ปักกิ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ผู้คนที่เดินทางไปไหนมาไหนในแต่ละวันนั้นมีมากมายมหาศาล รวมทั้งการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน แม้รถไฟจะวิ่งเร็วเพียงใดแต่ด้วยปริมาณคนใช้บริการที่มีมาก กว่าที่คนคนหนึ่งจะเดินทางไปถึงจุดหมายเขาอาจต้องเสียเวลากับการเข้าคิวรอซื้อตั๋วหรือแตะบัตรผ่านสถานีเพื่อขึ้นรถไฟ ด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินของปักกิ่งจึงมีแผนจะนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและการสแกนลายนิ้วมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
เพื่อลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องรอในระหว่างก่อนขึ้นรถไฟและหลังลงจากรถไฟ ทางการจีนจึงมีแผนจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใบหน้าและเครื่องสแกนฝ่ามือเพื่อให้ผู้โดยสารเข้าและออกจากสถานีได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาติดต่อขอแลกเหรียญ ไม่ต้องมัวเข้าคิวรอหยอดเหรียญกับเครื่องออกบัตรโดยสาร และก็ไม่ต้องเข้าแถวอีกครั้งหนึ่งเพื่อรอเสียบบัตรเข้าเครื่องสแกนก่อนเดินเข้าพื้นที่ชานชาลา
แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการเก็บเงินค่าโดยสาร แต่คาดว่าระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนี้จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเพื่อทำการตัดเงินค่าโดยสารแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมในประเทศจีน ตัวอย่างการใช้งานระบบสแกนใบหน้านั้นมีใช้อยู่ก่อนแล้วบริเวณด่านระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะฮ่องกงซึ่งจะใช้ควบคู่กับเรื่องสแกนลายนิ้วมือ ในขณะที่เครื่องสแกนฝ่ามือก็มีการใช้งานกับรถไฟในเซี่ยงไฮ้มาบ้างแล้ว โดยจำกัดเฉพาะผู้โดยสารกลุ่มพิเศษ เช่น ทหารผ่านศึก หรือผู้พิการและทุพพลภาพ
อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผนการติดตั้งระบบตรวจจับใบหน้าและระบบสแกนฝ่ามือสำหรับผู้โดยสารรถไฟใต้ดินนี้ ความเห็นฝ่ายหนึ่งมองว่าทุกวันนี้ทางการจีนกำลังริดรอนความเป็นส่วนตัวของประชาชนตนเองลงไปในทุกขณะ ในขณะที่อีกส่วนเกรงว่าหากระบบหละหลวมมีช่องโหว่ก็อาจทำให้ข้อมูลอัตลักษณ์เชิงชีวภาพเหล่านี้รั่วไหลออกสู่ภายนอกและถูกผู้ไม่หวังดีนำเอาไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบได้
อีกด้านหนึ่งก็มีความเห็นในแง่การใช้งานว่าประสบการณ์ใช้งานระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนั้นอาจไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องเสียไป เพราะยกตัวอย่างผู้สูงอายุหลายคนซึ่งไม่ค่อยคุ้นชินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากนักก็อาจไม่รู้ว่าต้องใช้เครื่องอย่างไรจนทำให้ต้องเสียเวลาผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่อยู่ในคิวเช่นเดียวกัน
สำหรับรถไฟใต้ดินของปักกิ่งนั้นเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 1965 แต่เริ่มมีการปรับปรุงบริการและขยายเส้นทางแบบก้าวกระโดดในช่วงปี 2008 ซึ่งปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ในปัจจุบันมีรถไฟวิ่งให้บริการ 23 เส้นทาง มีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนต่อวัน โดยก่อนหน้านี้คิดอัตราค่าโดยสารทุกเส้นทาง (ยกเว้นไปสนามบิน) ทุกระยะทางเท่ากันหมดด้วยราคา 2 หยวน (ประมาณ 10 บาท) ก่อนที่จะปรับวิธีคิดค่าโดยสารในปี 2014 มาเป็นระบบคิดตามระยะทาง โดยปัจจุบันนี้ค่าโดยสารต่ำสุดของการเดินทางเริ่มต้นที่ 3 หยวน (ประมาณ 15 บาท) ในเส้นทางไม่เกิน 6 กิโลเมตร และค่าเดินทางสูงสุดต่อครั้งอยู่ที่ 10 หยวน (ประมาณ 50 บาท) สำหรับการเดินทางรวมระยะทาง 92-112 กิโลเมตร
ที่มา - Abacus
ภาพจาก Wikimedia
Comments
เห็นข่าวนี้แล้วผมเลยสงสัยว่านอกจาก BTS แล้วยังมีรถไฟฟ้าในเมืองหลวงหรือเมืองธุรกิจประเทศไหนบ้างที่ต้องต่อคิวแลกเหรียญเพื่อไปต่อคิวหยอดตู้
ตามหลักแล้ว ต้องเป็นตู้ที่ใส่ได้ทั้งเหรียญและธนบัตร แต่ BTS เอาง่าย มีแต่ตู้ที่เป็นหยอดเหรียญซะส่วนใหญ่
เอาจริงๆ สิ่งที่ควรทำมากกว่า คือผลักให้คนไปใช้บัตรเติมเงินให้มากที่สุดครับ อย่างของญี่ปุ่น ถ้าเดินทางด้วย Suica จะราคาถูกกว่า
ของบ้านเรานอกจากไม่ถูกกว่า ยังเอาเปรียบทุกทาง เช่นบัตรรายเดือนทั้งกำหนดจำนวนเที่ยว และกำหนดวันไว้ด้วย อันไหนหมดก่อนก็ต้องเติมเงิน ความคุ้มไม่เหลือ เพราะเดินทางใกล้ๆ ก็โดนหักเที่ยวเท่ากัน (เข้าใจว่า mrt ก็จะเปลี่ยนเป็นระบบนี้ด้วยหรือเปล่า? จากเดิมจำกัดแค่จำนวนวันเท่านั้น)
แล้วการเติมเงินก็ควรทำให้ง่ายๆ ของญี่ปุ่นเขาเติมผ่านตู้เดียวกับที่ซื้อตั๋ว แถมยังมีเติมใน app อีก บ้านเราต้องเติมกับพนักงานเท่านั้น
สายสีม่วงเติมผ่านตู้ครับ ผมนี่แทบไม่เจอหน้าพนักงาน MRT เลยตั้งแต่สายสีม่วงเปิด
แต่ถ้าตู้จะช่วยกรุณารับบัตรเครดิตหรือเดบิตสักหน่อยนะ
สมัยก่อน MRT จะมีตั๋วเหมารายเดือน ต่อมาเป็นจำกัดจำนวนเที่ยวและใข้ได้ 30 วันแบบ BTS แต่ปัจจุบันยกเลิกทั้งหมดแล้ว เหลือแต่ตั๋วราครปกติแสนแพง ยังสงสัยอยู่ว่าท่านที่ใช้เป็นประจำระยะทางไกลๆ เสียค่าใช้จ่ายอะไรกันไหวอย่างไร BTS บัตรเที่ยวอาจไม่ดีที่สุด แต่ยังพอมีทางเลือกที่ประหยัดลง
ผมจำได้ว่าขึ้นเมื่อ 3-4 ปีก่อน mrt ยังมีตั๋วรายเดือนไม่จำกัดเที่ยวอยู่เลย ตอนหลังไม่ได้ใช้ mrt บ่อยๆ เลยเปลี่ยนเป็นเติมเงิน เคยคุ้นๆ ว่าจะเปลี่ยนเป็นบัตรจำกัดเที่ยว เพิ่งรู้ว่ายกเลิกไปเลย...
เปลี่ยนเร็วขนาดนี้ ไม่รู้ว่าก่อนเปลี่ยน คำนวณรายได้กันบ้างหรือเปล่า
ตั๋วเดือนนี่มันรายได้แบบ steady เลยนะ ไม่รู้ยกเลิกได้ไง
จริงๆน่าพัฒนาเป็นหักบัตรเครดิตอัตโนมัติด้วยซ้ำ
ผลของการให้คนงี่เง่ามาบริหารจัดการระบบขนส่งทั้ง MRT และ BTS เน้นแต่ผลกำไร ไม่สนคุณภาพการให้บริการหรือผู้ใช้งานเลย แถมเอาแต่ปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง ที่ทำให้บัตรแมงมุมใช้กับ BTS ไม่ได้
ผู้บริหารก็มีแต่ทัศนคติห่วยแตก พูดอะไรก็ได้ เพราะเป็นธุรกิจเบ็ดเสร็จ ไม่มีคู่แข่งเลย แม้แต่บริการอื่นที่มีคู่แข่ง ยังห่วยเลย อย่าง ขสมก, วิน, แท็กซี่ และรถตู้ ก็ห่วยหมด ผู้ใช้ต้องหาทางรอดเอาเอง หรือหันไปซื้อรถ ทั้งๆ ที่มีความรนรงค์ให้ใช้บริการขนส่งมวลชล เพราะความห่วยที่บอกมาตอนต้น ต่อให้สร้างรถไปหลายสาย แต่ถ้าบริการยังห่วยและไร้คู่แข่งแบบนี้ก็ไร้อนาคตครับ เศร้าใจจริงๆ ครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมใช้งาน MRT มา 10 กว่าปีรู้แค่เขาขึ้นค่าโดยสารแค่ครั้งเดียว (ไม่แน่ใจ) สถานีละ 1-2 บาทนี่ล่ะครับ
แต่แค่นี้มันน้อยมากเมื่อเทียบกับ BTS
และปัญหารถ delay นี้ MRT น้อยลงมากๆ เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ฉะนั้นจะยกเลิกบัตรรายเดือนไปผมก็ยังยอมรับได้ เมื่อเทียบกับการให้บริการนะครับ (ผมนั้งรถไปทำงาน หัวลำโพง-ห้วยขวาง)
ราคาถูกมาก 50 บาท
wow ไทยยังร้อง เอามาใช้ที่ไทย จะใช้บริการทุกวันเลยล่ะ 555
สถานที => สถานที่
แสกน => สแกน
ตรวจตจับ => ตรวจจับ
อัตตลักษณ์ => อัตลักษณ์
ค่าโดยสารรถไฟใต้ดินในปักกิ่งสูงสุดน่าจะไม่เกิน 5 หยวน(25บาท) นะครับ. ไม่รวมกับสาย airport express ที่ปกติคิดประมาณ 5 หยวน ในส่วนของการจ่ายเงิน ตอนนี้ที่ปักกิ่งนอกจากบัตรโดยสารปกติ ก็จะมี QR code ผ่านแอพลิเคชั่นและก็ Apple pay ครับที่ใช้ได้ ในส่วนของ Face Recognition อาจทำร่วมกับ Alipay ที่ปัจจุบันคนจีนบันทึกใบหน้าลงใน Alipay ได้แล้วครับ
ปี 2008 ก่อน โอลิมปิก
เส้นแดง-น้ำเงิน 2 หยวนเอง
พอมีเส้นใหม่ๆเลยแพงขึ้น
ห๊ะ 2008 แค่ 10 บาทไทย ขึ้นรถเมล์แอร์ในเมืองบางกอกยังไม่ได้เลย
เส้น แดง-น้ำเงิน สมัยนั้น ไม่มีแอร์ ครับ
แถมตู้เก่ามาก เข้าใจว่าตั้งแต่สมัย 1950-1960
แต่ไม่สกปรก การบำรุงรักษาจัดว่าดีทั้ง รถ และ สถานี
ผ่านมาหลายปี ไม่รู้เปลี่ยนหรือยัง
แถม ขายตั๋วเป็นกระดาษฉีกด้วย manual สุดๆ
แล้วรีบติดตั้งระบบบัตรแตะตอนก่อน โอลิมปิก
ซึ่งแน่นอน บัตรเค้าใช้ได้ทั้ง รถเมล์+รถไฟใต้ดิน
(คิดแล้วเคือง BTS)
จนถึงตอนนี้แรบบิทก็ยังคงไอศกรีมโคนละบาท ลงทุนขนาดนี้คิดว่าจะยอมเหรอครับ?
จริงๆ ต่อให้ใช้บัตรข้ามระบบกันได้ ถ้าบัตรไหนมีสิทธิพิเศษเยอะกว่าคนก็น่าจะเลือกบัตรเจ้านั้นมากกว่าอยู่แล้วหรือเปล่า หรือเอาเข้าจริงข้อเสนอมันเป็นว่าให้ใช้บัตรแมงมุมเข้าระบบ BTS ได้แต่ไม่ยอมให้บัตร Rabbit ไปสแกนกับเจ้าอื่นที่ใช้แมงมุม?
ผมว่าแค่แนวคิดบัตรเดียวใช้ได้ทั้งระบบขนส่งมวลชน คนส่วนใหญ่ก็อยากใช้กันอยู่แล้วครับ ไม่ต้องใช้โปรโมชั่นหรือสิทธิพิเศษเลยครับ คนก็มาใช้งานเอง
ส่วน BTS ก็มีแนวคิดดี อย่างบัตร Rabbit แต่การนำไปปฏิบัตินั้นมีปัญหาและผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นแล้วครับ อันนี้ก็ต้องโทษ BTS ที่ไม่ออกกฏหรือออกแนวทางที่ชัดเจนกับผู้ใช้งานบัตรอย่างรัดกุมเองนะครับ ถึงกลายเป็นปัญหาอย่างทุกวันนี้
จริงๆ ถ้าสามารถทำให้ Rabbit และ Mangmoom ใช้งานได้ทุกระบบ ก็จะเกิดการแข่งขันด้วย เป็นผลดีทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการครับ แต่ก็อย่างที่เห็น BTS เลือกรักษาผลประโยชน์ของตนเองแลกกับการโดนประชาชนด่าและไม่พัฒนาระบบให้ทันสมัย ไม่ทำอะไรกับระบบเลย เอาแต่กินรายได้ไปวันๆ แบบผูกขาด
อย่างเรื่องแทนที่ระบบจ่ายบัตรด้วยเหรียญเป็นระบบรวมที่รองรับทั้งเหรียญ, ธนบัตร และบัตรเครดิต/เดบิต ของง่ายๆ และสำคัญกลับไม่ทำ มีแค่บางสถานีที่รองรับออกบัตรด้วยธนบัตร แต่มีแค่เครื่องเดียวด้วย คนต่อคิวยาว ส่วนบัตรรายเดือน รายสัปดาห์ก็ใช่ว่าจะถูก มีข้อจำกัดก็เยอะ แถมไม่มีบัตรไม่จำกัดรอบใช้งานรายเดือนหรือรายสัปดาห์เลยด้วยวันด้วย เทียบกัยของต่างประเทศแล้วยังถูกกว่า แถมครอบคลุมทุกสายด้วย มันใช่ไหมครับ แค่จรรยาบันในการบริหารก็สอบตกแล้ว ขายหน้าตัวเองบ้างไหม ไม่สำนึกหรือเรียนรู้อะไรเลยด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมจำได้ว่าญี่ปุ่นเองก็ต้องโดนทางการสั่งลงมานะครับถึงจะยอม ผู้ให้บริการก็คงไม่ยอมง่ายๆ กันอยู่แล้ว
ผมเอาข้อมูลมาจาก Wikipedia น่ะครับ
พยายามเข้าเว็บของ Beijing Subway เพื่อจะลองกดดูค่าโดยสารแล้ว แต่พอเข้าหน้าเว็บมันบอกว่าโหลด XML ไม่ได้
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
น่าเสียดายมากเลยที่บ้านเราให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นเป็นหลัก (ก็แหง ธุรกิจนี่นะ)
แต่เมื่อมันเป็นปัจจัยพื้นฐาน ขนส่งสาธารณะ ราคามันน่าจะถูกกว่านี้ ในเมืองใหญ่ๆ มีแต่จะผลักดันให้ใช้ขนส่งสาธารณะให้ใช้งานได้ง่าย
บ้านเรานั่งรถไฟฟ้า ทั้งแพงทั้งพัง
นั่งหลายคนเอารถไปหลายๆครั้งยังถูกซะกว่า
อย่างกับหนังไมนอรีตี้รีพอร์ท
น่าจะเอามาใช้กับระบบขนส่งในบ้านเราจริงๆ เห็น BTS แล้วอนาถจิต
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันดูแแปลกๆ อยู่นะ เป็นผมเนี่ยทำระบบติดตามผู้ต้องสงสัย ทั้งคนในประเทศและต่างประเทศร่วมไปด้วยเลย เชื่อมโยงสนามบินด้วย กับเครือข่ายยกล้องวงจรปิด รู้หมดว่าไปไหนมาบ้างแบบเนียนๆ