Tags:
Node Thumbnail

ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย ประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz (คลื่น dtac เดิม) ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้

True เป็นค่ายแรกที่ออกตัวไม่ร่วมการประมูล จากนั้นตามด้วย dtac และ AIS ที่ประกาศตัวแบบเดียวกันในวันนี้ (15 มิ.ย.)

หลายคนคงมีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น และจากนี้ กสทช. จะทำอย่างไรต่อไป? บทความนี้จะพยายามวิเคราะห์เรื่องนี้ครับ

No Description

ย้อนอดีตการประมูลคลื่น 1800MHz

ต้องย้อนอดีตกันสักนิดว่า การประมูลคลื่น 1800MHz ล็อตนี้ถือเป็นตอนสุดท้ายของไตรภาคโทรคมนาคมไทยยุคเปลี่ยนผ่าน จากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต เพราะสัญญาสัมปทานชุดเดิมของบรรดาโอเปอเรเตอร์เมื่อ 20-30 ปีก่อน เหลือสัมปทานระหว่าง dtac-CAT ที่จะหมดอายุในปีนี้ (15 กันยายน 2561) ซึ่งหลังจาก กสทช. นำคลื่นย่านนี้มาเข้าระบบใบอนุญาต ประเทศไทยก็จะเปลี่ยนจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในภาคสามเกิดจากการประมูลภาคสองในปี 2558 (คลื่น 900MHz เดิมของ AIS และ 1800MHz เดิมของ True) ที่มี JAS เข้ามาเป็นตัวป่วนในการประมูล การแข่งขันครั้งนั้นทำให้ตัวเลขสุดท้ายของการประมูลพุ่งขึ้นไปสูงมากถึงสล็อตละ 4 หมื่นล้านบาท (1800MHz) และ 7.5 หมื่นล้านบาท (900MHz)

ปัญหาเรื่อง JAS ไม่มาจ่ายเงินค่าประมูล สามาถคลี่คลายลงไปได้หลัง AIS ยอมจ่ายเงินในระดับเดียวกัน และได้คลื่น 900MHz ไปครองตามต้องการ แต่ผลกระทบจากการประมูลครั้งก่อน ยังติดตามต่อเนื่องมายังการประมูลครั้งนี้ เพราะ กสทช. พิจารณาเคาะราคาขั้นต่ำของคลื่น 1800MHz รอบใหม่ (สัมปทาน dtac เดิม) ที่สล็อตละ 15MHz จำนวน 3 สล็อต ราคาเริ่มต้นที่ 37,457 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นราคาระดับเดียวกับราคาสุดท้ายของการประมูล 1800MHz ครั้งก่อน

ราคาเดิม แต่บริบทเปลี่ยน

การประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ในปี 2558 จบด้วยราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์ เพราะมีโอเปอเรเตอร์เข้าร่วม 4 ราย มากกว่าจำนวนคลื่นที่เปิดให้ประมูล ผลคือการแข่งขันที่รุนแรงมาก บวกกับบริบทของการประมูลในตอนนั้น ที่ AIS และ True ถูกบีบด้วยสถานการณ์คลื่นไม่พอใช้เพราะสัมปทานเดิมหมดอายุ จึงมีสภาพหลังชนฝา ต้องสู้ให้ชนะเพื่อให้ได้คลื่นมา มิฉะนั้นอาจจะถูกบีบให้ต้องออกจากธุรกิจนี้ไปเลย (กรณีของ AIS กับคลื่น 900MHz ถือว่าชัดเจนมาก)

อย่างไรก็ตาม หลังการประมูลคลื่นปี 2558 ส่งผลให้ AIS และ True มีคลื่นอยู่ในมือมากพอในระดับหนึ่ง (แถม AIS ยังไปจับมือกับ TOT ใช้คลื่น 2100MHz ของ TOT เพิ่มอีกในภายหลัง) ผู้ที่ตกที่นั่งลำบากจึงมีแค่ dtac เพียงรายเดียวเท่านั้น เพราะคลื่นเก่าใต้สัมปทานเดิมจะหมดอายุในปี 2561 ทุกคนจึงคาดว่าในการประมูลครั้งหน้า dtac จะต้องสู้ยิบตาเพื่อให้ได้คลื่นมา

ข้ามเวลามายังปี 2561 สถานการณ์กลับพลิกผัน เพราะ dtac สามารถเซ็นสัญญาใช้คลื่น 2300MHz ของ TOT ได้ก่อนการประมูลไม่นาน (นับจนถึงวันนี้คือไม่ถึงเดือนเต็มด้วยซ้ำ) ทำให้สภาพการณ์ของ dtac ไม่ถูกบีบคั้นมากนัก และสามารถใช้คลื่น 2100MHz ที่มีอยู่ก่อน บวกกับ 2300MHz ให้บริการลูกค้าไปได้อีกสักระยะหนึ่ง

หมายเหตุ: ถึงแม้ dtac ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเรื่องอุปกรณ์ที่รองรับ 2300MHz ที่อาจไม่เยอะเท่าคลื่นย่านอื่น, การวางเสา 2300MHz ในช่วงเดือนแรกๆ ที่ยังไม่ครอบคลุมพอ, การเปลี่ยนผ่านของลูกค้าที่อยู่ใต้สัมปทานคลื่น 1800MHz เดิม แต่ dtac คงพิจารณาแล้วว่าเป็นปัจจัยที่ไม่อันตรายหรือไม่ส่งผลกระทบแรงมาก เมื่อเทียบกับปัจจัยเรื่องต้นทุนราคาคลื่นรอบใหม่ที่จะต้องจ่ายออกไป

เมื่อสถานการณ์เรื่องคลื่นของโอเปอเรเตอร์เปลี่ยนไป แต่ กสทช. ยังตั้งราคาคลื่นเท่าเดิม จึงไม่น่าแปลกใจนักที่โอเปอเรเตอร์ไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้

No Description

อัพเดต: เพิ่มผังคลื่นของโอเปอเรเตอร์ในปัจจุบัน (ภาพจาก dtac)

No Description

buy a wonderful spectrum at a fair price

คำถามที่หลายคนสงสัยคือ โอเปอเรเตอร์ไม่อยากได้คลื่น 1800MHz เพิ่มงั้นหรือ? ในโลกที่คลื่นความถี่มีจำกัด และการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทุกคนย่อมอยากได้คลื่นเพิ่มอยู่แล้ว

คลื่นย่าน 1800MHz เป็นคลื่นที่พิสูจน์ตัวเองมายาวนาน โทรศัพท์แทบทุกรุ่นในโลกนี้รองรับอยู่แล้ว แต่ขาดเพียง ราคาที่เหมาะสม เท่านั้น

การตั้งราคาคลื่นของ กสทช. โดยเอาราคาสุดท้ายของการประมูลครั้งก่อนหน้าเป็นที่ตั้ง ย่อมทำให้ราคาคลื่นจะมีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีวันลดลง โอเปอเรเตอร์ย่อมรู้ดีว่าหากไม่หยุดวัฎจักรอันนี้ ในระยะยาวก็จะต้องจ่ายค่าคลื่นแพงเรื่อยๆ เสมอไป

ดังนั้นในจังหวะที่โอเปอเรเตอร์มีคลื่นความถี่ในมือมากพอ ไม่ต้องง้อ กสทช. มากนัก จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งสัญญาณ (แรงๆ) กลับไปยัง กสทช. ให้ทบทวนเรื่องราคาคลื่นใหม่อีกครั้ง

จุดวัดใจ กสทช. ยอมลดราคาคลื่นหรือไม่

กสทช. เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า กรณีไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล จะออกหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ภายใน 1 เดือน แล้วจัดประมูลใหม่อีกครั้ง

ตอนนี้บอลจึงถูกเขี่ยกลับไปยังฝั่ง กสทช. แล้วว่าจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป หาก กสทช. ยอมปรับราคาค่าคลื่นลงมา โอเปอเรเตอร์ก็น่าจะยินดีกลับเข้าร่วมการประมูลใหม่แต่โดยดี (คำถามที่ยังรอคำตอบคือ ราคาที่โอเปอเรเตอร์มองว่า "เหมาะสม" อยู่ที่เท่าไรกันแน่)

แต่ถ้าหาก กสทช. ยังมองว่าราคาคลื่นเท่านี้เหมาะสมแล้ว หรือปรับราคาลงมาไม่มากนัก ก็น่าจะเห็นการประมูลครั้งนี้ถูกยื้อกันไปมาอีกนาน เผลอๆ อาจต้องรอไปถึงบอร์ด กสทช. ชุดใหม่ (ที่ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไร) มาจัดการประมูลด้วยซ้ำ ซึ่งคงกินเวลาเป็นหลักปี

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: NoppawanConan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 15 June 2018 - 14:49 #1055630
NoppawanConan's picture

เสือนอนกิน ก็ยังเป็นเสือนอนกินอยู่วันยังค่ำ


แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที

By: freeriod on 15 June 2018 - 14:56 #1055632
freeriod's picture

อนาคต tot จะมีโอกาศไม่มีคลื่นเปล่า

By: zerost
AndroidWindows
on 15 June 2018 - 15:09 #1055634
zerost's picture

ทำไม กสทช. ไม่ทำอะไรกับการที่ tot นำคลื่นไปใช้แบบไม่มีประสิทธิภาพไม่ใช้ประโยชน์​อื่นมีแต่การปล่อยให้คนอื่นเช่าถ้างั้นปล่อยคืนมาประมูลน่าจะเป็นผลประโยชน์​กับชาติมากกว่า​ ผมสงสัยจริงจัง

By: ravipon
iPhoneWindows
on 15 June 2018 - 15:15 #1055637 Reply to:1055634
ravipon's picture

ตอนนี้มี MCOT กับคลื่น 2600 ของขาอีกเจาครบที่มีวี่แววว่าจะหวยออกแบบเดียวกับ TOT

By: mk
FounderAndroid
on 15 June 2018 - 15:24 #1055642 Reply to:1055634
mk's picture

อันนี้เป็นผลจากการจัดระเบียบคลื่นใหม่ที่ไปไม่สุด เพราะหน่วยงานรัฐรายอื่นๆ ถือครองคลื่นกันไว้เยอะและไม่ยอมปล่อยนี่ล่ะครับ

By: errin on 15 June 2018 - 16:00 #1055652 Reply to:1055634

เห็นภาพพวกริมทางรถไฟ หรือ ตลาดหัวเมืองต่างๆเลยครับ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2018 - 16:39 #1055659 Reply to:1055634
McKay's picture

Edit


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2018 - 16:39 #1055660 Reply to:1055634
McKay's picture

Edit:เข้าใจผิด


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: nzing82
AndroidWindows
on 15 June 2018 - 16:55 #1055665 Reply to:1055634

กสทช. เขาทวงคืนครับ แต่ผู้ถือครองเดิม เขาทำหนังสือชี้แจงเหตุผลเพื่อขอใช้งานคลื่นต่อไปครับ ซึ่งผู้ถือครองบางรายก็ได้รับคลื่นไว้ใช้งานต่อไป ผู้ถือครองบางรายต้องคืนคลื่นมาประมูล
ของ TOT น่าจะให้เหตุผลเรื่องการนำคลื่น 2300 MHz ไปทำ Internet ความเร็วสูงแบบไร้สาย (ไม่ชัวร์)
ของ MCOT ไม่ทราบ
ของ CAT ต้องคืนคลื่น 850MHz และ 1800MHz หลังหมดสัญญาสัมปทาน

By: anoid on 16 June 2018 - 14:20 #1055823 Reply to:1055634

จะทำไรทีลำบากครับ สหภาพเค้าแข็งอยู่ ประท้วงเก่ง

By: Patchan
iPhone
on 15 June 2018 - 15:12 #1055635

ดีแทคมองแล้วว่าถ้าไม่ลดราคาประมูลโดนยื้อ ยังไง 1800 ก็ต้องได้คำสั่งคุ้มครองผู้บริโภค ไปจนกว่าจะมีการประมูลครั้งใหม่เหมือน ตอน True AIS

By: 255BB
Android
on 15 June 2018 - 15:14 #1055636

จัสมินนี่นอกจากโดนปรับกับตัดสิทธิ์ โดนอะไรอีกบ้าง เหมือนมากดประมูลเล่นๆ แล้วเบี้ยวซะงั้น

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 15 June 2018 - 15:26 #1055644 Reply to:1055636
wisidsak's picture

JAS ถูกปรับอย่างเดียวครับ ไม่ถูกตัดสิทธิ์

By: magnamonkun
WriterAndroidWindows
on 15 June 2018 - 23:46 #1055763 Reply to:1055644
magnamonkun's picture

JAS โดนแบนนะครับ รอบนี้ไม่ให้เข้ามาซื้อซองและยื่นซองเลย

By: thanyadol
iPhone
on 15 June 2018 - 15:23 #1055641

ถ้ายังให้มีการเช่าคลื่น ก็เข้าวงจรเดิมจ้า

By: IDCET
Contributor
on 15 June 2018 - 15:38 #1055648

นอกจากปัญหาประมูลคลื่นแล้ว ยังมีปัญหาคลื่นสัมปทานจากในอดีตให้เห็นอยู่ เห็นได้ชัดเจนจาก CAT, TOT และ MCOT (มีคลื่น 2600 แต่เงียบหายไป)

วิธีเดียวที่ใช้ดัดนิสัยและตัดหางปล่อยวัดบรรดาองค์กรเสือนอนกินได้ ก็คือ สั่งบังคับฟ้องให้คืนคลื่นและจ่ายค่าปรับ หรือสั่งให้องค์กรนั้นล้มละลายไม่ให้กลับมาอีก แล้วค่อยขายทรัพย์สินให้กับหน่วยงานเอกชนที่สนใจเข้าประมูลหรือประกาศราคาขายตายตัวน่าจะดีกว่า โดยเฉพาะ TOT

แต่วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาในตอนนี้ คือเปลี่ยนและแก้ไขกฎหมายการถือครองคลื่นความถี่ให้รัดกุมและครอบคลุมทุกด้าน จะได้ไม่เกิดปัญหาอีกในอนาคต


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: kengeng
iPhoneAndroidWindows
on 15 June 2018 - 16:31 #1055657

ใช้หลักทฤษฎีเกมได้เลย

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 15 June 2018 - 16:40 #1055662

มันเป็นการประมูลอยู่แล้ว จริงๆ ก็ไม่น่าตั้งราคาเริ่มสูงมาก ถ้ามันมี value คนก็แย่งกันจนราคาที่เค้าคิดว่าคุ้ม (ถ้าไม่ฮั้วนะ)


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: nisitko
AndroidWindows
on 15 June 2018 - 16:44 #1055663
nisitko's picture

DTAC เช่าคลื่น 2300 MHZ จาก TOT ใช้งานได้ 60% ของ bandwidth 60 MHz คือประมาณ 36 MHz ค่าเช่า 4.51 พันล้านต่อปี ระยะเวลาถึงปี 2568 (7 ปี) รวมๆก็เสียเงินประมาณ 3 หมื่นล้าน หากคิดที่ 15 ปี ตามระยะเวลาการประมูลคลื่นปกติ ก็ 6 หมื่นกว่าล้าน ถูกกว่า ได้ bandwidth มากกว่ากันเยอะด้วย (15 กับ 36 MHz)

TOT ที่ให้เช่าคลื่น 2100 กับ AIS และให้เช่าคลื่น 2300 MHz กับ DTAC จะต้องคืนคลื่นปี 2568 ทั้งคู่ ต้องเอามาให้ประมูล

By: pd2002 on 15 June 2018 - 17:17 #1055678 Reply to:1055663

คิดแบบนี้ผิดครับ ดีแทค ก็ออกมาบอกแล้วว่า 60% คือ Capacity ไม่ใช่จำนวนคลื่นนะครับ
คือ dtac ใช้ได้เต็ม 60MHz ซึ่งวันนี้ก็ใช้อยู่ (3CA 3x20MHz) แต่ใช้ capacity ได้แค่ 60% ครับ

By: nisitko
AndroidWindows
on 15 June 2018 - 17:32 #1055684 Reply to:1055678
nisitko's picture

เข้าใจครับ แต่ไม่รู้จะเปรียมเทียบอย่างไรดี ...

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 15 June 2018 - 18:36 #1055722 Reply to:1055678
TeamKiller's picture

อีก 40 % หายไปไหนหรอครับ

By: Mikamura
AndroidUbuntuWindows
on 15 June 2018 - 19:00 #1055730 Reply to:1055722

TOT เก็บไว้ใช้เองครับ เดี๋ยว TOT ก็จะออก TOT Mobile 2300 มาเหมือนกัน (ต่อยอดจาก TOT3G ซึ่งแต่เดิมมี 1800 กับ 2100 อยู่แล้ว)

By: magnamonkun
WriterAndroidWindows
on 15 June 2018 - 23:49 #1055764 Reply to:1055730
magnamonkun's picture

TOT ไม่ออก Mobile ครับ ส่วนนี้จะเอาไปทำบอร์ดแบนด์ไร้สายในชุมชนที่ลากสายเข้าไม่ถึง (ซึ่งเป็นจุดประสงค์เดิมของ กสทช. และ ก.DE) ดังนั้นในเขต กทม./หัวเมือง dtac อาจจะได้ใช้เต็ม 100% ครับ

By: nzing82
AndroidWindows
on 15 June 2018 - 16:50 #1055664

กสทช. เขาลดราคาอยู่แล้วครับ เพราะตอนนี้มันมีเหตุให้ลดแล้ว
เดาว่าครั้งนี้ต้องตั้งราคาไม่ต่างจากราคาล่าสุดของการประมูลรอบก่อนหน้า เพราะถ้าตั้งต่ำกว่าแล้วมีปัญหาขึ้นมา อาจจะต้องตอบคำถามหรือโดนสอบ ว่าตั้งราคาต่ำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือเปล่า ทำรัฐสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้หรือไม่
แต่รอบนี้ไม่มีคนยื่น การตั้งราคาครั้งหน้าให้ต่ำลง มันก็มีเหตุผลรองรับ เนื่องจากราคาอาจสูงเกินไปจนไม่มีใครเข้าประมูล ตัว กสทช. ก็จะปลอดภัยในการทำงาน ไม่ต้องกลัวโดนสอบ

By: cornario
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 15 June 2018 - 17:54 #1055695 Reply to:1055664
cornario's picture

+1 ครับ เคยทำงานกับส่วนงานราชการมาส่วนใหญ่ก็ประมาณนี้เกือบทั้งนั้น

By: impascetic
Android
on 15 June 2018 - 17:59 #1055701 Reply to:1055664

ตามนี้ครับ ระดับองค์กรมันต้องตรวจสอบได้ มีเหตุผลรองรับชัดเจน ไม่ใช่แค่ "คิดว่าจะ"

เอาแค่บริษัทเอกชน สมมติขายของแบบซื้อมาขายไป ถ้าของชิ้นเดิมราคาขึ้นแล้วหา Vendor เจ้าใหม่ ได้ราคาถูกลง พอออดิทมาตรวจสอบเค้ายังถามเลยว่าทำไมได้ราคาต่ำลง ทำไมเปลี่ยนเจ้า แล้วทำไมไม่ซื้อเจ้านี้แต่แรก บลาๆๆๆ

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 15 June 2018 - 19:43 #1055742 Reply to:1055664
wisidsak's picture

อยากให้ประมูลแบบ ค่อยๆ ลดราคาจากเดิมมากกว่า

By: topty
Contributor
on 15 June 2018 - 19:29 #1055739

สามาถคลี่คลายลงไปได้หลัง AIS ยอมจ่ายเงินในระดับเดียวกัน

สามาถ => สามารถ

หากไม่หยุดวัฎจักรอันนี้

วัฎจักร => วัฏจักร

By: mk-
Symbian
on 17 June 2018 - 10:07 #1055890
mk-'s picture

เช่าเอาถูกกว่า?