู่จริง

จะเห็นว่าใน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุม ผู้ที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลหลุดจะมีโทษทั้งทางแพ่ง (ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย) และทางปกครอง (เสียค่าปรับให้รัฐ) อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องสมมติเท่านั้น เพราะประเทศไทยไม่เคยมีกฎหมายฉบับนี้ แม้ว่าจะมีกฎหมายฉบับร่างออกมาหลายฉบับ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรอยู่ดี

กรณีข้อมูลหลุดของ TrueMove H (รวมถึงกรณีก่อนหน้านี้ของ AIS และกรณีย่อยอื่นๆ อีกมาก) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเร่งด่วนที่สุด และขอเรียกร้องให้หน่วยงานด้านการออกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น สนช. ในปัจจุบัน หรือ สภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้า (หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น) ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆ

Get latest news from Blognone

Comments

By: mrdd on 16 April 2018 - 12:21 #1044300

ประชาชนเอาผิดไม่ได้ แต่ กสทช. ยึดใบอนุญาติได้นะจ๊ะ

By: lighterstudioz on 16 April 2018 - 12:25 #1044303 Reply to:1044300

บทความเขาก็เขียนละเอียดดีแล้วนะครับ ว่า กสทช. ทำไม่ได้เพราะอะไร

By: lighterstudioz on 16 April 2018 - 12:22 #1044301

เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

By: trufa
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 16 April 2018 - 12:28 #1044306
trufa's picture

เยี่ยมครับ ดีกว่าของเมื่อวานเยอะเลย (รอดูว่าจะมีสื่อไหนแชร์บ้าง)


Happiness only real when shared.

By: Dino
iPhoneSymbian
on 16 April 2018 - 13:28 #1044313
Dino's picture

เอ.... กรณีนี้ พรบ. ของ สคบ. ใช้ได้หรือเปล่านะ? สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (เจ้าของบัตรที่ leak ออกไป) แต่ก็นะ จะรู้ได้อย่างไรว่า leak ถ้าไม่เปิดเผยออกมา หลักฐานข้างเดียวไม่สมบูรณ์อยู่แล้ว

ปล. หากรูปประโยค ดูเหมือนเข้าข้าง/ประชดประชัน​ โดยมิได้ตั้งใจ ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ผมแค่สงสัยเฉยๆ ว่าจะมีกฏหมายตัวไหนที่น่าจะพอเทียบเคียงได้อีก ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ใครผิดใครถูก ขอแค่ความเห็นด้วยการเทียบเคียงด้วยกฏหมายล้วนๆ ครับ

By: ash_to_ash
AndroidWindows
on 16 April 2018 - 15:52 #1044345 Reply to:1044313

พรบ. มันกำหนดเป็นหน้าที่อง กสทช. อยู่แล้วครับ
ที่จริงหน้าที่มันก็ถูกประกาศเป็นนัยๆอยู่แล้ว
แต่ปัญหาคือนิยามของ สคบ. ก็ไม่ได้แจงเพิ่มว่าให้โยน
ไปให้ทาง กสทช. เอาง่ายๆ พรบ. ของ สคบ. ในนิยาม
ถ้าดูผ่านยังทับซ้อนกับ กสทช. อยู่ในหมวดของความเดือดร้อนของผู้บริโภค อต่ในทางปฏิบัติ สคบ. จะไม่รับเรื่องเกี่ยวกับปัญหาบริการที่คู่กรณีเป็นบริษัท โทรคมนาคมเลย ยกเว้นที่มีการฟ้องร่องทางแพ่ง และอาญา.....

By: zda98
Windows Phone
on 16 April 2018 - 13:45 #1044318

ประเทศไทย...

By: peakna
Android
on 16 April 2018 - 14:07 #1044326
peakna's picture

หลังจากที่ทำความเข้าอยู่นานก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า ข้อมูล​บัตรประชาชนที่หลุดไปค่อนข้าง​สมบูรณ์​ ห้ามมีผู้ประสงค์ร้าย​นำไปเปิดบัญชี​หรือสมัคร​ทำธุระกรรมต่างๆ ทำให้ประชาชนผู้นั้นเดือดร้อนจะมีใครมารับผิดชอบหรือต้องให้เป็นเรื่องก่อน แล้วข้อมูล​ลค.ที่หลุดไปจะมีการแจ้งต่อลค​หรือชดเชยอะไรหรือทำอะไรที่ให้ลค.กลุ่มดังกล่าวไม่ต้องกังวลได้บ้าง

By: ash_to_ash
AndroidWindows
on 16 April 2018 - 15:56 #1044348 Reply to:1044326

ไม่มีครับ...อย่าน้อยต้องถึงฎีกาหนะหละครับ
ทรูถึงยอมชดเชย

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 16 April 2018 - 14:14 #1044328
hisoft's picture

จากรณี -> จากกรณี

By: topty
Contributor
on 17 April 2018 - 15:00 #1044644 Reply to:1044328

กฎหมาย-กฎระเบียบอะไรข้างที่เข้าข่าย

ข้าง -> บ้าง

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 16 April 2018 - 14:26 #1044335
zerocool's picture

เขียนได้ชัดเจนและละเอียดดีครับ


That is the way things are.

By: l2aelba
iPhoneAndroid
on 16 April 2018 - 16:14 #1044351
l2aelba's picture

กลัวจะเป็นแบบนี้....

ข้อมูลบัตรประชาชนหลุด
--- ไม่ต้องเป็นห่วง เรามี backup
....

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 16 April 2018 - 16:35 #1044353
aeksael's picture

พูดเรื่องกฏหมายมันยุ่งยากเยิ่นเย้อ ยึดสำนักงานใหญ่ตัดน้ำตัดไฟเห็นภาพกว่าครับ


The Last Wizard Of Century.

By: Bntrnc
iPhoneBlackberry
on 16 April 2018 - 17:30 #1044358

“บุคล” ใน หัวข่าว กะ
“บุคคล” ในเนื้อข่าว มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรครับ
ผมอ่อนภาษา

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 16 April 2018 - 18:04 #1044367

รออ่านคอมเมนต์อย่างใจจดจ่อ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: whitebigbird
Contributor
on 16 April 2018 - 18:47 #1044374
whitebigbird's picture

เนื้อหาเดียวกันกับข่าวที่คุณ lew เขียน

แต่ท่าทางสมาขิกในนี้จะชอบไม้นวม ต้องอธิบายให้ละเอียด ต้อง comfort ให้เกิดอารมณ์ร่วม ต้องเขียนชักจูงด้วยวาจาไพเราะ ถึงจะยอมเข้าใจ

ส่วนข่าวเก่า เขียนตรง ขวานผ่าซาก สมาชิกรับไม่ได้ ต่อต้านกันเป็นแถวทั้งๆ ที่สื่อความเดียวกัน

สามารถตีความได้ว่าคนเขียนข่าวเก่าอาจบกพร่อง ไม่สามารถสื่อให้คนส่วนใหญ่เข้าใจได้

แต่แปลก ที่คนอย่างผม และคนอีกหยิบมือนึงกลับเข้าใจได้ แต่สมาชิกโดยรวมกลับยอมไม่ได้

พูดตามตรงว่าแค้นใจระดับนึง ที่บทความของคุณ lew เป็นการสื่อสารตรงๆ แต่สมาชิกกลับไม่ชอบ ชอบให้ปลอบขวัญ ชอบให้เขียนตรง bias ตัวเอง

ผมว่าคนเขียนได้บทเรียน คนอ่านก็ควรเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้วิจารณญาณมากกว่านี้

By: puwadon
Windows
on 16 April 2018 - 18:53 #1044375 Reply to:1044374

สำหรับผมแล้ว ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยกับเนื้อหากับข้อเสนอของข่าวที่คุณ lew เขียนนะครับ แต่สำหรับผมคิดว่า หัวข้อ เนื้อหา นั้นดูพยายามจะโยนความผิดเกินไปครับ ถ้าแยกออกมาเป็นประเด็นก็โอเคเลย

By: whitebigbird
Contributor
on 16 April 2018 - 19:00 #1044377 Reply to:1044375
whitebigbird's picture

ถึงบอกไงครับ ว่าต้องให้คนคอยปลอบประโลม ต้องเขียนทุกอย่างให้ถูกใจ ถูกจริตแบบทั้งหมด ถึงจะยอมบอกว่า "ผมเห็นด้วยนะ" แล้วค่อยตามด้วย "แต่ผมแนะนำว่าควรเปลี่ยนหัวข่าวเป็น ... เพราะ ...."

ลองไปย้อนกลับไปดูคอมเมนต์ส่วนมากสิครับ คนที่เห็นด้วยมีหยิบมือเดียว นอกนั้นยอมรับกันไม่ได้ที่คนเขียนไม่ด่าทรู

By: thsecmaniac
AndroidWindows
on 16 April 2018 - 20:23 #1044399 Reply to:1044377

เอาที่สบายใจครับ Whatever เฮ้ออออออออออออออออ

By: puwadon
Windows
on 16 April 2018 - 20:36 #1044403 Reply to:1044377

เวลาเขียนข่าว ผมมองว่าผู้เขียนก็พยายามเขียนให้ถูกใจคนอ่านเหมือนกันครับ ข่าวแต่ละข่าวก็จะมีสิ่งที่ตัวผู้เขียนพยายามจูง หรือชี้ให้เห็นอะไรบางอย่าง ยิ่งในกรณีนี้เป็นข้อเสนอแนวทางก็ออกเป็นข่าวที่ใส่ความคิดเห็นมากขึ้น ทีนี้ผมก็ยังบอกคำเดิมว่า พยายามชี้จูงมากไปหน่อย จนคนอ่านรู้สึกขัดๆ ครั้งนี้เลยมีผู้ไม่เห็นด้วยกับภาพรวมของข่าวมาก

By: gnamsai on 16 April 2018 - 22:56 #1044437 Reply to:1044377
gnamsai's picture

การที่คนอื่นเห็นว่าควรพูดถึงทรูด้วยมันผิดขนาดนั้นเลย เหมือนคุณเหยียดคนอื่นอยู่ว่าเขาผิดที่เห็นไม่ตรงกับคุณ

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 07:39 #1044490 Reply to:1044437
whitebigbird's picture

การที่คนเขียนบทความก่อน ไม่ได้พูดถึงทรู มันไม่ได้แปลว่าเค้าไม่คิดว่าทรูผิดนะครับ

ใครก็รู้ว่าทรูผิดครับ (มีคนไม่รู้ด้วยเหรอ) แต่บทความนั้นต้องการโฟกัสไปที่ระเบียบของกสทช. เพราะแม้ว่าทรูจะผิด แต่ไม่มีกฎหมายและระเบียบโดยตรงที่สามารถเอาผิดทรูได้เต็มประตู

คนเขียนก็ต้องโฟกัสไปที่กสทช. ถูกมั้ยครับ

ถ้าต้องคอยมาเขียนเอาใจ ว่าเออ ทรูก็ผิดนะ แต่กสทช.ผิดกว่า หรือกสทช.ไม่ป้องกันปัญหา

คนเขียนเค้าละความผิดของทรูเอาไว้ ไม่ได้เขียนถึง เพราะเค้ารู้ว่าทุกคนมีวิจารณญาณพอจะที่จะรู้ได้ว่าทรูก็ผิด เค้าเลยไม่เขียนถึงครับ

ส่วนเรื่องเหยียด ... ลองคิดดีๆ ครับว่ามันเหยียดอย่างไร ไม่ใช่เอาคำที่ดูรุนแรงมาใช้พร่ำเพรื่อ

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 17 April 2018 - 10:14 #1044533 Reply to:1044490

"คนอ่านก็ควรเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้วิจารณญาณมากกว่านี้"
คำนี้มันหมายความว่าคนอ่านคนอื่นไร้วิจารณญาณ พอๆกับที่บอกว่าคุณมีวิจารณญาณมากกว่าคนอื่นด้วยนาครับ

อันนี้เหยียดจริงๆ เหยียดเต็มๆเลยละ แต่ผมเห็นว่าคุณไม่น่าจะตั้งใจเหยียด แค่อารมณ์มันพาไปมากกว่า

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 13:24 #1044583 Reply to:1044533
whitebigbird's picture

มากกว่านี้ไม่ได้แปลว่าไม่มีอ่ะครับ แต่มันยังมากกว่านี้ได้อีก ไม่ต้องมีมากจนล้นครับ แค่มากจนพอเข้าใจอะไรสักอย่างก็เพียงพอแล้วครับ

ถ้าอ่านแล้วยังจับความหมายไม่ได้ แบบนี้ถือว่ามีวิจารณญาณพอเหรอครับ?

อีกประเด็น "คนอ่านก็ควรเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้วิจารณญาณมากกว่านี้" แต่คุณเอาไปแปลงสาส์นว่าผมด่าคนอื่นว่าไม่มีวิจารณญาณ

ลองพิจารณาดูสิ่งที่ตัวเองทำครับ ว่ามันน้ำเน่าไหม ที่เอาคำพูดของผมไปใส่ไข่ให้เหมือนผมดูถูกคนอื่นอย่างนั้น

อยากทำให้ผมดูเลวเหรอครับ? อยากให้คนเกลียดผมเหรอ? ทำเพื่ออะไรครับ

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 17 April 2018 - 14:19 #1044614 Reply to:1044583

ใจเย็นๆ แล้วลองทบทวน หมุนมุมมองตัวเองเป็นอีกฝ่ายดูครับ ผมเชื่อว่าคุณมีความสามารถในการแยกแยะได้ และเชื่อว่าคุณไม่ได้มีเจตนาจะว่าร้ายคนอื่น

คุณอาจจะคิดว่าคำว่ามากกว่านี้ คือให้มีมากกว่านี้ หรือก็คือยังมีแต่ยังไม่มากพอ ถูกมั้ยครับ
แต่สำหรับคนอ่าน(คุณลองจินตนาการว่าเป็นคนที่อยู่ฝั่งที่โดนพูดแบบนี้ใส่นะ) คำว่ามีไม่พอกับไม่มีมันไม่ต่างกันหรอกครับ
มันคือการที่โดนบอกว่าคนที่เห็นไม่ตรงกับผู้พูดมีวิจารณญาณไม่พอจะแยกแยะได้ ซึ่งมันก็หมายความว่าคนพูดที่สามารถแยกแยะได้นั้นมีวิจารณญาณที่มากพอ

ซึ่งเคสนี้ ไม่ต่างกับเคสหัวข้อของข่าวเก่าเลยครับ การเลือกใช้คำที่สื่อความหมายผิด มันทำให้คนรับสารเกิดอคตินะครับ
ผมถึงบอกตอนท้ายว่าผมคิดว่าคุณไม่ได้เหยียดหรอก เพราะผมเชื่อว่าคนที่แยกแยะชัดเจนแบบคุณไม่น่าใช่คนที่เหยียดคนอื่น และผมก็เชื่อว่าคุณน่าจะเข้าใจเจตนาผมนะ

แล้วก็ขอโทษที่ผมเลือกใช้คำว่าไร้วิจารณญาณครับ มันทำให้คุณดูไม่ดีจริงๆ ทั้งที่ผมตั้งใจจะบอกคุณแค่ว่าคุณไม่น่าเลือกใช้คำนี้เพราะคนอ่านจะรู้สึกไม่ดีเท่านั้นเอง
นี่ไง ตัวอย่างไม่ดีเห็นๆ ผมก็ต้องเรียนรู้การเลือกใช้คำเหมือนกันครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 18:54 #1044724 Reply to:1044614
whitebigbird's picture

ถ้าสำหรับคนอ่าน คำว่ามีไม่พอ แต่ตีความได้ว่าไม่มี

ผมคงต้องบอกบอกตรงๆ ว่า ผมจะไม่มานั่งพูดจาให้ใครรู้สึกดีหรอกนะครับ คำพูดผมสื่อความตามที่ผมพูดเท่านั้น ถ้ามันไปกระตุ้นความน้อยเนื้อต่ำใจ ซึ่งอาจเป็นปมของใคร แล้วทำให้ตีความเกินเลยจากที่ผมพูด

ผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหาของผมแล้วครับ

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 18 April 2018 - 10:19 #1044932 Reply to:1044724

คุณน่าจะเข้าใจผิดรุนแรงอย่างนึงน่ะครับ

ไม่มีใครน้อยเนื้อต่ำใจกับคำพูดของคุณครับ แค่เห็นว่ามันเกินเลยไป
เพราะความเห็นคุณไม่ได้ล้ำเลิศมากพอจะบอกว่าวิจารณญาณคนอื่นไม่พอ และไม่ได้ล้ำเลิศมากพอจะบอกว่าตัวเองมองได้รอบด้าน

ปัญหาของคุณคือคุณมองความเห็นตัวเองดีเลิศเกินจริง และมองประเด็นของคนอื่นไม่ออกซ้ำยังไปกดว่ามุมมองคนอื่นผิด ก็แค่นั้นครับ

ถ้าเรื่องแค่นี้ยังไม่เข้าใจ ผมก็คงไม่งัดกับอีโก้ของคุณต่อครับ รออ่านที่คุณจะตอบคุณ zerocool ดีกว่าว่าวิจารณญาณคุณนี่มีจริงแค่ไหน

ปล.สงสัยว่า ถ้าผมบอกว่า "คุณนี่ไม่ค่อยฉลาดเลยนะ" สำหรับคุณมันไม่เท่ากับ "คุณนี่โง่จังนะ" สินะครับ
ก็ถือว่าเป็นมุมมองที่แปลกดี พึ่งเคยเจอครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 18 April 2018 - 13:47 #1045016 Reply to:1044932
whitebigbird's picture

ไม่ฉลาดก็ไม่ได้แปลว่าโง่ ถูกแล้วครับ ถ้าสติปัญญาระดับ average จะให้เรียกว่าโง่ก็ไม่ได้ จะให้เรียกว่าฉลาดก็ไม่ได้ครับ

ผมว่าแปลกดีที่คุณพยายามเอาชนะผมเพราะผมพูดไม่ถูกใจคุณอ่ะ แต่ logic ผมก็ไม่ได้เพี้ยนอะไรด้วยนี่สิ

ลองเสนอผมก็ได้ครับ ว่าถ้าไม่ได้ฉลาด แต่ก็ไม่ได้โง่ จะใช้คำว่าอะไร

เช่นเดียวกับคำที่คุณคิดว่ามีปัญหา ถ้ามีวิจารณญาณไม่พอ แต่ก็ไม่ได้ขาดวิจารณญาณ อยากให้ผมใช้คำว่าอะไร หรือคิดว่าผมควรใช้คำว่าอะไร เสนอได้ครับ

ขอเป็นเหตุผลนะครับ ไม่ใช่เอาความรู้สึกมาบอกให้ผมทำตาม เพราะความรู้สึก มันแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลครับ

คำที่ผมใช้มันเป็น relative มันไม่ใช่ absolute ครับ ผมบอกว่ามีไม่พอ แปลว่ามี แต่ไม่พอ

เช่นเดียวกับคำว่าไม่เผ็ดที่เป็น relative และ subjective ไม่เผ็ดของแต่ละคนไม่เท่ากัน

ถ้าบอกว่าไม่ใส่พริกเลย แบบนี้คือ absolute ครับ

ผมเองก็แปลกใจดี ที่คุณมาหงุดหงิดผมกับเรื่องการใช้คำที่มันทำให้คุณรู้สึกไม่ดี ทั้งๆ ที่ผมบอกแล้ว ผมไม่มีหน้าที่จะทำให้คุณรู้สึกดี และคุณเองก็ไม่ควรจะมาคาดหวังให้ผมใช้คำที่คุณรู้สึกดีด้วยครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณตีความเองทั้งสิ้น ผมยังยืนยันว่าผมใช้คำว่าวิจารณญาณไม่พอ และไม่มีเจตนาจะให้ตีความเป็นความหมายว่าไม่มีวิจารณญาณใดๆ ทั้งสิ้นครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 18 April 2018 - 13:53 #1045019 Reply to:1045016
whitebigbird's picture

วุฒิปวส. ไม่เพียงพอจะเข้าทำงานปริญญาตรี

วุฒิไม่พอ, จบไม่สูงพอ ฟังแล้วไม่ถูกใจ แต่ถ้าเอาไปตีความว่า ถูกตำหนิว่าไม่ได้เรียนหนังสือ ถูกตำหนิว่าความรู้ไม่พอ ฯลฯ

ผมว่าปัญหาคือการตีความตามความรู้สึกนี่แหละครับ ตีโพยตีพาย น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่เกินความจริงเลยครับ

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 17 April 2018 - 01:28 #1044458 Reply to:1044377

ผมว่ามันยากมากนะครับที่จะทำให้คนเห็นคล้อยตาม

เพราะบทความก้ำกึ่งมาก ที่จะพยายาม Misdirection ไปหาความผิดของ Regulator(ซึ่งทำให้เอาผิดไม่ได้) ซึ่งรูปแบบบทความจะทำให้ น้ำหนักของความผิดของผู้ให้บริการลดลงไปมาก (นำเสนอในมุมมองว่า : ผู้ให้บริการแทบไม่ได้ทำผิดกฎหมายใดๆ : ทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้ห้ามหรือห้ามแต่ไม่มีบทลงโทษ)

ในขณะที่บทความนี้ที่คนเขียนๆ มันไม่ได้ออกมาในมุมปลอบประโลมอย่างนั้น แต่เป็นการเขียนที่บอกว่า ผู้ให้บริการอ่ะผิดจริง แต่ Regulator ก็กึ่งๆไม่ได้ห้ามไว้หรือไม่ยอมไปให้ถึงจุดที่บังคับโทษได้ แต่ก็ยังเน้นย้ำว่าสิ่งที่ผู้ให้บริการทำไม่ถูกต้อง

การ Misdirection มันฟังแล้วจะออกแนว ก็กฎหมายไม่ได้ห้ามก็ทำได้
ทั้งที่โดยสำนึก/สามัญสำนึก(คอมม่อนเซนส์) รู้ทั้งรู้ว่าผิด

..........

สองโพสต์มันต่างกันนิดนึง คือมันเส้นบางๆ ระหว่างกฎหมายที่เขียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กับจริยธรรมการดำเนินธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อคู่ค้า ที่พึงทำโดยวิสัยที่ดี (แม้กฎหมายไม่ได้เขียนไว้) ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่พูดเฉพาะตัวบทกฎหมาย (ความผิดจริงเกิดที่กสทช. แบบโพสต์ก่อนๆ) มันก็จะหาคนสนับสนุนได้ยาก เพราะคนผิดตัวจริง(โดยสามัญสำนึก ไม่ผิดเพราะไม่ได้เขียนไว้)

เคสมันใกล้เคียงกับ ป่าสงวน(ในสภาพการตีความเป็นป่าเสื่อมโทรม) ... ว่ากันที่การตีความเพียวๆ ไปๆมาๆ ไม่ได้ผิดข้อกฎหมายอะไรเลย กำหนดให้ทำได้ (Regulator/ผู้เขียนกฎหมาย ผิด ที่เขียนกฎหมายอย่างไม่รอบคอบ ส่วนผู้อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ไม่ได้ผิดกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร)

อาจะใช้คำว่า ถ้ามีสเกล 100 (0=Misdirection=เบี่ยงประเด็น กับ 100=RaiseNewIssue=สร้างประเด็นใหม่ที่สำคัญ) โทนการเขียนของโพสต์ก่อนหน้า ถ้าใส่คะแนนให้สมาชิกโหวตกัน ผมว่าน้ำหนักจะดูไปทาง 10-20 เท่านั้น (คือสมาชิกโดยรวมๆน่าจะเห็นว่าเป็นโพสต์ทีั่ดูเบี่ยงประเด็นมากกว่า)

แม้ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นถึงจะเข้าใจว่าโพสต์เดิมนั้นก็เขียนได้ถูกต้อง แต่พาดหัวมันดูเหมือนลืมๆไป .... คือต่อให้เนื้อหาเหมือนเดิมเป๊ะแต่พาดหัวเปลี่ยนเป็น "แม้ __ จะพลาดที่เผยแพร่ข้อมูล xxx แต่อาจจะไม่ได้รับบทลงโทษอะไร เหตุผลหลักเพราะ กสทช. สั่งให้เก็บข้อมูลลูกค้า แต่ไม่ได้กำหนดให้ต้องรักษาความลับลูกค้า" .. ซึ่งแค่เปลี่ยนแต่หัวข้อ คะแนนจาก 10-20 อาจจะกลายเป็น 70-80 ได้เลย

คือบทความใดๆ ที่ลดทอนความผิด ด้วยการไม่เขียนถึงความผิดของผู้กระทำความผิด (ในแบบที่มองยังไงก็ผิด แต่กฎหมายไม่ได้ระบุไว้ / ให้ทำ แต่ไม่ได้กำหนดข้อปฏิบัติ) แถมยังเน้นไปที่อีกกลุ่ม (ซึ่งผลโดยปริยายของการเน้นแบบนี้ จะทำให้อีกกลุ่มดูผิดมากกว่าคนทำผิดจริง) ก็มักจะได้รับการมองว่ามี Bias มากอยู่แล้ว เพราะเคสนี้ ผู้ให้บริการ "ทำผิดในแทบทุกๆมิติ ยกเว้นกฎหมาย"

..........

อาจจะต้องมองว่าเพราะรูปแบบวิธีการเบี่ยงประเด็น (ทั้งที่มันยังเกี่ยวข้องกัน) เป็นเครื่องมีที่ถูกใช้บ่อยมากในคดีหลายๆคดีในไทย พอผู้เขียนข่าวใช้วิธีเดียวกัน (ทั้งยังเคยมีการสปอนเซอร์ผ่านตามาบ้าง) มันก็เลยดูเหมือน ตั้งใจเบี่ยงประเด็นไปนิดนึง

และแม้ในโลกจะมีการใช้กฎหมายสองแบบปะปนกัน คือ 1. แม้ไม่ได้เขียนแบบ literally ก็มีความรับผิดชอบต้องทำ คือศาลตัดสินว่าควรทำ ศาลติดสินให้เสียค่าปรับ หรือแพ้คดี หรืออะไรก็ช่าง .... กับ 2. ไม่ได้เขียนไว้ ทำได้ ไม่ผิด ... แต่บ้านเราการที่มีโพสต์ว่าความผิดเกิดจากสทช.แบบนี้ได้ มันแปลว่า เรายึดโยงกับการใช้กฎหมายแบบข้อ 2 ... หรือในอีกมุมก็คือ หน้าที่พึงทำของตัวเองนั้นไม่มี ทำลวกๆก็ได้ เท่าที่ยังไม่มีข้อห้ามหรือบทลงโทษนั่นเอง

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 07:47 #1044491 Reply to:1044458
whitebigbird's picture

เรื่อง misdirection ไปหากสทช.ทำให้ความผิดของทรูดูน้อยลงนี่ผมไม่เห็นด้วยครับ

เพราะถ้าอ่านบทความอันนี้ที่คุณ mk เขียน คุณก็จะเข้าใจว่าเป็นความผิดของกสทช.และฝ่ายนิติบัญญัติที่ดันออกระเบียบให้มีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล แต่ดันไม่มีกฎหมายเอาผิดเมื่อการเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้นเกิดการรั่วไหล

ยังไงๆ ต่อให้พูดถึงความผิดของทรูอย่างเดียว (เช่นบทความนี้) คุณก็จะเห็นว่าเอาผิดได้ไม่เต็มที่อยู่แล้วครับ

เพราะใครที่ทำให้เอาผิดได้ไม่เต็มที่? เพราะบทความนั้น? เพราะสมาชิกบล็อกนันไม่เห็นด้วย? เพราะบทความนี้? หรือเพราะการออกกฎระเบียบมันไม่รัดกุม?

สมมติวันนี้เกิดเหตุ operator ทุกเจ้าทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าหลุด อาทิตย์หน้าก็หลุด และยังหลุดต่อไปจนครบปี แต่ก็ยังไม่สามารถเอาผิดใครแบบเต็มๆ ได้

จะยังต้องมาเขียนบทความตำหนิ operator ทุกเจ้าอยู่ร่ำไปมั้ยครับ? หรือต้องรอให้ครบทุกเจ้าก่อน? หรือต้องรอให้มันเกิดขึ้นซ้ำซากก่อน?

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 17 April 2018 - 11:10 #1044539 Reply to:1044491

ก็ตามย่อหน้าท้ายๆอ่ะครับ

บ้านเรารูปแบบกฎหมายมันผสมกัน แล้วค่อนไปในทาง Civil Law
อะไรไม่เขียนไว้ตรงๆ ก็ไม่ผิด .. อะไรไม่มีกฎหมายก็เอาผิดไม่ได้
(ทั้งที่ถ้ามันเป็น Common Law ผ่านระบบคณะลูกขุน เรื่องนี้แทบจะเอาผิดได้เต็มที่ ก็ไปหากฎหมายเกี่ยวข้องแล้วตีความกันเอาตามนั้น)

ผมมองว่า Blognone เป็นสื่อประเภทนึง ถึงไม่ได้เป็นสื่อสารมวลชน แต่ก็มีผู้ติดตามมากพอสมควร ... ดังนั้นแนวโน้มของบทความที่ดี จึงควรเขียนให้รอบด้าน (อาจจะไม่ต้องหยิบยกประเด็นย่อยมาทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่ลืมประเด็นหลักไปด้วย)

คุณอาจจะเป็นคนส่วนน้อยที่ไม่รู้สึกว่ามันคือ misdirection ... แต่ในบทของสื่อสารมวลชน ว่ากันตรงๆ ถ้าเขียนแล้วคนส่วนใหญ่รู้สึกว่ากำลัง misdirection แม้ intention ของผู้เขียนจะไม่ใช่ misdirection แต่ ผลลัพธ์ของบทความมันก็ยังมีการทำให้ผู้อ่านส่วนนึงรู้สึกว่าตั้งใจ misdirection อยู่ดี

ถ้าคุณเขียนคำอธิบายเรื่องใดเรื่องนึง(A) target คน 1000 คน ต่อให้ intention คุณคือ A ... แต่คน 900 คนเข้าใจว่าคุณแบบ B ... แสดงว่าวิธีการเขียนคุณยังไม่รัดกุม(หรือแสดงbiasชัดเกินไป) ในประเด็นที่สำคัญ แต่เอาจริงๆผู้เขียนก็เลือกได้สองทางอยู่แล้ว ...
1. ปล่อยให้คน(สัดส่วนที่มากกว่า) เข้าใจว่ากำลัง misdirection แล้วก็ช่างเค้าสิ หรือ
2. เขียนบทความให้ครอบคลุมคู่กรณี เพื่อ convince ว่าจริงๆ issue นั้นคืออะไร

เมื่อบทความนี้เขียนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(เคย/อาจจะ/กำลังจะมีในอนาคต) เพราะการมีส่วนได้ส่วนเสีย อาจทำให้ผู้อ่านคิดได้ว่ามี Hidden Agenda/Intention ซ่อนอยู่ ... การเขียนตำหนิผู้ประกอบการ (ที่คุณตั้งคำถามว่าจำเป็นต้องเขียนทุกครั้งอย่างงั้นหรือ) เป็นการเขียนที่อาจจะจำเป็นต้องทำเพื่อขจัดความเชื่อของผู้อ่านในประเด็นวาระซ่อนเร้นทิ้งไป ... เมื่อคุณไม่ได้ออก statement ให้เคลียร์ว่าปราศจาก hidden agenda คนส่วนหนึ่ง(ในที่นี่คือส่วนมากของคนมาคอมเมนท์) ก็เลยคิดไปในทาง misdirection ได้

---- แต่ถ้าพูดกันอย่างที่คุณพิมพ์ในเรื่องของสาระล้วนๆ (Real intention) โดยตัดส่วนของความรู้สึกไป issue ที่ทั้งสองโพสต์พูดถึงเป็น issue ที่สำคัญ (และเป็น issue แท้จริง ของการเกิดปัญหา)

การไม่ clarify hidden agenda เหล่านี้ แทนที่ผู้เขียนจะ convinceคน + กดดันกสทช + ทำให้คนเห็นปัญหาชัดขึ้น กลับกลายเป้นว่า ผู้เขียนพยายามเบี่ยงปัญหาออกจากบริษัทที่ทำผิด (โบ้ย) แทน เมื่อคนรู้สึกว่าผู้เขียนกำลังโบ้ยแทนผู้ประกอบการ ... ประเด็นที่กำลัง raise ใหม่ก็จะมีน้ำหนักลดลงด้วย ซึ่งผมว่ามันน่าเสียดายครับ ...

ผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิม ถ้าคุณเปลี่ยนหัวข้อ และเติมข้อความที่ "ยังเน้นย้ำความผิดของผู้ทำผิด ควบคู่ไปกับการชี้ต้นเหตุที่อนุญาตให้ผู้ทำผิด ทำผิดได้ที่" น้ำหนักของบทความนั้นในสายตาคนอ่านทั่วไป (ที่ยังมีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ) มันดูดีขึ้นได้

พูดในเชิงวิจารณ์บทความ/วิธีเขียนบทความนะครับ ตัวเนื้อหาสาระผมเข้าใจวัตถุประสงค์ของทั้งสองโพสต์ แค่พยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมผู้อ่านหลายๆท่านถึงมีทัศนคติเชิงลบต่อบทความก่อนหน้า มากกว่าบทความนี้

By: qo
iPhoneUbuntuWindows
on 17 April 2018 - 11:14 #1044551 Reply to:1044539
qo's picture

คนเขียนข่าว Blognone ทุกคนควรจะได้อ่าน comment นี้ อธิบายได้เข้าใจดีมากครับ

By: thsecmaniac
AndroidWindows
on 17 April 2018 - 11:23 #1044556 Reply to:1044539

เห็นด้วยกับบทความนี้มากๆครับ อยากให้ทีม Blognone อ่าน และปรับปรุงในบทความต่อๆไปให้ไม่เกิดกรณีนี้อีก

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 13:21 #1044587 Reply to:1044539
whitebigbird's picture

อันนี้ไม่ใช่ผมไม่เห็นด้วยนะครับ ผมถึงมีเขียนไว้ ว่าผู้เขียนคนจะเขียนให้ครอบคลุมกว่านี้ เพราะคนอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเข้าข้างทรู

ซึ่งถ้าเป็นผม ผมคงไม่เขียนให้ละเอียดขนาดนั้น เพราะผมไม่สนใจว่าใครจะมองว่าผมเข้าข้างใครสักคนนึงรึเปล่า ถ้าคนอ่านสนใจอยากจะสนทนาแบบคุณภาพ ผมว่าก็ควรจะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ... คือถ้าผมไม่ได้โฟกัสที่ความผิดของทรู มันก็ไม่ได้แปลว่าผมจะเข้าข้างทรู ถูกมั้ยครับ

ถ้าคนอ่านอยากสนทนากัน ถามได้ครับว่า เฮ้ย คุณเขียนแบบนี้เข้าข้างทรูเหรอ ... ซึ่ง พอผมตอบว่าไม่ได้เข้าข้าง ... คนส่วนนึงจะเข้าใจ คนส่วนที่เหลือก็จะตั้งธงไว้แล้วว่าผมเข้าข้างทรู และจะไม่เชื่อผม ... คนกลุ่มนึงจะมองว่า ก็ผมเขียนไม่ครอบคลุมเอง

ก็เลยต้องถามว่า แล้วผมต้องทำให้ทุกคนเข้าใจเหมือนกันหมดด้วยหรือ ในเมื่อทุกคนยังมีอคติและเลือกที่จะไม่เข้าใจกันอยู่แบบนี้

การมองภาพรวม เป็นสกิลอย่างนึงที่เรียนรู้ได้นะครับ ผมก็ไม่ได้เกิดมาแล้วสามารถเห็นภาพรวมได้ในทันที แต่ผมก็ไม่มาโทษคนเขียนว่าเขียนไม่ละเอียด เขียนเหมือนเข้าข้างคนผิดไงครับ

ถ้าลดอคติลงกันไม่ได้ ไม่มาเจอกันที่เหตุผลที่เป็น fact แบบนี้คุยกันยากครับ แค่ผมบอกว่าแต่ละคนวิจารณญาณไม่เท่ากันและควรใช้วิจารณญาณให้มากขึ้น ยังมีคนเอาคำพูดผมไปแปลงสารว่าผมด่าคนอื่นว่าไม่มีวิจารณญาณ และยกตนเหนือคนอื่นเลยครับ

By: pepporony
ContributorAndroid
on 16 April 2018 - 19:20 #1044382 Reply to:1044374

นี่อาจจะเป็นการทดลองทางจิตวิทยาของ BN ก็เป็นได้

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 16 April 2018 - 20:21 #1044398 Reply to:1044374

จะว่าตรงก็ไม่เชิงครับ ถึงเนื้อหาข้างในจะเหมือนกัน แต่หัวข้อเก่าทำให้คนอ่านรู้สึกโดน"ชี้นำ"ว่ากสทช.ผิดที่ทรูทำข้อมูลหลุด
เนื่องจากประโยคว่า"กสทช.เป็นต้นเหตุ"มันรวมประเด็นทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน

เพราะถ้าบอกว่ากสทช.เป็นต้นเหตุ ต้องหมายถึงกสทช.เป็นคนออกกฏให้มีการรั่วไหลของข้อมูล ซึ่งคำนี้ยังไงมันก็ค้านกับความรู้สึกคนอ่าน
ทั้งที่ความจริงมันแบ่งเป็นสองประเด็น กสทช.ผิดที่วางกฏระเบียบการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไม่รัดกุม กับทรูที่วางมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลลูกค้าไม่รัดกุม

ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่าไม่เห็นด้วยกับเนื้อหานะครับ เอาจริงๆประเด็นนี้คนผิดมากกว่าคือกสทช.ที่มีหน้าที่ออกกฏให้รัดกุมอย่างที่คุณ lew ว่าแหละ เพราะอย่างน้อยในกรณีที่ Operator ทำผิดก็ยังมีบทลงโทษ
เพียงแต่เมื่อหัวข้อมันค้านความรู้สึกคน คนก็เกิดอคติเป็นธรรมดา ยิ่งการที่คนจำนวนมากเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันแปลว่าคำที่ใช้มันผิดแน่ๆครับ

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 16 April 2018 - 21:51 #1044420 Reply to:1044374
zerocool's picture

ผมว่าคุณจับประเด็นผิดนะ คุณ mk คนเขียนข่าวเองก็บอกไว้ที่ comment ด้านล่างว่าคนละประเด็น

บทความของคุณ lew เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า การที่ข้อมูลรั่วไหลส่วนหนึ่งเป็นเพราะกสทช. "สั่ง" ให้เก็บข้อมูลสำเนาบัตรประชาชน และในส่วนของข้อเสนอก็ยังมีการเน้นยำประเด็นนี้ไปอีกด้วยว่าอยากให้ยกเลิกข้อบังคับการลงทะเบียน SIM ด้วยสำเนาบัตรประชาชน เปลี่ยนให้เป็นแบบสมัครใจแทน

นัยยะจะต้องการสื่อว่า เพราะมีการ "สั่ง" ให้เก็บจึงมี "ข้อมูล" มาให้หลุด

แต่สำหรับบทความนี้ ใจความที่เขียนเน้นเรื่องข้อบังคับด้านกฎหมาย บทลงโทษ หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสิทธิ์ทางกฎหมายของผู้ใช้บริการ เป็นการพูดถึงด้านการจัดการ ไม่ได้พูดถึงเรื่องสาเหตุ

คนละประเด็นกันอย่างสิ้นเชิง

ผมไม่รู้ว่าคุณจับประเด็นอย่างไรนะ แต่การลงท้ายด้วยการบอกว่า "คนอ่านก็ควรเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้วิจารณญาณมากกว่านี้" ผมว่ามันตลก เหมือนคิดไปเองคนเดียวว่าตัวเองถูกแน่นอน วิจารณญาณสูงแน่นอน ส่วนคนอื่นวิจารณญาณต่ำกว่าตัวเอง

ความมั่นใจอันนี้ของคุณมันจริงแท้แน่หรือ ? สิ่งที่คุณคิดว่าถูกมันอาจจะผิดก็ได้ สิ่งที่คุณคิดว่าคุณเข้าใจมากกว่าคนอื่นแท้จริงมันอาจจะเป็นเพียงแค่ bias ของตัวคุณเองก็ได้

ผมยังยืนยันคำเดิม บทความนี้ไม่เหมือนกับบทความก่อน บางส่วนของบทความก่อนอาจจะพูดถึงประเด็นในบทความนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดของบทความก่อน ดังนั้นการเทียบว่า 2 บทความเหมือนกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

คุณจะเข้าใจอย่างไรก็เรื่องของคุณ แต่การหาว่าคนอื่นวิจารณญาณต่ำกว่าตัวเองนี่ผมว่ามันยกหางตัวเองมาก ๆ ตลกสิ้นดี


That is the way things are.

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 07:56 #1044496 Reply to:1044420
whitebigbird's picture

ขอบคุณครับ อันนี้ผมรับไว้พิจารณาครับ ผมขออนุญาตยังไม่พิมพ์ตอบนะครับ โควต้าตัวเองหมด พิมพ์ยาวๆ ไปสอง reply ค่อนข้างล้าครับ

By: meathasith
Windows PhoneAndroidWindows
on 16 April 2018 - 22:43 #1044432 Reply to:1044374

เก่งมากเลยครับ คงจะมีความสามารถในการตีความและสื่อสารเป็นเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 99 ของ blognone เลยมั้งครับ

By: pepporony
ContributorAndroid
on 17 April 2018 - 06:23 #1044481 Reply to:1044432

EQ น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าในกรณีนี้

By: whitebigbird
Contributor
on 17 April 2018 - 07:53 #1044494 Reply to:1044432
whitebigbird's picture

คุณประชดผมก็ไม่ทำให้คุณมีความสามารถที่จะตีความบทความได้มากขึ้นหรอกครับ

ตราบใดที่คุณยังไม่คิดว่าตัวเองควรจะปรับปรุงหรือพัฒนาตัวเองในการมองภาพรวม แต่ใช้วิธีโจมตีแบบยั่วยุคนที่เค้าปรับปรุงตัวเองไปแล้ว คุณก็จะเป็นได้แค่ loser แบบนี้แหละครับ

ผมอาจจะแค่บังเอิญที่ดันเห็นด้วยกับคุณ lew เฉพาะแค่บทคงามนี้ก็ได้ครับ ไม่ได้เก่งกาจอะไรเลย

แต่มันขัดใจคุณไง ... ลองโจมตีผมกลับด้วยเหตุผลให้ผมหน้าหงายสิครับ เอาแบบที่คุณ zerocool ทำด้านบนอ่ะครับ

ผมว่าดีกว่ามาประชดกัน หรือพยายามยั่วยุด้วยการเสียดสีเยอะครับ

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 16 April 2018 - 19:19 #1044381
gotobanana's picture

เขียนคราวนี้เหมือนงานแก้ของเมือวาน

By: thsecmaniac
AndroidWindows
on 16 April 2018 - 20:32 #1044400 Reply to:1044381

ไม่แน่ใจว่ามีการประชุมหรือถกกันก่อนหรือเปล่าก่อนปล่อยบทความออกมา แต่ถ้าไม่ มันก็ต้องมีบทความนี้ ออกมาแหละครับ

By: Gored on 16 April 2018 - 20:50 #1044408 Reply to:1044400
Gored's picture

ผมสงสัยที่บอกว่าเป็นข้อเสนอของ blognone มีการคุยกันไหม ถ้าไม่ก็เป็นความเห็นคนเขียน

By: thsecmaniac
AndroidWindows
on 16 April 2018 - 20:56 #1044409 Reply to:1044408

สงสัยเหมือนกันครับ

By: mk
FounderAndroid
on 16 April 2018 - 21:22 #1044415 Reply to:1044381
mk's picture

คนละประเด็นกันอย่างสิ้นเชิงเลยครับ

By: Iamz
AndroidWindows
on 17 April 2018 - 00:38 #1044452

ผมว่าเนื้อหาคนละอย่างกับเมื่อวานเลย สำหรับผมบทความเมื่อวานจะสื่อว่าทำไมมันถึงเกิดเรื่องนี้ ส่วนบทความนี้จะสื่อว่าเกิดเรื่องนี้แล้วยังไงต่อ (หรือที่จริงมันควรจะเป็นยังไงต่อ)

By: ti.krab
Android
on 17 April 2018 - 01:25 #1044455

จริง ๆ แล้ว
ผมเคยเห็น bn บอกว่าตัวเองเชื่อในความเอียงอยู่แล้วนิครับ

  • ไม่ใช่เอียงแบบเข้าข้างนะ
  • แต่จะเอียงแบบ ว่าทางหนึ่งมากกว่า รึก็ไม่พูดถึงเลยมากกว่า
    (ประมาณว่าเลือกยิงไปเฉพาะที่เป้าส่วนหัว แต่ในการแข่งขันหรือการทดสอบยิงเป้า อาจกำหนดบังคับให้ต้องยิงจุดอื่น ๆ ด้วย)

ผมก็ไม่รู้ว่า bn ควรปรับเปลี่ยนแนวทางหรือคงไว้ดี
ซึ่งผมขอไม่แสดงความคิดเห็นส่วนนี้ดีกว่าครับ :)

By: ti.krab
Android
on 17 April 2018 - 12:46 #1044526 Reply to:1044455

(คิดไปคิดมาแล้วทำให้ อดใจแสดงความคิดเห็นไม่ไหว)

เรื่องการยอมรับของคนไม่เหมือนกัน
เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเห็นไม่ตรงกัน
ในบางกรณีเห็นไม่ตรงกันก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่ใช้ควาามเห็นตนมาปะทะกัน

แต่ในบางกรณีก็เป็นปัญหา นำความเห็นตนมาปะทะกัน โดยคิดว่าตนถูกอีกฝ่ายไม่ถูก หรือของตนถูกต้องกว่า

ผมจะขอยกตัวอย่างหนึ่งนะครับ
เป็นเรื่องคำตอบปัญหาทางคณิตศาสตร์
(โดยให้มีอาจารย์ผู้ตรวจให้คะแนนหลายคน แต่ละคนมีคะแนนเต็ม 1 คะแนน)

โจทย์ของอาจารย์มีว่า จงแทนค่า a ยกกำลังสอง ให้มีค่าเท่ากับ 4
(คำตอบมีสองคำตอบคือ -2 และ 2)

นักเรียนเลยตอบว่า ให้ a=2 ซึ่งถูกต้อง

จากคำตอบข้างบนอาจารย์แต่ละคน อาจให้คะแนนได้อย่างน้อย 3 แบบ คือ 0 , 0.5 และ 1

คนที่ให้ 0 คะแนน นั้นอาจคิดว่านักเรียนจะได้คะแนนต้องตอบให้ครบ
คนที่ให้ 0.5 คะแนน นั้นอาจคิดว่านักเรียนตอบคำตอบ มา 1 ใน 2 ของคำตอบทั้งหมด จึงให้ 0.5 คะแนน
คนที่ให้ 1 คะแนน นั้นอาจคิดว่าก็นักเรียนตอบถูกแล้ว แม้ไม่ได้ตอบครบ 2 คำตอบก็ตาม โจทย์ไม่ได้บังคับไว้
(ในเรื่องนี้หากให้ผมเป็นอาจารย์ผมจะเลือกให้ 1 คะแนน)

ตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่า ไม่มีใครผิด คำตอบนักเรียนถูกต้อง เหตุผลของอาจารย์ทุกคนถูกต้อง

ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ว่าหากเป็นนักเรียน ถ้ารู้คำตอบครบ ก็ควรตอบให้ครบ ก็จะดีได้คะแนนเต็ม 1 แน่ๆ ไม่ต้องลุ้นคะแนน
แต่ถ้าไม่รู้ครบก็ตอบไปตามนี้ได้ แต่จะต้องลุ้นคะแนนเอาหน่อย

หากเป็นอาจารย์ ก็ควรทำความเข้าใจคำถามประกอบคำตอบในการให้คะแนน เมื่อคำถามไม่กำหนดให้ต้องตอบทุกคำตอบก็ควรให้คะแนนนักเรียนเต็ม 1 โดยให้สอนเพิ่มในห้องว่ามันมีคำตอบอื่นด้วยนะคำถามนี้ หรือเขียนบอกในกระดาษคำตอบเอาก็ได้ครับ

ผมหวังว่าจะมีส่วนช่วยให้ท่านทั้งหลายเข้าใจกันและกันดีขึ้นนะครับ

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 17 April 2018 - 01:31 #1044460
dangsystem's picture

สรุปให้
ข่าวเก่าจะถามหาวิธีจัดการการลงทะเบียนซิมที่ดีกว่าปัจจุบันไม่ใช่ให้ใครก็เก็บไว้

ข่าวนี้เขาอยากให้มีกฎหมายหรืออะไรที่เอาผิดกรณีที่ข้อมูลหลุดครับ

By: dtobelisk
AndroidWindows
on 17 April 2018 - 07:48 #1044492 Reply to:1044460
dtobelisk's picture

น่าจะเรียกคนจับประเด็น​ไม่ได้​มาอ่านนะครับ อิอิ

By: tom789
Windows Phone
on 17 April 2018 - 09:42 #1044525 Reply to:1044492

+1

By: alonerii
AndroidUbuntuWindows
on 17 April 2018 - 10:32 #1044538 Reply to:1044460

ข่าวนี้กับข่าวนั้นน่าเอาไปเป็นบทเรียนฝึกจับใจความจริง ๆ 5555
เพราะตอนนี้ทุกคนกำลังมุ่งไปประเด็นที่ว่า ด่าทรูหรือไม่ด่าทรูกันอย่างเดียวเลย

By: tom789
Windows Phone
on 17 April 2018 - 09:45 #1044527

ถ้าเรื่องไปถึง ศาล แล้ว ทนายฝั่งทรูเก่งๆ พุดถึงเรื่องกฏหมายตรงนี้ ก็เอาผิลไมได้ เลย ไใช่ไหมครับ หรือฝั่ง กสทช ก็ไม่ได้ด้้วย แล้ว ทางทรู น่าจะโดนอะไรบ้าง นะคับ

By: fullstepmixsong
Contributor
on 17 April 2018 - 11:18 #1044545 Reply to:1044527

ตอบแบบเศร้าๆ
กสทช เอาผิดได้ = บริษัท ที่ประมูลคลื่นไป
itruemart ไม่ใช่บริษัท ที่ประมูลคลื่นไป

itruemart ทำผิดที่ทำข้อมูลหลุด แต่ไม่มีบทลงโทษอะไรเลย
itruemart ไม่ต้องทำอะไรเลย แถลงข่าวแบบนั้น มีแต่พวก geek หรือกลุ่ม IT / Privacy เท่านั้นที่เข้าใจ

แต่คนส่วนใหญ่พอมาอ่านข่าว เขาแถลงว่าโดน hack คนเขาก็เชื่อแล้ว (คนเชื่อแถลง เยอะกว่าคนไม่เชื่อ)

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 17 April 2018 - 11:24 #1044557 Reply to:1044545

เป็นเรื่องน่าเศร้านะครับ
บริษัทใหญ่จึงใช้วิธีเลี่ยงกฎหมาย ด้วยการตั้งบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องตรงๆ มาดำเนินการแทน แล้วเอาบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องตรงๆ มารับงานแทน (เพื่อหลีกหนีข้อกฎหมายและข้อบังคับกสทช.)

ศรีธนญชัยโดนสมบูรณ์

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 17 April 2018 - 11:37 #1044563 Reply to:1044557
McKay's picture

ยังไม่แน่ชัดว่าจะเข้าข่ายข้อ 18 หรือเปล่านะครับ อาจต้องตีความอีกที ถ้าเข้าก็เอาผิด True ได้ตรงๆ แต่ถ้าไม่เข้าเช่น iTruemart อ้างว่าได้รับคำสั่งมาจากกสทชโดยตรง(แล้วชั้นศาลเชื่อตามนั้น อาจจะด้วยเหตุผลต่างๆ...)ก็ซวยไป

ปัญหาคือตัวประกาศมันไม่มีบทลงโทษ และตัวพรบที่ประกาศอ้างอิงนั้นไม่มีอยู่จริงมากกว่า ทำให้กรณีนี้กสทชแทบจะเอาผิดทรูไม่ได้เลย นอกจากการเรียกค่าปรับทางปกครองตามข่าว ความผิดที่ลูกค้าสามารถ'เอาความ'จากทรูโดยตรงนั้นเป็นไปไม่ได้เลย


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: mrdd on 17 April 2018 - 17:27 #1044706 Reply to:1044563

ต้องลองให้ลูกค้าฟ้องเอง
ฟ้องชนะ ค่าเสียหายที่เรียกร้องได้ยกให้ทนาย80%ไปเลย ไหนๆก็มีคนฟันธงว่าไม่ได้อยู่แล้ว
ทำผิด แล้วยังมาท้าทาย ว่ากฏหมายเอาผิดข้าไม่ได้อย่างนี้ ต้องสั่งสอน

By: acitmaster
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 17 April 2018 - 09:54 #1044529
acitmaster's picture

ถ้าไทยมีกฎหมายจริงๆจังๆ คงจะดี
แต่ผู้รับผิดชอบยังไม่เห็นความสำคัญ

*บทความคนละประเด็นเลย เถียงอะไรกัน

By: itnolimit on 17 April 2018 - 10:14 #1044534

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลน่าจะคลอดในปีนี้แหละครับ ตอนนี้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ถ้าไม่มีการแก้ไขในสาระสำคัญอีก ก็รอเสนอสนช.ออกเป็นกฎหมายได้เลย

By: nrad6949
WriterAndroidBlackberryWindows
on 17 April 2018 - 11:07 #1044546 Reply to:1044534
nrad6949's picture

มีหลักฐานหรือยืนยันว่ากำลังอยู่กระบวนการยกร่างเพื่อตราเป็นกฎหมายหรือไม่ครับ? คนทั่วไปจะได้สบายใจระดับหนึ่งครับว่าจะออกจริงๆ ไม่มียื้อ


I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.

By: itnolimit on 17 April 2018 - 12:19 #1044571 Reply to:1044546

การจัดรับฟังความคิดเห็นทั่วไปก็เป็นหนึ่งในกระบวนการครับ เข้าใจว่าอาจมีการยืดเยื้อขึ้นได้
แต่ส่วนตัวเชื่อว่ารัฐบาลนี้อยากให้คลอดออกมาไวๆครับ ทั้ง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพรบ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
เพิ่มเติม: รับฟังความเห็นไปเมื่อ 22 มกราคม 2561 - 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมาครับ

By: fullstepmixsong
Contributor
on 17 April 2018 - 11:14 #1044552

ผมมีความเห็นส่วนตัว นอกประเด็นนิดนึง
ผมคิดว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่อยากให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ออกมาหรอกครับ เพราะรัฐบาลต้องการโอกาสในการตรวจสอบข้อมูลคนได้อย่างสะดวก

การมีกฎหมายข้อนี้ออกมามันยิ่งทำให้กระบวนการจัดการคนยุ่งยากมากขึ้น เพราะข้อมูลถูกรักษา
กลับกัน รัฐบาลต่างหากที่จะต้องการ การสอดส่องข้อมูล ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สืบคืนข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ข่าวใน blognone ก็เขียนแซะ เรื่องนี้ไปหลายข่าวเช่นกัน

แต่หากผมวิเคราะห์ผิด แล้วกฎหมายนี้คลอดออกมาได้ ก็น่าชื่นชมครับ อย่างน้อยผมก็เอาผิดใครได้บ้างหากหน่วยงานใดๆทำข้อมูลส่วนตัวผมหลุดออกไปเหมือนอย่างกรณีนี้