จากเหตุการณ์ศาลเตี้ยทำการฆาตกรรมในอินเดีย เพราะคนเชื่อข่าวปลอมเรื่องลักพาตัวเด็กที่แชร์ใน WhatsApp และเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในอินเดีย แต่ในระยะ 2-3 ปีให้หลังมานี้ เกิดเหตุแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
ล่าสุด Facebook ได้ซื้อหน้าสื่อหนังสือพิมพ์ในอินเดีย 1 หน้าเต็มๆ เผยแพร่วิธีการเช็คข่าวปลอมที่แชร์กันใน WhatsApp พร้อมระบุด้วยว่า ภายในสัปดาห์นี้ WhatsApp จะมีฟีเจอร์ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการแชร์ต่อๆ กันมาหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ใช้อยากหาต้นตอว่าแชร์มาจากใคร
เนื้อหาส่วนอื่นๆ เป็นการแนะนำวิธีตรวจสอบข่าวซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ลองตรวจสอบข่าวกับแหล่งข่าวอื่นด้วย ดูการสะกดคำ ถ้ามีสะกดผิดมากให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นข่าวปลอม ดูรูปภาพและวิดีโอให้ดีว่าผ่านการตัดต่อหรือไม่ เป็นต้น
#whatsapp has to publish a full page ad in @TOIIndiaNews requesting people not to spread #fakenews, just #India things! @TOIPune #pune pic.twitter.com/Ao7LNeLZS4
— Ajinkya (@ajinkyab12) 10 กรกฎาคม 2561
ก่อนหน้านี้ Facebook ก็ซื้อหน้าหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ของสหรัฐฯ และอังกฤษ เนื้อหาโฆษณาเป็นคำขอโทษจาก Mark Zuckerberg กรณีข้อมูลหลุดมาแล้ว
ที่มา - TechCrunch
Comments
ดูการสะกดคำ
ปล.ดูการสะกดคำ(ด้วยครับ)
ขอบคุณค่ะ
ฟีเจอร์เช็คต้นตอนี่ต้องเลย ต้องมีทุกแอพเลยนะโดยเฉพาะในเฟซบุ๊กเอง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!