เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เคราะห์ร้าย 5 รายถูกทำร้ายจนเสียชีวิต เพราะคนทำร้ายเชื่อว่า 5 คนนั้นเป็นคนลักพาตัวเด็กตามข้อมูลที่แชร์ผ่าน WhatsApp
ในอินเดียมีคนใช้ WhatsApp ประมาณ 200 ล้านราย ถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ ของ WhatsApp เลยทีเดียว ในขณะที่ Facebook ถูกวิจารณ์ว่ามีแต่ข่าวปลอมจนส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้ง WhatsApp ในอินเดียก็เช่นกัน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นในโลกจริงนั้นเลวร้ายกว่ามาก เพราะมีคนเสียชีวิตจริงจากการที่คนเชื่อข่าวปลอมที่แชร์กันใน WhatsApp
รัฐบาลในนามหน่วยงานกระทรวงไอที ระบุว่านอกจากจะใช้มาตรการทางกฎหมายต่อผู้ก่อเหตุแล้ว ยังแสดงความกังวลเรื่องข้อมูลปลอมที่แชร์กันซ้ำๆ บน WhatsApp และระบุด้วยว่า WhatsApp ควรรับผิดชอบส่วนหนึ่งด้วยการยุติการเผยแพร่ข้อมูลปลอมเสีย
WhatsApp กล่าวว่าไม่ต้องการให้แพลตฟอร์มนี้ถูกใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และบริษัทยังมีนโยบายประกาศรางวัลให้นักวิจัยที่สำรวจประเด็นข้อมูลปลอมบนแพลตฟอร์มด้วย ด้าน Facebook บริษัทเจ้าของ WhatsApp ยังไม่ได้ให้คำตอบอะไรต่อประเด็นร้อนนี้
ถือเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งสำหรับ WhatsApp ในอินเดียที่มีการใช้งานแพร่ข้อมูลปลอมมาระยะหนึ่งแล้ว ที่น่ากลัวคือเป็นข้อความสร้างความเกลียดชัง โจมตีกลุ่มคน และยังยากที่จะหยุดการแชร์ข่าวปลอม เพราะ WhatsApp เป็นแอปแชทแบบเข้ารหัสที่แม้แต่แพลตฟอร์มก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อความนั้นได้ ที่สำคัญ ผู้ใช้ยังแชร์เนื้อหาปลอมแบบ public ได้อีกด้วย ทำให้สามารถเป็นไวรัลได้ไม่ยาก
ภาพจาก Shutterstock โดย Rahul Ramachandram
ที่มา - Reuters
Comments
คุ้นๆว่าปีที่แล้วก็มีข่าวแบบนี้เลยนะครับ แปลกดี
https://www.nytimes.com/2017/05/25/world/asia/india-vigilante-mob-violence.html
ข่าวนี้เลย ปัญหาศาลเตี้ยกำลังมาแรงมากในอินเดีย
สังคมคุณตะภาพกว่าไทยอี๊กกก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นึกถึง 6 ต.ค.
กับ 14 ตุลาคมด้วย เลวร้ายพอกันเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไทยก็รุ้สึกจะมีคนโดนกระทืบเพราะโพตอะไรซักอย่างเกี่ยวกับในหลวง ร9