แอปเปิลออกอัพเดตย่อยของ macOS 10.13.6 วันนี้ ซึ่งระบุว่าเป็นการแก้ไขบั๊กที่พบใน MacBook Pro รุ่นปี 2018 ซีพียู Core i9 ที่มีรายงานปัญหาก่อนหน้านี้ว่าเครื่องทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน Mac App Store เฉพาะ MacBook Pro กลุ่มที่มีปัญหาเท่านั้น
แอปเปิลบอกว่าหลังจากมีการทดสอบในวงกว้างหลายรูปแบบ แอปเปิลก็พบว่ามีบั๊กกุญแจดิจิทัลตัวหนึ่งที่หายไปในเฟิร์มแวร์ที่ใช้จัดการเกี่ยวกับอุณหภูมิ ส่งผลให้เครื่องทำงานช้าลงเมื่อมีอุณหภูมิสูง ซึ่งปัญหาได้แก้ไขแล้วในอัพเดตย่อยนี้ รวมทั้งได้ขอโทษลูกค้าที่พบปัญหาดังกล่าวด้วย
CNET ทดสอบการทำงานของ MacBook Pro หลังอัพเดตแพตช์นี้พบว่าซีพียูทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น แม้โหลดหนักจนเครื่องมีอุณหภูมิที่สูง ซึ่งก่อนหน้านี้ซีพียูจะมีประสิทธิภาพตก
Comments
รีบร้อนเกินไป
คราวนี้ร้อนจนละลายแทนเปล่าเนี่ย
เป็นไปได้ที่อัพเดทแล้วจะแก้ได้ เพราะจริง ๆ มันไม่ได้เป็นที่ i9 มัน Throttling ที่อุณหภูมิสูงมันเป็นที่ VRM ต่างหากที่ร้อนจนไม่สามารถจ่ายไฟได้เต็มที่ i9 มันเลย Throttling เห็นมีคนแก้ด้วย software ได้ แพทแก้นี้ก็คงแก้ได้เหมือนกัน
แต่ถามว่ามันยังร้อนอยู่มั้ยก็น่าจะยังร้อนอยู่ แต่อันนั้น Thermal paste เทพ ๆ อย่าง Liquid metal น่าจะช่วยได้
มันก็จะกระจายความร้อนไปที่บอดี้อลูมิเนียมแทนหรือเปล่าครับ
อันนี้ผมไม่รู้นะว่ามันร้อนขนาดไหน ไม่งั้นมันจะเกิดปัญหาใหม่ ร้อนจนมือพอง...
เพราะ macbook มันใช้พัดลมเบาๆ เครื่องบางๆ เกือบๆ จะ passive cooling อยู่แล้ว
พูดถึง Liquid Metal ปัญหาใหญ่ของ Liquid Metal คือถ้าใส่บนโลหะ อาจทำให้พังถาวรได้ แม้แต่ไปโดนแผงวงจรก็พานทำ PCB กรอบและบุบสลายได้ ต่อให้ทำอย่างระมัดระวัง Life Circle ของเครื่องมันก็น้อยลงด้วย เพราะมันเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในการกัดกร่อนพวกอะลูมิเนียม ทองแดง และโลหะอื่นที่ Liquid Metal สามารถสร้างความเสียหายและทำลายโครงสร้างของวัสดุได้ ดังนั้นควรจะใช้วิธีอื่นที่น่าจะดีกว่าการใช้ Liquid Metal นะ
รายละเอียด: ที่นี่ และตัวอย่าง ที่นี่
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แก้ปัญหา VRM ไม่ได้หรอก เว้นแต่จะออกแบบ VRM ใหม่ ให้มันจ่ายไฟเพียงพอให้ตัว i9 ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพโดยที่ไม่ร้อนเกินไปครับ แต่ถ้าจะแก้ปัญหาด้วย software ที่ไปบีบให้ VRM จ่ายไฟมากกว่าที่ออกแบบไว้ แปบเดียวเดียวก็มีเครื่อง i9 เสียเพราะ VRM พังครับ
เกรงว่าจะเป็นแบบ Butterrfly Keyboard เลยครับ
Apple รับรู้แต่ให้ใช้ไปใครพังก็เข้าศูนย์โซคดีได้เปลี่ยนโชคร้ายไม่รับ รวมตัวกันฟ้องกว่าจะจบเรื่องคนก็เปลี่ยนเครื่องใหม่ไปหมดแล้ว
+1
คิดเหมือนกันว่าแค่แก้ปัญหาปลายเหตุไปก่อน...
ส่วนเรื่องอุณหภูมิที่สุงเกิน...อาจจะมีผลต่อการทำงานด้านอื่น ๆ แต่ตอนนั้นถ้า hardware ตัวไหนพังก็ค่อยว่ากันไป
ออกเครื่องใหม่มา...ขายฝันกันใหม่...วนลูปไป
มันมีหลายวิธีครับที่ใช้ software ช่วยได้ (แน่นอนออกแบบ vrm ใหม่คงดีสุด) ปัญหาตอนนี้มันคือ เวลา VRM มัน overheat เนี่ย มันสั่งให้ cpu ลดคล๊อกไปเหลือ 800 mhz แล้วค่อยสลับกลับมาไป ๆ มา ๆ อย่างนี้ มันทำให้ประสิทธิภาพมันห่วยอ่ะครับ แต่ software สามารถไปช่วยตรงนี้ได้ โดยอาจจะสั่งให้จ่ายไฟน้อยลง แต่นิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการ overheat อย่างน้อย ถ้า cpu มันวิ่งที่ 2.9 ghz ยาว ๆ คงดีกว่า 800 mhz สลับกับ 3.1 ghz อะไรทำนองนี้น่ะครับ หรือสุดท้ายแล้วปัญหาอาจจะไม่ใช่ที่ vrm เลยก็ได้ครับ ทุกอย่างที่มีตอนนี้ก็แค่สมมุติฐาน
แต่ผมก็ไม่รู้ว่าแอปเปิ้ลแก้ปัญหายังไงนะ แต่คงไม่ใช่การสั่งให้จ่ายไฟเกินกว่าที่ออกแบบไว้อย่างที่คุณว่าแน่ ๆ
เอ่อ ขอแสดงคววามคิดเห็นเรื่อง liquid metal ตรงนี้นะครับ พอดีโควต้าน้อย แหะ ๆ
Liquid metal กับฮีทซิ้งที่เป็นทองแดงนี่ไม่เท่าไรครับ ใช้ได้สบาย ๆ กร่อนบ้างแต่ไม่ถึงกับทะลุ แต่ประสิทธิภาพน่าน่าจะแลกได้ แมคบุคโปรใช้ฮีทซิ้งทองแดงครับ ส่วนอลูนี่พังแน่นอน ส่วนวิธีอื่นที่ดีกว่า liquid metal ในแง่ประสิทธิภาพการนำพาความร้อน ตอนนี้ยังไม่มีนะครับ ดีที่สุดตอนนี้ Thermal Grizzly Kryonaut ประสิทธิภาพอยู่ที่ 12.5W/mK ส่วน Thermal Grizzly Conductonaut ที่เป็น Liquid metal อยู่ที่ 73W/mK ห่างกันเยอะมาก
ส่วนในแง่ความเหมาะสม ก็แล้วแต่คนครับว่ารับความเสี่ยงได้แค่ไหน อยากได้ best performance โดยยอมเพิ่มความเสื่อมก็จัด liquid metal ครับ ถ้ากลัวไม่อยากเสี่ยงก็อาจจะต้องเลือกตัวอื่นที่เหมาะกับเรา
ป.ล. ชาร์ต ประสิทธิภาพการนำความร้อนของ thermal paste ยี่ห้อต่าง ๆ
https://www.gamingfactors.com/best-thermal-paste/
Liquid Metal นี่ผมดูของ Snazzy Lab ตัว Heatsink ทองแดงโดนขูดขีดจนเป็นรอยที่แก้ไม่หายนะครับ ถ้า Apple จะแกะมาดูก็คงเห็นชัดเลยประกันขาดแน่แม้จะเปลี่ยน Compound เป็นตัวเดียวกับ Apple ในภายหลัง
ที่สำคัญเห็นเค้าบอกว่า MBP มันเคลื่อนย้ายบ่อยๆกลัวว่าตัว Meatal มันจำมีสิทธิ์กลิ้งหลุดมาโดนอย่างอื่นด้วยครับ
ครับ อย่างที่บอกผมไม่ได้บอกว่ามันใช้ได้ไม่มีปัญหาเลยนะ อยู่ที่เรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน ถ้ากลัวมากก็อาจจะต้องใช้อย่างอื่น เช่น Cooling Graphite Thermal Pad ที่ค่า thermal conductivity อยู่ที่ 35W/m-k. ถือว่าสูงมากและปลอดภัยสุดละ
ผมอ่านแล้วสะดุดแฮะ
คือแกลเลียมนี่มันมีเลขอะตอมสูงกว่าอลูมิเนียม ดังนั้นมันจึงมีอีเอ็นที่ต่ำกว่าอลูมิเนียม ชิงอิเล้กตรอนจากอลูมิเนียมไม่ได้ แล้วทำไมมันจึงกัดกร่อนอลูมิเนียมได้ล่ะ จะว่าไปเมลท์อลูมิเนียมออกมาก็ไม่น่าใช่สิ่งที่เกิดขึ้น
เอ้า เห็นพูดถึง liquid metal ผมก็นึกว่าหมายถึงตัวนี้ ก็ยังงงอยู่ว่ามันเอามาทำ heatsink ได้ดีหรือยังไง ตกลงหมายถึง thermal paste ที่ใช้แกลเลียมหรอกเหรอครับเนี่ย ?
เดี๋ยวนี้มันไม่มี feature mainboard ดับเครื่องเองเวลาร้อนจัดแล้วเหรอครับ
ยังมีการ์ดกับดักอีกตัว ที่ยังไม่ทำงานนะครับคือ แผ่นแมมเบรนที่ใช้กันฝุ่นเข้าไปในตัวปุ่ม keyboard แแบบั๊ดเต้อฟายรุ่นที่ 3 คือถ้าฝุ่นมันอุตริเข้าไปได้ คราวนี้แหละต่อให้เอาที่สูบลมรถ 10 ล้อในปั๊ม ปตท. มาเป่าก็ไม่ออก ว่ะฮ่ะฮ่ะฮ่ะ เจ๊งกะบ๊งฐาวรไปเลย
แล้ว keyboard gen 3 ไม่รับประกัน 4 ปี เหมือน gen1-2 ด้วยนะครับ ถ้า gen 3 ฝุ่นเข้าไม่ออก ต้องเคลมใหม่ จ่ายเองเลย หมื่นกว่าบาท 555
เหมือนพี่ไม่ค่อยรอบคอบอะ
อุณหภูมิจะขึ้นไปขนาดไหนเนี้ย ขนาดลดแล้วใช้งานหนักๆยังขึ้นไปถึง 90° เดียวได้มีปัญหาใหม่มาแน่
ไปดูคลิป Dave Lee ทดสอบมา นอกจากความเร็วจะคงที่นิ่งๆ แล้วอุณภูมิยังต่ำกว่าลงมาเหลือ 8x ด้วยนะครับ ไม่รู้สภาพแวดล้อมตอนทดสอบเหมือนกันหรือเปล่าแต่ดูจะนิ่งขึ้นเยอะมาก
แต่ด้วยขนาดและน้ำหนัก MBP จะวิ่ง ~2.9 GHz (base clock) เกือบตลอด ในขณะที่ตัวอื่นที่ใช้ชิปเดียวกันอย่าง Asus ROG นี่วิ่ง 4 GHz ปลายๆ ยาวๆ ได้เลย (หนักกว่ากันสองเท่าได้มั้งครับ หนาเตอะเลย)
แก้ได้ไวดีครับ ชอบบริษัทนี้
Rossmann สวดยับ 55
https://www.youtube.com/watch?v=aKm6opbKgB8