dtac ออกจดหมายข่าวแสดงความกังวลต่อเงื่อนไขในการอนุญาตการประมูลคลื่น 900 เมกกะเฮิร์ต ข้อ 16, 17 และ 18 ที่ระบุให้ผู้ชนะประมูลต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนเพียงผู้เดียว
ข้อบังคับข้อ 16, 17 และ 18 ระบุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องติดตั้งฟิลเตอร์ป้องกันคลื่นรบกวนให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ครอบคลุมคลื่นหลายย่านในย่านความถี่ที่กำลังประมูล, แม้ติดตั้งแล้วหากมีการรบกวนกับระบบขนส่งทางราง ทางกสทช. สามารถปรับคลื่นความถี่ได้
ระบบขนส่งทางรางที่ข้อกำหนดคลืน 900 นี้ระบุให้ผู้ชนะต้องป้องกัน ได้แก่ ระบบ Airport Rail Link, รถไฟกรุงเทพ-หนองคาย, รถไฟความเร็วสูงดอนเมือง-อู่ตะเภา, โครงการ GSM-R
ทางกสทช. ปรับลดราคาขั้นต่ำการประมูลคลื่น 900 MHz (890-895MHz และ 935-940MHz) ในครั้งนี้ลง 2,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีทาง dtac เชื่อว่าค่าใช้จ่ายตามข้อกำหนดนี้จะสูงกว่านี้มาก
note: เพิ่มเติมรายชื่อโครงการขนส่งทางราง
ที่มา - จดหมายข่าว dtac, ประกาศกสทช. สำหรับการประมูลคลื่น 900
ดีแทคห่วงข้อกำหนดผู้ชนะประมูล 900 MHz กระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม
16 กรกฎาคม 2561 - ดีแทคเข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะจัดประมูลขึ้นโดยสำนักงาน กสทช. ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ พร้อมเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session)
นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session) โดยมีความกังวลต่อข้อกำหนดเงื่อนไขการประมูลใหม่ ในเงื่อนไขในการอนุญาตข้อ 16, 17 และ 18 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงรับผิดชอบแก้ไขให้แก่ผู้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 850 MHz และ 900 MHz รายอื่นด้วย”
ดีแทคชี้แจงประเด็นหลัก 2 ข้อที่กำหนดเพิ่มให้ผู้ชนะที่ได้รับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz คือ
1. ค่าใช้จ่าย – จำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ครอบคลุมงบประมาณในการดำเนินการสร้างระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ให้กับผู้ที่ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่น และระบบคมนาคมขนส่งทางราง แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้มีผลวิเคราะห์งบประมาณอย่างแน่นอน ดีแทคประเมินว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการลดราคาขั้นต่ำของการประมูลมาก
2. ความเสี่ยงในการดำเนินงาน – นอกจากค่าใช้จ่ายแล้ว ผู้ชนะการประมูลจะต้องรับความเสี่ยงจากการเข้าไปดำเนินการติดตั้งระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ กสทช. ยังได้สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลยังจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงคลื่นความถี่เดิม ดังนั้นจึงทำให้มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายและการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกมาก
นอกจากนั้น ตามที่ดีแทคได้ส่งหนังสือถึง กสทช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การเปลี่ยนเป็นคลื่น 900 MHz เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศด้วยสถานีฐานประมาณ 13,000 สถานี จะต้องใช้เวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ประมาณ 24 เดือน ดังนั้น ดีแทคจึงขอความชัดเจนในการใช้งานคลื่น 850 MHz เพื่อให้บริการลูกค้าระหว่างการดำเนินการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ดีแทคได้ย้ำถึงความตั้งใจในการพิจารณาเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ก่อนจะสรุปแนวทางการเข้าร่วม โดยยังคงเดินหน้าปรึกษาหารือกับ กสทช. ในการแก้ไขประเด็นดังกล่าว และให้แน่ใจว่าคลื่นความถี่ 900 MHz สามารถนำมาประมูลด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Comments
ถึงกับโวยเลยหรือครับ คิดว่าน่าจะแค่แสดงความกังวล ความคิดเห็นเสียอีก
กสทช.ขอให้ดีแทค(ขอเขียนแบบนี้เลยนะครับมันสั้นกว่าคำว่าผู้ชนะการประมูลคลื่น 900) ไปติดfilter ให้ คลื่น 850 ของ CAT-TRUE (869-884) คลื่น 900 ของ AIS (940-950) คลื่น GSM-R ที่จะใช้ทำระบบอาณัติสัญญาณ(885-890) และคลื่น 900 ของตัวเองที่จะเอาออกมาประมูลในครั้งนี้ (890-895) ทั้งหมดนี้ลดจากราคาคลื่น 3.7หมื่นล้านบาท เหลือ 3.5หมื่นล้านบาท ลดให้ 2,000ล้านบาท แต่ดูสิ่งที่ขอสิครับ แล้วไหนจะสงวนสิทธิ์ย้ายคลื่นความถี่ในอนาคตอีก?
ref : http://spectrumauction.nbtc.go.th/getattachment/900/Segment/ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง-กิจการโทรทัศน์-แ/ประกาศเชิญชวน-900(ฉบับภาษาไทย).pdf.aspx
แปลกๆ
เหมือน BTS ลดต้นทุน แอบใช้คลื่นที่ตัวเองไม่มีสิทธิใช้
แต่คนซวย ต้องลงทุนเพิ่ม ดันเป็นค่ายมือถือซะอย่างนั้น?
ฮา ซื้อใบอนุญาต licensed band ยังต้องไปทำ filter ให้เจ้าอื่น(ที่อาจแอบใช้)อีก
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ในข่าวไม่ได้เขียนถึง BTS นะครับ เขียนถึงแต่รถไฟของ รฟท.
ถ้าตามข่าวมาตลอด จะรู้กันว่า มันเริ่มที่ BTS ครับ
เรื่องขอใช้คลื่น 900 ทำ GSM-R เนี่ย ร.ฟ.ท.บอกมานานแล้ว และไม่ใช่แค่รถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟทางคู่ปัจจุบัน จะปรับระบบอาณัติสัญญาณเป็นมาตรฐาน ETCS ซึ่งใน Level 1 จะใช้ GSM-R ด้วย (รถไฟความเร็วสูงใช้ Level 2)
อันนี้ผมว่าแปลกๆนะ
ผมไม่ได้ตามข่าว BTS เท่าไหร่ .... แต่ว่าที่บอกว่า BTS แอบใช้นี่เรามีหลักฐานปะครับ
ถ้าระดับเรา ๆ ท่าน ๆ มีหลักฐาน ป่านนี้ BTS โดนฟ้องกระจุยไปแล้วครับ ที่มีตอนนี้ก็แค่ "ข้อสันนิษฐาน" เพราะอาการมันฟ้องว่าใช่ซะเหลือเกิน ...
ตามนี้ฮะ ถึงไม่มีหลักฐานชัดเจนแต่ทุกอย่างมันชี้ให้เข้าใจมาแบบนี้หมด ถ้าหลักฐานมันหาได้ก็คงมีคนหาเจอและฟ้อง BTS ไปแล้วครับ
เป็นการสังเกตน่ะครับ ว่าถ้า BTS ไม่ได้ใช้จริงๆ คงตอบชัดๆ ไปแล้ว นี่คืออ้อมแอ้มและไม่แถลงอะไรถึงข้อกล่าวหานี้เลย
May the Force Close be with you. || @nuttyi
งั้นสรุปได้ว่าเรื่องนี้เป็นแค่การคาดเดา ไม่มีหลักฐานอะไรรองรับสินะ
ครับ
แต่ก็อาจมีน้ำหนักหน่อยๆ คือ ระบบก็ระบบเดิม อยู่ๆ ปัญหาก็เกิดแถมเกิดต่อเนื่องแก้ไขไม่ได้ เมื่อก่อนไม่เคยเกิดเหตุหนักขนาดนี้ ซึ่งในช่วงนั้นมีข่าวใหญ่ๆ ของ DTAC ที่ใช้ 2300 (2.3 GHz) ซึ่ง BTS เราไม่รุ้ใช้ย่านไหน ถ้า 2.4 เดิม จริงๆ ปัญหาน่าจะรุมเร้ามานานหลายปีแต่ปัญหาพึ่งเกิด คาดเดาได้คือ อาจจะใช้ 2300 แล้วหนีมา 2.4 ทำให้ชน 2.4 ที่แน่นก็เลยล่ม ย้ำเลยว่าเมื่อก่อนไม่มีปัญหาล่มแบบนี้
ใช้ 2.4 ผมก็ไม่ชอบเท่าไรมันชนกะ Wi-Fi ข้างทางเยอะมาก ไม่น่าจะเหมาะในเมืองเอาซะเลย
จุดเริ่มต้นคือ BTS กล่าวหาว่ามีคลื่นรบกวน โดยไม่มีหลักฐานรองรับเช่นกันครับ คนที่โดนโบ้ยคือ TOT และ DTAC ให้คิดว่าไงดี
May the Force Close be with you. || @nuttyi
คุณกำลังจะบอกว่าถ้ามีใครทำไม่ดี คนอื่นก็ทำไม่ดีตามได้เหรอ ???
จริงๆ มีรายงานในประเทศอื่นเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ด้วยนะ
Ofcoms Statement on 2.3GHz Interference with Wi-Fi
Our technical analysis confirms a risk of interference, in specific circumstances, to both Wi-Fi routers/access points and to client devices. We identify the main source of interference as LTE base stations. Interference is most likely in urban environments where there may by a dense deployment of both LTE base stations and Wi-Fi networks. In the very worst cases, customers would not be able to use services – but it is much more likely they will experience a drop in performance, unless mitigations are applied.
ถ้า paper ที่หลายเพจระดมปล่อยกันตอนช่วงมีข่าวโบ้ย เขาทดสอบแล้ว ว่าต้องช่วงคลื่นปลายๆ 2370 ขึ้นไป ถึง 2395MHz ถึงจะกวนอย่างมีนัยยะสำคัญ
ส่วน DTACใช้ช่วงคลื่นสูงสุดที่ 2370MHz ก็กวนไม่มาก throughput drop เล็กน้อย
คือถ้าจะบอกว่ามีการกวน มันก็กวนหมด แต่มากน้อย จนมีผลแค่ไหนก็ต้องดูให้ชัดเจน
เอาง่ายๆ ถ้าใช้ 2.4GHz วิ่งตามแนวรถไฟฟ้าเจอจากตึกกวนเต็มไปหมด ยิ่งกว่า Base station อีก
ผมมาทำงานในเมือง อยู่ชั้นสิบกว่าๆ ใช้ USB wifi scan คลื่นเจอ คลื่น wifi 2.4GHz จากตึกที่ห่างไปครึ่งกิโลเมตร (ตึกที่สูงที่สุด)ไม่รู้ใช้เสาอะไรยิงมาแบบไหน รวมถึงจากโรงแรมข้างๆ มี1-2ขีด แต่พอconnect ได้
อันนี้น่าจะพอใช้อ้างอิงได้นะครับ
"กรณีระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าบีทีเอส เกิดเหตุขัดข้อง เพราะบีทีเอสวิ่งคร่อมเลนโดยมาวิ่งบนเลนในช่วงคลื่น 2300 MHz จากที่ต้องวิ่งอยู่บนเลนคลื่นในช่วง 2400 MHz"
http://www.thansettakij.com/content/294430
บอมบาร์ดิเอร์ส่ง จม.ถึง BTS ยืนยันไม่ได้ลักลอบใช้งานความถี่ลงไปกินย่าน 2300 MHz อย่างที่มีการกล่าวหา
Bombardier บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีระบบอาณัติสัญญาณที่ BTS และ MRT สายสีม่วงใช้
Cityflo 450 (และ 650 สำหรับสายสีม่วง)
อ่านเงื่อนไข กสทช. แล้วงง หน้าที่ของฝั่ง operator ควรมีแค่ปล่อยสัญญาณให้อยู่ในช่องของตัวเองไม่เกินออกมา?
เรื่องที่ระบบอาณัตสัญญาณของระบบรถไฟมันไม่มี filter จนทำให้ตัวเองโดนรบกวนจากคลื่นอื่น มันก็ควรจะเป็นหน้าที่ของฝั่งระบบรถไฟเองที่จัดการตรงนี้
+1
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1
+1
+1 แต่ทำสัญญากับคนทำรถไฟฟ้าไปแล้วไง จะไปขอแก้ก็ไม่ได้ เดี๋ยวต้องจ่ายชดเชยค่าเปลี่ยนสัญญา ก็เลยมาลงกับคนที่มาทีหลัง
+1
มันแสดงให้เห็นว่า กสทช เป็นองค์กรที่มีอำนาจจัดสรร "สิทธิ"
แต่แนวคิดเรื่อง "สิทธิ" ป่วยมากๆ
จะให้คนมาซื้อสิทธิซื้อคลื่น แล้วคนซื้อยังต้องเผื่อว่า
ถ้ามีคนมาละเมิดคลื่น คนที่ซื้อมาถูกต้อง ต้องเป็นฝ่ายไป
... เฮ้ย มันใช่เหรอ??
มันแสดงให้เห็นถึงระดับของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเลยครับ
+1
+1
+1
+1 จะมีโอกาสมั้ยที่ท่านๆระดับผู้บริหารได้มาทำความเข้าใจตรรกะง่ายๆแบบนี้
+1
งานโยนขี้ของ กสทช สินะ ไม่มีปัญญาทำเองก็โยนไป
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เสือกระดาษหนักมากแหะคราวนี้ ถึงกับคุ้มครองบริษัทที่ไม่ยอมจ่ายตังซื้อคลื่นแต่ไปบังคับให้คนซื้อลงทุนให้ ใครจะซื้อ?
จริงๆ คลื่นตรงนี้ กสทช. ก็กะให้รถไฟหมดหนิ จนดีแทคมาบอกว่าอยากได้คลื่นสั้น กสทช. เลยยอมแบ่งมาให้เป็นคลื่นมือถือ
คือจะบอกว่าที่ กสทช. ทำแบบนี้ถูกต้องแล้วหรือยังไงครับ?
กสทช.ไม่ได้จะให้รถไฟหมดครับ แต่ปลัดคมนาคมอยากจะได้ไปทำรถไฟหมด
ควรจะให้ไปทำรถไฟหมดจริงๆครับ
รถไฟถ้ามีปัญหา มันเดือดร้อนมากกว่า แล้วยิ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงอีก
แบ่งกันคนละ 5 ฟากมือถือเองก็เถอะ มีแค่นี้ก็เอาไปเบียดกันตายอีกอยู่ดี
คลื่นนี้มูลค่า 7หมื่นล้านบาทครับ ถ้าเอาไปทำรถไฟหมดจะเหลือ 0 บาท ทันทีรัฐต้องคิดเยอะ ๆ ครับ เอาจริง ๆ ตอนแรกที่มีข่าวยังเชียร์ให้ไปใช้ย่าน 400 เลยเพราะย่าน 900 มีการใช้งานทางโทรคมนาคมอยู่แล้ว แบบนี้เท่ากับว่ากสทช.หาคลื่นใหม่มาประมูลก็ไม่ได้ แถมคลื่นเดิมที่มีอยู่ยังหายไปอีกน่ายุบทิ้งจริง ๆ
ผมว่า ถ้ารถไฟความเร็วสูงเป็นง่อยถี่ๆ หรือ เกิดอุบัติเหตุหนักๆแค่รอบเดียว
ก็ไม่คุ้มละนะ
ทางที่ดีจึงควรวางแผนไว้ให้เขายาวๆ ครับ เว้นช่องไว้ให้เรียบร้อย กั้นซ้ายขวาลดปัญหา
ให้เอกชนมาเซ็นเช็คเปล่าแก้ทุกปัญหาให้แบบนี้นี่ผมว่าถ้ายอมคงสนุกสนานทีเดียว
lewcpe.com, @wasonliw
นั่นสิครับ
จริงๆ กสทช แค่ออกแบบ ช่วงคลื่นใช้งานกับ guard band ดีๆ
แล้วบังคับใช้ตามนั้นก็จบแล้ว
แต่การมากลัวคลื่นชนแบบนี้ เท่ากับว่า
กสทช ชุดนี้ ไม่รู้เรื่องทางเทคนิคของคลื่น แถมตรรกะด้านสิทธิก็ป่วยด้วย
เรียกว่า ไม่รู้ 5 อะไรในงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่เลยจริงๆ
(ขออภัยที่แรง แต่ผมว่ามันสมควรจริงๆ)
ทำไมรถไฟไม่มาประมูลแข่งครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
กสทช.มีหน้าที่จัดสรรคลื่นเพื่อให้ใช้สำหรับสาธารณะประโยชน์
และจัดประมูลคลื่นสำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์
รถไฟเป็นสาธารณูปโภคอย่างนึง ก็เข้าข่ายเป็นสาธารณะประโยชน์
กสทช. ทำงานได้งามหน้ามากๆ ครับ แบบนี้ ยุบไปเลย เสียดายงบประมาณ แถมทำงานห่วยอีก ตลกจริงๆ คุ้มครองตนเอง แต่ไม่คุ้มครองผู้ประมูล หรือผู้บริโภค
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ข่าวเก่าคุณ lew บอกว่า โง่แต่ขยัน ผมขอบอกว่าโง่ และไม่ทำหน้าที่
คำว่า โง่แต่ขยัน มันแปลว่า ขยันทำแต่เรื่องโง่ๆ ครับ
ปล. ผมไม่ได้หมายถึง กสทช ฮ่า
ผมว่าโง่และไม่ทำหน้าที่อ่ะ ตัวเองมีหน้าที่ regulate การใช้สัญญาณ และปกป้องสิทธิผู้ได้สีมปทานการใช้คลื่นอย่างถูกกฎหมาย และต้องมีหน้าที่ลงโทษผู้ละเมิดด้วย
แต่นี่กลับกันเลยอ่ะ ผมถึงบอกว่าไม่ทำหน้าที่
โง่ ที่ไม่รู้ว่าหน้าที่ตัวเองควรทำอะไรแล้วไม่ควรทำอะไร แต่ ขยัน สร้างความฉิ.. ปั่นป่วนให้วงการไงครับ
อันนี้ต้องบอกก่อน ว่าผมไม่ได้คัดค้านสิ่งที่คุณ lew บอกนะครับ ผมแค่เพิ่มเติมความเห็นในส่วนของผม
เห็นเข้ามาแย้งผมสองท่านละ น่าจะเป็นเพราะผมสื่อสารไม่ครบถ้วนเอง
ผมไม่ได้ทัหท้วงอะไรนะ แค่อธิบายให้ฟังเฉยๆ
มันต่างกันนะ โง่แต่ขยัน กับ โง่ไม่ทำหน้าที่
โง่แต่ขยัน คือขยันจนสิ่งที่ควรจะเป็น กลายก็ผิดทิศผิดทาง
โง่แต่ไม่ทำหน้าที่ คือมันจะผิดทิศผิดทางโดยไม่ต้องทำอะไร ผิดโดยตัวมันเอง สามารถนั่งโง่เฉยๆไปวันๆได้เลย
แต่จากข่าวนี้ เค้าไม่ได้อยู่เฉยๆนะ แค่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
งั้นพอทราบมั้ยครับว่า กสทช.มีหน้าที่อะไร แล้วเค้าทำหน้าที่หรือไม่
โอ้ยยยยยยยยย เอาจริงดิ นี่ไม่ได้เอาฮาใช่มั้ย คนประมูลถูกต้อง ต้องติดอุปกรณ์ป้องกันให้คนแอบใช้ (หรือใช้ช่วงคลื่นฟรีแต่ติดกัน) แถมยังะโดนย้ายคลื่นเมื่อไหร่ไม่รู้ บร้าไปแล้ววววววว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ก็อย่างว่า คนโง่และขยัน ให้เอาไปประหาร . . .
ขนาด BTS บอกติด Filter ก็ยังมีเน่าเลย ไม่ช่วยไรหรอกมั้ง 55+
dtac นี่ยิ่งกว่าลูกเมียน้อย
เป็นแค่คนที่เธอไม่รัก 555
ลูกค้า dtac นี่ยิ่งกว่านี้อีกนะครับ บางคนใช้สิบปีโปรห่วยมาก แต่ลูกค้าใหม่ย้ายมาจากค่ายอื่นนี่ได้โปรหรูหราลดนั่นนู่นนี่ ได้สิทธิซื้อมือถือราคาถูกอีก
เป็นแค่ของตายให้เธอ
ผม10กว่าปี เผลอไปใช้ 299 บาท 4 เดือน โดนลดสิทธิ์พิเศษเลย
แค้นมาก ทนใช้สัญญาณแย่ๆ เพราะสิทธิ์พิเศษนี้แล
เอาไปดูหนัง 70 บาท SF
ผมนี่สิบกว่าปี ได้โปรพิเศษ (1299 จ่าย 699) แบบอยู่ๆ โทรมาเสนอให้เมื่อเดือนก่อนแบบงงๆ
ผมจะไปซื้อ s9 ปรากฎว่าถ้าจะใช้เบอร์เดิมโปรที่ผมใช้จะต้องถูกรีเซ็ตไปจ่ายเต็มเพื่อซื้อเครื่องในราคาพิเศษลด 1000 บาท
แทบจะร้องไห้ครับ gold member มีสิทธิแค่กินน้ำที่ mk ในราคาถูกกว่าคนอื่น
ของผมได้โปร 599 ลดเหลือ 299 ก็ยังได้ gold เหมือนเดิมนะครับ เงื่อนไขคือใช้เกิน 300 บาทต่อเดือน
แต่ไม่แน่ใจว่ายังไงเพราะผมใช้เกินตลอด คือส่ง sms ครั้งนึงก็เกิน 300 (299+1) แล้ว เลยไม่แน่ใจว่าถ้าใช้แค่ 299 จะยังรักษาสิทธิ์ได้มั้ย
แต่ถามว่าได้ใช้มั้ย ไม่ค่อยได้ใช้เลย โอกาสใช้น้อยมาก ๆ - -*
...
ผมนี่แดรกจุดเลย พูดไม่ออก เจอแบบนี้ WTF
มันต้องมีคลื่นสำหรับ รถไฟโดยเฉพาะ ซึ่งคลื่นมันมีจำกัด และ 800 มันน่าจะเป็นคลื่นที่หลายๆ ประเทศใช้กัน ทำให้ต้องเขียนดักไว้ก่อนเผื่อต้องใช้ในอนาคต
เรื่องใส่ filter นี่อุ้มลูกรัก(ของพี่ๆสีเขียว)จนน่าเกลียด
ส่วนลูกชังโดนกีดกันตลอด ตั้งแต่คนในออกมาแฉว่าโดนสั่งให้ปิดกั้น FB ตั้งแต่ตอนนู้นแล้วสินะ
ระบบอาณัติรถไฟนี่ ทำไม่ไม่ใช่สายหละครับ ใช้ Fibre ก็จบแล้ว เสียเวลาลากสายแต่เสถียรกว่ามาก ไม่ต้องไปกระทบคลื่นมือถือหรือ WiFi ให้คนอื่นเดือดร้อน ก็ไม่ทำกัน หรือหากจะใช้คลื่นอื่นก็มีอีกตั้งหลายคลื่นเยอะแยะ ก็ดันมาเอาคลื่นเดียวกับ 4G เนี่ยนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมว่า ถ้าลากนี่ คงมีแต่สายเต็มพื้นไปหมดนะครับ อย่างระบบเก่า BTS เคยใช้ก็ใช้สาย รถสื่อสารกับตัวอุปกรณ์ที่พื้น ถ้าจะว่างยาววระยะไกล ถี่ๆ สายก็พันกันยุ่งเหยิง ค่า maintenance อีก
อย่าง BTS นี่เปลี่ยนใหม่ทำให้รถวิ่งถี่ขึ้นได้ ระบบเดิมมัน fixed ไว้ เดาว่าขยับเพิ่มจุด sensor น่าจะรื้อเยอะ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะทำนะครับ ทุกวันนี้ใช้รถของถูกจากจีน ใช้ระบบอาณัติที่เน้นลงทุนต่ำ และสะดวกในการติดตั้ง แถมใช้คลื่นสัญญาณที่เป็นคลื่นช่องสาธารณะอีก ตัวบัตรที่ซื้อล่วงหน้าเองปัจจุบันหลังจากเป็นบัตรน่าจะรุ่นหลังๆ ก็ไม่สามารถแสกนผ่านกระเป๋าได้แล้ว ต้องเอามาทาบอย่างเดียว
ระบบเดิมที่มัน fixed ผมว่ามันไม่ใช่ปัญหาของ wired นะ มันคือปัญหาของซอฟแวร์มากกว่า
นี่แตกบริษัทลูกได้เพียบ จะบอกว่าไม่มีกำไรอันนี้ผมว่าฟังไม่ขึ้นอ่ะนะ
เรื่องกำไรผมก็ไม่ทราบนะครับ เป็นเรื่องธรุกิจของเขา แต่ระบบใหม่ CBTC (Communications-based train control) ก็มีข้อดีกว่าระบบเก่า อย่าง แบบ fixed block signalling น่าจะระบบประมาณนี้ระบบเก่าของ BTS
ระบบเก่าเป็นของ SIEMENS LZB700M ซึ่งตอนนี้ยังใช้อยู่กับทั้ง MRT สายสีน้ำเงิน และ ARL
ซึ่งระบบเป็นแบบ Fixed Block (แบ่งช่องชัดเจน มีไฟแดงของแต่ละช่อง) โดยใช้ Track Circuit ตรวจจับขบวนรถ (เมื่อไฟไหลครบวงจรเพราะล้อรถวิ่งผ่านถือว่าเจอขบวนรถตรงนี้)
ในส่วนของ BTS และ MRT สายสีม่วง จะใช้ Bombardier Cityflo 450 และ 650 ตามลำดับ
ซึ่งระบบเป็นแบบ Moving Block ตรวจตำแหน่งของขบวนรถโดยอ่านจาก Balise บนราง และส่งข้อมูลตำแหน่งไปยังระบบแบบ Wireless
เข้าไปดูรูปเปรียบเทียบ Fixed Block กับ Moving Block
Fixed Block - ต้องคำนวณระยะเบรคเพื่อจอดให้ทันไฟแดงข้างหน้า
Moving Block - ต้องคำนวณระยะเบรคเพื่อจอดให้ทันตำแหน่งขบวนรถข้างหน้า
Moving Block จะทำให้รถไฟวิ่งติดๆกันได้มากกว่า Fixed Block โดยเฉพาะรถไฟที่วิ่งความเร็วไม่สูงอย่างรถไฟในเมือง(เฉลี่ย 35 km/h) ได้เปรียบมากกว่าในการเลือกใช้ Moving Block
อันนี้ถามแบบไม่รู้นะครับ ถ้าจะใช้แบบ wired ในโลกนี่จะมีแต่ fixed เหรอครับ?
Wired ในที่นี้คือการใช้รางในการหาตำแหน่งของขบวนรถ ส่วน Wireless เป็นการให้ขบวนรถอ่านตำแหน่งจากอุปกรณ์บนราง แล้วบอกให้ระบบรู้ ในเมื่อรถต้องเป็นคนส่งสัญญาณบอก ถ้าไม่ใช้ไร้สาย จะให้ลากสายไปตามรถหรือลงทุนทำรางที่ 4 ก็คงจะไม่ใช่คำตอบ
เอาจริงๆแล้ว ไอเจ้า Fixed เองก็มีระบบสื่อสารแบบ Wireless เหมือนกัน แต่อยู่ที่ระดับ มีตั้งแต่ใช้ห่วงทางสะดวก(wired) ใช้ไฟตอน(wired) ไปจนถึงควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (wireless) ซึ่งสองอย่างแรกมีใช้อยู่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย
ผมอ่านแล้ว แต่อยากได้ความเห็นจากคุณ ระบบที่เหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับบีทีเอส ในความเห็นของคุณคือระบบไหน และเพราะอะไรครับ
ไม่ได้ถามเพื่อลองภูมินะครับ ผมอ่านความเห็นของคุณแล้วได้ความรู้ดี
จริงๆ ผมว่าระบบ Wired เดิม ไม่ต้องทำสายเพิ่มหรอก ใช้สายเท่าเดิม แต่ต่อเข้ากล่องคล้าย Switch และเสียบกับอุปกรณ์อาณัติสัญญาณและอุปกรณ์อื่นๆ รวมเป็นจุดเดียว + ทำทางใช้งานสำรอง ในแต่ละสถานี แล้วเชื่อมต่อเข้าศูนย์กลางโดยอาจใช้สัญญาณไร้สายหรือแบบมีสายเดิมของเน็ตแต่ละสถานีก็ว่าไป และอัพเกรดสายให้รองรับความเร็วและปริมาณข้อมูลที่สูงขึ้นก็พอแล้วนะครับ ถ้าทำความเข้าใจได้ก็ไม่น่าจะยาก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เทคโนโลยี Moving Block ไม่ใช่ปัญหา เพราะ MRT สายสีม่วงก็ใช้งานอยู่ และไม่มีผลกระทบใดๆ เป็นความผิดของบีทีเอสเองที่ไม่ลงทุนทำระบบป้องกันแต่แรกเหมือนที่สายสีม่วงทำ
สำหรับบีทีเอสที่เป็นข่นสงมวลชนเส้นที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด จำเป็นที่จะต้องทำความถี่ให้ได้สูงที่สุด ยังไงก็ไม่กลับไปแบบเดิมแน่นอนละครับ
แต่ mrt มันไม่น่าจะมี interence สูง เพราะมันอยู่ใต้ดินไม่ใช่เหรอครับ
อีกข้อที่ผมไม่รู้ คือ mrt ใช้คลื่นความถี่ใดเหรอครับ
MRT สายสีม่วงยกระดับไปบางใหญ่ไงครับ
MRT สายสีน้ำเงินวิ่งขึ้นเป็นลอยฟ้าที่เตาปูนครับ MRT สายสีม่วงยกระดับตลอดเส้น โอเคมันอาจจะไม่ได้ผ่านย่านที่ Wi-Fi แน่นขนาดจะกวนได้แต่ผมไม่เคยเจอรถสายสีม่วงมีปัญหาอะไรแบบนี้เลยครับ
ถ้าติดเสาอากาศประจำที่ไว้บริเวณราง ส่วนเสาอากาศติดรถก็เอาไว้ใต้ตู้รถไฟ สัญญาณอื่นจะมารบกวนยังไง
เคยอ่านจาก ข่าวนี้ https://voicetv.co.th/read/H1rnUQwfm กสทช. บอกว่า "จะกำหนดให้ผู้ชนะประมูลคลื่นเป็นผู้ลงทุนทำระบบป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ วงเงิน 2,000 ล้านบาท ... โดยหักเป็นค่าใช้จ่ายจากการประมูลออกไป"
แปลว่าเอาเงินที่ลงทุนตรงนี้ หักค่าประมูลได้ ?
ไม่ครับ เขาลดเงินเริ่มต้นประมูล 2,000 ล้าน แล้วกำหนดให้ทำ
ส่วนที่ทำจริงๆ เท่าไหร่ไม่มีใครรู้ อย่างรถไฟความเร็วสูงจะลงกี่เสา ตอนนี้น่าจะไม่มีใครรู้เลย
lewcpe.com, @wasonliw