Tesla Model 3 เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 และเคยสัญญาไว้ว่าจะเป็นรถราคาจับต้องได้ เริ่มต้นที่ 35,000 ดอลลาร์ แต่ในความเป็นจริง ผู้รับรถในตอนนี้ไม่มีใครสามารถสั่งรถราคาต่ำสุดได้ บริษัทเองนอกจากติดพันกับการแก้ปัญหาสายการผลิต และยังหันไปเปิดตัวรุ่น Performance ที่ราคาสูงถึง 78,000 ดอลลาร์แทน
เมื่อมีผู้สอบถามเมื่อใดถึงจะสั่งรุ่นต่ำสุดได้ Musk ตอบว่าต้องรอ 3-6 เดือนหลังจากสามารถปรับสายการผลิตให้เข้าสู่ระดับ 5,000 คันต่อสัปดาห์ได้แล้ว โดยตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 3,500 คันต่อสัปดาห์เท่านั้น
Musk ระบุว่าจะขายรถรุ่นต่ำสุดได้ต้องกดต้นทุนให้ได้ตามเป้าหมายก่อน หากส่งมอบรุ่นต่ำสุดทันทีบริษัทก็จะขาดทุนจนเจ๊ง
ที่มา - @elonmusk
Comments
ต้นทุนอะไรจะเยอะขนาดนั่น ....
ปัญหาของเทสล่าคืออะไรกันแน่ Knowhow ? หรือ supply chin ?
เห็นข่าวว่ายังค้างหนี้กว่า 2.4พันล้านดอลลาห์
แบต กะโครงรถ ไม่ได้ถูกๆนะ
ผมเห็นต่างนะ
เอาจริงๆผมกำลังงงว่า Tesla กำลังเน้นทางไหนกันแน่ระหว่าง
Self Driving Car หรือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพราะตอนนี้แอบรู้สึก Sunk Cost มันเริ่มเยอะไปละ
ถึงแม้จะบอกว่าต้นทุน R&D มันสูง และคืนทุนในอนาคต แต่มันถึง State ที่ต้องทำวิจัยทั้งสองขาพร้อมกันหรือเปล่า เพราะยังไม่คืนทุนเลย นี่ไม่นับเรื่องถ้ามันสำเร็จแล้วต้องสร้างโรงงานเพิ่มนะครับ แล้วโรงงานไม่ใช่บาทสองบาทหรือสร้างแล้วเกิดขึ้นเลย ต้องใช้เวลาอีก
ผมกำลังสงสัยตรงนี้แหละ
หรือไม่ก็รุ่นสูงทำกำไรได้ดีกว่า ก็ทำรุ่นสูงออกมาก่อน เพราะตอนนี้กำลังการผลิตมีจำกัด
แผ่นเหล็กโง่ๆแผ่นนึงราคาไม่กี่บาท แต่ตอนผลิตมันมีเครื่องจักรกับ Die ที่ต้องซื้อและสร้างใหม่ พาร์ทนึงก็กว่าจะออกมาได้จ่ายพวกนี้เป็นล้านแล้วครับ ต้นทุนรถมันสูงมากอยู่แล้ว ยิ่งใส่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปอีกยิ่งแพงสุดหูรูดครับ
ปีนี้น่าจะได้คำตอบว่าอยู่หรือไป
ไม่ต้องทำหรอก ให้รถจีนเขาทำเหอะ
จีนแซงทางโค้งไปแล้ว
3500 คัน/สัปดาห์ = 182,000 คัน/ปี นี่เยอะมากเลยนะครับ
ใกล้เคียง Honda โรจนะ ที่น้ำท่วมเมื่อ 2554 ที่ประมาณ 200,000 คัน/ปี (หลังจากเปิดอีกรอบเพิ่มเป็น 240,000 คัน/ปี)
เป้าหมาย 5000 คัน/สัปดาห์ = 260,000 คัน/ปี เทียบเท่า Toyota เกตเวย์ มันช่าง Aggressive ยิ่งนัก แต่เชื่อว่า Elon ทำได้
ไม่รู้ว่าสายการ Assembly โรงงาน Tesla ใช้ FIFO เหมือน Toyota ไหม
ไม่สต็อค หรือ Buffer part เมื่อชะงัก 1 process ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ ยาวไปถึง Supplier
ที่แน่ๆ Supplier อะไห่ล่ตัวถังพร้อมมาก เพราะผลิตโดย ไทยซัมมิท ของคนไทยตะกูลจึงรุ่งเรืองกิจ ไปเปิดโรงงานที่ US การันตีกำลังการผลิตส่งให้ Tesla ปีละ 500,000 คัน ธนาธร กับ Elon เค้าซี้กัน
มโนสุดแรงกล้าว่า ถ้าธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชนะเลือกตั้งในอนาคต อาจจะมีโอกาสได้เห็น Tesla ขายในเมืองไทย
แต่ ช้าก่อน ถ้าโรงงานมีเท่าที่มีตอนนี้ ก็จบข่าวนะฮะ
ฮอนด้านี่ในไทยเราที่ผลิตกันนี่มีมากกว่าสองโรงนะ แถมป้อนแค่บางพื้นที่ของโลกนะฮะ ไม่ได้สองสามโรงป้อนทั่วโลกแบบ Tesla
แต่ช้าก่อน Tesla มันยังไม่ได้แมสขนาดรถใช้น้ำมันนะ ดังนั้นคำสั่งซื้อมันไม่น่าจะเยอะจนต้องไปเทียบกับฮอนด้ามั้ง
ยอดสั่งยังไม่ mass, เลยยังไม่ทำราคาให้ mass .. หรือราคายังไม่ mass, ยอดสั่งเลยไม่ mass ?
จริง ๆ ยอดจองตอนแรกสูงมากนะครับจนทำให้ลูกค้ารอกันถึงปีกว่ากันเลยทีเดียว แต่ก็ยกเลิกจองกันเยอะเพราะรอนานเกิน แต่ถ้าผลิตได้ 5,000 คันต่ออาทิตย์จริง ๆ ยอดสั่งซื้อคงพุ่งสูงขึ้นแน่นอน
ปัญหาคือไปโฆษณาไว้ว่าเริ่มต้น 35,000 ดอลลาร์ (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกแล้ว ล้านกว่า) คนฝากเงิน 1,000 ดอลลาร์เข้าคิวเป็นปี ถึงเวลาจริงๆ รุ่นต่ำสุดไม่มีขาย
Tesla ทำได้ดีจริงๆ ล่ะครับ กับบริษัทรถเกิดใหม่นี่ก็น่าประทับใจมาก แต่นิสัย Elon ก็ชอบตั้งเป้า (และบอกต่อสาธารณะ) ไว้เกินจริงแล้วทำไม่ค่อยได้ เขาเองก็เคยยอมรับเรื่องนี้ (ในหนังสือ Elon Musk) ว่าแม้เขาจะชอบพูดเป้าหมายเกินทำได้ไปบ้าง แต่สุดท้ายก็ทำได้นะ แบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
เข้าใจว่าตอนนี้ทำทั้งขยายโรงงานและผลิตรถไปด้วย
รุ่น $35,000 ทำใด้แต่กำไรไม่พอค่าขยายโรงงาน เลยปล่อยรุ่นแพงไปก่อนเอากำไรมาขยายโรงงาน ส่วนรุ่นราคาต่ำทำทีหลังพร้อมกับฉลอการขยายโรงงานเพื่อเลี่ยงตัวแดง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เห็นด้วย ยอด 5000 คัน/สัปดาห์นี่สูงมาก ตกนาทีละคันได้ ซึ่งก็พอๆกับกำลังการผลิตของโตโยต้าเลย
ถ้าเร่งกำลังได้ประมาณนั้น ต้นทุนต่อคันก็จะต่ำลงไปอีก แต่ไม่คิดว่าจะทำได้เร็วๆนี้ เพราะของมันยังใหม่ ยังไงก็ไปตันคอขวดตรง QC/QA หลังไลน์อยู่ดี
ต้น เม.ย. ผลิตใด้ 2,000 คันต่อสัปดาห์ ตอนนี้ทำได้ 3,500 คันต่อสัปดาห์ 5000 คัน/สัปดาห์ ... น่าจะทำได้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ช่วงนี้ ปัญหาเยอะ..
ต้นกำเนิดมาจากไหน..ดูแล้วไม่น่ามาจากตระกูลยานยนต์.
จะทำรถยนต์ก็ต้องเรียนรู้จากผู้ผลิตรถยนต์ ถึงจะไม่มีเครื่องยนต์ แต่ตัวถัง ระบบไฟฟ้า และระบบขับช่วงล่างมันก็ไม่น่าต่างกันมาก เขาพัฒนาเทคนิควิธีการมาเป็นร้อยปี เอาแค่ในเมืองไทย ซุปฯเก่งๆในโรงผลิตค่าตัวเป็นแสนเวลาแย่งซื้อตัว(ที่ยกมาเพราะปกติฐานเงินเดือนแทบจะต่ำสุดในโรงงาน)ประสบการณ์สำคัญมากๆ แม้จะคิดใหม่ทำใหม่แต่ปัญหาเก่าๆก็ต้องใช้คนมีประสบการณ์แก้ไข มันถึงจะไว เห็นไปเปิดhackathon เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิต ก็รอดูว่าจะแก้ได้จริงไหม
อีกอย่าง หรือเขาจะเปลี่ยนแผนการตลาด ไปจับตลาดพรีเมียมอย่างเดียว เพราะมองว่าตลาดmassยังไงก็สู้จีนไม่ได้?